1 / 29

ขบวนการปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม

ขบวนการปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม. Liberation Tigers of Tamil Eelam ( LTTE ). ปูมหลัง ( background ).

avi
Download Presentation

ขบวนการปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ขบวนการปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลมขบวนการปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม Liberation Tigers of Tamil Eelam (LTTE)

  2. ปูมหลัง (background) ประเทศศรีลังกา มีประชากร 20.9 ล้านคน แบ่งเป็นเชื้อสายสิงหล 75% และ ชาวทมิฬ 18% ที่เหลือเป็นแขกมัวร์และอื่นๆอีกราว 7% โดยในชั้นแรกอาณาจักรสิงหลก่อตั้งขึ้นในบริเวณที่ราบภาคเหนือของศรีลังกา ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๓ ก็เสื่อมสลายลง พร้อมกับการเกิดขึ้นของอาณาจักรทมิฬ และชาวสิงหลก็ได้ถอยร่นไปตั้งรกรากในบริเวณภาคใต้ของศรีลังกา ประมาณศตวรรษที่ ๑๕ อิทธิพลของประเทศตะวันตกได้แพร่ขยายเข้ามามีบทบาทในศรีลังกา เริ่มจากประเทศโปรตุเกส และ ฮอลันดา จนกระทั่งในที่สุดได้ตกเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักรในปี 1798 และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ ๔กุมภาพันธ์ ปี 1948 โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องเอกราชก็คือ นายStephen SenanaYake ซึ่งต่อมาได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของศรีลังกา (กองเอเชียใต้, ๒๕๓๖:๕)

  3. แผนที่ประเทศศรีลังกา (Microsoft Co., 1998:CD-Rom)

  4. สาเหตุของความขัดแย้ง • ช่วงที่อังกฤษเข้ามาแทนที่ฮอลแลนด์ในการเป็นเจ้าของศรีลังกาได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริเวณที่อยู่อาศัยของชาวทมิฬ (เมือง Jaffna) มากมายทั้งโรงเรียน โรงพยาบาล ทำให้ชาวสิงหลซึ่งอยู่พื้นที่ส่วนอื่นของเกาะไม่พอใจ • ในปี 1956 มีการประกาศนโยบายชาตินิยมสิงหล (Sinhalese only) โดยเปลี่ยนภาษาราชการเป็นภาษาสิงหลแทนที่ภาษาอังกฤษ ร่างกฎหมายนี้ชื่อ Sinhala Only Act • ในปี 1970 รัฐบาลศรีลังกาเปลี่ยนชื่อประเทศจาก Ceylonมาเป็น Sri Lankaอันเป็นชื่อดั้งเดิมในภาษาสิงหล

  5. ประวัติขบวนการปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (LTTE) • กลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวทมิฬในศรีลังกา จัดตั้งเมื่อปี 1975 มีหัวหน้าคือ นาย Velupillai Prabhakaran • มีจุดมุ่งหมายในการแบ่งแยกดินแดนภาค เหนือ-ตะวันออก ซึ่งถือว่าเป็นมาตุภูมิของทมิฬ เพื่อจัดตั้งเป็นรัฐเอกราชทมิฬ • วิธีการต่อสู้ มี 2 รูปแบบคือ • วิธีการทางการเมือง ด้วยการจัดตั้งพรรคการเมืองชาวทมิฬ • วิธีการใช้ความรุนแรง โดยการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธต่อสู้กับรัฐบาลศรีลังกา กลุ่มติดอาวุธที่เข้มแข็งคือ กลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนพยัคฆ์ทมิฬอีแลม

  6. วิธีการต่อสู้ของขบวนการปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (LTTE) การเคลื่อนไหวทางการเมืองมี 2 รูปแบบคือ • ตีพิมพ์ข่าวสารและส่งภาพการสังหารชาวทมิฬโดยทหารของรัฐบาลเพื่อเรียกร้อง ความเห็นใจจากชาวโลก • การปลุกใจคนทมิฬทั่วโลกให้ภูมิใจในสายเลือด และวัฒนธรรมของตนเว็บไซต์ที่สำคัญคือwww.eelamweb.com

