1 / 49

รู้และเข้าใจ Palliative Care

รู้และเข้าใจ Palliative Care. รศ. พญ. รัตนา พันธ์พานิช บรรยายในที่ประชุมวิชาการ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชฯ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 25 กรกฎาคม 2557. ประเด็นนำเสนอ. หลักคิด และการปฏิบัติ Palliative care การสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว

Download Presentation

รู้และเข้าใจ Palliative Care

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รู้และเข้าใจ Palliative Care รศ. พญ. รัตนา พันธ์พานิช บรรยายในที่ประชุมวิชาการ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชฯ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 25 กรกฎาคม 2557

  2. ประเด็นนำเสนอ • หลักคิด และการปฏิบัติ Palliative care • การสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว • การประเมินอาการ และความทุกข์ของผู้ป่วย • ความเข้าใจเกี่ยวกับ “จิตวิญญาณ” • ความต่อเนื่องของการดูแลผู้ป่วย • การช่วยเหลือให้ผู้ป่วย “ตายดี”

  3. มิติการดูแลผู้ป่วยตามระยะการดำเนินโรค Oldconcept New concept การรักษาที่ตัวโรค การดูแลแบบประคับประคอง http://topicsinmediasection2.pbworks.com/w/page/22366439/Health

  4. WHO Definition of Palliative Care • an approach that improves the quality of life of patients and their families facing the problem associated with life-threatening illness, through the prevention and relief of sufferingby means of early identification and impeccable assessment and treatment of pain and other problems, physical, psychosocial and spiritual. http://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/

  5. Potential Palliative CareInterventions Generally, not Palliative Palliative • Emotional • Spiritual • Psychosocial Support Variable CPR Ventilation Transfusions Infections Highly burdensome Interventions Control of Hypercalcemia • Pain • Dyspnea • Nausea • Vomiting Tube Feeding Dialysis Palliative care: Overview and Concepts, Mike Harlos

  6. หลักคิดสำคัญในการทำงาน Palliative Care ชีวิตคือองค์รวม ประกอบด้วยร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ “การเกิด” และ “การตาย” เป็นธรรมดาของทุกชีวิต เป้าหมายคือคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และการไม่ทุกข์ทรมาน “การตายดี” เป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับ ต้องไม่เร่งหรือยื้อเมื่อถึงเวลา การดูแลที่มีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง

  7. Palliative care outcomesImprove quality of care • งานวิจัยระบุว่าการบูรณาการ Palliative care ทำให้เกิดผลด้านบวกต่อผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวน hospice referral การลด ICU admission and death การมา ER การทำ CPR, Aggressive investigation และการใช้เคมีบำบัดในระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นผลจากการวางแผนการดูแลล่วงหน้า และการกำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจน

  8. Palliative care outcomes Reduced healthcare costs • ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มีอาการแทรกซ้อน อาการรบกวน และมักมาโรงพยาบาลแบบฉุกเฉินของ บางครั้งถูก admit เข้า ICU ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยาการมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงสุดในเดือนสุดท้ายของชีวิต (รายงานวิจัยในต่างประเทศพบว่าสูงถึง 40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในปีสุดท้าย) • การบูรณาการ Palliative care ในโรงพยาบาล จึงไม่เพียงแต่ทำให้คุณภาพของการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น แต่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้วย

  9. Effective Communication with patients and families • ในมุมมองของผู้ป่วย ถ้าถามว่าอะไรสำคัญที่สุดในระบบบริการ คำตอบคือ “วิธีการที่ผู้ให้บริการปฏิบัติต่อเขา” นั่นเอง การสื่อสารที่ดี จึงเป็นหัวใจของการดูแลที่ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การสื่อสารที่ดีเป็นหัวใจของการดูแลแบบ Palliative ผู้ป่วยที่เข้าใจและประทับใจในตัวผู้ให้บริการมีแนวโน้มที่จะยอมรับความเจ็บป่วย เข้าใจและร่วมมือในการรักษา และการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีกว่า

  10. BREAKING BAD NEWS Breaking bad news can be stressful? มีผู้เปรียบเทียบ การบอกข่าวร้ายว่าเหมือนการ “ตอกไข่”- “breaking an egg” ซึ่งต้องการทักษะและความชำนาญ มิฉะนั้นก็จะเลอะเทอะหรือยุ่งเหยิงไปหมด แต่หากเห็นว่าเป็นการยากที่จะบอกแล้วละเลยไม่ปฏิบัติ ก็จะมีผลเสียต่อผู้ป่วยและญาติ และต่อตัวแพทย์เองได้อย่างมากเช่นกัน

