1 / 46

เทคโนโลยีการแสดงผล และจัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดีย

บทที่ 2. เทคโนโลยีการแสดงผล และจัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดีย. เทคโนโลยีที่ใช้แสดงผลมัลติมีเดีย. จอภาพซีอาร์ที ( Cathode Ray Tube : CRT) จอภาพ แอล ซีดี ( Liquid Crystal Display : LCD) จอภาพพลาสม่า ( Plasma Display Panel : PDP) การ์ดแสดงผล ( Video Adapter Card). จอภาพ. จอแบบ CRT. จอแบบ LCD.

bart
Download Presentation

เทคโนโลยีการแสดงผล และจัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดีย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 เทคโนโลยีการแสดงผลและจัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดีย

  2. เทคโนโลยีที่ใช้แสดงผลมัลติมีเดียเทคโนโลยีที่ใช้แสดงผลมัลติมีเดีย จอภาพซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT) จอภาพแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD) จอภาพพลาสม่า (Plasma Display Panel : PDP) การ์ดแสดงผล (Video Adapter Card)

  3. จอภาพ จอแบบ CRT จอแบบ LCD จอขาวดำ Monochrome CRT จอสี Color CRT จอโค้ง จอแบน เทคโนโลยีที่ใช้แสดงผลมัลติมีเดีย เทคโนโลยีจอภาพ (Monitor) แสดงผล

  4. จอภาพซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT) • โครงสร้างและหลักการทำงาน • จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) เป็นจอภาพที่ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีหลอดภาพที่เรียกว่า “หลอดรังสีแคโทด” เป็นหลอดแก้วสุญญากาศ ใช้หลักการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในของจอภาพ ผิวของจอภาพดังกล่าวจะฉาบด้วยสารเคมีที่เรียกว่า “ฟอสเฟอร์” ทำให้ตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนวิ่งมาชนเกิดแสงสว่างขึ้น โดยมีขดลวดที่ทำให้ลำแสงหักเหไปตามนามตั้งและแนวนอน ทำให้เกิดแสงสว่างที่แต่ละจุดทำให้เห็นเป็นภาพโดยเรียกจุดบนจอภาพว่า “พิกเซล(Pixel)”

  5. จอภาพซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT) • โครงสร้างและหลักการทำงาน • จอซีอาร์ที (CRT :Cathode Ray Tube)

  6. การกวาดลำแสดงอิเล็กตรอนแบบ Raster Scanning พิกเซลและลำแสงอิเล็กตรอนประกอบด้วย 2 สถานะคือ สถานะ ONซึ่งจะทำให้พิกเซลสว่าง และเมื่อพิกเซลไม่ถูกยิงโดยลำแสงอิเล็กตรอนจะมีสถานะเป็น OFFทำให้จุดบนหน้าจอมืด

  7. การกวาดลำแสดงอิเล็กตรอนแบบ Raster Scanning

  8. การกวาดลำแสดงอิเล็กตรอนแบบ Raster Scanning RasterScanDisplay

  9. เฟรมเรต (Frame rate) และอัตรารีเฟรช(Refresh rate) • เฟรมเรต (Frame rate) คือ อัตราการแสดงผลบนหน้าจอใน 1 วินาที มีหน่วยเป็นเฟรมต่อวินาที (fps) • อัตรารีเฟรช(Refresh rate) คือ จำนวนครั้งในการแสดงภาพบนหน้าจอใน 1 วินาที โดยคำนวณจากการกวาดของลำแสงอิเล็กตรอน (Raster scanning) ใน 1 วินาที ถ้าอัตรารีเฟรชต่ำจะทำให้จุดบนจอภาพมีความสว่างลดลงก่อนถูกยิงด้วยลำแสงอิเล็กตรอนซ้ำ ส่งผลให้ภาพเกิดการสั่น โดยทั่วไปมีหน่วยเป็นเฮิร์ต(Hz) โดยทั่วไปจอภาพจะมีอัตรารีเฟรช60-70Hz

  10. อัตรารีเฟรช(Refresh rate)

  11. อัตรารีเฟรช(Refresh rate)

