1 / 30

เรือเดินทะเล

เรือเดินทะเล. ดร พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Outlines. เรือเดินทะเล เอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของเรือเดินทะเล พรบ. เรือไทย พ.ศ. 2481. เรือเดินทะเล. Source: http://www.infovisual.info/05/057_en.html. Container Ship.

aya
Download Presentation

เรือเดินทะเล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรือเดินทะเล ดร พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. Outlines • เรือเดินทะเล • เอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของเรือเดินทะเล • พรบ.เรือไทย พ.ศ. 2481

  3. เรือเดินทะเล Source: http://www.infovisual.info/05/057_en.html

  4. Container Ship Container ship: ship transporting containers.Bridge: raised platform.Masthead light: light at the top of the mast.Radar: apparatus that detects objects through the use of microwaves.Navigation bridge: raised platform from which a boat is operated.Container: large boxlike receptacle used for transporting goods by boat.Loading crane: apparatus used to raise and manoeuvre containers.Breakwater: part at the front of the boat that cleaves the water.Bulbous bow: used to change behavior of the ship.Anchor: steel or iron hook, attached to the ship by a chain, that holds the ship in place by hooking it to the bottom of a body of water.Stack: device used for expelling smoke.Propeller: two- or three-bladed apparatus of propulsion.Rudder: apparatus used for turning a boat. Source: http://www.infovisual.info/05/057_en.html

  5. ความหมายของเรือเดินทะเลความหมายของเรือเดินทะเล ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา : • ความสามารถในการลอยน้ำได้ • สถานที่ใช้เรือ : ทะเล • ความสามารถในการผจญภัยในทางทะเล • ความสามารถในการขับเคลื่อนด้วยตนเอง

  6. เอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของเรือเดินทะเลเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของเรือเดินทะเล • ชื่อ • เมืองท่าจดทะเบียน • ขนาดและระวางบรรทุก • สัญชาติ

  7. ชื่อเรือ หลักคือเรือเดินทะเลทุกลำมีชื่อ • มีชื่อเหมือนบุคคลธรรมดา แต่ไม่มีนามสกุล ต่างจากทรัพย์สินอื่นๆที่มีชื่อทางการค้า หรือยี่ห้อ • ใช้ชื่อเรืออื่นไม่ได้

  8. เมืองท่าจดทะเบียน • เมืองท่าจดทะเบียน เป็นเหมือนภูมิลำเนาของเรือและที่เก็บข้อมูลต่างๆของเรือ โดยหลักเบื้องต้น เรือลำใดจดทะเบียนเป็นเรือไทย ณ เมืองท่าใด เมืองท่านั้นเป็นเป็นเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้น

  9. ขนาดและระวางบรรทุก • พิจารณาตามน้ำหนัก • พิจารณาตามปริมาตร

  10. พิจารณาตามน้ำหนัก • Deadweight ton (DWT) = น้ำหนักของเรือ+ น้ำหนักของเชื้อเพลิง + สิ่งอื่นๆบนเรือด้วย ton มี 2 ประเภท • Metric ton โดย 1 Metric ton = 1,000 Kgs. • Longtonโดย 1 Longton = 2,240 lbs (=Pounds) -ใช้ในบางประเทศ

  11. พิจารณาตามปริมาตร Gross Tonage (ตันกรอส) • เป็นปริมาตรภายในที่ปิดผนึกของตัวเรือใต้ดาดฟ้าและสิ่งก่อสร้างบนดาดฟ้า Net Tonnage (ตันเนต) = ปริมาตรของระวางบรรทุกสินค้าต่างๆ • เป็นปริมาตรของ Gross tonnage หักออกด้วยปริมาตรของห้องเครื่อง ห้องหม้อน้ำ ห้องเครื่องไฟฟ้า สะพานเดินเรือ ที่อยู่อาศัย ห้องทางานและห้องปฏิบัติการอื่นๆ

  12. สัญชาติ เหตุผลในการให้สัญชาติแก่เรือ • ควบคุม ส่งเสริม และคุ้มครองความปลอดภัย • เป็นตัวกำหนดกฎหมายที่จะใช้บังคับ เช่น การทาความผิดอาญาที่เกิดขึ้น • การใช้อำนาจรัฐต่อเรือ • Flag of Convenience

