1 / 80

บทที่ 3 คาร์โบไฮเดรต

บทที่ 3 คาร์โบไฮเดรต. ความสำคัญของคาร์โบไฮเดรต. : เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่โมเลกุลประกอบด้วย C, H, O : องค์ประกอบหลักคล้ายน้ำ คือ ประกอบด้วย ไฮโดรเจนและออกซิเจน ด้วยสัดส่วน 2 : 1 จึงเรียกรวมว่า คาร์โบไฮเดรต : หน้าที่สำคัญ คือ เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างผนังเซลล์ของพืช

azura
Download Presentation

บทที่ 3 คาร์โบไฮเดรต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3คาร์โบไฮเดรต

  2. ความสำคัญของคาร์โบไฮเดรตความสำคัญของคาร์โบไฮเดรต : เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่โมเลกุลประกอบด้วย C, H, O : องค์ประกอบหลักคล้ายน้ำ คือ ประกอบด้วย ไฮโดรเจนและออกซิเจน ด้วยสัดส่วน 2:1 จึงเรียกรวมว่าคาร์โบไฮเดรต :หน้าที่สำคัญ คือ เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างผนังเซลล์ของพืช และเป็นสารให้พลังงานแก่ร่างกาย : ในธรรมชาติพบได้ทั้งในพืช สัตว์ และจุลินทรีย์

  3. ย่อยสลายในระบบทางเดินอาหารย่อยสลายในระบบทางเดินอาหาร สัตว์บริโภคคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เพื่อใช้เปลี่ยนเป็นพลังงาน น้ำตาลกลูโคสในเลือด ความสำคัญของคาร์โบไฮเดรต สะสมไว้ในตับและกล้ามเนื้อในรูปของไกลโคเจน

  4. คลอโรฟิลล์ + 6O2 + C6H12O6 6 CO2 6 H2O แสง องค์ประกอบของเนื้อเยื่อพืชและผนังเซลล์พืช นำไปสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนชนิดต่างๆ เช่น ไดแซ็กคาไรด์ โอลิโกแซ็กคาไรด์ และพอลิแซ็กคาไรด์ กระบวนการสังเคราะห์แสง

  5. ความสำคัญต่อกระบวนการแปรรูปอาหารความสำคัญต่อกระบวนการแปรรูปอาหาร 1. เป็นสารให้ความหวาน ละลายในน้ำเป็นน้ำเชื่อม เช่น กลูโคส ฟรุกโทส มอลโทส 2. จุลินทรีย์ใช้เป็นแหล่งพลังงานในการเจริญ 3. ให้ความร้อนแก่น้ำตาลจะเกิดสีและกลิ่นของคาราเมล 4. รวมตัวกับโปรตีนเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาล 5. สตาร์ช สามารถให้ความข้นหนืดแก่อาหารได้

  6. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต • คาร์โบไฮเดรตแบ่งตามโครงสร้างของโมเลกุลเป็นกลุ่มใหญ่ ได้ 4 กลุ่ม คือ 1. โมโนแซ็คคาไรด์ : เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ไม่สามารถถูกไฮโดรไลซ์ ได้อีก 2. ไดแซ็คคาไรด์ : เป็นน้ำตาลที่ประกอบด้วยโมโนแซ็คคาไรด์ 2 โมเลกุล 3. โอลิโกแซ็คคาไรด์ : เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยโมโนแซ็คคาไรด์ 3-10 โมเลกุล 4. พอลิแซ็คคาไรด์ : เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยโมโนแซ็คคาไรด์ 10 โมเลกุล ขึ้นไป

  7. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต 1. โมโนแซ็คคาไรด์ : เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดเล็กที่สุด : สูตรทั่วไปคือ (CH2O)n: ทั่วไป n = 3-7 : ถ้าเป็นน้ำตาล aldose : functional gr. คือ aldehyde : ถ้าเป็นน้ำตาล ketose : functional gr. คือ ketone ketone

  8. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : โมโนแซ็คคาไรด์ dihydroxyacetone glyceraldehyde

