1 / 24

บทเรียนช่วยสอน

บทเรียนช่วยสอน. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดย คุณครูมลิวัลย์ สินธุบุญ โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. คำสมาส. คำสมาส ( อ่านว่า สะ-หมาด) คือคำที่เกิดจากคำบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันให้กลายเป็นคำเดียว เพื่อให้มีคำซ้ำในภาษาไทยมากขึ้น.

Download Presentation

บทเรียนช่วยสอน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทเรียนช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดย คุณครูมลิวัลย์ สินธุบุญ โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

  2. คำสมาส

  3. คำสมาส(อ่านว่า สะ-หมาด) คือคำที่เกิดจากคำบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันให้กลายเป็นคำเดียว เพื่อให้มีคำซ้ำในภาษาไทยมากขึ้น

  4. คำสมาสแบ่งออกเป็น ๒ ชนิดคือ • คำสมาสที่ไม่มีสนธิ • คำสมาสที่มีสนธิ

  5. คำสมาสที่ไม่มีสนธิ คำสมาส เกิดจากการนำคำมาเรียงต่อกันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำแต่อย่างใดและคำที่สมาสนั้น จะต้องเป็นคำบาลีกับ คำบาลี สันสกฤตกับสันสกฤต หรือสันสกฤตกับบาลี บาลีกับสันสกฤตจะใช้ภาษาอื่นเข้ามาปะปนไม่ได้ เช่น

  6. หลักสังเกตคำสมาสที่ไม่มีสนธิในภาษาไทยหลักสังเกตคำสมาสที่ไม่มีสนธิในภาษาไทย คำสมาสเมื่อเวลาอ่านออกเสียงจะต้องออกเสียงสระต่อเนื่องกัน คือถ้าพยางค์ท้ายของคำหน้ามีสระ อิ หรือ อุ กำกับให้อ่านออกเสียง อิ หรือ อุ ด้วยเช่น รัฐ + บาล = รัฐบาล อ่านว่า รัด - ถะ - บาน โบราณ + คดี = โบราณคดี อ่านว่า โบ - ราน - นะ- คะ- ดี ประวัติ + ศาสตร์ = ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ - หวัด - ติ - สาด อุบัติ + เหตุ = อุบัติเหตุ อ่านว่า อุ - บัด - ติ - เหด ธาตุ + เจดีย์ = ธาตุเจดีย์ อ่านว่า ทา - ตุ - เจ - ดี

  7. แต่มีคำสมาสบางคำไม่อ่านออกเสียงสระต่อเนื่อง เพราะอ่านตามความนิยมโดยมากเป็นชื่อเฉพาะ ชล + บุรี = ชลบุรี อ่านว่า ชน - บุ - รี สุพรรณ + บุรี = สุพรรณบุรี อ่านว่า สุ- พัน- บุ - รี ชาติ + นิยม = ชาตินิยม อ่านว่า ชาด - นิ - ยม

  8. คำสมาสจะไม่ประวิสรรชนีย์ที่พยางค์สุดท้ายของคำหน้า แม้ว่าคำนั้นจะประวิสรรชนีย์เมื่อยังไม่สมาสก็ตาม เช่น ชีวะ + วิทยา = ชีววิทยา ธุระ + กิจ = ธุรกิจ ฯลฯ

  9. คำสมาสจะไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับอยู่ที่พยางค์สุดท้ายของคำหน้า แม้ว่าคำนั้นจะมีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับอยู่เมื่อยังไม่ก็ตาม เช่น ทันต์ + กรรม = ทันตกรรม สัตว์ + แพทย์ = สัตวแพทย์ ฯลฯ

  10. คำสมาสส่วนมากเรียงคำหลักไว้ข้างหลัง คำขยายไว้ข้างหน้า เวลาแปลความหมาย จะแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า เช่น ยุทธ(รบ) + ภูมิ (สนาม แผ่นดิน) = ยุทธภูมิ (สนามรบ) เป็นต้น

  11. คำบาลีสันสกฤตที่มี “พระ” นำหน้า (พระ แผลงมาจาก วร แปลว่า ยอด ประเสริฐ ดี ) จัดเป็นคำสมาสด้วย พึงสังเกตคำประเภทนี้โดยมากเป็น คำราชาศัพท์ เช่น พระบาท พระมัสสุ พระขรรค์ พระธิดา พระมารดา พระบิดา พระเศียร พระกรรณ พระหัตถ์ พระอนุชา พระเชษฐา