  13. พ.ร.บ.เรือไทยพ.ศ. 2481 มาตรา ๖ การจดทะเบียนเรือไทยตามพระราชบัญญัตินี้ต้องจดต่อนายทะเบียนเรือ มาตรา ๗ ผู้ที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือจดทะเบียนเป็นเรือไทยซึ่งทำการค้าในน่านน้ำไทย ได้ตามมาตรา ๔๗ ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ • (๑) เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย • (๒) เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย • (๓) เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ

  14. มาตรา ๗ต่อ • (๔) เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ (ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย (ข) ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดเป็น บุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย และทุนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าว (ค) บริษัทจำกัดที่กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีสัญชาติไทย หุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คน ต่างด้าวและไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้ออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ (ง) บริษัทมหาชนจำกัดที่กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีสัญชาติไทยและหุ้นอันเป็น ทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าว เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “คนต่างด้าว” หมายความว่า คนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจขอคนต่างด้าว

  15. มาตรา ๗ ทวิ ผู้ที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือจดทะเบียนเป็นเรือไทยซึ่งใช้ประกอบการ ขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศโดยเฉพาะ และไม่ทำการค้าในน่านน้ำไทยตามมาตรา ๔๗ ต้อง เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีสัญชาติไทย และมี คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ • (๑) เป็นบริษัทจำกัดที่หุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าว และไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้ออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ • (๒) เป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่หุ้นอันเป็นทุชำระแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบ เอ็ดเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าว เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “คนต่างด้าว” หมายความว่า คนต่างด้าวตาม กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

  16. ดังนั้นเงื่อนไขในการถือกรรมสิทธิ์เรือไทยมีดังนั้นเงื่อนไขในการถือกรรมสิทธิ์เรือไทยมี • เรือที่ใช้ทำการค้าในน่านน้ำไทย(มาตรา ๗) • เรือที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศโดยเฉพาะ(มาตรา ๗ ทวิ)

  17. มาตรา ๘ เรือดังจะกล่าวต่อไปนี้ เมื่อได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ถือว่าเป็นเรือไทย สำหรับการค้าในน่านน้ำไทย • ๑. เรือกล ขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป • ๒. เรือทะเลที่มิใช่เรือกล ขนาดตั้งแต่ยี่สิบตันกรอสขึ้นไป • ๓. เรือลำน้ำที่มิใช่เรือกล ขนาดตั้งแต่ห้าสิบตันกรอสขึ้นไป • สำหรับการประมง • ๑. เรือกลทุกขนาด • ๒. เรือที่มิใช่เรือกลขนาดตั้งแต่หกตันกรอสขึ้นไป

  18. มาตรา ๙ เรือของบุคคลตามมาตรา ๗ ซึ่งมิได้ใช้ประโยชน์ตามมาตรา ๔๗ แม้จะมีขนาดดังกล่าวไว้ในมาตราก่อน และเรือของบุคคลตามมาตรา ๗ ขนาดต่ำกว่าที่กล่าวไว้ใน มาตราก่อน สำหรับการค้าในน่านน้ำไทยหรือการประมงแล้วแต่กรณี ไม่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ เรือซึ่งกล่าวในมาตรานี้ ให้ถือว่าเป็นเรือสยามด้วย”

  19. ดังนั้นการได้รับสัญชาติไทยของเรือตาม มีได้ 2 วิธี คือ • โดยการนำเรือมาจดทะเบียนเป็นเรือไทย มาตรา ๘ • ได้รับสัญชาติไทยโดยไม่ต้องจดทะเบียน มาตรา ๙

