1 / 59

การเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ของส่วนราชการ (ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ และสาธารณูปโภค)

การเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ของส่วนราชการ (ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ และสาธารณูปโภค). กฎหมายและระเบียบการคลัง. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. * กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย. * กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ. * กฎหมายว่าด้วยการโอนงบประมาณ.

avani
Download Presentation

การเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ของส่วนราชการ (ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ และสาธารณูปโภค)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ(ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุและสาธารณูปโภค)

  2. กฎหมายและระเบียบการคลังกฎหมายและระเบียบการคลัง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย * กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย * กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ * กฎหมายว่าด้วยการโอนงบประมาณ * กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง - ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังเก็บรักษาเงิน และการนำส่งคลัง - ระเบียบการบริหารงบประมาณ

  3. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ งบบุคลากร (รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคลภาครัฐ) งบดำเนินงาน (รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่ายในลักษณะ ค่าตอบแทน ใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว) งบลงทุน (รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง) งบเงินอุดหนุน (รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเป็นค่าบำรุงหรือเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ) งบรายจ่ายอื่น (รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใด) “รายจ่ายตามงบประมาณรายการใดจะกำหนดให้เบิกจ่ายในประเภทงบรายจ่ายใด ให้เป็นไปตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณที่สำนักงบประมาณกำหนด”

  4. หลักเกณฑ์การจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการหลักเกณฑ์การจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ การจ่ายเงินหรือก่อนหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่กำหนดไว้ ใน พรบ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี และต้องได้รับอนุมัติ เงินประจำงวดก่อน ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังฯ ข้อ 31 เจ้าของงบประมาณจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะที่มี กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง กำหนดไว้หรือมติคณะรัฐมนตรีอนุญาตให้จ่ายได้ หรือตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง และผู้มีอำนาจอนุมัติให้จ่ายได้

  5. รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้ กฎหมาย ระเบียบ กระทรวงการคลัง อนุมัติให้จ่ายได้ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง

  6. หลักดุลยพินิจ( ที่ กค 0502 / ว 101 ลว. 10 ก.ค. 2533) * การจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณในงบดำเนินงาน (ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หรืองบอื่นใดที่เบิกจ่ายในลักษณะดังกล่าว) เงื่อนไข *กรณีที่ไม่มี กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ ค.ร.ม. หรือรายการที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้จ่ายในเรื่องนั้นๆ ไว้แล้ว ให้ ดุลยพินิจ ของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ อนุมัติจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ตามหลักความจำเป็นและประหยัด เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่หลักของหน่วยงาน

  7. ค่าตอบแทน คือ ...... ความหมาย : เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้แก่ทางราชการ • เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ที่จ่ายประจำ • นอกเหนือเงินเดือน เช่น - เงินประจำตำแหน่งผู้บริหาร - ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา - ค่าตอบแทนกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงาน - เงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับ

  8. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่าย เงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550

  9. นิยาม “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หน่วยงานอื่นของรัฐ ในราชการส่วนกลางและภูมิภาค “ข้าราชการ” ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร บุคคลอื่น..อ้างอิง..?? ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวตามระเบียบว่าด้วย การจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการพ.ศ. 2526 พนักงานราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547

  10. “เงินตอบแทน” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการ ที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติ ลักษณะงานส่วนใหญ่ปฏิบัติในที่ตั้งสำนักงาน และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการ ลักษณะงานส่วนใหญ่ปฏิบัตินอกที่ตั้งสำนักงาน และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน

  11. ข้าราชการที่ปฏิบัติงานปกติข้าราชการที่ปฏิบัติงานปกติ ข้าราชการที่ปฏิบัติงาน“เป็นผลัดเป็นกะ” - การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ของข้าราชการ ส่วนราชการจัดให้ปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ตลอด 24 ชั่วโมง ผลัดหรือกะหนึ่งๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง โดยรวมเวลาหยุดพัก ลักษณะงานปกติ ทำนอกเวลาปกติ ลักษณะงานปกติ เป็นผลัดเป็นกะ และปฏิบัติงานนอกผลัดนอกกะ