  11. BREAKING BAD NEWS 6 ขั้นตอนของการบอกข่าวร้าย เริ่มต้นให้พร้อม สืบค้นว่าผู้ป่วยรู้อะไรบ้างแล้ว สืบค้นว่าผู้ป่วยอยากรู้อะไรอีก ให้ข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูล รับรู้ และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย วางแผนนัดหมาย ติดตามต่อเนื่อง Robert Buckman's Six Step Protocol

  12. DABDA “Five stages of coping" On Death and Dying, Dr. Elisabeth Kubler-Ross ปฏิกิริยาอาจพบบางอย่าง หรือไม่เรียงลำดับก็ได้

  13. การรับมือกับปฏิกิริยาของผู้ป่วยการรับมือกับปฏิกิริยาของผู้ป่วย

  14. พยาธิวิทยาของการเกิดอาการในผู้ป่วยมะเร็งพยาธิวิทยาของการเกิดอาการในผู้ป่วยมะเร็ง Obstruction Compression Effusion Infections Bleeding Inflammation Etc. • ถูกบอกข่าวร้าย • กลัวโรคลุกลาม • เป็นห่วงภาพลักษณ์ • ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ • หมดเงินค่ารักษา • อาการทางกาย • ความทุกข์ทางใจ • วิกฤติทางจิตวิญญาน โรคร่วมอื่นๆ • คุณภาพชีวิตลดลง • ผลกระทบต่อครอบครัว

  15. Physical Symptoms อาการทางกายสามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า ต้องประเมินคัดกรองเป็นรูทีน เพื่อจัดการได้ทันที อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวด หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เพ้อ อาการต่างๆ มักเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน ต้องประเมินทุกมิติไปพร้อมกัน

  16. Factors affecting patients' perception of pain. O'Neill B , Fallon M BMJ 1997;315:801-804

  17. WHO's three step ladder to use of analgesic drugs. • ผู้ป่วยบางคนปวดมากกว่า 1 ตำแหน่ง ประเมินแต่ละแห่งแยกกัน • ใส่ใจผลกระทบของอาการปวด และวางแผนการดูแลร่วมกับผู้ป่วยและญาติ

  18. Palliative Performance Scale

  19. Palliative care Outcome Scale (POS)PATIENT QUESTIONNAIRE (version 2) ช่วง 3 วันที่ผ่านมา • คุณมีอาการปวดไหม • คุณมีอาการรบกวนที่ทำให้รู้สึกไม่สบายไหม เช่น คลื่นไส้ ไอ ท้องผูก • คุณวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตัวเองหรือวิธีการรักษาหรือไม่ • คุณมีคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆ ที่ห่วงกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของคุณไหม • คุณและครอบครัวได้รับการบอกหรือให้ข้อมูลมากน้อยแค่ไหน • คุณได้พูดคุยถึงความรู้สึกของคุณกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆ ไหม • คุณรู้สึกซึมเศร้าไหม • คุณรู้สึกดีกับตัวคุณเองไหม • คุณรู้สึกบ่อยแค่ไหนว่ามีแต่เรื่องทำให้เสียเวลา กับการนัดหมายที่เกี่ยวกับโรงพยาบาล เช่น การรอคอยเปล การรอผลตรวจซ้ำ เป็นต้น • คุณมีเรื่องอะไรที่กระทบกับตัวคุณหรือไม่ ทั้งเรื่องการเงิน เรื่องส่วนตัวอื่นๆ

  20. POS scoring

  21. Psychological symptoms • Emotional distress เป็นผลจากความกลัวและความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการดำเนินโรค การเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของตน การปฏิบัติกิจประจำวันได้ลดลง ขาดงาน ขาดรายได้ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง บทบาทในครอบครัวเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ชอบ คัดกรองสุขภาพจิตเป็นรูทีน การดูแล รับฟัง ให้คำปรึกษา แนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังกาย และปรึกษาจิตแพทย์ในรายที่รุนแรง

  22. Healing beyond technology Spirituality in palliative care The spiritual part of our lives heavily influences the physical and psychological Spiritual physical Look after problems in the spiritual dimension: Spiritual practices and spiritual healing remedies Psychological

  23. Life is Holistic องค์รวมของชีวิต มิติทางกาย มิติทางจิตวิญญาณ ความเป็นมนุษย์คือคุณสมบัติที่เกิดจากการบูรณาการของชีวิตด้านร่างกายและจิตวิญญาณ เมื่อมองไม่เห็นองค์รวมของชีวิต ก็มิอาจเข้าใจชีวิตที่เป็นองค์รวมได้ มิติด้านจิตวิญญาณสูญหายไปจากระบบคิดของการแพทย์สมัยใหม่?