  9. การจำแนกชนิดและการเรียกชื่อน้ำตาลโมโนแซ็คคาไรด์การจำแนกชนิดและการเรียกชื่อน้ำตาลโมโนแซ็คคาไรด์

  10. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : โมโนแซ็คคาไรด์ • น้ำตาลเพนโทส : พบในรูปอิสระน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของพอลิแซ็คคาไรด์ เช่น เพนโทแซน ที่สำคัญได้แก่ 1. ไซโลส (xylose) : พบในโมเลกุลของไซแลน ซึ่งเป็นเพนโทแซน ชนิดหนึ่งที่พบในซังข้าวโพด ฟางข้าว รำข้าวต่างๆ : อาจพบในผลไม้บางชนิด เช่น เชอรี่ ท้อ สาลี่ พลัม

  11. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : โมโนแซ็คคาไรด์ • น้ำตาลเพนโทส 2. อะราบิโนส (arabinose) : พบมากในโมเลกุลของกัมเพกตินมิวซิเลจ และเฮมิเซลลูโลส : เมื่อนำกัมอะราบิกไปไฮโดรไลซ์ด้วยกรดซัลฟูริกเจือจาง จะได้น้ำตาลอะราบิโนส : พบในผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิ้ล มะนาว และองุ่น เป็นต้น

  12. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : โมโนแซ็คคาไรด์ • น้ำตาลเพนโทส 3. ไรโบส (ribose) : พบเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก ได้แก่ กรดไรโบนิวคลิอิก หรืออาร์เอ็นเอ (RNA) และโคเอนไซม์นิวคลีโอไทด์ : อนุพันธ์ที่สำคัญ คือ 2-ดีออกซีไรโบส ซึ่งเป็นองค์ประกอบในโมกุลของ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิกหรือ ดีเอ็นเอ (DNA)

  13. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : โมโนแซ็คคาไรด์ • ลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของกรดนิวคลีอิก สรุปได้ดังนี้ 1. กรดนิวคลีอิก ประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ถ้าหลายโมเลกุลของนิวคลีโอไทด์ของนิวคลีโอไทด์เชื่อมต่อกัน เรียกว่า พอลีนิวคลีโอไทด์ (polynucleotide) 2. นิวคลีโอไทด์เป็นสารประกอบคาร์บอน ที่เกิดจากอะตอมของธาตุคาร์บอนออกซิเจน และฟอสฟอรัส รวมกันเป็นโมเลกุล

  14. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : โมโนแซ็คคาไรด์ 3. นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ : ส่วนที่เป็นไนโตรจีนัสเบส (nitrogenus base) : ส่วนที่เป็นน้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม : หมู่ฟอสเฟต (phosphate group)

  15. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : โมโนแซ็คคาไรด์ • น้ำตาลเฮกโซส : ที่สำคัญ ได้แก่ กลูโคส ซึ่งได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช : น้ำตาลอื่น ได้แก่ ฟรุกโทส กาแล็กโทส และแมนโนส 1. น้ำตาลกลูโคส : เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลไดแซ็คคาไรด์ โอลิโกแซ็คคาไรด์ และพอลิแซ็คคาไรด์ เช่น มอลโทส ซูโครส แล็กโทส แรฟฟิโนส เดกซ์ทริน สตาร์ช เซลลูโลส และไกลโคเจน

  16. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : โมโนแซ็คคาไรด์ • น้ำตาลเฮกโซส 2. น้ำตาลฟรุกโทส หรือ ลีวูโลส (levulose) : เป็นน้ำตาลคีโทสชนิดเดียวที่สำคัญมากในอาหาร : ในธรรมชาติพบใน ผลไม้ ผัก ธัญพืช น้ำผึ้ง 3. น้ำตาลกาแล็กโทส : พบเป็นอิสระน้อยมาก ได้จากการไฮโดรไลซ์น้ำตาลแล็กโทสด้วย กรดซัลฟูริก ความเข้มข้น 2%

