380 likes | 1.42k Views
แนวคิดและทฤษฎี การประเมินโครงการ. ดร. ไพรัช บวรสมพงษ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง. จุดมุ่งหมายของการประเมินผล. เป็น การตัดสินเกี่ยวกับคุณค่า อันเนื่องมาจากความขาดแคลนและข้อจำกัดเกี่ยวกับทรัพยากรกับปัญหาและความต้องการ
E N D
แนวคิดและทฤษฎีการประเมินโครงการแนวคิดและทฤษฎีการประเมินโครงการ ดร. ไพรัช บวรสมพงษ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
จุดมุ่งหมายของการประเมินผลจุดมุ่งหมายของการประเมินผล • เป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณค่าอันเนื่องมาจากความขาดแคลนและข้อจำกัดเกี่ยวกับทรัพยากรกับปัญหาและความต้องการ • เพื่อใช้ในการกำหนดและกำจัดปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ความไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • เป็นแนวทางในการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนา ทั้งในระดับนโยบายและแผน และการปฏิบัติงาน • เป็นข้อมูลป้อนกลับที่จำเป็นเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ อาทิ โครงการมีผลการดำเนินเป็นอย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่
จุดมุ่งหมายของการประเมินผล (ต่อ) • การประเมินผลเป็นวิธีการ/ เครื่องมือหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบการปฏิบัติงาน เพื่อทราบถึงความสำเร็จของงาน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น • ในระดับหน่วยงานองค์กร การประเมินผลจะช่วยให้ทราบว่าสิ่งที่ดำเนินการอยู่เป็นอย่างไร สามารถจัดการปัญหาได้อย่างไร และจะปรับปรุงการปฏิบัติงานได้อย่างไร
ความหมายของการประเมินผลความหมายของการประเมินผล • การกำหนดหรือระบุคุณค่าเพื่อใช้ในการตรวจสอบหรือการตัดสิน • การสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการ และการปฏิบัติ อันนำไปสู่การสำรวจประเด็นการศึกษาใหม่ • การตัดสินคุณค่า หรือการประเมินเพื่อให้คุณค่ากับบางสิ่งบางอย่าง • การกำหนดระบุ การทำให้กระจ่าง และการนำไปใช้ เกี่ยวกับเกณฑ์เพื่อกำหนดหรือประเมินค่า (คุณค่า) บางสิ่งตามเกณฑ์ดังกล่าว • เป็นวิธีการค้นหาและตัดสินอันประกอบด้วย การกำหนดมาตรฐานสำหรับการประเมิน การรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น และการนำเกณฑ์ไปใช้ตัดสินเชิงคุณค่า อรรถประโยชน์ ประสิทธิภาพ และความสำคัญ
คำนิยมที่ใช้เกี่ยวกับการประเมินผลคำนิยมที่ใช้เกี่ยวกับการประเมินผล • การประมาณการ การประเมินค่า การประเมินผล • การตรวจสอบ • การวิเคราะห์ • การให้ค่า การกำหนดค่าอัตรา การให้คะแนน • การตัดสิน • การทบทวน • การศึกษา การทดสอบ เป็นต้น
วางแผน (Planning) ประเมินผล (Evaluation) ปฏิบัติการ (Actions) ติดตาม (Monitoring) วงจรการวางแผนแบบดั้งเดิม(Conventional Model)
ความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับการประเมินผลความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับการประเมินผล • การประเมินผลเป็นกิจกรรมที่ไร้ประโยชน์ เนื่องจากให้ข้อมูลที่น่าเบื่อ และมีข้อสรุปที่ใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้ • การประเมินผลนั้นเกี่ยวข้องกับการพิสูจน์ว่าแผนงาน/ โครงการสำเร็จหรือล้มเหลว • การประเมินผลเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะ และมีความซับซ้อน (ยาก) ซึ่งควรเป็นนักประเมินจากภายนอกองค์กรเท่านั้นจึงจะดำเนินการได้
