1 / 27

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดย เชาวน์ รอดทองคำ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดย เชาวน์ รอดทองคำ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ. ความแตกต่างระหว่างพลังงานปรมาณูกับพลังงานนิวเคลียร์.

Download Presentation

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดย เชาวน์ รอดทองคำ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยเชาวน์ รอดทองคำ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

  2. ความแตกต่างระหว่างพลังงานปรมาณูกับพลังงานนิวเคลียร์ความแตกต่างระหว่างพลังงานปรมาณูกับพลังงานนิวเคลียร์ • “พลังงานนิวเคลียร์” เป็นพลังงานที่มาจากนิวเคลียส ส่วน “พลังงานปรมาณู” เป็นพลังงานที่ออกมาจากอะตอมหรือปรมาณู ซึ่งรวมถึงพลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานที่มาจากอิเล็กตรอนโดยรอบอีกด้วย • โดยที่มาตรา 3 พ.ร.บ. พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 กล่าวว่า "พลังงานปรมาณู" หมายความว่า พลังงานไม่ว่าในลักษณะใดซึ่ง เกิดจากการปลดปล่อยออกมาในเมื่อมีการแยก รวม หรือแปลงนิวเคลียสของ ปรมาณู หรือพลังงานจากรังสีเอ็กซ์

  3. ความแตกต่างระหว่างระเบิดปรมาณูกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ความแตกต่างระหว่างระเบิดปรมาณูกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และระเบิดปรมาณูต่างก็มีหลักการทำงานโดยใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันเช่นเดียวกัน แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่สามารถเกิดระเบิดได้เหมือนกับระเบิดปรมาณู เนื่องจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่เจือจางมาก คือมียูเรเนียม-235 ประมาณร้อยละ 2-4 ดังกล่าวแล้ว ทำให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์เกิดขึ้นได้ช้าและมีขีดจำกัด หากปล่อยให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์เกิดขึ้นโดยไม่มีการควบคุม เช่น ยกแท่งควบคุมออกความร้อนที่ทยอยเกิดขึ้นจะทำให้เชื้อเพลิงยูเรเนียมแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและหยุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ลงก่อนที่จะกลายเป็นระเบิดปรมาณู ในขณะที่ระเบิดปรมาณูใช้ยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นของยูเรเนียม-235 มากกว่าร้อยละ 90 โดยแยกมวลของยูเรเนียม-235 ออกเป็นส่วนๆ เพื่อป้องกันการเกิดมวลวิกฤต เมื่อต้องการให้ระเบิดทำงาน จะมีการใช้การระเบิดทางปฏิกิริยาเคมี เข้ามาผลักดันให้ยูเรเนียมรวมตัวกันและคงสภาพเดิมอยู่ช่วงเวลาหนึ่งจนกระทั่งปฏิกิริยานิวเคลียร์เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่องได้อย่างรวดเร็ว และเกิดการระเบิดได้อย่างรุนแรงในที่สุด

  4. Little Boy • Little Boy เป็นระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ลงที่เมืองฮิโรชิมา ญี่ปุ่น ทำจาก U-235 • ประกอบด้วยปืนซึ่งยิงมวลสารหนึ่งของ U-235 ไปยังมวลสารอื่นของ U-235 ก่อให้เกิดการระเบิดของนิวตรอนและปฏิกริยาลูกโซ่ ซึ่งดำเนินต่อไปและก่อให้เกิดพลังงานปลดปล่อยออกมาอย่างมหาศาล จน Little Boy ระเบิดออก

  5. Fat Man เป็นระเบิดปรมาณูลูกที่ 2 ที่ลงที่เมืองนางาซากิ ญี่ปุ่น ทำจาก Pu-239 การออกแบบเบื้องต้นใช้หลักการแบบเดียวกับระเบิดยูเรเนียม ให้อัตราการแตกตัวทันทีทันใดที่รวดเร็วกว่าการแตกตัวของ U-235 Fat Man

  6. มัดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มัดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