  17. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : โมโนแซ็คคาไรด์ • น้ำตาลเฮกโซส 4. น้ำตาลแมนโนส : ในธรรมชาติพบบ้างเล็กน้อย ใน ส้ม และเมล็ดที่กำลังงอก : ส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่กำลังงอก เช่น ในสัตว์ น้ำตาลแมนโนสเป็น องค์ประกอบในโมเลกุลของไกลโคลิพิด และไกลโคโปรตีน

  18. D - mannose D - galactose

  19. อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์ 1. น้ำตาลแอลกอฮอล์ : เป็นอนุพันธ์น้ำตาลที่ได้จากปฏิกิริยารีดักชันของน้ำตาลอิสระ : ทำให้หมู่ –CHO ถูกแทนที่ด้วย –CH2OH sorbitol (glucitol) glucose

  20. อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์ 2. น้ำตาลดีออกซี (deoxy sugar) : เป็นแอลโดเฮกโซสที่หมู่ –CH2OH ถูกแทนที่ด้วย –CH2หรือ –CH3 : เช่น 2-deoxy-D-ribose เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของนิวคลีโอไทด์ ribose 2-deoxy-D-ribose

  21. อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์ 2. น้ำตาลดีออกซี (deoxy sugar) D - galactose D-fucose C6O6H12 C6O5H12

  22. อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์ 3. น้ำตาลกรด (sugar acid) : เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของหมู่แอลดีไฮด์ (-CHO) เป็นหมู่ กรด (-COOH) จึงเป็นอนุพันธ์ของกรดอินทรีย์ : รวมเรียกว่า กรดยูโรนิก (uronic acids) เช่น กรดกลูโคโรนิก กรดแมนนูโรนิก กรดกาแล็กทูโรนิก

  23. อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์ Glucoronic acid

  24. อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์ 4. น้ำตาลอะมิโน : เกิดจากหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ถูกแทนที่ด้วยหมู่อะมิโน (-NH2) ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 2 ของแอลโดเฮกโซส glucosamine

  25. อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์ 4. น้ำตาลอะมิโน : ในธรรมชาติมักอยู่ในรูปของมิวโคโปรตีน และมิวโคพอลิแซ็คคาไรด์ ในรูปอนุพันธ์กลูโคซามีนของ N-acetylated เช่น N-acetyl-D-glucosamine : ซึ่งอยู่ในสารไคติน พบในเปลือกหอย กุ้ง ปู และแมลง : อาจพบในเห็ด : กาแล็กโทซามีน มักพบในกระดูกอ่อน

  26. อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์ chitin

  27. อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์ 5. น้ำตาลฟอสเฟต : เป็นน้ำตาลที่ถูกเอสเทอริไฟด์ด้วยกรดฟอสฟอริก : เรียกปฏิกิริยานี้ว่า phosphorilation : เป็นปฏิกิริยาในเมทาบอลิซึมของน้ำตาล เช่น กลูโคส – 6- ฟอสเฟต 6. อนุพันธ์อื่นๆ : เช่น กรดแอสคอร์บิก หรือวิตามินซี

  28. อนุพันธ์ของโมโนแซ็คคาไรด์ : ascorbic acid • 2-Keto-L-gulonsäure

  29. Ascorbic acid oxidation รูปที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ

  30. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : ไดแซ็คคาไรด์ : เป็นน้ำตาลที่ในโมเลกุลประกอบด้วยโมโนแซ็คคาไรด์ 2 โมเลกุล : ซึ่งอาจเป็นน้ำตาลชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้ : ต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ : สูตรทั่วไปคือ C12 (H2O)11 เช่น ซูโครส = กลูโคส+ฟรุกโทส มอลโทส = กลูโคส+กลูโคส แล็กโทส = กลูโคส+กาแล็กโทส

  31. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : ไดแซ็คคาไรด์ 1. ซูโครส (sucrose) : เป็นไดแซกคาไรด์ที่เกิดจากการสร้างพันธะไกลโคไซด์ระหว่างคาร์บอนตำแหน่งที่ 1ของ ∞–D–กลูโคสโมเลกุลหนึ่ง กับคาร์บอนตำแหน่งที่ 2 ของ –D–ฟรักโทส : พบมากใน อ้อย หัวบีท

