1 / 19

บทที่ 3 โครงสร้างคอมพิวเตอร์พื้นฐาน

บทที่ 3 โครงสร้างคอมพิวเตอร์พื้นฐาน. ลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์. โครงสร้างของคอมพิวเตอร์ (Structure of Computer). โครงสร้างของคอมพิวเตอร์ (Structure of Computer). หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)

aya
Download Presentation

บทที่ 3 โครงสร้างคอมพิวเตอร์พื้นฐาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3โครงสร้างคอมพิวเตอร์พื้นฐาน

  2. ลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์ลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์

  3. โครงสร้างของคอมพิวเตอร์ (Structure of Computer)

  4. โครงสร้างของคอมพิวเตอร์ (Structure of Computer) • หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) • หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) • หน่วยอินพุต เอาต์พุตหรือหน่วยรับเข้าและส่งออก (Input / Output Unit) • หน่วยการเชื่อมต่อภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (System Interconnection Unit)

  5. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลางจัดได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนเป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำหน้าที่ในการคำนวณค่าต่างๆ ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย และควบคุมการทำงานของส่วนประกอบอื่นๆ ทั้งหมด ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางจะถูกสร้างให้อยู่ในรูปวงจรรวม (IntegratedCircuit: IC) เพียงตัวเดียวทำให้ง่ายในการนำไปใช้งาน หน่วยประมวลกลางเป็นหน่วยที่มีความซับซ้อนมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบหลักต่างๆ

  6. หน่วยประมวลผลกลาง • หน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประมวลผลโดยใช้วิธีที่คณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร หรือ ทำหน้าที่ประมวลผลทางตรรกะ เช่น แอนด์ (AND)ออร์(OR) และนอต (NOT) เป็นต้น รวมทั้งยังทำหน้าที่ในการเปรียบเทียบค่าต่างๆ • หน่วยเก็บข้อมูลชั่วคราวที่อยู่ภายในหน่วยประมวลผลกลางหรือเรจิสเตอร์ (Register) เป็นหน่วยความจำขนาดเล็ก ทำหน้าที่เป็นที่พักข้อมูล ชั่วคราวก่อนที่จะถูกนำไปประมวลผล โดยปกติแล้วในหน่วยประมวลผลกลางจะมี เรจิสเตอร์ สำหรับเก็บข้อมูลไม่เกิน 64 ตัว การอ้างอิงข้อมูลของเรจิสเตอร์ • หน่วยควบคุม (Control Unit) เป็นเสมือนหน่วยบัญชาการของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทำหน้าที่กำหนดจังหวะการทำงานต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ไม่เว้นแม้แต่ส่วนประกอบอื่นๆ ของหน่วยประมวลผลกลาง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ

  7. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขหรือข้อความแม้กระทั่งคำสั่งต่างๆ ในโปรแกรมที่จะใช้สั่งงานระบบคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้วหน่วยความจำจะถูกสร้างมาบนไอซีเพื่อให้มีความจุสูงแต่มีขนาดเล็ก ข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำจะมีสถานะเพียงแค่เปิดวงจร (0) หรือปิดวงจร (1) เท่านั้น

  8. หน่วยความจำหลัก (1) • รอม หรือหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (ROM : Read Only Memory)เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่นไบออส (Basic Input Output System :BIOS) ของเครื่องคอมพิวเตอร์

  9. หน่วยความจำหลัก (2) • แรม หรือหน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM : Random Access Memory)หน่วยความจำที่เข้าถึงข้อมูลโดยการสุ่ม เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็ว ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลัง หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม จะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

  10. หน่วยอินพุต เอาต์พุตหรือหน่วยรับเข้าและส่งออก (Input / Output Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่รับการติดต่อจากภายนอกเข้าสู่ระบบ และแสดงผลที่ได้จากการทำงานของระบบออกสู่อุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด, จอภาพ, ลำโพง, หน่วยขับจานบันทึก เป็นต้น หน่วยรับเข้าและส่งออกเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างระบบภายในของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ภายนอกต่างๆ ให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  11. หน่วยการเชื่อมต่อภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (System Interconnection Unit) เป็นหน่วยที่ให้ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงของโครงสร้างต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้

  12. หน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ (Function of Computer) • การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์มีหน้าที่หลักคือการประมวลผลข้อมูลที่เข้ามาแล้วทำงานตามคำสั่ง • การเก็บข้อมูล (Data Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้ • การเคลื่อนย้ายข้อมูล (Data Movement) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถที่จะทำการเคลื่อนย้ายข้อมูลต่างๆ ได้ ซึ่งอาจจะเคลื่อนย้ายกันระหว่างอุปกรณ์ต่อพ่วง หรือเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างเครือข่าย • การควบคุม (Control)เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถที่จะควบคุมการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานต่างๆ หรือทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีการแย่งกันใช้ทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์

  13. หน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ (1)

  14. หน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ (2)

  15. หน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ (3)

  16. หน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ (4)

  17. หน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ (5)

  18. แบบฝึกหัดทบทวน • การทำงานของคอมพิวเตอร์จำลองมาจากการทำงานของอะไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ • โครงสร้างของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง • หน่วยประมวลผลกลางคืออะไรและมีองค์ประกอบอะไรบ้าง • หน่วยความจำคืออะไรและมีหน้าที่ทำอะไร • รอม (ROM) แตกต่างกับแรม (RAM) อย่างไร จงอธิบาย • หน่วยอินพุต เอาต์พุต ทำหน้าที่อะไร • หน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง จงอธิบาย • จงยกตัวอย่างการทำงานของคอมพิวเตอร์ดังรูป http://www.udru.ac.th

  19. เอกสารอ้างอิง งามนิจ อาจอินทร์, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์., กรุงเทพฯ, 2542. จุฑารัตน์ สมจริง [Online]. Available: http://vcharkarn.com [1 มีนาคม 2552]. พรรณาพูนพิน[Online]. Available: http://web.bsru.ac.th/~panna/learning.html [1 มีนาคม 2552]. ไพศาล โมลิสกุลมงคล, ประสงค์ ประณีตพลกรัง, อนุโชต วุฒิพรพงษ์ และ ศรายุธ คลังทอง, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture)., กรุงเทพฯ, 2547. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, เอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร., 2552. สัลยุทธ์ สว่างวรรณ, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์., กรุงเทพฯ, 2546. W. Stallings, Computer Organization and Architecture Designing for Performance: Sixth Edition., Prentice Hall, 2003.

More Related