  12. อัตรารีเฟรช(Refresh rate) • Interlaced คือการแสดง(สร้าง)ภาพแบบสลับเส้น เกิดจากการ Scan ให้เกิดภาพ 2 รอบ โดยที่รอบแรกจะ Scan เส้นคู่ คือ 2,4,6... รอบที่สองจะ Scan เส้นคี่คือ 1,3,5... • Non-Interlaced คือ Scan ภาพแบบต่อเนื่อง เรียงจากเส้นที่ 1 จนจบจอภาพ

  13. เฟรมเรต (Frame rate) และอัตรารีเฟรช(Refresh rate) การสแกนภาพในลักษณะซ้ำๆ ทำให้มนุษย์มองเห็นเป็นภาพต่อเนื่องบนจอภาพได้ โดยภาพที่ตามนุษย์มองเห็นจะค่อยๆ เลือนไป ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “Persistence of Vision” เช่น Animation เกิดจากการนำภาพมาซ้อนกันด้วยความเร็ว หลายๆฉาก หรือเรียกว่า Frame [FPS : frame per second] เช่น 1 ฉากมี 24 เฟรม/วินาที โดยการที่เราเห็นภาพ เคลื่อนไหว นั้นเกิดจากสายตาของเรา ส่งผ่านไปยังสมองทำให้เกิดภาพลวงตา ที่เรียกว่า Persistence of vision

  14. จอภาพสีซีอาร์ที (Color CRT) • ใช้หลักการทำงานของจอภาพเหมือนกับจอภาพโมโนโครมซีอาร์ที แต่ฟอสเฟอร์ของจอภาพจะมีสามสี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน เรียกว่า “อารีจีบี (RGB)” • ใช้จุดของฟอสเฟอร์สามสีในแต่ละตำแหน่งของพิกเซล โดยจุดของฟอสเฟอร์หนึ่งเปล่งสีแดง อีกจุดเปล่งสีเขียว และอีกจุดเปล่งสีน้ำเงิน • จอภาพแบบนี้จะใช้ปืนยิงอิเล็กตรอน 3 กระบอก แสงที่เปล่งออกมาจากฟอสเฟอร์ทั้งสามสีทำให้เกิดสีเป็นจุดเล็ก ๆ ในแต่ละตำแหน่งของพิกเซล

  15. จอภาพสีซีอาร์ที (Color CRT) หลักการปืนอิเล็กตรอนแม่สีแสง RGB จุดสีของจอภาพจะใช้ความเข้มของลำแสงอิเล็กตรอนที่ต่างกันเป็นตัวผสมแม่สี

  16. คุณสมบัติที่สำคัญของจอภาพคุณสมบัติที่สำคัญของจอภาพ • ความละเอียดของจอภาพ Resolution (pixel) • อัตรารีเฟรชRefresh Rate (Hz) • จำนวนสีที่จอภาพใช้แสดงผล Color Depth (bit) • ระยะห่างระหว่างจุดแต่ละจุดที่แสดงผล Dot pitch (mm) • ขนาดของจอภาพ Size (inches)

  17. ความละเอียดของจอภาพ Resolution (pixel) Resolutionคือ จำนวนจุดที่แสดงได้บนหน้าจอ หากจอภาพสามารถกำหนดความละเอียดได้สูง การแสดงผลก็จะมีความละเอียดมากขึ้น แต่ตัวอักษรบนจอภาพจะมีขนาดเล็กลงเช่น 800x600 หรือ 1024x768

  18. จำนวนสีที่จอภาพใช้แสดงผล Color Depth (bit) Color Depthหมายถึง จำนวนสีที่จอภาพสามารถใช้แสดงผลได้ โดยจอภาพที่มีColor Depthขนาด 8 บิต สามารถแสดงผลได้ 256 สี โดยทั่วไปจอภาพที่ใช้ปัจจุบันจะมีจำนวนสีอยู่ 24 บิต หรือ 16.7 ล้านสี เรียกว่า “จอภาพทรูคัลเลอร์ (True color monitor”)

  19. ระยะห่างระหว่างจุดแต่ละจุดที่แสดงผล Dot pitch (mm) Dot pitch คือระยะห่างระหว่างพิกเซล หรือระยะห่างระหว่างจุดสี ถ้าระยะห่าง น้อย ด็อดพิชมีขนาดเล็ก ภาพจะคมชัดยิ่งขึ้น โดยปกติความละเอียดจะอยู่ที่ ประมาณ 0.25 mm ถึง 0.4 mm