  7. แหล่งข่าวสารที่ดีของพวกทมิฬสายกลางได้แก่เว็บไซต์ www.tamilnet.com และwww.tamilguardian.com เว็บไซต์พวกนี้เสนอข่าวทั้งสองด้าน และมีความเป็นกลางพอสมควร

  8. ที่มา www.tamilnet.com และwww.tamilguardian.com

  9. ยุค LTTE รุ่งเรืองเฟื่องฟู มีการออกแสตมป์ใช้เองในปี 1983[ Wikipedia ]

  10. วิธีการต่อสู้ของขบวนการปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (LTTE) (ต่อ) วิธีการใช้ความรุนแรงของพวกพยัคฆ์ทมิฬอีแลม • กลุ่ม LTTEมีชื่อเสียงอย่างมากในการใช้ระเบิดพลีชีพโจมตีเป้าหมาย การระบิดพลีชีพที่สำคัญที่สุดคือ การสังหารประธานาธิบดีรณสิงห์ เปราดาสาแห่งศรีลังกา และอดีตนายกรัฐมนตรี ราจีพ คานธี แห่งอินเดีย • ก่อวินาศกรรมทำลายอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกของรัฐบาล อาทิ การใช้รถบรรทุกพุ่งชนธนาคารชาติศรีลังกา เป็นต้น • การก่อการร้านทางทะเล โดยการโจมตีเรือสินค้าในน่านน้ำศรีลังกา รวมทั้งเรือสิรค้าระหว่างประเทศ แต่หลีกเลี่ยงการโจมตีที่กระทบต่อชาวตะวันตก

  11. กองกำลังทหารหญิงพยัคฆ์ทมิฬ (Tamil Women Fighters)

  12. กองกำลังรบทางทะเลเรียกว่า SeaTigers

  13. เครื่องบินรบพวกทมิฬดัดแปลงจากเครื่องบินเก่าๆ เครื่องยนต์เดียว 4 ที่นั่ง ติดระเบิดได้ 4 ลูกแต่สามารถบินข้ามเกาะเข้ากรุงโคลัมโบไปบอมบ์ค่ายทหารรัฐบาลได้

  14. พฤติการณ์ก่อการร้ายที่สำคัญพฤติการณ์ก่อการร้ายที่สำคัญ • 21 พฤษภาคม 1991 นาย ราจีฟ คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดีย ซึ่งถูกลอบวางระเบิดสังหารโดยการยอมพลีชีพของสมาชิกขบวนการพยัคฆ์ทมิฬอีแลม

  15. พฤติการณ์ก่อการร้ายที่สำคัญ (ต่อ) • 23 เมษายน 1993 ลอบสังหารประธานาธิบดี รณสิงห์ เปรมาดาสา แห่งศรีลังกา • 23 ตุลาคม 1994 วางระเบิดสังหารนาย กามินี ดิสสายาเก ผู้สมัครเข้ารบการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของศรีลังกา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 55 คน บาดเจ็บ 200 คน • 15 ตุลาคม 1996 สมาชิกขบวนการฯ ได้ขับรถยนต์ซึ่งบรรทุกระเบิดไดนาไมต์จำนวน 200 กิโลกรัม ไประเบิดธนาคารแห่งศรีลังกาที่โคลัมโบ ทีผู้เสียชีวิต 100 คย บาดเจ็บกว่า 1400 คน ฯลฯ

  16. (http://www.spur.asn.au/chronology_of_suicide_bomb_attacks_by_Tamil_Tigers_in_sri_Lanka.htm)(http://www.spur.asn.au/chronology_of_suicide_bomb_attacks_by_Tamil_Tigers_in_sri_Lanka.htm)

