1 / 17

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน ผลงานทางวิชาการ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ

การจัดทำผลงานทางวิชาการ 1 (สายวิทยาศาสตร์). ไพบูลย์ วิวัฒน์วงศ์วนา. 1. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน ผลงานทางวิชาการ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ เหมือนกันทั้งสายวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์

Download Presentation

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน ผลงานทางวิชาการ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดทำผลงานทางวิชาการ1(สายวิทยาศาสตร์)การจัดทำผลงานทางวิชาการ1(สายวิทยาศาสตร์) ไพบูลย์ วิวัฒน์วงศ์วนา 1. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน ผลงานทางวิชาการ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ • เหมือนกันทั้งสายวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ • แตกต่างกันบ้างในเรื่องรูปแบบของการเขียนและการนำเสนอ/เผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ ____________________________________________________________________ 1. เอกสารประกอบ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การจัดทำผลงานทางวิชาการ” มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 26 มีนาคม 2522

  2. 2. ผลงานทางวิชาการ ทำความเข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้ ผลงานวิจัย หรือ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ ผลงานแต่ง/เรียบเรียง ตำรา หนังสือ บทความทางวิชาการ (ผศ.) คำจำกัดความ ลักษณะการเผยแพร่ และ ลักษณะ (ระดับ) คุณภาพ ดูได้จาก “เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550”

  3. 3. ระดับคุณภาพของผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย+ผลงานแต่ง/เรียบเรียง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Reader) ประเมินคุณภาพ ********************* สาเหตุ/ปัญหา ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ ********************* ระดับ: ดี ดีมาก ดีเด่น เกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ การจัดทำผลงานทางวิชาการ

  4. 4. ผลงานแต่ง/เรียบเรียง 4.1 การจัดทำเนื้อหา : ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ ตำรา หนังสือ บทความทางวิชาการ (อาจรวมทั้ง เอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน) • เนื้อหาสาระไม่ตรง/สอดคล้อง กับ ชื่อเรื่อง/วิชาที่สอน • เนื้อหาไม่ถูกต้องสมบูรณ์และไม่ทันสมัย • คำอธิบายภาพและตารางไม่ชัดเจน • การพิสูจน์ตัวอักษร/พิมพ์ผิด ศัพท์วิทยาศาสตร์/เทคนิค ควรมีภาษาอังกฤษกำกับไว้ใน วงเล็บ • ขาดความริเริ่ม ไม่มีการสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ • ควรใช้ผลงานวิจัยให้มากขึ้น รวมทั้งประสบการณ์ในการ แต่ง/เรียบเรียง

  5. การเพิ่มระดับคุณภาพขั้นพื้นฐานในเนื้อหา การเพิ่มระดับคุณภาพขั้นพื้นฐานในเนื้อหา ทำได้ง่ายแต่มักมองข้าม ขนาดและรูปแบบของตัวอักษร/การพิสูจน์ตัวอักษร (พิมพ์ผิดบ่อยครั้ง น่าเบื่อหน่าย-เซ็งต่อผู้อ่าน/ประเมิน) ความชัดเจนพร้อมทั้งคำอธิบายของภาพและตาราง (ถ้าไม่ใช่ผลงานของผู้เขียน-ต้องมีเอกสารอ้างอิง) ความสม่ำเสมอของการใช้ภาษาอังกฤษ ความถูกต้องสม่ำเสมอของการเขียน (เหมือนกันทุกหัวข้อ ทุกบท ตลอดทั้งเล่ม)

  6. การใช้ภาษาอังกฤษในเนื้อหาการใช้ภาษาอังกฤษในเนื้อหา ผลงานทางวิชาการที่เป็นภาษาไทย ถ้าไม่ใช่ ชื่อเรื่อง/หัวข้อ ชื่อคน-สถานที่ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ศัพท์เทคนิค/เฉพาะ เช่น: (Lampang Rajabhat University; Kreb’s cycle; Oryza sativa L.) ภาษาอังกฤษทุกคำมักใช้อักษรตัวเล็ก เช่น: (concept); (peer review); (name-year system); (soil and plant taxonomy) แต่ถ้าจะใช้คำแรกขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ ควรใช้เหมือนกันอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งเล่ม ดังเช่นตามตัวอย่างข้างต้น: (Concept); (Peer review); (Name-year system); (Soil and plant taxonomy)

  7. 4.2 เอกสารอ้างอิง : ผลงานแต่ง/เรียบเรียง • เนื้อหาสำคัญ ภาพและตารางขาดการอ้างอิง • เอกสารอ้างอิงเก่าไม่ทันสมัย • ไม่มีการอ้างอิงในเนื้อหา แต่ปรากฏในบรรณานุกรมท้ายเล่ม • มีการอ้างอิงในเนื้อหา แต่ไม่มีในรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม ผลงานทางวิชาการที่ดีควรมีเอกสารอ้างอิงระดับคุณภาพ • สร้างความเชื่อมั่น-น่าเชื่อถือในวงวิชาการ • สำคัญมากในเรื่องของจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ (หนึ่งในหลักเกณฑ์สำคัญของ ก.พ.อ. ในการประเมินผลงานทางวิชาการ)