  20. ขนาดของจอภาพ Size (inches) • ขนาดของจอภาพปัจจุบัน นิยมขนาด 15 นิ้ว หรือ 17 นิ้ว ขึ้นไป • ขนาดของจอภาพ จะเป็นค่าโดยประมาณ มีหน่วยเป็นนิ้ว โดยวัดจากเส้นทแยงมุมด้านบนสุดของกรอบจอ ไปยังมุมล่างฝั่งตรงข้าม ของกรอบจอ • ดังนั้น จอภาพบางจอ ที่ผู้ผลิตบอกว่าเป็นขนาด 17 นิ้ว อาจจะมีพื้นที่แสดงผล เท่ากับจอขนาด 15 นิ้วบางยี่ห้อก็ได้

  21. จอภาพแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD) • จอแอลซีดี (LCDMonitors) • อาศัยการทำงานของโมเลกุลชนิดพิเศษที่เรียกว่า “ผลึกเหลว (liquidcrystal)” สามารถจัดการกับรังสีของแสงได้โดยตรง • มีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว ที่อุณหภูมิห้องผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา จะเกิดการจัดเรียงโมเลกุลใหม่ที่มีคุณสมบัติเป็นของแข็งแทน เมื่อแสงผ่านไปเรียบร้อยแล้ว จะกลับมา มีคุณสมบัติเป็นของเหลวเหมือนเดิม • มีขนาดบางและสะดวกในการเคลื่อนย้าย เหมาะกับอุปกรณ์พกพา • ไม่เปลืองพื้นที่สำหรับการทำงาน • ปัจจุบันยังมีราคาที่แพงกว่าจอแบบซีอาร์ทีมาก

  22. จอภาพแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD) • การทำงานของจอภาพ LCD (Liquid Cystalisplay) จอภาพ LCD (Liquid Cystalisplay)มีหลักการทำงานคือ ภายในจะมีหลอดฟลูออเรสเซนต์ทำหน้าที่ใช้แสงสว่างออกมาผ่านชั้นของผนึกเหลวที่เรียกว่า   Liquid Crystal  และผ่าน polarizer เพื่อให้แสงในแนวต่างๆ ผ่านมาตามการบิดตัวของแสงโดยผ่าน ฟิลเตอร์ สีอีกชั้นหนึ่งทำให้เกิดเป็นจุดสีแดงต่อเนื่องกัน ออกมาเป็นภาพสีบนหน้าจอ

  23. จอภาพแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD) • จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display)เทคโนโลยีจอ LCD ในปัจจุบันจะมี 2 แบบคือ • Passive Matrix • Active Matrix

  24. จอภาพพลาสม่า (Plasma Display Panel : PDP) • จอพลาสมา (Plasma Panel) หรือบางครั้งเรียกจอแบบนี้ว่า จอ gas-discharge เป็นจอที่สร้างโดยการใส่ส่วนผสมของแก็สกับนีออนเข้าไปในส่วนที่เป็นช่องว่างระหว่างแผ่นแก้ว 2 แผ่น • ระหว่างแผ่นแก้ว 2 แผ่นจะประกอบด้วยจุดหรือพิกเซลที่ใช้แสดงผลจำนวนมาก และภายในแต่ละจุดประกอบด้วยจุดย่อย (Subpixel) 3 จุดที่บรรจุก๊าซนีออน • ใช้สารฟอสเฟอร์เพื่อควบคุมสี แดง เขียว น้ำเงิน • ใช้ทฤษฏีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากไอออนมีการใช้ความต่างศักย์สูงในจุดที่เชื่อมต่อระหว่างแผ่นตัวนำแนวตั้งและแนวนอนเพื่อให้แก๊สตรงจุดเชื่อมต่อระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสองนั้นเกิดเป็นพลาสมาเรืองแสงที่เป็นอิเล็กตรอนและไอออน • มีขนาดใหญ่และคมชัดกว่าจอ LCD แต่มีราคาแพงกว่า

  25. จอภาพพลาสม่า (Plasma Display Panel : PDP) โครงสร้างของจอพลาสมา ตัวอย่างจอพลาสมาที่นำมาใช้งาน