  20. มาตรา ๑๐ ในการขอจดทะเบียนเป็นเรือไทย ผู้ขอต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ • ๑. ยื่นคำแสดงกรรมสิทธิ์ตามแบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี* • ๒. ทำคำรับรองว่าเงื่อนไขในการที่จะถือกรรมสิทธิ์ได้เป็นไปตามมาตรา ๗ และ นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์คำรับรองนั้น ถ้าผู้ขอเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด ต้องนำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นมาแสดง • ๓. ยื่นใบสำคัญแสดงการตรวจเรือ ซึ่งพนักงานตรวจเรือกรมการขนส่งทางน้ำ และพาณิชยนาวี*ได้ออกให้ตามาตรา ๑๒ • ๔. ยื่นรายการแสดงวัน เดือน ปี และตำบลที่ต่อเรือนั้นเสร็จ เท่าที่จะแสดงได้ • ๕. ถ้าเรือนั้นเดิมเป็นของคนต่างด้าว ให้แจ้งชื่อเรือซึ่งใช้อยู่เดิมนั้นด้วย • ๖. แสดงชื่อผู้ควบคุมเรือ

  21. กรมเจ้าท่า การจดทะเบียนเรือไทย และการเปลี่ยนชื่อ • http://www.md.go.th/data_form/permit-b023.php

  22. มาตรา ๒๗ • การโอนโดยนิติกรรมซึ่งกรรมสิทธิ์เรือไทยที่ได้จดทะเบียนแล้ว ให้ ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้น เพื่อขอให้จัดการโอนไว้ใน สมุดทะเบียน

  23. มาตรา ๓๖ สัญญาจำนองเรือไทยที่ได้จดทะเบียนแล้วนั้น ให้ทำเป็นหนังสือตาม แบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี* และจดทะเบียนการจำนองต่อหน้านาย ทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้น ในเรื่องบุริมสิทธิดังระบุไว้ในมาตรา ๒๗๓ ถึงมาตรา ๒๗๖ แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าเรือดังกล่าวมาแล้วเป็นอสังหาริมทรัพย์ และให้นำมาตรา ๒๘๕ ถึงมาตรา ๒๘๙ แห่งประมวลกฎหมายนั้นมาใช้บังคับและในเรื่องการจดทะเบียนบุริมสิทธิ ดังกล่าวมาแล้ว ให้นายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ การจดทะเบียนดังบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนนั้น ให้จดไว้ในสมุดทะเบียนและ หมายเหตุไว้ในใบทะเบียน

  24. มาตรา ๕๑ • เรือไทยเท่านั้นที่มีสิทธิใช้ธงชาติไทยได้ ถ้าเรือลำใดซึ่งมิใช่เรือไทย ใช้ธงชาติไทยเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นเรือไทย ต้องถือ ว่าหรือลำนั้นฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้

  25. มาตรา ๕๒ ผู้ควบคุมเรือไทยที่ได้จดทะเบียนแล้ว ต้องจัดให้มีการชักธงชาติไทย ในเมื่อ • ๑. เรือราชนาวี หรือเรือราชการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือผู้มีอำนาจ • โดยชอบด้วยกฎหมายส่งสัญญาณสั่งให้ชักธงชาติ • ๒. ผ่านเรือรบไทยหรือเรือรบต่างประเทศ • ๓. ขณะเรือเข้าหรือออกจากเมืองท่าไทย และเมืองท่าต่างประเทศ • ๔. ขณะเรืออยู่ในเมืองท่าไทยตั้งแต่เวลา ๘ นาฬิกา จนถึงเวลาอาทิตย์ตก ให้รัฐมนตรีมีอำนาจยกเว้นเรือบางขนาดมิต้องปฏิบัติตามบทแห่งมาตรานี้ได้โดย ออกเป็นกฎกระทรวง

  26. การถอนสัญชาติเรือ • ถูกบังคับเพราะไม่ต้องตาม มาตรา๗ • สมัครใจขอถอนสัญชาติ มาตรา ๓๐ • เกิดเหตุเพลิงเผาผลาญ อับปาง ทำลายหรือถูกละทิ้ง มาตรา ๒๒

  27. ตัวอย่าง อู่ต่อเรือไทย บริษัท เอเชียน มารีนเซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) http://www.asimar.com/EN/page7-En.aspx

  28. คำถาม • เรือเดินทะเล ? • สัญชาติเรือสำคัญอย่างไร ? • การจดทะเบียนในการถือกรรมสิทธิ์เรือไทยข้อกำหนดอย่างไร ? • การได้รับสัญชาติไทยของเรือ ?

More Related