  17. ปฏิบัติการกวาดล้าง LTTE: จากสงครามแบบแผน สู่สงครามการก่อการร้าย • สิงหาคม 2006 รัฐบาลถล่มจังหวัดแถบตะวันออก(ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้... สึนามิถล่มไปรอบหนึ่งแล้ว) • กองทัพเรือศรีลังกา คือ ยิงเรือที่ต้องสงสัยว่า เป็นกองเรือ LTTEทิ้งให้หมดนานน้ำทางเหนือ และ กรกฎาคม 2008 กองทัพศรีลังกากล่าวว่า ได้ยึด Vidattaltivuฐานทัพเรือสำคัญของกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬทางตอนเหนือ • ประกาศให้คนออกจากเมืองปารานธานที่เป็นเมืองน้ำเลี้ยงของLTTE ให้หมดถ้าไม่ออกจะถือว่า เป็นฝ่ายกบฏ เพื่อผลักดันให้ฝ่ายกบฏต้องหนีไปตามทางแคบๆ เรียกว่า "ทางช้าง (Elephant Pass)" ซึ่งกองทัพอากาศเตรียมถล่มจากข้างบนอยู่แล้ว

  18. ผลการปฏิบัติการ • พลเรือนที่ฝ่าย LTTE ใช้เป็นโล่มนุษย์ตายไปเกือบ 7,000คน บาดเจ็บอีก 13,000 คน ประชาชนต้องผลัดถิ่นอีก 275,000 คน ถนนหนทาง บ้านเรือนพังพินาศ • 18 พ.ค. 2009 กองกำลังรักษาความมั่นคงของศรีลังกาแถลงว่า นายเวลุพิไลประภาคาราน หัวหน้ากลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลม • สำหรับแกนนำกองกำลังพยัคฆ์ทมิฬที่เสียชีวิตด้วย ได้แก่ นายชาร์ลส์ แอนโธนี่ อายุ 24ปี ลูกชายนายประภาคาราน นายบี. เนเดอซาน หัวหน้าฝ่ายการเมือง นายเอส. พูลิดีวาน หัวหน้าคณะเลขาธิการฝ่ายสันติภาพของกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬในพื้นที่ต่อสู้ พล.ท.ซูซาย ผู้นำฝ่ายทัพเรือ และนายพ็อตตู อัมมาน หัวหน้าหน่วยข่าวกรอง • ถือเป็นการยุติการสู้รบนาน 25ปี ของรัฐบาลสิงหลที่เป็นชนเชื้อสายส่วนใหญ่ในศรีลังกา

  19. นายเวลุพิไล ประภาคาราน หัวหน้ากลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลมเสียชีวิตหลังจากที่ถูกปิดล้อมพื้นที่ต้อนกลุ่มกบฏจนมุมในป่า ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ

  20. สาเหตุที่กบฏทมิฬอีแลม (LTTE)แพ้สงคราม • ปัจจัยที่ทำให้ฝ่ายกบฏอ่อนแอลง 2 ประการได้แก่ (1).สึนามิซัดเข้าทางชายฝั่งด้านตะวันออกที่ชาวทมิฬ ซึ่งเป็นกองหนุนของกบฏ ทำให้ชาวทมิฬยากจนลงไปมาก (ชาวทมิฬอยู่ตามชายฝั่งทางเหนือและตะวันออก)และมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้นมาก (ศรีลังกาเป็นประเทศพิเศษในเขตร้อน คือ มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงมาก) (2).รัฐบาลอินเดียเริ่มสร้างโครงข่ายถนนรูป 4 เหลี่ยมขนมเปียกปูนรอบๆ ประเทศ ทำให้เศรษฐกิจโตขึ้นเร็ว ซึ่งอาจทำให้คนเชื้อสายทมิฬทางตอนใต้ของอินเดียอยากลงทุนการค้ามากกว่าสนับสนุนการรบ