  26. High Definition Television • What areHDTVs ? (บริการส่งสัญญาณโทรทัศน์ประเภทภาพความคมชัดสูง ) • HDTV ย่อมาจาก High Definition Television • เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ภาพสัญญาณโทรทัศน์มีความคมชัดสูง • มีวิธีการแบ่งช่องสัญญาณแบบใหม่เทคโนโลยีในการเข้ารหัสสัญญาณแบบใหม่ และวิธีการส่งสัญญาณแบบใหม่

  27. การ์ดแสดงผล (Display Card) • การ์ดแสดงผล หรือDisplay Cardเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณภาพแบบ digital ไปเป็น analog เพื่อแสดงผลที่จอภาพ โดยมีชื่อที่เรียกแตกต่างกันดังนี้ • Video Card/Board • Display Card/Board • Graphic Card • Graphic Adapter Card • Video Adapter Card • VGA Card • การแสดงผลที่มีสีสวยงาม โดยเฉพาะในภาพเคลื่อนไหว หรือภาพ 3 มิติ จะขึ้นกับความสามารถในการประมวลผลอย่างมาก การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ มักจะมีหน่วยประมวลผลกราฟฟิกในตัวเพื่อช่วยแบ่งเบาการทำงานของ CPU

  28. ประเภทของการ์ดแสดงผล • VGA - Video Graphics Array เป็นมาตรฐานที่ถูกพัฒนาจาก IBM จะให้ตัวอักษรที่มีระดับความคมชัดและแสดงกราฟฟิกได้ 256 สีที่ความละเอียด 320 x 220 พิกเซลและแบบ16 สีความละเอียดของภาพ 640 x 480 พิกเซล • SVGA - Super Video Graphics Array เป็นการเพิ่มความสามารถให้กับมาตรฐานวีจีเอ สามารถรองรับภาพที่มีความละเอียด 800x600 และ1024 x 768 พิกเซล (ปัจจุบันแสดงได้ถึง 1280 x 1024 พิกเซล) • XGA - Extended Graphics Array สำหรับการแสดงผลที่มีความละเอียดสูง ตั้งแต่ภาพที่มีความละเอียด 1024 x 768 พิกเซลและนำมาปรับปรุงจอภาพแบบ Wide screen

  29. Date Standard Description Resolution No. colours 1981 CGA Colour GraphicsAdapter 640x200160x200 None16 1984 EGA Enhanced GraphicsAdapter 640x350 16 from 64 1987 VGA Video GraphicsArray 640x480320x200 16 from 262,144256 1990 XGA Extended Graphics Array 1024x768 16.7 million SXGA Super Extended Graphics Array 1280x1024 16.7 million UXGA Ultra XGA 1600x1200 16.7 million มาตรฐานการแสดงผล

  30. ตัวอย่างของการ์ดแสดงผลแบบต่าง ๆ AGP PCI VESA (VL-BUS)

  31. เทคโนโลยีที่ใช้จัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดียเทคโนโลยีที่ใช้จัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดีย ซีดี (Compact Disc) ดีวีดี (Digital Versatile Disc) บลูเรย์ (Blu-Ray disc)

  32. ซีดี (Compact Disc) • CD นับว่าเป็นสื่อบันทึกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ทั้งการจัดเก็บ Audio , Video , Data , Software หรือเก็บทุกอย่างในแผ่นเดียว • CD ทั่วไปมีความจุ 650 Mb สามารถบันทึกเสียงต่อเนื่องได้ 74 นาที เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 CM หนา 1 มิลลิเมตร • Mini CD เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 Cm ความจุ 185 Mb • CD-R สามารถเขียนได้ 1 ครั้ง(เขียนซ้ำที่เดิมไม่ได้) • CD-RW สามารถเขียนซ้ำได้หลายครั้ง

  33. ซีดี (Compact Disc) ในปัจจุบัน ตัวแผ่นซีดี-รอม เป็นดิสก์หน้าเดียว ไม่มีแบบ 2 หน้า เหมือนดิสก์ทั่วๆ ไป ขนาดของแผ่นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.72 นิ้ว หรือ 120 มม. มีรูศูนย์กลางแผ่นกว้าง 0.59นิ้ว หรือ 15 มม. ตัวแผ่นจานจะทำด้วยอลูมิเนียม และเคลือบผิวด้วยพลาสติก โพลีคาร์บอเนต