  24. Spirituality แสดงออกใน 3 มิติ การรับรู้ (Cognitive aspects) การรับรู้ความหมายของชีวิต ความเชื่อ และคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ ประสบการณ์ และอารมณ์ (Experiential &emotional aspects) อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ความหวัง ความสงบ ความสามารถในการให้และรับความรัก ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโลกภายใน กับธรรมชาติ กับสิ่งแวดล้อมภายนอก และสิ่งที่เหนือธรรมชาติ พฤติกรรมที่แสดงออก (Behavioral aspects) การแสดงออกภายนอกที่มองเห็นได้ สอดคล้องกับความเชื่อและสภาวะภายในของตัวเอง

  25. Spirituality vs Religion Spirituality จิตวิญญานมีความหมายกว้างๆ ครอบคลุมทั้งมุมมองทางศาสนา และที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา Religion ศาสนาเป็นวิธีที่ช่วยมนุษย์ตอบคำถามที่เกี่ยวกับจิตวิญญาน จึงมีการกำหนดความเชื่อ คำสอนเฉพาะ และสิ่งที่ต้องปฏิบัติ คนส่วนใหญ่ค้นหาจิตวิญญานของตนผ่านทางศาสนา หรือผ่านความสัมพันธ์กับสิ่งที่มีอำนาจเหนือโลก บางคนค้นพบจิตวิญญานของตนผ่านการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ งานศิลป ดนตรี ค่านิยม และสัจธรรม

  26. Spiritual suffering/ crisis ภาวะวิกฤติทางจิตวิญญาณ เกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นไม่สามารถหาหลักที่พึ่งพิงได้ในการให้ความหมายของชีวิต ความหวัง ความรัก ความสงบภายใน หรือเมื่อมีความขัดแย้งระหว่างความเชื่อกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิต

  27. Trajectory of dying: Steady decline การดำเนินโรคที่ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น มะเร็งชนิดรุนแรง Health Status Decline Spiritual crisis Death Time http://depts.washington.edu/pallcare/training/ppt.shtml

  28. Spirituality and Medicine Patient surveys 95% เชื่อว่าสุขภาวะทางจิตวิญญาณมีความสำคัญต่อสุขภาพกาย 73% คิดว่าเขาควรมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกับแพทย์ในประเด็นที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณ/ศาสนา GowriAnandarjah, Ellen Hight, Spiritual and medical practice: Using the HOPE Questions as a practical tools for spiritual assessment. Am Fam Physician 2001;63:81-88 • Physician surveys • 96% เชื่อว่าสุขภาวะทางจิตวิญญาณมีความสำคัญต่อสุขภาพกาย • อุปสรรคสำคัญในการพูดคุยประเด็นที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณคือ การไม่มีเวลา (71%) ไม่เคยเรียนและฝึกปฏิบัติ (59%) ไม่ง่ายที่จะรู้ว่าคนไข้คนไหนอยากให้คุยเรื่องแบบนี้ด้วย (56%)

  29. Plato said, “The greatest mistake in the treatment of diseases is that there are physicians for the body and physicians for the soul, although the two cannot be separated.” พลาโตกล่าวว่า “ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ในการรักษาโรคคือการที่มีแพทย์ฝ่ายกายและแพทย์ฝ่ายวิญญานแยกกัน ทั้งๆ ที่ทั้งสองส่วนนี้ไม่สามารถแยกจากกันได้

  30. Spiritual assessment • Informal assessment • ประเมินได้ทุกเวลาเมื่อโอกาสอำนวย การฟังเป็นเครื่องมือสำคัญ • คนไข้มักแสดงออกโดยการเล่าเรื่องซึ่งแฝงไปด้วยข้อมูลด้านจิตวิญญาณ เช่น ความหมายของชีวิตตนเอง ความหวัง-ความสิ้นหวัง ความกลัว • ทำให้เราเข้าใจได้ว่าความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยเป็นอย่างไร มี spiritual suffering หรือไม่ • Formal assessment • การประเมินโดยใช้ข้อคำถาม ร่วมไปกับการประเมินด้านอื่นในระบบ routine เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านความเชื่อและการปฏิบัติ และประเมินว่าสิ่งนั้นจะมีบทบาทหรือโอกาสในการเยียวยาผู้ป่วยหรือไม่