  7. เชื้อเพลิงยูเรเนียม ที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยปกติจะมีความเข้มข้นของไอโซโทปยูเรเนียม-235 ประมาณร้อยละ 2 ในรูปออกไซด์ ของยูเรเนียม แล้วถูกอัดทำให้เป็นเม็ดเล็กๆ บรรจุภายในแท่งโลหะผสม ของเซอร์โคเนียม ซึ่งจะถูกนำมารวมกลุ่มกัน เป็นมัดเชื้อเพลิง ประกอบกันเป็นแกนปฏิกรณ์ บรรจุอยู่ภายในถังปฏิกรณ์ ที่ทนความดันสูง ภายในถังปฏิกรณ์ มีน้ำ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมความกดดันบรรจุอยู่ เพื่อใช้เป็นตัวระบายความร้อน ออกจากแท่งเชื้อเพลิงโดยตรง และยังใช้ประโยชน์ เป็นตัวหน่วงความเร็วของนิวตรอนด้วย เพื่อให้นิวตรอนที่เกิดขึ้น มีความเร็วพอเหมาะ ที่จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันต่อไปได้ • ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ในเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น ควบคุมได้โดยใช้แท่งควบคุม ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติพิเศษ ในการดูดจับอนุภาคนิวตรอน เช่น โบรอนคาร์ไบด์ ทำหน้าที่ควบคุม ให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์เพิ่มขึ้น หรือลดลง ตามที่ต้องการ โดยการเลื่อนแท่งควบคุมเข้าออก ภายในแกนปฏิกรณ์ตามแนวขึ้นลง เพื่อดูดจับอนุภาคนิวตรอนส่วนเกิน

  8. ปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิชชันปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิชชัน กระบวนการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันต่อเนื่อง 1.นิวตรอนเข้าชนนิวเคลียสที่ไม่เสถียร ของยูเรเนียม-235 2.นิวเคลียสแตกออก และให้พลังงานจำนวนมากออกมา 3.มีนิวตรอนเกิดจากปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 4.นิวตรอนใหม่เข้าชนนิวเคลียสของอะตอมอื่นๆ ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่อง

  9. เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แร่ยูเรเนียม เค้กเหลือง การประกอบเป็นมัดเชื้อเพลิง ผงยูเรเนียมออกไซด์ เม็ดเชื้อเพลิง

  10. เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ - เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ คือแร่ยูเรเนียมจากธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ 2ชนิดคือยูเรเนียม -238มีปริมาณ 99.3 %ในแร่ยูเรเนียมโดยน้ำหนักยูเรเนียม -235มีปริมาณ 0.7 %- ขั้นตอนการผลิตเชื้อเพลิง นิวเคลียร์พอสังเขป ได้แก่ การทำเหมืองการสกัด การแปลงสภาพ การทำให้U-235เข้มข้นแล้วอัดให้เป็นเม็ดเชื้อเพลิงรูปทรงกระบอก ขนาดประมาณ 8x10มิลลิเมตรแล้วบรรจุเรียงกัน ในท่อเซอร์คัลลอยด์ความยาว 60เซนติเมตร (แบบCANDU) หรือ 4เมตร (แบบ BWR, PWR) เป็นแท่งเชื้อเพลิงแล้วรวมกันเป็นชุด เป็นมัดเชื้อเพลิง เพื่อนำไปประกอบและทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ - ยูเรเนียม 1กรัม ให้พลังงานเทียบเท่ากับพลังงานความร้อน 1 MW.dayหรือ พลังงานไฟฟ้า 300 kW.dayหรือพลังงานที่ได้มาจากถ่านหิน2500กิโลกรัม

  11. เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ นอกจากU-235 แล้ว เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ยังอาจเป็น - ยูเรเนียมธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วย U-238 99.3% U-235 0.7% ในเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ CANDU - เชื้อเพลิง MOX (Mixed oxide fuel) ประกอบด้วย 7-9% Pu ผสมกับ depleted uranium เท่ากับUO2ที่ถูกทำให้เข้มข้นถึง 4.5% U-235 ใช้กันอย่างกว้างขวางในยุโรป ถ้าปริมาณ Pu ประมาณ 5% จะใช้ใน Light Water Reactor - เชื้อเพลิง ThO2ซึ่งเมื่อTh232ถูกยิงด้วยนิวตรอนจะสลายให้ Th233ซึ่งจะสลายให้ Protactinium-233 และ U-233 ตามลำดับ ซึ่ง U-233 จะแตกตัวให้พลังงานได้