ผลพวงที่เกิดขึ้นต่อ “การประเมิน” • ทัศนะของคนต่อการประเมิน ไม่เปลี่ยนแปลง (เป็นลบ) • รู้สึกว่าเป็นเรื่องการตรวจสอบ จับผิด มีผลให้บิดเบือน ข้อมูล และเกิดภาวะ “ผักชี” • รู้สึกว่าเป็นการเพิ่มภาระ คนประเมินไม่มี “ตัวตน” • รู้สึกโล่งอก เมื่อหน่วยงานได้ Accredited และไม่ต้องมาตรวจอีก 3 ปี
ผลพวงที่เกิดขึ้นต่อ “การประเมิน” (ต่อ) • ขาดการใช้ข้อมูลการประเมิน (สำคัญมากเพราะเป็นตัวขับเคลื่อนทางปัญญา) • ทำตัวชี้วัด (ส่งสำนักงบฯ) แต่ไม่ได้วัดผลตามตัวชี้วัด หรือวัดบางตัว เช่น ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ • มีข้อมูล แต่ไม่ได้ใช้ข้อมูลในการบริหารอย่างแท้จริง (Result-based Management)
ผลพวงที่เกิดขึ้นต่อ “การประเมิน” (ต่อ) • ขาดการลงทุนด้านการประเมิน (งบประมาณ โครงสร้าง บุคลากร เป็นต้น) • ตัวแบบไม่นิ่ง เปลี่ยนไปมา (5 ส, QC, PBBS, PSO, BSC) ทำให้ระดับปฏิบัติ “ฝุ่นตลบ” • ยังคงเชื่อฝีมือ ผู้ประเมินภายนอก มากกว่า ผู้ประเมินจากภายในองค์กร
อะไรคือการประเมินผลโครงการอะไรคือการประเมินผลโครงการ • การประเมินโครงการหรือการประเมินผลโครงการเป็นการรวบรวบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการพิจารณาตัดสินคุณค่าตามประเด็นเนื้อหาหรือจุดมุ่งหมายที่ประสงค์ไว้ • การประเมินผลโครงการจะมีการกำหนดเกณฑ์คุณค่าเพื่อใช้ในการพิจารณา อันเป็นข้อบ่งชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลว ตลอดจนปัญหา ข้อขัดข้องอันเนื่องจากการดำเนินโครงการ • การประเมินผลโครงการจำเป็นต้องพิจารณาถึงภาพรวมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้งในแง่วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์หน่วยงาน
อะไรคือการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • การประเมินผลโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณาถึงประเด็นความสอดคล้องระหว่างแผนยุทธศาสตร์กับโครงการว่าเป็นอย่างไร ตลอดจนความสำเร็จของโครงการที่มีต่อแผนยุทธศาสตร์ว่ามีรูปธรรมอย่างไร • การประเมินผลโครงการจึงเป็นการศึกษาถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่อย่างไร เพื่อเพิ่มข้อมูลความมีเหตุผลในการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการตลอดจนการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้บรรลุแผนยุทธศาสตร์
วัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการวัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการ • เพื่อวัดผลลัพธ์ของโครงการโดยการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นกับเป้าหมายของโครงการ • สิ่งสำคัญของการประเมินผลโครงการคือการต้องทราบถึงวัถตุประสงค์ของโครงการ และความสำเร็จของโครงการที่กำหนดผ่านตัวบ่งชี้ที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ • การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลโครงการจำเป็นต้องทราบถึงขอบเขต ขนาด ระยะเวลา ความชัดเจนและความเฉพาะของปัจจัยนำเข้า
วัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • ขอบเขตของโครงการ หมายถึง ความครอบคลุมเชิงพื้นที่ของโครงการ เช่น โครงการระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับเมือง ระดับชุมชน หรือบางโครงการอาจมีความเฉพาะเจาะจงเพียงบางพื้นที่ • ขนาด หมายถึง ความครอบคลุมเชิงบุคคลเป้าหมายของโครงการ เช่น ผู้รับประโยชน์ของโครงการอาจมีจำนวนจำกัดตามวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือโครงการที่มีความครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ • ระยะเวลา หมายถึง ช่วงเวลาในการดำเนินการของโครงการ
วัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • ความชัดเจนและความเฉพาะเจาะจงของปัจจัยนำเข้า หมายถึง ข้อบ่งชี้ที่จะเป็นตัวกำหนดถึงความชัดเจนเชิงเป้าหมายของโครงการ ซึ่งบางโครงการอาจมีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่บางโครงการอาจมีความคลุมเครือ เช่น โครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
ขั้นตอนของการประเมินผลโครงการขั้นตอนของการประเมินผลโครงการ • การประเมินผลโครงการเป็นกระบวนการที่ต้องกระทำอย่างมีขั้นตอน สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของโครงการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ขั้นตอน อันได้แก่ • การกำหนดวัตถุประสงค์ที่จะประเมิน • การเลือกวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะวัด • การเลือกเครื่องมือในการประเมิน และกระบวนการประเมิน • การเลือกกลุ่มตัวอย่าง • การเลือกเทคนิควิธีการวิเคราะห์ข้อมูล • การเขียนรายงานสรุป และข้อเสนอแนะ
ขั้นตอนของการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • การกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการประเมิน หมายถึง เป็นการกำหนดเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องการประเมิน ซึ่งวัตถุประสงค์ของการประเมินอาจไม่ใช่วัตถุประสงค์ของโครงการ เนื่องจากผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการมีหลายลักษณะ หลายระดับ • การเลือกวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการจะวัด ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับระยะเวลาของการวัด เช่น การวัดผลเฉพาะหน้า/ ระยะสั้น หรือการวัดผลระยะยาว ความยั่งยืนของโครงการ และงบประมาณที่อาจจะเป็นข้อจำกัดในการประเมินผลโครงการระยะยาวได้
ขั้นตอนของการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • การเลือกเครื่องมือ และกระบวนการในการประเมินผลโครงการ หมายถึง การกำหนดเนื้อหาการประเมินให้ตรงกับเจตนารมณ์ของการประเมินโดยการสร้างเครื่องมือเพื่อที่จะใช้ในการประเมินผล • การเลือกกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง ผู้ที่เป็นกลุ่มตัวแทนหรือกลุ่มผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการทั้งหมด และอาจรวมถึงกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากการดำเนินโครงการ
ขั้นตอนของการประเมินผลโครงการ (ต่อ) • การเลือกเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการว่าเป็นอย่างไร เช่น โครงการที่มีลักษณะเปิด-ปิด • การเขียนรายงานสรุปและข้อเสนอแนะ เป็นการนำเสนอถึงสารสนเทศ/ ข้อค้นพบอันเกิดจากการดำเนินโครงการเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