  12. “เวลาราชการ”หมายความว่า เวลา 8.30-16.30 น. ของวันทำการ และที่กำหนดเป็นอย่างอื่น “วันทำการ”หมายความว่า วันจันทร์ถึงวันศุกร์และที่กำหนดเป็นอย่างอื่น “วันหยุดราชการ”หมายความว่า วันเสาร์และอาทิตย์ วันหยุดราชการประจำสัปดาห์ที่ส่วนราชการกำหนด เป็นอย่างอื่น และรวมถึงวันหยุดราชการประจำปี หรือวันหยุดพิเศษอื่นๆ ที่ ค.ร.ม. กำหนด

  13. หลักเกณฑ์ ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ ก่อนการปฏิบัติงาน โดยให้ผู้อนุมัติพิจารณาช่วงเวลาที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ทางราชการ เป็นสำคัญ กรณีจำเป็นต้องปฏิบัติงานไปก่อน โดยมิได้ขออนุมัติไว้ ให้ดำเนินการขออนุมัติโดยไม่ชักช้า โดยแจ้งเหตุความจำเป็น ที่ไม่อาจขออนุมัติก่อนได้

  14. หลักเกณฑ์ (ต่อ) - กรณีได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการ ตามระเบียบว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการฯ ไม่มีสิทธิได้รับเงินตอบแทน - เว้นแต่ ได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการอยู่ก่อนการเดินทาง และเมื่อเดินทางเสร็จสิ้นและกลับถึงที่ตั้งสำนักงาน จำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาในวันนั้น ให้เบิกเงินตอบแทนได้

  15. หลักเกณฑ์ (ต่อ) การปฏิบัติงานต่อไปนี้ เบิกไม่ได้ การอยู่เวรรักษาการณ์ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ /ระเบียบหรือคำสั่งอื่น ในการรักษา ความปลอดภัยสถานที่ราชการ การปฏิบัติงานนอกเวลาที่ไม่เต็มชั่วโมง การควบคุม กรณีมีหลายคนร่วมปฏิบัติงานให้คนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รับรอง หากปฏิบัติคนเดียว ให้รับรองตนเอง ให้รายงานผลการปฏิบัติต่อผู้อนุมัติภายใน 15 วัน นับแต่เสร็จสิ้น

  16. ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้างและควบคุมงานก่อสร้างที่ กค 0406.4/ว 18 ลว. 27 กุมภาพันธ์ 2551ยกเลิก ที่ กค 0502/ว 172 ลว. 26 ตุลาคม 2535 *คณะกรรมการตรวจการจ้าง/ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ต้องเป็น ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากส่วนราชการเจ้าของงบประมาณให้ปฏิบัติหน้าที่ ตามนัยข้อ 72 / ข้อ 73 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เกณฑ์การพิจารณาสิทธิได้รับหรือไม่ พิจารณาจาก... + มีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งกำหนด +ถ้ามิได้กำหนดชัด แต่เป็นงานมอบหมายให้ปฏิบัติประจำ ไม่มีสิทธิเบิกค่าตอบแทน

  17. ค่าใช้สอย รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการใดๆ (ยกเว้นบริการสาธารณูปโภค สื่อสารและโทรคมนาคม) รายจ่ายที่เกี่ยวกับการรับรองและพิธีการ และรายจ่าย ที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายอื่นๆ

  18. การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชนการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชน ดำเนินงานของส่วนราชการ ( หลักเดิม กค 0526.5 / ว 131 ลว. 28 ธ.ค. 2541 กค 0409.6 / ว 86 ลว. 17 ก.พ. 2548)