  32. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : ไดแซ็คคาไรด์ 2. มอลโทส (maltose) : เป็นไดแซกคาไรด์ที่เกิดจากการสร้างพันธะไกลโคไซด์ระหว่างคาร์บอนตำแหน่งที่ 1ของ∞–D–กลูโคสโมเลกุลหนึ่ง กับคาร์บอนตำแหน่งที่ 4 ของ ∞– หรือ–D–กลูโคสอีกโมเลกุลหนึ่ง : พบมากในเมล็ดที่กำลังงอก โดยเฉพาะ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวมอลท์ และน้ำเชื่อมข้าวโพด

  33. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : ไดแซ็คคาไรด์ 3. แลกโทส (lactose) : เป็นไดแซกคาไรด์ที่เกิดจากการสร้างพันธะไกลโคไซด์ระหว่างคาร์บอนตำแหน่งที่ 1 ของ –D–กาแลกโทสโมเลกุลหนึ่ง กับคาร์บอนตำแหน่งที่ 4 ของ ∞– หรือ–D–กลูโคสอีกโมเลกุล : พบมากในน้ำนมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

  34. สมบัติของน้ำตาล 1. โมโนแซ็คคาไรด์ทุกชนิด ยกเว้น ไดไฮดรอกซีอะซีโตน ในอะตอมจะมี คาร์บอนที่ไม่สมมาตร : จึงมีความสามารถในการหมุน plane of polarized light ได้ เรียกว่า optical rotation : ดังนั้นโมโนแซ็คคาไรด์จะเกิด sterioisomerism มีไอโซเมอร์ที่เป็น mirror image แต่มีสมบัติในการหมุนไม่เหมือนกัน คือ : รูปหนึ่งจะหมุนไปทางขวา เรียกว่า dextrorotatory (d) : รูปหนึ่งจะหมุนไปทางซ้าย เรียกว่า levorotatory (l)

  35. สมบัติของน้ำตาล 2. การละลาย : น้ำตาลทุกชนิด ทั้งโมโนแซ็คคาไรด์ และไดแซ็คคาไรด์ ละลายได้ดี ในน้ำ : แต่น้ำตาลบางชนิดละลายได้ดีในน้ำร้อน ละลายได้บ้างในแอลกอฮฮล์ 3. ความหวาน : น้ำตาลทุกชนิดมีความหวาน แต่มีความหวานในระดับที่แตกต่างกัน

  36. ระดับความหวานของน้ำตาลบางชนิดเมื่อเปรียบเทียบกับซูโครสระดับความหวานของน้ำตาลบางชนิดเมื่อเปรียบเทียบกับซูโครส

  37. สมบัติของน้ำตาล 4. ไฮโดรไลซิส : น้ำตาลไดแซ็คคาไรด์สามารถไฮโดรไลซิสได้เป็นโมโนแซ็คคาไรด์ 2 โมเลกุลและต้องมีน้ำเข้าร่วม

  38. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : โอลิโกแซ็คคาไรด์ • คาร์โบไฮเดรตที่ในโมเลกุลประกอบด้วยโมโนแซ็คคาไรด์ 3-10 โมเลกุล • เช่น ราฟิโนส (raffinose) และสตาคีโอส (stachyose) • น้ำตาลทั้ง 2 ชนิดนี้ ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ยาก • ทำให้เกิดกระบวนการหมักและมีแก๊สในลำไส้ (flatulence) • ในถั่วเหลืองมีสาคิโอสประมาณ 1.21% และราฟิโนส 0.38%

  39. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : โอลิโกแซ็คคาไรด์ raffinose stachyose