ขอบเขตของการประเมินผลโครงการขอบเขตของการประเมินผลโครงการ • เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับ • อะไร (What) คือลักษณะโครงการ สภาพปัจจุบัน ประเด็นและปัญหา ข้อสมมติที่ต้องการจะทดสอบ ตลอดจนตัวบ่งชี้ในความก้าวหน้าในแต่ละระยะ • ทำไม (Why) คือเหตุผลของการประเมินเพื่อการตรวจสอบโครงการว่าเป็นอย่างไรทั้งในด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ในการวางแผนหรือออกแบบโครงการใหม่ หรือเพื่อรายงานความก้าวหน้า • อย่างไร (How) คือ ลักษณะรูปแบบ วิธีการที่ใช้ในการประเมินว่าเป็นอย่างไร • ใคร (Who) คือผู้ที่จะทำการประเมินว่ามาจากที่ใด • เมื่อใด (When) คือ กำหนดการในการประเมิน รวมถึงประมาณการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ข้อควรพิจารณาในการประเมินผลโครงการข้อควรพิจารณาในการประเมินผลโครงการ • การประเมินผลโครงการเป็นกิจกรรมที่บ่งชี้ถึงผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น แต่ในบางกรณีก็มีเหตุผลที่ไม่สนับสนุนให้มีการประเมินเกิดขึ้นอันได้แก่ • เมื่อไม่มีคำถามเกี่ยวกับความก้าวหน้าของโครงการ และการตัดสินใจเกี่ยวกับความจำเป็นหรืออนาคตของโครงการได้กำหนดไปแล้ว • เมื่อโครงการไม่มีภูมิหลังที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ทำงานแบบไร้ทิศทาง มีการเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานไปเรื่อยๆ จนไม่เห็นสภาพของโครงการ • ผู้ที่ทราบเป้าหมายของโครงการไม่สามารถตกลงกันได้ว่าวัตถุประสงค์ของโครงการคืออะไร • ขาดการสนับสนุนการประเมินทั้งด้านงบประมาณ บุคลากรที่จะทำการประเมิน
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการประเมินผลโครงการข้อควรระวังเกี่ยวกับการประเมินผลโครงการ • โครงการมักจะขาดเป้าหมายที่ชัดเจน เป้าหมายมีความคลุมเครือ ยากแก่การกำหนดความสำเร็จ รวมทั้งโครงการไม่มีความสอดคล้องกับแผนงาน/ แผนยุทธศาสตร์ • โครงการไม่สามารถเคลื่อนไปสู่เป้าหมายตามที่กำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องหาผลที่ไม่คาดหวังที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ • โครงการมีการดำเนินกิจกรรมในหลายส่วน แต่ขาดการระบุความสำเร็จเชิงเป้าหมาย ทำให้ข้อมูลที่ได้รับอาจชี้แต่เพียงอุปสรรค ความล้มเหลว • นักประเมินโครงการมักจำมองแต่เพียงความสำเร็จของโครงการ โดยมิได้มองความล้มเหลวหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น ทำให้ขาดข้อมูลสำคัญในการยกระดับโครงการหรือการวางแผนการพัฒนา
การวิจัยเป็นการหาข้อสรุปการวิจัยเป็นการหาข้อสรุป การกำหนดประเด็น นักวิจัยเป็นทั้งผู้กำหนดประเด็นและผู้ประเมิน เอื้อต่อการเชื่อมโยงยังหลายบริบท มีความลุ่มลึกในเชิงศาสตร์เดี่ยว การประเมินผลนำไปสู่การตัดสิน คุณค่า ซึ่งคือ สิ่งที่มีความสำคัญ (Sine Qua Non) ที่ต้องการให้บรรลุผล ประเด็นการประเมินจะมาจากหลายแหล่ง รวมถึงความสำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) มุ่งเน้นอธิบายเฉพาะประเด็นที่ประเมิน ไม่เน้นการขยายผล ต้องอาศัยความเป็นสหวิทยาการ ความแตกต่างระหว่างการวิจัยและการประเมินผล
รูปแบบพื้นฐานของการวิจัยประเมินผลรูปแบบพื้นฐานของการวิจัยประเมินผล • การประเมินผลแบบ Formative เป็นการประเมินเพื่อติดตามความก้าวหน้าโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงงาน (Improvement) • การประเมินผลแบบ Summative เป็นการประเมินคุณค่าของผลรวมที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการดำเนินงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจ (Making Judgement) โดยมากจะเน้นไปที่การพิจารณาว่าควรมีการต่อยอดงานหรือไม่ หรือต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางเชิงนโยบายหรือไม่
สิ่งสำคัญสำหรับนักประเมินผลโครงการสิ่งสำคัญสำหรับนักประเมินผลโครงการ • มีความสามารถที่จะอธิบายวัถตุวิสัยและบริบทที่จะทำการประเมินได้ • สามารถสร้างกรอบแนวคิดที่เหมาะสมกับจุดประสงค์ และกรอบแนวทางที่ใช้การดำเนินการประเมินได้ • สามารถกำหนดและเลือกคำถาม ตลอดจนข้อมูลที่ต้องการ และแหล่งข้อมูลที่จะใช้ประเมินได้อย่างเหมาะสม • การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
บทบาทและกิจกรรมของนักประเมินผลบทบาทและกิจกรรมของนักประเมินผล • นักประเมินจำเป็นต้องดำเนินการในกิจกรรมการประเมินในลักษณะที่หลากหลาย เช่น การเป็นผู้ให้ความรู้ในงานวิจัยประเภทสร้างพลัง (Empowerment Evaluation) เพื่อกระตุ้นให้ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยให้เกิดพลัง/ ความสามารถ • แนวโน้มบทบาทของนักประเมินเริ่มเปลี่ยนไปจากการตัดสินไปสู่การเป็นภาคีแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การเป็นผู้ประสานงาน การเป็นนักประเมินภายใน • การปรับเปลี่ยนแนวคิดจาก Neutrality ไปสู่ Advocacy (Critical Friend)
สรุปเหตุและผลของการประเมินผลโครงการ (Why) • เพื่อให้ได้การรับรองวิทยฐานะ (Accreditation System) • ช่วยให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์เต็มที่ (Efficiency) • เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างพอเพียง • เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สำคัญสำหรับช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ • ช่วยให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ หรือครบถ้วนตามกระบวนการของการวางแผนโครงการ • ช่วยในการควบคุมคุณภาพของแผนงาน/โครงการ • เพื่อให้ทราบผลผลิต หรือผลลัพธ์จากโครงการ • ช่วยให้การกำหนดวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานของการดำเนินการมีความชัดเจน โดยเฉพาะกรณีโครงการใหม่
การกำหนดโครงการ การประเมินก่อนการดำเนินงาน การวางแผนโครงการ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ปัจจัยนำเข้า การดำเนินโครงการ 1 กระบวนการ การประเมินขณะดำเนินการ ผลผลิต การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงกร ผลที่ตามมา/ผลกระทบ การดำเนินโครงการ 2 ผลกระทบในระยะยาว การประเมินผลหลังสิ้นสุดโครงการ ความสัมพันธ์ระหว่างวงจรโครงการกับการประเมินผลโครงการ (When)
มุมมองใหม่เกี่ยวกับการประเมินผลมุมมองใหม่เกี่ยวกับการประเมินผล • เน้นการดำเนินการที่เป็นระบบ มีกรอบชัดว่าจะประเมินอะไร ทำเมื่อใด ทำอย่างไร • มีจุดเน้นได้หลากหลาย แล้วแต่ว่าผู้ประเมินให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร • เปลี่ยนจากความคิดที่จะตรวจสอบหาความสำเร็จ/ ล้มเหลว (Judge) มาค้นหาความดีงามหรือคุณค่าของโครงการ(Merit) • ผูกมัดการประเมินกับการเรียนรู้หรือพัฒนางานมากกว่าจะเป็นเรื่องการควบคุม สั่งการ
เราต้องการแสดงว่า ….. กลุ่มเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมายพอใจบริการ โครงการมีผลแก้ไขปัญหาได้จริง โครงการมีคุณค่า เทคนิควิธีที่ใช้ในโครงการนี้ดีกว่าโครงการอื่น โครงการจำเป็นต้องมีบุคลากรและทรัพยากรเพิ่มขึ้นอย่างไร บุคลากรได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างดี เราจึงต้องรู้ให้ได้ว่า …. กลุ่มเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ กลุ่มเป้าหมายพอใจบริการหรือไม่ โครงการทำให้เกิดความแตกต่างได้จริง โครงการนี้คุ้มค่าต่อการลงทุน (เงิน) เทคนิควิธีใหม่ ๆ ดีกว่าเก่าอย่างไร เราจะยกระดับโครงการให้ดีขึ้นอย่างไร บุคลากรได้ทำงานคุ้มค่ากับเวลาหรือไม่ สรุปหลักการของการประเมินผล