  12. การทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์การทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 1.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำความดันสูง (Pressurized Water Reactor : PWR)จะต้มน้ำภายในถังขนาดใหญ่ ซึ่งอัดความดันไว้เพื่อไม่ให้น้ำเดือดกลายเป็นไอ โดยจะนำน้ำส่วนนี้ไปถ่ายเทความร้อนให้แก่น้ำหล่อเย็นอีกระบบหนึ่งที่ไม่ได้ควบคุมความดัน เพื่อผลิตไอน้ำออกมา เป็นการป้องกันไม่ให้น้ำในถังซึ่งมีสารรังสีเจือปนอยู่แพร่กระจายไปยังอุปกรณ์ส่วนอื่นๆ ตลอดจนป้องกันการรั่วของสารกัมมันตรังสีสู่สิ่งแวดล้อมแต่การทำงานของโรงงานในลักษณะนี้จะทำให้เกิดความยุ่งยากในที่เดินเครื่องโรงไฟฟ้า

  13. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำความดันสูง (Pressurized Water Reactor : PWR)

  14. การทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์การทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor : BWR)สามารถผลิตไอน้ำได้โดยตรงจากการต้มน้ำภายในถัง ซึ่งไม่ได้ควบคุมความดัน โดยมีการก่อสร้างอาคารป้องกันรังสีไว้ในระบบอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ของโรงไฟฟ้า

  15. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor : BWR)

  16. การทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์การทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบCANDUมีการทำงานคล้ายกับแบบPWRแตกต่างกันที่การต้มน้ำภายในถังได้เปลี่ยนไปใช้การต้มน้ำภายในท่อขนาดเล็กจำนวนมาก เนื่องจากสามารถผลิตได้ง่ายกว่าผลิตในถังขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการนำเอาน้ำชนิดที่เรียกว่าน้ำมวลหนักมาใช้บางส่วน เพื่อให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์เกิดขึ้นง่ายจึงสามารถใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่สกัดมาจากธรรมชาติได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงให้มีความเข้มสูงขึ้น

  17. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบCANDUโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบCANDU

  18. การเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วการเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว • เชื้อเพลิงที่ใช้แล้วไม่ถือว่าเป็นกากอย่างแท้จริงเพราะยังมีวัสดุมีค่าผสมอยู่ภายในเม็ดเชื้อเพลิงได้แก่ยูเรเนียม-235ประมาณ ร้อยละ 1 ยูเรเนียม-238ประมาณ ร้อยละ93 พลูโตเนียม-239ประมาณ ร้อยละ 0.5และผลิตผลจากการเกิดปฏิกิริยาแตกตัวประมาณร้อยละ 5.5ซึ่งเป็นไอโซโทปของธาตุต่างๆ กว่า 200ชนิด • การจัดการเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วซึ่งปกติจะอยู่ในรูปของมัดเชื้อเพลิงและถูกบรรจุในช่องเก็บ(Rack)ซึ่งแช่อยู่ในบ่อน้ำที่มีขนาดประมาณ(ก.xย.xส.)=10x15x12เมตร ภายในโรงไฟฟ้าซึ่งสามารถเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วได้ตลอดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้าคือประมาณ30-40ปี (ถ้ายังไม่มีนโยบายจัดการด้วยวิธีอื่น)

  19. การเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วการเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว

  20. การเก็บกากกัมมันตรังสีการเก็บกากกัมมันตรังสี กากกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบ่งตามระรับความแรงของรังสีได้ดังนี้ • กากกัมมันตรังสีระดับต่ำ ได้แก่ วัสดุปนเปื้อนรังสีเช่น ชุดปฏิบัติงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งน้ำที่ใช้ชำระล้างอุปกรณ์ ภายในโรงไฟฟ้า • กากกัมมันตรังสีระดับกลาง ได้แก่อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารรังสีโดยตรง เช่น ไส้กรองสารกัมมันตรังสี ท่อหุ้มเม็ดเชื้อเพลิง • กากกัมมันตรังสีระดับสูง ได้แก่ สารกัมมันตรังสีที่เกิดใหม่รวมทั้งพลูโตเนียม ภายในแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว ยูเรเนียมที่ยังเหลืออยู่บางส่วน และกากที่เกิดจากการสกัดเชื้อเพลิงมาใช้ใหม่

