280 likes | 791 Views
ความ ต้องการสารสนเทศ. อ.ธิดารัตน์ สาระ พล. Guideline ความต้องการสารสนเทศ. งานกลุ่ม( 1 )ก่อนเรียน 10 นาที. นักศึกษา จัดตั้งกลุ่ม 6-7 คน (เตรียมกระดาษเปล่ากลุ่มละ 1-2 แผ่น) ตั้งชื่อกลุ่ม อันแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ อัต ลักษณ์ สัญลักษณ์ รูปลักษณ์ ฯลฯ ที่ชัดเจนของกลุ่ม
E N D
ความต้องการสารสนเทศ อ.ธิดารัตน์ สาระพล
Guideline ความต้องการสารสนเทศ
งานกลุ่ม(1)ก่อนเรียน 10 นาที • นักศึกษาจัดตั้งกลุ่ม 6-7 คน (เตรียมกระดาษเปล่ากลุ่มละ 1-2 แผ่น) • ตั้งชื่อกลุ่ม อันแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ สัญลักษณ์ รูปลักษณ์ ฯลฯ ที่ชัดเจนของกลุ่ม • นำเสนอ ชื่อกลุ่ม พร้อมอธิบายเหตุผลของชื่อกลุ่ม • คะแนน 2 คะแนน
ความต้องการ ความหมาย 1 • ประยูรศรี มณีสร (2532, 99-100)กล่าวว่า ความต้องการ หมายถึง ความอยากได้อยากมี มนุษย์มีความต้องการตามธรรมชาติหากได้รับการตอบสนองตามความต้องการนั้น ก็จะมีความสุขในชีวิต เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความพยายามที่จะทำประโยชน์ต่อไป แต่ถ้าไม่ได้รับการตอบสนองอย่างที่มุ่งหวังไว้ ก็ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ขึ้น
ความต้องการ ความหมาย • ประยูรศรี มณีสร (2532, 99-100)กล่าวว่า ความต้องการ หมายถึง ความอยากได้อยากมี มนุษย์มีความต้องการตามธรรมชาติหากได้รับการตอบสนองตามความต้องการนั้น ก็จะมีความสุขในชีวิต เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความพยายามที่จะทำประโยชน์ต่อไป แต่ถ้าไม่ได้รับการตอบสนองอย่างที่มุ่งหวังไว้ ก็ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ขึ้น
ทฤษฎีความต้องการ • ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (1974) Hierachy of Needs • ความต้องการทางด้านร่างกาย • ความต้องการความปลอดภัย • ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ • ความต้องการการยอมรับนับถือ • ความต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดแห่งตน • ทฤษฎีความต้องการ ERG ของ Alderfer(1969) • ความต้องการที่จะดำรงชีวิต • ความต้องการด้านความสัมพันธ์ • ความต้องการด้านความเจริญเติบโต
ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์(Maslow, 1974)
ทฤษฎีความต้องการ ERGของอัลเดอร์เฟอร์ (Alderfer, 1969)
ความต้องการสารสนเทศ ความหมาย 1 อัครพร สุทธิกุญชร (2534, 17) ให้ความหมายว่า หมายถึง ความอยากได้อยากมีข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ เรื่องราวต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการตอบปัญหาหรือตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ความต้องการสารสนเทศ ความหมาย 2 ความต้องการสารสนเทศหมายถึง การตระหนักรู้ถึงความไม่รู้หรือความไม่แน่ใจที่มีอยู่ของสารสนเทศ และต้องการสารสนเทศเพื่อช่วยให้สามารถดาเนินการต่าง ๆ ได้ เช่น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เพื่อเสริมสร้างความแน่ใจ เพื่อแก้ไขปัญหา และเพื่อตัดสินใจ เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของความต้องการสารสนเทศวัตถุประสงค์ของความต้องการสารสนเทศ • เพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น • เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ • เพื่อการศึกษาและพัฒนาทั้งในส่วนตนและสังคม • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานหรือการบริหารงาน • เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัวและการงาน • เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยให้มีประสิทธิภาพ
ประเภทของสารสนเทศที่บุคคลต้องการประเภทของสารสนเทศที่บุคคลต้องการ • สารสนเทศที่ต้องรู้ เช่น กฎหมาย หน้าที่ และความรับผิดชอบของประชาชนต่อประเทศชาติ • สารสนเทศที่ควรรู้ เช่น ข่าวความเคลื่อนไหวในสังคม เพื่อจะได้ทราบว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม • สารสนเทศที่อยากรู้ เช่น ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์แวดล้อม เพื่อสนองความต้องการแต่ละบุคคล