  21. สาเหตุที่กองทัพศรีลังกาชนะ LTTE (1).No ambiguity= ไม่มีความลังเล หรือใช้ความหนักแน่น • รัฐบาลและกองทัพมีความเห็นตรงกันว่า ไม่ว่าจะต้องลงทุนสักเท่าไรก็ต้องทำ • แนวคิดในการกวาดล้างนี้อาจได้รับอิทธิพลจากพม่าในการปราบกบฏ ซึ่งเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือศรีลังกา โดยเฉพาะการขายข้าวราคาถูกให้ คือ ให้ใช้ทฤษฎีเกมส์ (game theory= ใช้วิธีอะไรก็ได้ที่จะชนะ โหดไม่โหดไม่เกี่ยง) • พี่ชายของท่านคือ ท่านมฮินดา(มหินท์) ราจาปักษา(ราชาปักษา)ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 2005 หรือ พ.ศ. 2548ได้ให้ความเห็นว่า การเจรจาต่อรองไม่ได้ผล(อีกต่อไป)

  22. สาเหตุที่กองทัพศรีลังกาชนะ LTTE (ต่อ) (2).ลงทุน • นายพลสาราธ ฟอนเซกาประกาศเกณฑ์หารเพิ่มจาก 80,000 เป็นมากกว่า 160,000 นาย จัดหาอาวุธใหม่ โดยเฉพาะเครื่องบินขับไล่เจ็ต ปืนใหญ่ เครื่องยิงจรวดแบบหลายท่อ(ใส่รถ ยิงได้ทีเดียวหลายลูกเกือบจะพร้อมกันทันที) • แนวคิดของศรีลังกาตอนนั้นคือ เมื่อจนก็ต้องหาอาวุธราคาถูกที่ใช้การได้จริง และเน้นซื้อจากจีน ปากีสถาน รัสเซีย และจะต้องใช้วิธีการรบแบบใหม่ที่ไม่เคยใช้กับ LTTE มาก่อนด้วย

  23. สาเหตุที่กองทัพศรีลังกาชนะ LTTE (ต่อ) (3).แนวร่วม • การที่กบฏLTTE ไม่ให้ความร่วมมือในการเจรจาทำให้รัฐบาลนานาชาติผิดหวัง ทำให้อินเดียและสหรัฐฯ ได้ช่อง เลยให้ความร่วมมือแบบเงียบๆ (ความเห็นของอาจารย์ DBS Jeyarajนักวิเคราะห์สถานการณ์ศรีลังกา) • ถ้าอินเดียให้ความร่วมมือ... การส่งเงิน ความช่วยเหลือจากชาวทมิฬทางใต้ของอินเดีย และการค้าขายของกองเรือ LTTEก็จะทำได้ยากขึ้นมาก • ทางอินเดียเองมองว่า ถ้ากบฏLTTE สงบลง... ศรีลังกาจะเป็นตลาดใหม่ที่อินเดียได้เปรียบชาติอื่นๆ ทั้งหมด แถมยังพัฒนาท่าเรือหรือแหล่งท่องเที่ยวทางใต้ได้ดีขึ้นด้วย

  24. สิ่งที่ต้องคิดต่อไป ด้วยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างยาวนาน จากปัจจัยรากฐานด้านเชื้อชาติ การที่รัฐบาลมีการจัดการอย่างไม่เหมาะสม จนถึงปัจจัยเสริมจากต่างประเทศ แทนที่ประเทศศรีลังกาจะประสบความสงบสุขจากการสิ้นสุดของสงครามกลางเมืองที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของเอเชีย ดังที่ชาวศรีลังกาได้หวังไว้ แต่ในรอบถัดไปนี้ศรีลังกาอาจเผชิญการก่อการร้ายจากกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬที่เหลืออยู่ต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการแบ่งแยกดินแดนในที่สุด

  25. หัวข้อ ขบวนการปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม Liberation Tigers of Tamil Eelam ( LTTE ) • นางสาวอภิญญา องศารา • รหัสนักศึกษา 5120710224 • คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ • อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ชิดชนก ราฮิมมูลา

More Related