  19. ส่วนราชการจำเป็นต้องจ้างเอกชนดำเนินงานส่วนราชการจำเป็นต้องจ้างเอกชนดำเนินงาน  ไม่มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นงาน/โครงการใหม่  มีผู้ปฏิบัติงาน แต่ไม่สามารถแล้วเสร็จตามกำหนด เนื่องจาก - ปริมาณงานมาก - ตำแหน่งว่างลง/ถูกยุบเลิก สามารถจ้างเอกชนดำเนินงานนั้นได้ เบิกจ่ายจากงบดำเนินงาน ลักษณะค่าใช้สอย หากเงินงบประมาณไม่เพียงพอสามารถนำเงินนอกงบประมาณมาสมทบจ่ายได้  วิธีการจ้างให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  20. ไม่ถือเป็นการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ ส่วนราชการผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุม บังคับบัญชา มีอำนาจเพียงตรวจตรางาน สั่งปรับปรุงแก้ไข ไม่อยู่ภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับตามที่ลูกจ้างของทางราชการต้องปฏิบัติ  เป็นการจ้างทำของ ไม่ถือเป็นการจ้างแรงงาน  ไม่มีนิติสัมพันธ์ในฐานะ “นายจ้าง – ลูกจ้าง”  ไม่ต้องนำเงินส่งสมทบกองทุนประกันสังคม  มุ่งผลสำเร็จของงานที่จ้างภายในระยะเวลาที่กำหนด  จ้างเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้  ค่าตอบแทนอื่น ๆ เช่น ค่าล่วงเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางต้องกำหนดไว้ในสัญญาจ้าง

  21. ค่าวัสดุ รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลืองหมดไป แปรสภาพ หรือไม่คงสภาพเดิม หรือสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร และมีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาทรวมถึงค่าใช้จ่าย ที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าขนส่ง (หลักเดิม ที่ กค 0502/ว.74 ลว. 1 พฤษภาคม 2535) ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ ใช้ดุลยพินิจเบิกจ่าย ค่าวัสดุตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายได้ เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด เพื่อประโยชน์ของทางราชการภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร -ยกเว้น *เครื่องแต่งกาย

  22. ค่าสาธารณูปโภค รายจ่ายค่าบริการสาธารณูปโภค สื่อสารและโทรคมนาคม รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการไปรษณีย์ ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม

  23. ค่าโทรศัพท์ • มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 เรื่อง การติดตั้งและการใช้โทรศัพท์ แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0505/ว 113 ลว. 3 สิงหาคม 2550 • โทรศัพท์สำนักงาน เท่าที่จ่ายจริง • โทรศัพท์บ้านพักของทางราชการ ภายในพื้นที่เดียวกัน ไม่เกิน 100 ครั้ง โทรศัพท์เคลื่อนที่ประจำสำนักงาน เท่าที่จ่ายจริง • โทรศัพท์เคลื่อนที่กรณีมอบให้ข้าราชการถือครอง เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินหลักเกณฑ์และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (*กระทรวงการคลังได้ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าใช้บริการ วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีการใช้วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนตัว ที่ กค 0406.4/ว 91 ลว. 10 มีนาคม 2551 )

  24. อัตราการเบิกจ่ายวิทยุโทรศัพท์สำหรับผู้ถือครอง( ให้เฉพาะข้าราชการ ตามหนังสือ กค 0409.6 / ว 108 ลว. 12 ธันวาคม 2546) ระดับ 8 ลงมาเบิกไม่เกิน 1,000 บาท/คน/เดือน ระดับ 9 เบิกไม่เกิน 2,000 บาท/คน/เดือน ระดับ 10 เบิกไม่เกิน 3,000บาท/คน/เดือน ระดับ 11 เบิกไม่เกิน 4,000 บาท/คน/เดือน ... ที่ กค 0406.4/ว 39 ลว. 22 เมษายน 2551 ...?????

  25. ระเบียบกระทรวงการคลังระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2549

  26. เจตนารมณ์ของระเบียบ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ได้สะดวก คล่องตัว มีความยืดหยุ่น สามารถใช้บริหารจัดการ ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ต้องอ้างอิงหนังสือสั่งการหลายฉบับ

  27. “นิยาม” ส่วนราชการ หมายถึง สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเป็นหรือเทียบเท่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีหัวหน้าส่วนราชการซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดี และราชการบริหารส่วนภูมิภาค

  28. ค่าใช้จ่ายหมายถึง ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการที่เบิกจ่ายจาก งบดำเนินงานในลักษณะ ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค หรือ งบรายจ่ายใดที่เบิกจ่ายในลักษณะเดียวกัน

  29. หลักเกณฑ์ที่ 1 ของระเบียบฯ กรณีที่มีค่าใช้จ่ายใดที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือมติคณะรัฐมนตรี กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ เบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าวตามที่ได้กำหนดไว้