การกำหนดความต้องการสารสนเทศการกำหนดความต้องการสารสนเทศ • เข้าใจวัตถุประสงค์ในการใช้สารสนเทศ • กำหนดกรอบความต้องการ กำหนดคำถามเพื่อหาคำตอบได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร • เชื่อมโยง สารสนเทศที่ต้องการ กับความรู้เดิมที่มีอยู่ • กำหนดหรือตั้งคำถามได้ว่า ความต้องการนั้นเป็นแบบปลายเปิด หรือการแสวงหาทางเลือก หรือต้องการคำตอบว่าใช่ หรือไม่ใช่
การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ กำหนดหัวข้อ หรือ Topic โดย • ค้นหาความสนใจ/ความต้องการของตนเองที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งความสนใจ/ความต้องการนั้นยังอาจยังไม่ได้รับคำตอบหรือไม่ได้รับคำตอบเพียงพอ • (งานกลุ่ม)ปรึกษาหารือกันในกลุ่ม หรือ กับอาจารย์ผู้สอน เพื่อกำหนดหัวข้อหรือ Topic ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า
การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ • ขยายประเด็นแนวคิด ของสารสนเทศที่ต้องการตาม Topic ที่กำหนด โดย • ใช้แหล่งสารสนเทศ เพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อที่ต้องการค้นคว้า • ใช้ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ในตนเอง เพื่อขยายไปสู่ความรู้ใหม่ • กำหนดขอบเขตหรือกรอบความต้องการสารสนเทศ โดยให้ประเด็นแนวคิดต่างๆมีความสัมพันธ์กัน โดยควรทำในรูปแบบของ แผนที่ความคิด(Concept mapping) จะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของแนวคิดที่เกิดจากการระดมสมองในกลุ่มได้ง่าย
งานกลุ่ม(2) • สมาชิกกลุ่มร่วมกันกำหนดหัวข้อ(Topic)เพื่อทำรายงาน 1 กลุ่ม ต่อ 1 หัวข้อ • อภิปรายในชั้นเรียน/บริเวณห้องเรียน/ห้องสมุด (30-45 นาที) • กลุ่มนำเสนอ หัวข้อ กลุ่มละ 3-5 นาที
Concept Mapping • Mind Map • Mind Mapping • แผนที่ความคิด • ผังมโนทัศน์ • แผนที่มโนทัศน์
วิธีการในการเรียนรู้ Concept Mapping • เรียนรู้วิธีคิด/ฝึกคิด • มองกว้าง มองลึก มองทั้งสองแบบสลับไปมา • แบ่งความคิดเป็นช่วงชั้น ฝึกการคิดเป็นช่วงชั้น
องค์ประกอบในการเขียน Concept Mapping • กระดาษแผ่นเดียว • สีสันหลากหลายและเป็นระบบ • โครงสร้างตามธรรมชาติที่แผ่กระจายออกมาจุดศูนย์กลาง • มีเส้นโยง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ และรูปภาพที่ผสมผสานร่วมกันอย่างเรียบง่าย
วิธีการเขียน Concept Mapping • กระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัด โดยวางกระดาษในแนวนอน • วาดภาพหรือเขียนข้อความที่สื่อถึงเรื่องที่จะทำไว้กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต • เขียนเป็นคำที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย • แตกความคิดหลักของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องออกเป็นกิ่ง ๆ • แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง
ข้อพึงปฏิบัติในการเขียน Concept Mapping • การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลักที่มีความหมายชัดเจน • คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การตีกรอบ • ควรตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน
งานกลุ่ม(3) Concept mapping • นักศึกษาเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เช่น สี ดินสอ • นักศึกษาจัดทำ Concept Mapping (30-45 นาที)
การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ • Content • Nature • Quantity • Format • Data Range • Quality • Language
คุณลักษณะของสารสนเทศ • สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ • สารสนเทศที่มีลักษณะสอดคล้องกับค่านิยม ความเชื่อ และ ทัศนคติของบุคคล • สารสนเทศที่ได้มาด้วยความสะดวก • สารสนเทศที่มีลักษณะเฉพาะสามารถตอบสนองความต้องการ เฉพาะอย่างของบุคคลได้ • สารสนเทศที่มีความหลากหลาย ถูกต้องและครบถ้วน
การวางแผนในการค้นหาสารสนเทศการวางแผนในการค้นหาสารสนเทศ • ห้วงระยะเวลาในการแสวงหาสารสนเทศ • แหล่งสารสนเทศที่จะใช้ค้นหา • ทรัพยากรสารสนเทศที่จะใช้
งานกลุ่ม(4) • นักศึกษากำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ • นักศึกษาวางแผนในการค้นหาสารสนเทศ (30-60 นาที)