  12. แต่มีคำราชาศัพท์บางคำมีลักษณะคล้ายคำสมาสแต่ไม่ใช้คำสมาส เพราะไม่ใช่คำในภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น พระอู่ พระแท่น พระเจ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคำที่สังเกตได้ชัดว่าเป็นคำสมาสได้แก่คำลงท้ายด้วย ศึกษา , วิทยา , กรรม , ภาพ , ศิลป์ , ภัย , ศาสตร์ , การ , คดี , ธรรม , ภัณฑ์ , ลักษณ์

  13. ตัวอย่างคำที่ไม่ใช้คำสมาสตัวอย่างคำที่ไม่ใช้คำสมาส โรงเรียน เพราะ โรง เป็นคำไทย เรียน เป็นคำไทย บายศรี เพราะ บาย เป็นคำ เขมร ศรี เป็นคำสันสกฤต ผลไม้ เพราะ ผล เป็นบาลี/สันฯ ไม้ เป็นคำ ไทย เทพเจ้า เพราะ เทพ เป็นบาลี เจ้า เป็นคำไทย ราชวัง เพราะ ราช เป็นคำบาลี/สันฯ วัง เป็นคำไทย

  14. คำสมาสที่มีสนธิ คำสมาสที่มีสนธิ หมายถึง คำสมาสที่พยางค์แรกของคำหลังเป็นสระ และมีการกลมกลืนเสียงระหว่างพยางค์หลังของคำแรกกับพยางค์แรกของคำหลัง การกลมกลืนเสียงหรือการเชื่อมเสียงเช่นนี้เราเรียกว่า การสนธิ เพื่อให้คำนั้น มีเสียงสั้นเข้าจะได้สะดวกในการออกเสียงและถอยคำสละสลวย

  15. ลักษณะคำสนธิมีสนธิ คำที่นำมาสนธิจะต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต สุข (บาลี) + อภิบาล (บาลี) = สุขาภิบาล ศิลป (สันสกฤต) + อาชีพ (บาลี) = ศิลปาชีพ คำที่นำมาสนธิกันอย่างน้อยจะต้องมี ๒ คำอย่างมากไม่จำกัด เช่น ประชา + อากร = ประชากร เหตุ + อน + เอก + อรรถ = เหตวาเนกรรถ

  16. เรียงลำดับกลับกับคำไทยทั่วไป คือเรียงต้นศัพท์ไว้หลัง ศัพท์ประกอบไว้หน้าเวลาแปลความหมายก็ต้องจากศัพท์หลังย้อนไปข้างหน้าอย่างคำสมาส เช่นจุล (เล็ก,น้อย) + อินทรีย์ (ร่างกายและจิตใจ) = จุลินทรีย์ ( สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก ) เป็นต้น

  17. คำที่นำมาสนธิกันต้องมี สระ หลัง สระหลัง สระหน้า คือ สระที่อยู่สุดท้ายคำหน้าหรือเรียกว่า พยางค์ท้าย ของคำหน้า เช่น มหา ได้แก่ สระ อา ที่ตัว ห พุทธ ได้แก่ สระ อะ ที่ตัว ธ มติ ได้แก่ สระ อิ ที่ตัว ต

  18. สระหลัง คือ สระที่เป็นพยางค์หน้าของคำหลัง สระหลังนี้ จะต้องเป็นสระล้วนๆไม่มีพยัญชนะประสมอยู่ เช่น อาภรณ์ ได้แก่ สระ อา อุบาย ได้แก่ สระ อุ เป็นต้น

  19. ถ้าเป็นสระสนธิพยางค์หน้าของคำหลังหรือเรียกว่าสระหลัง จะต้องเป็นสระ คือขึ้นต้นด้วยตัว อ เช่น อภิรมณ์ อินทร์ อาคม เป็นต้น

  20. ชนิดของคำสนธิ มี ๓ ชนิด คือ ๑. สระสนธิ ๒. พยัญชนะสนธิ ๓. นฤคหิตสนธิ

  21. ตัวอย่างคำสนธิ เทพเจ้า เทพบุตร เทพไท พระแท่น พระขนง พระมารดา พลากร พลศึกษา พลานามัย ธรรมมาสน์ ธรรมศาสตร์ ธรรมนุภาพ อิสรภาพ อนาทร สารคดี ราชสำนัก มหรรณพ มหาบุรุษ สังกร

  22. คำสมาสก็มีแค่นี้ ขอบคุณครับ/ค่ะ

More Related