  31. The HOPE Questionsfor a Formal Spiritual Assessment in a Medical Interview H: Source of hope, meaning, comfort, strength, peace, love, and connection O: Organized religion P: Personal spirituality and practices E: Effects on medical care and end-of-life issues GowriAnandarjah, Ellen Hight, Spiritual and medical practice: Using the HOPE Questions as a practical tools for spiritual assessment. Am Fam Physician 2001;63:81-88

  32. การประเมินด้านจิตวิญญานการประเมินด้านจิตวิญญาน

  33. การดูแลด้านจิตวิญญาน • มองให้เห็น และตอบสนอง • มีความกรุณา • อยู่กับปัจจุบันขณะ • ฟังอย่างตั้งใจ • สนับสนุนความหวัง (ที่ไม่เกินจริง) • ไม่จำเป็นต้องพูดคุยเรื่องพระเจ้าหรือศาสนา

  34. ปัจจัยความสำเร็จของการดูแลด้านจิตวิญญาณปัจจัยความสำเร็จของการดูแลด้านจิตวิญญาณ ความเข้าใจจิตวิญญาณของตนเองของผู้ประเมิน เข้าใจอย่างลึกซึ้งในความเชื่อด้านจิตวิญญาณของตนเอง ต้องไม่ตัดสิน และอยู่บนฐานของการมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง สัมพันธภาพระหว่างผู้ให้การรักษากับผู้ป่วย ความไว้วางใจทำให้เปิดใจพูดคุย เวลา และวิธีการที่เหมาะสม วางตัวเป็นธรรมชาติ เรียงลำดับประเด็นสนทนา (กาย -จิต -สังคม -จิตวิญญาณวิธีการรักษา- การช่วยเหลือ- การสนับสนุน- ทางเลือก- เสริม) • การสนทนาเชิงลึก จำเป็นต้องอาศัยผู้มีทักษะในการแปรความหมายของคำพูดและภาษากาย

  35. Continuity of Care: สมดุลระหว่าง Disease-focused และ Comfort-focused http://www.cancernetwork.com

  36. CONCEPTS OF CONTINUITY การดูแลต่อเนื่องเป็นผลรวมของ 3 ประการ • ความต่อเนื่องของข้อมูล(Informational continuity) • การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างผู้ให้บริการในทีม ระหว่างหอผู้ป่วย ระหว่างโรงพยาบาล เพื่อสามารถนำไปใช้ได้ทันเวลา • ความต่อเนื่องของความสัมพันธ์ (Relational continuity) • ผู้ป่วยและทีมผู้ให้บริการมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง • ความต่อเนื่องของการจัดการ (Management continuity) • การจัดบริการที่หลากหลาย และเข้าถึงง่าย และการประสานงานระหว่างผู้ให้บริการและผู้เกี่ยวข้อง Denis Pereira Gray, et al. Towards a theory of continuity of care. J R Soc Med 2003:160-166

  37. การดูแลต่อเนื่องตลอดระยะการดำเนินโรคการดูแลต่อเนื่องตลอดระยะการดำเนินโรค http://www.cancernetwork.com

  38. สรีรวิทยาในระยะเผชิญความตายสรีรวิทยาในระยะเผชิญความตาย • ความอ่อนเพลีย (weakness / fatigue) ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี การช่วยขยับและบริหารข้อ หมั่นพลิกตัว และบีบนวดสัมผัสเบาๆ ก็เพียงพอ • ความเบื่ออาหาร ความเบื่ออาหารเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย ทำให้มีสารคีโตนในร่างกายเพิ่มขึ้น สารคีโตนทำให้ความเจ็บปวดบรรเทาลง • ดื่มน้ำน้อยลง ภาวะขาดน้ำกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ทำให้รู้สึกสบาย End of Life สุมาลี นิมมานนิตย์

  39. สรีรวิทยาในระยะเผชิญความตายสรีรวิทยาในระยะเผชิญความตาย • การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือด ช็อก ชีพจรเต้นเร็ว มี peripheral และ central cyanosis ปัสสาวะลดลง • การหายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง ญาติตื่นตระหนก กลัวผู้ป่วยทรมาน ความจริง ผู้ใกล้ตายมิได้รู้สึกเช่นนั้น • การเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท Usual roadรู้สึกง่วง และนอนหลับตลอดเวลา รู้สึกตัวน้อยลงเป็นลำดับ จนหมดสติและตายในที่สุด Difficult road กระวนกระวาย อาจเพ้อ กระตุก ชัก และในที่สุดไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิต End of Life สุมาลี นิมมานนิตย์