  40. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : พอลิแซ็คคาไรด์ • คาร์โบไฮเดรตที่ในโมเลกุลประกอบด้วยโมโนแซ็คคาไรด์ตั้งแต่ 10 โมเลกุล ขึ้นไป • พอลิแซ็คคาไรด์ที่พบตามธรรมชาติมีน้ำหนักสูง และมีรูปร่างไม่แน่นอน (amorphous) • ไม่มีสีและรสชาติ เมื่อละลายน้ำให้สารละลายคอลลอยด์ • การแบ่งกลุ่มโพลีแซคคาไรด์อาจแบ่งตามบทบาทหน้าที่ก็ได้ เช่น : พอลิแซคคาไรด์ที่ทำ หน้าที่เก็บสะสมอาหาร (storage) : ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง

  41. ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : พอลิแซ็คคาไรด์ • แบ่งตามโครงสร้างเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. โฮโมไกลเแคน (homoglycans) หรือโฮโมพอลิแซคคาไรด์ : พอลิแซคคาไรด์ที่ประกอบด้วยโมโนแซคคาไรด์เพียงชนิดเดียว 2. เฮทเทอโรไกลแคน (heteroglycans) : ประกอบด้วยโมโนแซคคาไรด์มากกว่า 1 ชนิด 3. สารประกอบคอนจูเกต (conjugated compounds) : พอลิแซ็คคาไรด์ที่เกาะอยู่กับสารอื่น

  42. สตาร์ช (starch) • พอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคส และเป็นโฮโมพอลิแซ็คคาไรด์ที่พบมากในพืช • ได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสง • พืชเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆ เช่น หัว ราก เมล็ดลำต้น และผล • รวมตัวกันอยู่เป็นเม็ดสตาร์ช (starch granule) ที่อาจมีหรือไม่มีเมมเบรนหุ้มก็ได้

  43. สตาร์ช (starch) : ลักษณะของเม็ดสตาร์ช

  44. สตาร์ช : โครงสร้างของเม็ดสตาร์ช เม็ดสตาร์ชส่วนใหญ่ประกอบด้วยอะไมโลสประมาณ 20-39% และอะไมโลเพกตินประมาณ 70-80% ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของพืช

  45. โครงสร้างของเม็ดสตาร์ช : อะไมโลส • อะไมโลสเป็นโพลิเมอร์เชิงเส้นที่ประกอบด้วยกลูโคสประมาณ 100 – 10,000 หน่วย เชื่อมต่อกันด้วยพันธะ ∞-1, 4 –glycosidic linkage • จึงจัดว่าเป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคสสายยาวที่มีขนาดใหญ่มาก • มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 10 6 ดาลตัน

  46. โครงสร้างของเม็ดสตาร์ช : อะไมโลส • ข้าวเจ้าบางสายพันธุ์ไม่มีอะไมโลสเลย เรียกว่า waxy starch • ข้าวโพดบางสายพันธุ์มีอะไมโลสสูง ประมาณ 52 และ 70-75% เรียกว่า high amylose corn starch • ข้าวโพดบางสายพันธุ์มีอะไมโลสสูงถึง 80% เรียกว่า amylomaize

  47. โครงสร้างของเม็ดสตาร์ช : อะไมเพกติน • อะไมโลเพคตินเป็นโฮโมพอลิแซ็คคาไรด์ที่เป็นองค์ประกอบภายในเม็ดสตาร์ชประมาณ 70-100% • เป็นโครงสร้างที่มีแขนงแยกออกมา แต่ละแขนงมีกลูโคสประมาณ 20-35 หน่วย

  48. ความแตกต่างระหว่างอะไมโลสและอะไมโลเพกตินความแตกต่างระหว่างอะไมโลสและอะไมโลเพกติน

  49. Amylose-iodine complex • อะไมโลส เป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างโมเลกุลประกอบด้วย โมเลกุลของกลูโคสเรียงต่อกันเป็นโซ่ยาว โดยที่แต่ละโมเลกุลจะเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ • ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดเรียงตัว  ทำให้เกิดรูปร่างโมเลกุลเป็นวงเป็นเกลียว  ทำให้อะไมโลสสามารถรวมตัวกับโมเลกุลที่มีขนาดเล็ก เช่น ไอโอดีนได้ 

More Related