  34. ซีดี (Compact Disc) • ใช้แสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูลแทนการใช้สารแม่เหล็กที่ผิวดิสก์เหมือนแผ่นดิสก์ทั่วไป • ข้อมูลจะบันทึกอยู่ในลักษณะของ Land และ Pitch หลุมซึ่งจะทำการสะท้อนหรือดูดซับแสงเลเซอร์เพื่อแทนรหัส 0 และ 1

  35. ซีดี (Compact Disc) แสดงการเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิส การอ่านข้อมูลของซีดี

  36. CD-R / RW • CD-R (Compact Disk-Recordable) เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้แต่ต้องใช้ไดรฟ์แบบ CD-R ถึงจะบันทึกข้อมูลได้และเมื่อบันทึกข้อมูลแล้วจะไม่สามารถลบข้อมูลที่ได้บันทึกไปได้ • CD-RWเป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้และสามารถลบข้อมูลเดิม ได้ด้วย ทำให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าแผ่น CD-R ธรรมดาแต่ก็มีราคาแพงกว่า ด้วย **โดยทั่วไปซีดีรอมไดรฟ์จะสามารถอ่านทั้งแผ่นซีดีรอมธรรมดาแผ่น CR-R และแผ่น CD-RW ได้แต่ถ้าต้องการให้สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่น CD-R และ CD-RW จะต้องใช้ไดรฟ์ที่เป็นไดรฟ์ CD-RW ด้วย

  37. CD-R / RW • การสร้างข้อมูลของ CD-RW จะใช้วิธีเปลี่ยนสถานะของสารเคมีซึ่งจะมีผลึกคริสตัลทำหน้าที่เรียงตัวแบบขัดขวางหรือยอมให้แสงผ่านแล้วสะท้อนกลับจากชั้นสะท้อนแสง

  38. DVD (Digital Versatile Disc) • DVD (Digital Versatile Disk) จะมีตัวแผ่นหน้าตาเหมือน CD –ROM แต่ใช้เทคโนโลยีการบีบตัด file ที่แตกต่าง ทำให้แต่ละด้านจุข้อมูลได้ 4.7 GB • แผ่น DVD ไม่สามารถอ่านโดย CD-ROM Drive ได้ เพราะเทคโนโลยีของหัวอ่านแตกต่างกัน หัวอ่านของ DVD จะมีการสะท้อนแสงต่ำกว่าแผ่น CD-ROM แต่ DVD-ROMDrive สามารถอ่านแผ่น CD ได้ • Single speed DVD-ROM drives มี data transfer rate ประมาณ1.3 Mb/s ซึ่งเร็วพอ ๆ กับ 9x CD-ROM

  39. รูปแบบของแผ่น DVD • DVD-ROM เป็นแผ่นดีวีดีที่บันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียวเหมือนกับซีดีรอมโดยการบันทึกข้อมูลจากโรงงานเราไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้ • DVD-R (DVD-Recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว โดยสามารถบันทึกได้ทั้งข้อมูลเพลงและวิดีโอ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้เขียนแผ่น • DVD-RW (DVD-Rewritable) สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้งจะเล่นได้กับไดร์ฟ DVD-R/RW บนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น • DVD+R/RWเป็นแผ่นที่ใกล้เคียงกับ DVD-RW เป็นมาตรฐานที่ทำให้แผ่นที่สามารถเขียนซ้ำได้สามารถนำไปใช้งานได้กับเครื่องเล่นดีวีดีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไดร์ฟของดีวีดีบนคอมพิวเตอร์ • DVD-RAM (DVD-Random Access Memory) เป็นดิสก์แบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม สามารถบันทึกซ้ำได้เช่นเดียวกับ DVD-R, DVD+R/RW การบันทึกข้อมูลจะเป็นแบบฮาร์ดดิสก์ สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้มากกว่า 100,000