  40. วางแผน “การตายดี” อย่างไร

  41. “พรุ่งนี้ข้าจะเผชิญความตาย จะเดินไปสู่ความตาย และไม่กินอะไรอีก” “......นั่นเป็นเรื่องที่น่าตกใจ แต่ในแง่หนึ่งเพราะเรามีประเพณีเช่นนั้น นี่เป็นวิถีทางซึ่งผู้มีศรัทธาเคร่งศาสนาและมีใจใฝ่ธรรมละโลก เป็นมรรคาที่พวกเขาเลือกจะตาย ด้วยเหตุนี้แม่จึงถูกมองว่าเป็นคนกล้าหาญยิ่ง” สาธิส กุมาร สาธิส กุมาร เรื่องราวชีวิตอย่างย่อ ใน จอห์น เลน สู่วัยชราอย่างมีศิลปะ แรงบรรดาลใจเพื่อชีวิตที่งามอุดม. 2555

  42. End of Life Care ในระยะสุดท้ายของผู้ป่วย ยิ่งเรารักษาแบบ aggressive มากเท่าไร คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก็ยิ่งแย่ และญาติก็ยิ่งทุกข์ใจมากเท่านั้น More aggressive medical care was associated with worse patient quality of life and depression among caregivers. Wright AA: JAMA2008; 300:1165-1673 ความพอดีของการใช้เทคโนโลยีอยู่ตรงไหน?

  43. ระยะเผชิญความตาย จะดูแลผู้ป่วยให้ “ตายดี” ได้อย่างไร ลดหรือหยุดยา และวิธีการตรวจ/การรักษาที่ไม่จำเป็น รักษาอาการปวด และอาการรบกวนที่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน สื่อสารบอกผู้ป่วยและครอบครัวด้วยวิธีที่เหมาะสม ประเมินและตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาน วางแผนการดูแลขณะเผชิญความตายของผู้ป่วย ร่วมกับครอบครัว

  44. Addressing spiritual needs • Truly listening/active listening, “Being there” • Accompanying, not guiding ทำงานแบบที่ใช้หัวใจคิด

  45. การตายดี...ที่พึงประสงค์การตายดี...ที่พึงประสงค์ GOOD DEATH • รู้ตัวและมีสติรับรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้น • ไม่เจ็บปวด ไม่ทุกข์ทรมาน • ได้รับการดูแลด้านจิตใจ จิตวิญญาน • มีความเป็นส่วนตัว เลือกได้ว่าจะตายที่ใด • มีคนรักอยู่ใกล้ มีเวลากล่าวคำอำลา • พร้อมไปเมื่อเวลามาถึง ไม่ยื้อชีวิต รัตนา พันธ์พานิช

  46. LIVING WILL กฎหมายพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2550 “พินัยกรรมชีวิต”"บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้...เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

  47. ความตาย....ประตูสู่สภาวะใหม่ความตาย....ประตูสู่สภาวะใหม่ “........การตายอย่างสงบ เป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญโดยแท้ อาจสำคัญยิ่งกว่าสิทธิในการลงคะแนนเสียงหรือสิทธิที่จะได้ความยุติธรรมเสียอีก....... ทุกศาสนาสอนว่า การตายอย่างสงบเป็นสิทธิที่มีผลอย่างมากต่อความปกติสุข และอนาคตทางจิตวิญญาณของผู้ใกล้ตาย ไม่มีสิ่งประเสริฐใดๆ ที่คุณสามารถจะให้ได้ นอกเหนือจากการช่วยให้บุคคลได้ตายดี” SogyalRimpoche

  48. Head, Hands and Heart of Palliative Care No curative Rx  Failure No curative Rx  Nothing to do เรายังมีสิ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยได้เสมอ แม้เขาจะตายในอีกไม่ช้า

  49. Palliative care: สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ เข้าใจหลักคิดชีวิตคือองค์รวม การเกิดและการตายเป็นธรรมดาของทุกชีวิต ช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีชีวิตที่ดีที่สุดจนถึงวันที่ต้องตาย ต้องไม่เร่ง หรือยื้อการตายของผู้ป่วยเมื่อเวลานั้นมาถึง รักษาอาการปวดและอาการทุกข์ทรมานของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ผสมผสานการดูแลด้านจิตใจ จิตวิญญาณในการดูแลผู้ป่วย เริ่มต้นทันทีควบคู่ไปกับการดูแลที่เน้นการรักษาที่ตัวโรค ใช้หัวใจมากกว่าสมองในการทำงาน

More Related