  30. เช่น - การประกันภัยทรัพย์สิน - ค่าเช่ารถยนต์ของส่วนราชการ - ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ - ค่าเบี้ยประชุม - ค่าใช้จ่ายในการรับรองชาวต่างประเทศ

  31. - ค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศ - ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม - ค่าใช้จ่ายในการจัดงาน - ค่าเครื่องแต่งตัวข้าราชการที่เดินทางไปราชการ ต่างประเทศชั่วคราว - ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศพข้าราชการและลูกจ้างประจำของ ทางราชการซึ่งถึงแก่ความตาย ในระหว่างเดินทางไป ราชการ เป็นต้น

  32. การเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการการเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการ - ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ กำหนดให้จัดหารถยนต์มาใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่ได้กำหนดวิธีการให้ใช้วิธีใด แนวปฏิบัติเดิม ส่วนราชการจัดหาโดยวิธีการซื้อ / เช่า - แหล่งเงินงบประมาณและการเบิกจ่าย

  33. การเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการ ปัจจุบัน มีการดำเนินการ โดยวิธี 1.ซื้อ 2.เช่ารถยนต์จากบริษัทผู้ประกอบการให้เช่า 3.จ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหา รถประจำตำแหน่ง

  34. การเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการการเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 แจ้งตามนัยหนังสือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0504/ว 195 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2546 (มติ ครม.ปัจจุบัน มีมติเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551)

  35. หลักเกณฑ์ ต้องทำ สัญญาเช่าเป็นเวลา 5 ปี แหล่งเงินงบประมาณ จ่ายจากงบดำเนินงาน ลักษณะค่าใช้สอย การจัดหาให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุฯ ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตามมาตรา 23 พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 อัตราค่าเช่าเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด *

  36. หลักเกณฑ์ อัตราค่าเช่า ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุดที่ กค 0409.6/ว 88 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2550 ประเภทรถไม่เกิน (บาท/คัน/เดือน) รถนั่งส่วนกลาง 20,500 รถโดยสาร 12-15 ที่นั่ง (ดีเซล) 27,500 รถประจำตำแหน่งรองอธิบดีหรือเทียบเท่า 29,000 รถประจำตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่า 39,200 รถประจำตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า 59,600 รถประจำตำแหน่งรัฐมนตรีหรือเทียบเท่า 85,000 รถประจำตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือเทียบเท่า 100,400

  37. ประเภทรถไม่เกินบาท/คัน/เดือนประเภทรถไม่เกินบาท/คัน/เดือน รถบรรทุก ขับเคลื่อน 2 ล้อ -แบบธรรมดา 12,700 -แบบที่ช่องว่างด้านหลังคนขับ (CAB) 14,500 -แบบดับเบิ้ลแค็ป 17,400 ขับเคลื่อน 4 ล้อ -แบบมีช่องว่างด้านหลังคนขับ (CAB) 17,600 -แบบดับเบิ้ลแคบ21,850

  38. เงื่อนไขอื่น • -อัตราค่าเช่าไม่รวมค่าจ้างพนักงานขับรถ หากจำเป็นต้องจ้างให้จ้างได้ไม่เกินอัตรา 7,600 บาท/คน/เดือน • รูปแบบสัญญา ถือปฏิบัติตามหนังสือคณะกรรมการ ว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ.) 0408.4/ว 180 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2548

  39. กรณีปฏิบัติไม่ได้ ทำอย่างไร ???? • ตัวอย่างเช่น ต้องการเช่ารถประเภทอื่นนอกเหนือหลักเกณฑ์และอัตราค่าเช่ากำหนด • ให้ขอตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน

  40. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 1. ยืดหยุ่น ระยะเวลาการทำสัญญาเช่า กำหนดให้เป็นทางเลือก โดยจัดทำสัญญาเช่า 5ปี หรือ ทำสัญญาเช่า 3ปี แบบมีเงื่อนไขอัตราค่าเช่า ต้องไม่เกินอัตราค่าเช่าที่ กค. กำหนด) 2. ค่าจ้างพนักงานขับรถ หากจำเป็นต้องจ้าง เป็น ให้จ้างได้ไม่เกินอัตรา 8,500 บาท/คน/เดือน (ปรับจากอัตราจ้างเดิมที่กำหนดไว้ 7,600 บาท/คน/เดือน )