  21. การเก็บกากกัมมันตรังสีการเก็บกากกัมมันตรังสี • กากกัมมันตรังสีระดับต่ำและระดับกลาง จะถูกนำมาผ่านกระบวนการขจัดกากและลดปริมาณลง แล้วบรรจุถังขนาด 200ลิตร บุด้วยวัสดุกันรังสี แล้วนำไปเก็บในสถานที่เก็บกากบนพื้นดิน หรือฝังในระดับความลึก ประมาณ 5-10เมตร

  22. การเก็บกากกัมมันตรังสีการเก็บกากกัมมันตรังสี • กากกัมมันตรังสีระดับสูง จะถูกอบให้แห้ง แล้วนำไปหลอมให้เป็นเนื้อเดียวกัน กับแก้วชนิด พิเศษ(บอโรซิลิเคท) ที่ความร้อนสูงแล้วบรรจุลง ถังและนำไปจัดเก็บในสถานที่ที่เหมาะสม ซึ่งถือ ว่ามีความปลอดภัยที่สุดในปัจจุปันคือการฝังลงในชั้นหินแข็งที่มีความลึกจากระดับผิวดินลงไปมากกว่า 500 เมตรโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์จะมีกากกัมมันตรังสีสูงประมาณ 10 ถังต่อปี(ขนาดถัง 200 ลิตร)

  23. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

  24. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะเห็นว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปล่อยก๊าซCO2น้อยที่สุด เปรียบเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ไม่มีการปล่อยก๊าซCO2 จากการเผาไหม้เชื้อเพลิง แต่เป็นการปล่อยทางอ้อมจาก life cycle ซึ่งก็คือ การปล่อยก๊าซCO2ที่เกิดขึ้นจากการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ การทำเหมืองและการแปรสภาพให้เป็นเชื้อเพลิง การทำงานประจำวันของโรงงาน การกำจัดเชื้อเพลิงใช้แล้วและกากอื่นๆ ที่เป็นผลพลอยได้ และการปลดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกจากการใช้งาน

  25. การเปรียบเทียบกับพลังงานทดแทนการเปรียบเทียบกับพลังงานทดแทน • นอกจากพลังงานนิวเคลียร์แล้ว พลังงานทดแทนเช่นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ต่างช่วยกันลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหมือนกัน • อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขนาด 1 ล้าน kW(300 billion yen) 1 โรง ผลิตไฟฟ้าได้เทียบเท่า • พลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้เนื้อที่เท่ากับเกาะแมนฮัตตัน (ประมาณ 67 km2) (6-7 trillion yen) • พลังงานลมที่ใช้เนื้อที่เท่ากับ 3.5 เท่าของเกาะแมนฮัตตัน (ประมาณ 246 km2) (1 trillion yen)

  26. เอกสารอ้างอิง • http://www.kodmhai.com/m4/m4-11/h12/M1-24.html • http://www.nst.or.th/article/article0111.htm • http://www.oaep.go.th/nstkc/content/view/39/29/1/3/ • http://www.atomicarhieve.com/Photos/LBFM/image1.shtml • http://www.atomicarhieve.com/Photos/LBFM/image2.shtml • http://www.nst.or.th/article/notes01/article010.htm • http://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci2/nuclear-simulate/nuclear3.htm • http://www.nst.or.th/article/article491/article49071.html • http://www.nst.or.th/powerplant/pp03.htm • http://www.uic.com.au/nip42.htm • http://www.uic.com.au/nip67.htm

  27. เอกสารอ้างอิง 12. http://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci2/nuclear-simulate/nuclear4.htm • http://www.uic.com.au/nip100.htm • http://neinuclearnotes.blogspot.com/2005/07/nuclear-energy-and-total-life-cycle.htm • Nuclear Power Generation in Japan, Agency for Natural Resources and Energy (ANRE), Ministry of Economy, Trade and Industry (METI), June 2007.

More Related