  40. ประเภทของแผ่น DVD ปัจจุบันแบ่งเป็น 4 รูปแบบตามความจุดังนี้ 1. Single-Side, Single Layer หรือ DVD5 เป็นแผ่นที่ทำการจัดเก็บภาพได้เพียงชั้นเดียวและหน้าเดียว โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้ 4.7 กิกะไบต์ 2. Single-Side, Dual Layer : หรือ DVD9 จะคล้ายกับ DVD5คือการบันทึก ข้อมูลลงในหน้าเดียว บันทึก ข้อมูลได้ประมาณ 8.5 กิโลไบต์ 3. Double-Sided, Single Layer : หรือ DVD10 สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองหน้าบันทึกข้อมูลได้ 9.4 กิกะไบต์ 4. Double-Sided, Dual Layer : หรือ DVD18 สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองด้าน และแต่ละด้านสามารถบันทึกได้มากถึงสองชั้น บรรจุข้อมูลได้ถึง 17 กิกะไบต์

  41. DVD แบบความจุต่าง ๆ Name Capacity(GB) Layer Sides Comments DVD-5 4.7 1 1 Read from one side only DVD-9 8.54 2 1 Read from one side only DVD-10 9.4 1 2 Read from both side DVD-18 17.1 2 2 4 layers, Read from both side DVD-R 4.7/9.4 1 1 or 2 Recordable DVD DVD-RW 4.7 1 1 or 2 Re-Recordable DVD

  42. เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-ROM Drive) • มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (Average Seek Time) อัตราการถ่ายข้อมูล (Data Transfer Rate) เพื่อสามารถนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาพเคลื่อนไหวแต่ละภาพอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เกิดการกระตุก เช่น เครื่องอ่านซีดีรอมมีอัตราเร็วในการอ่านข้อมูล 50x หมายถึงสามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ 50 เท่า

  43. Blue-Ray Disc • Blu-ray เกิดจากความร่วมมือ และพัฒนาโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ 9 บริษัท ที่เรียกตัวเองว่า “The Blu-ray Disc Founders” ซึ่งประกอบไปด้วย Hitachi Ltd., LG Electronics Inc., Matsushita Electric Industrial Co., Ltd., Pioneer Corporation, Royal Philips Electronics, Samsung Electronics Co. Ltd., Sharp Corporation, Sony Corporation และ Thomson Multimedia • เป็นมาตรฐานใหม่ของการบันทึกข้อมูลบนแผ่นดิสก์ • สามารถจัดเก็บข้อมูลทั่วไปและมัลติมีเดียคุณภาพสูงกว่า CD และ DVD แต่มีขนาดเท่ากับแผ่น CD และ DVD ทั่วไป • ตั้งชื่อตามแสงเลเซอร์ที่ใช้อ่านข้อมูล ซึ่งเป็นแสงสีน้ำเงิน

  44. Blue-Ray Disc • บันทึกวีดีโอความคมชัดสูง (High Definition) ได้นานกว่า 2 ชั่วโมง • แผ่น BD-R (SL) หมายถึง BLU-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB • แผ่น BD-R (DL) หมายถึง BLU-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB • แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง BLU-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 BG • หัวอ่าน CD และ DVD ไม่สามารถอ่านข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากใช้แสงเลอเซอร์สีแดงในการอ่านแผ่น

  45. Laser Beam • ด้วยขนานเส้นผ่านศูนย์กลางของแสงที่เล็กกว่าทำให้ข้อมูลมีขนาดเล็กกว่า

  46. แบบฝึกหัด 1. ให้นักศึกษาพิจารณาอาการของจอคอมพิวเตอร์ต่อไปนี้ 1.1 ปัญหาสีเพี้ยนของหน้าจอ น่าจะเกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร 1.2 ปัญหาจอภาพสั่น หรือกระพริบอยู่ตลอดเวลา น่าจะเกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร • จงบอกความแตกต่างระหว่างจอ LCDกับจอ PLASMA และหากนักศึกษาจะต้องเลือกซื้อจอสองประเภทนี้ จะเลือกซื้อประเภทใด เพราะเหตุผลใดจงอธิบาย • จงอธิบายจอ LCD ประเภท Passive Matrix และ Active Matrix • จอ LED (Light-Emitting Diodes) คืออะไร • ซอฟแวร์สำหรับบันทึกข้อมูลลงซีดีและดีวีดีมีอะไรบ้าง จงตอบมา 5 ชนิด

More Related