  41. การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งสำหรับข้าราชการผู้มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งสำหรับข้าราชการผู้มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่ง

  42. หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547 แจ้งตามหนังสือ สลค. ด่วนที่สุด ที่ นร 0504/ว 182 ลงวันที่ 10 กันยายน 2547และ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 * แจ้งตามหนังสือ สลค. ที่ นร 0505/ว 141 ลงวันที่ 25 กันยายน 2549 หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 114 ลงวันที่ 30 กันยายน 2547 และ * ที่ กค 0409.6/ว 102 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 ซ้อมความเข้าใจมติ ครม. 19 ก.ย.2549 หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0409.6/ว 519 ลงวันที่28 ธันวาคม 2548 หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร 0714/ว 3 ลงวันที่15 ตุลาคม 2547 หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนมาก ที่ นร 0714/ว 50 ลงวันที่ 19 มกราคม 2548

  43. หลักเกณฑ์และเงื่อนไข 1. ต้องเป็นข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้แก่ ข้าราชการซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการ รองหัวหน้า ส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นไป ผู้ตรวจราชการระดับกระทรวง และเอกอัครราชฑูตประจำกระทรวง

  44. 2. อัตราการจ่าย ระดับรองอธิบดีหรือเทียบเท่า 25,400 บาท/คน/เดือน ระดับอธิบดีหรือเทียบเท่า 31,800 บาท/คน/เดือน ระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า 41,000 บาท/คน/เดือน 3. ให้หัวหน้าส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐระดับกรมเป็นผู้เลือก ให้เป็นแนวทางเดียวกัน(มติ ครม.19 ก.ย.49 (ใหม่) ให้ข้าราชการผู้มีสิทธิเลือกได้ โดยเงื่อนไข กค.) 4. เมื่อเลือกรับเงินแล้ว ให้ข้าราชการจัดหารถยนต์ส่วนตัว ที่เหมาะสมกับเกียรติและฐานะที่ดำรงอยู่มาใช้ในการปฏิบัติ ราชการ

  45. การจัดทำประกันภัยของภาคราชการการจัดทำประกันภัยของภาคราชการ การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ (มติ ครม. 3 พ.ค. 2548 แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการ ครม. ที่ นร 0505/ว(ล) 5843 ลว. 9 พ.ค. 2548) การประกันภัยรถราชการ(มติ ครม. 21 มิ.ย. 2548 แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการ ครม. ที่ นร 0504/8203 ลว. 23 มิ.ย. 2548) ซ้อมความเข้าใจ ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0409.6/ว 349 ลว. 8 ก.ย. 2548

  46. การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐการประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ สถานที่ราชการภายในประเทศ •ถือหลักประกันตนเอง •เว้นแต่ สถานที่ราชการหรือทรัพย์สินของ รัฐวิสาหกิจที่มีคลังเก็บสิ่งของหรือโรงงานที่อาจ เสียหายมาก เมื่อเกิดอัคคีภัยให้ประกันภัยได้ สถานที่ราชการในต่างประเทศ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลให้ประกันได้

  47. •หากจะประกันภัยทรัพย์สิน ให้เสนอ คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ พิจารณา องค์ประกอบของ คณะกรรมการฯ มี ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงบประมาณ กรมการประกันภัย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด และกรมธนารักษ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ

  48. การประกันภัยรถราชการ ประเภทภาคบังคับ ส่วนราชการจัดทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประเภทภาคสมัครใจ - ให้พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมกับภารกิจ - เสนอเรื่องขออนุมัติต่อคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนการเบิกจ่าย

  49. หลักเกณฑ์ข้อที่ 2 ของระเบียบฯ กรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณเบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ตามอัตราที่กำหนดในกฎหมาย สัญญาอนุญาโตตุลาการ คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ คำสั่ง หรือ คำพิพากษาของศาล แล้วแต่กรณี

  50. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทน ที่ผู้เสียหายยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทำละเมิด ต่อผู้เสียหายในการปฏิบัติหน้าที่ ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ เบิกจ่ายเงินตามระยะเวลาและอัตรา ที่กระทรวงการคลังกำหนด

More Related