400 likes | 930 Views
ทักษะชีวิตในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. นางดรุณจิต ม่วงมงคล สพป.ฉะเชิงเทรา เขต ๒. นางดรุณจิต ม่วงมงคล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ โทร.๐๘๑-๔๙๖-๗๙๒๗ สพป.ฉะเชิงเทรา เขต ๒. ตอนที่ 1 ทักษะชีวิตในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
E N D
ทักษะชีวิตในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ นางดรุณจิต ม่วงมงคล สพป.ฉะเชิงเทรา เขต ๒
นางดรุณจิต ม่วงมงคล • ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ • โทร.๐๘๑-๔๙๖-๗๙๒๗ • สพป.ฉะเชิงเทรา เขต ๒
ตอนที่ 1 ทักษะชีวิตในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 • หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยมุ่งหวังพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ คือ
ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ คือ • 1. ความสามารถในการสื่อสาร • 2. ความสามารถในการคิด • 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา • 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต • 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
จะเห็นว่า การใช้ทักษะชีวิตเป็น 1 ใน 5 สมรรถนะที่สถานศึกษาต้องพัฒนาให้เกิดแก่ผู้เรียน ซึ่งหลักสูตรได้มีคำอธิบายสมรรถนะนี้ว่า เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
การแนะแนวเพื่อการพัฒนาทักษะชีวิตการแนะแนวเพื่อการพัฒนาทักษะชีวิต • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งหวังให้การแนะแนวเป็นกระบวนการที่สร้างเสริมผู้เรียนให้มีคุณภาพเหมาะสม ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน มีทักษะ การดำเนินชีวิต มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรม จริยธรรม รู้จักการเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา รู้จักคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาในช่วงวิกฤต วางแผนการศึกษาต่อและการพัฒนาคนสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ รวมทั้งดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และกำหนดให้มีกิจกรรมแนะแนวเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่โรงเรียนต้องจัดให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรมนี้ทุกภาคเรียน โดยระบุให้เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคลสามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์
กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมแนะแนวไว้ 3 ประการ • 1. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จัก เข้าใจ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น • 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนการศึกษา อาชีพ รวมทั้งส่วนตัวและสังคม • 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ตอนที่ 2 การดำเนินงานแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียน การจัดกระบวนการแนะแนวตามบริการหลัก 5 บริการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียน สถานศึกษาทุกแห่งต้องจัดให้มีกระบวนการแนะแนวที่ครบ 5 บริการหลักดังนี้
บริการหลักของการแนะแนวได้แก่บริการหลักของการแนะแนวได้แก่ • บริการสำรวจข้อมูล • บริการสนเทศ • บริการให้คำปรึกษา • บริการจัดวางตัวบุคคล • บริการติดตามและประเมินผล
โดยครอบคลุมขอบข่ายงานแนะแนวมี 3 ด้าน ได้แก่ 1. แนะแนวด้านการเรียนหรือการศึกษา ซึ่งมีขอบข่ายงานตั้งแต่ การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียน การฝึกทักษะหรือเทคนิคการเรียนที่มีประสิทธิภาพ การวางแผนการเรียนที่ดี การรู้ช่องทางการศึกษาและ การเลือกทางศึกษาต่อ ตลอดทั้งการสร้างนิสัยเรียนรู้ตลอดชีวิต
โดยครอบคลุมขอบข่ายงานแนะแนวมี 3 ด้าน ได้แก่ 2. แนะแนวด้านอาชีพ ซึ่งมีขอบข่ายงานตั้งแต่การสร้างเจตคติที่ดีต่อการทำงาน และการประกอบอาชีพ การสร้างความตระหนัก รับรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของโลกอาชีพ การเข้าสู่อาชีพและการพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ ตลอดทั้งการปรับตนในการทำงาน การเปลี่ยนงานและการเกษียณจากงาน
โดยครอบคลุมขอบข่ายงานแนะแนวมี 3 ด้าน ได้แก่ 3. แนะแนวด้านชีวิตและสังคม ซึ่งมีขอบข่ายงานตั้งแต่การรู้จัก ตนเอง รู้จักชีวิตและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การรู้จักตนเองและรู้คุณค่าของตน การรู้จักปรับตัวและแก้ปัญหา การพัฒนาตนเอง การฝึกทักษะชีวิตและทักษะทางสังคม เพื่อให้มีบุคลิกภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
กระบวนการแนะแนวที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนกระบวนการแนะแนวที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียน • กระบวนการแนะแนว 2. ข้อมูลสารสนเทศ 1. ศึกษารวบรวมข้อมูล • กระบวนการแนะแนว 3. ให้คำปรึกษา ทักษะชีวิต 1.การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น 2.การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3.การจัดการกับอารมณ์และความเครียด 4.การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น • กระบวนการแนะแนว 4. ป้องกัน ส่งเสริม พัฒนาช่วยเหลือ 5. ติดตามและประเมินผล
กิจกรรมแนะแนวในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนกิจกรรมแนะแนวในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียน องค์ประกอบที่ 1 การตระหนัก และเห็นคุณค่า ในตนเองและผู้อื่น 3. การปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม กิจกรรมแนะแนว องค์ประกอบที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีกับผู้อื่น 1.การรู้จัก เข้าใจและเห็นคุณค่า ในตนเองและผู้อื่น กิจกรรมแนะแนว ทักษะชีวิต องค์ประกอบที่ 2 การวิเคราะห์ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ องค์ประกอบที่ 3 การจัดการกับอารมณ์ และความเครียด 2.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผน การศึกษาอาชีพรวมทั้งส่วนตัวและสังคม กิจกรรมแนะแนว