  8. 5. ผลงานวิจัย ต้องไม่ใช่ผลงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ หรือ ส่วนหนึ่งของการศึกษา เพื่อรับปริญญา/ประกาศนียบัตร การจัดทำเนื้อหาและเอกสารอ้างอิง มีข้อสังเกต/ปัญหา คล้ายคลึงกันกับการจัดทำ ผลงานแต่ง/เรียบเรียง งานวิจัยขาดขั้นตอนและระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง (ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ วิธีการ ดำเนินงานวิจัย ไม่สอดคล้องกัน) การเผยแพร่ ไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดของ ก.พ.อ. (เช่น พิมพ์ใน “วารสาร” ที่ไม่มีการ บรรณาธิการประเมิน-ตรวจสอบคุณภาพ หรือ ไม่มี peer reviewer)

  9. 5.1 การเผยแพร่ผลงานวิจัย บทความวิจัย ก่อนการตีพิมพ์ ตรงตามสาขาวิชา วารสารทางวิชาการ (หรือสิ่งตีพิมพ์ลักษณะอื่น) รายงานการประชุมทางวิชาการ (proceedings) • ผู้ทรงคุณวุฒิ(peer reviewer) ประเมิน หรือ • บรรณาธิการประเมิน-ตรวจสอบ • มีการเสนอแนะการเตรียมต้นฉบับ (manuscript) มาตรฐานเดียวกัน (รูปแบบ/ขนาดของตัวอักษร องค์ประกอบ/หัวข้อเรื่อง............)

  10. 5.2 การเขียนบทความวิจัย ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ หัวข้อต่างกันไป ถ้าเป็นบทความที่ไม่ใช่งานวิจัย เนื้อเรื่อง (Text) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยทั่วไปมีความยาวไม่เกิน 10-12 หน้า ประกอบด้วยหัวข้อตามลำดับดังนี้: 1. ชื่อเรื่อง 2. ชื่อผู้เขียน (หน่วยงาน/สถานที่ติดต่อ อาจหมายเหตุไว้ด้านล่างของหน้าแรก) 3. บทคัดย่อ (คำสำคัญ: keywords ใต้บทคัดย่อ) 4. คำนำ (หลักการ/เหตุผล........วัตถุประสงค์) 5. อุปกรณ์และวิธีการ 6. ผลการวิจัยและวิจารณ์ 7. สรุปผลการทดลอง/วิจัย 8. กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) 9. เอกสารอ้างอิง เนื้อหาในแต่ละองค์ประกอบ เช่น เรื่องของการวิจัย วัตถุประสงค์ อุปกรณ์และวิธีการวิจัย..... ต้องสัมพันธ์-สอดคล้องกัน ก่อนการตีพิมพ์ในวารสาร ได้ผ่านการตรวจประเมินจาก peer reviewer ตรงตามสาขาวิชา

  11. 6. การอ้างอิงเอกสาร (สายวิทยาศาสตร์) ผลงานทางวิชาการที่ดีควรมีเอกสารอ้างอิงประกอบ • ผลงานวิจัย ผลงานแต่ง/เรียบเรียง ใช้ระบบการเขียนเดียวกัน • สายวิทยาศาสตร์ v.s. สายสังคมศาสตร์ ต่างกัน ? • ใช้ระบบใดระบบหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ (consistent)ตลอดทั้งเล่ม • ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้ระบบเดียวกันทุกเล่มกับผลงานแต่ง/เรียบเรียง ที่เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในครั้งเดียวกัน • บทความวิจัย: เขียนเอกสารอ้างอิงตามคำแนะนำของวารสารที่ลงพิมพ์ • สายวิทยาศาสตร์ นิยมใช้ ระบบนาม-ปี (name-year system)

  12. 6.1 การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง (Text) • สิ่งพิมพ์ภาษาไทยสายวิทยาศาสตร์ นิยมใช้เฉพาะ ชื่อ(เว้นนามสกุล) ของผู้เขียนตามด้วย ปี พ.ศ. อย่างไรก็ตามเนื่องจากชื่อแรกซ้ำกันมาก และเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันระหว่างสายวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงให้ใช้ทั้ง ชื่อและนามสกุลของผู้เขียน ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้เฉพาะนามสกุลตามด้วย ค.ศ. ดังตัวอย่าง (การเตรียมต้นฉบับของวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง): ประพันธ์ ปัญญาบาล (2549)...........................................................................................หรือ.....................(ประพันธ์ ปัญญาบาล, 2549) ประพันธ์ ปัญญาบาล และสุวรรณี จันทร์ตา (2549).........................................................หรือ.....................(ประพันธ์ ปัญญาบาล และสุวรรณี จันทร์ตา, 2549) ประพันธ์ ปัญญาบาล และคณะ (2549)............................................................................หรือ.....................(ประพันธ์ ปัญญาบาล และคณะ, 2549) • สายสังคมศาสตร์: เขียนชื่อทุกคน ? อ้างเลขที่หน้าของเอกสารด้วย? อื่นๆ...

  13. กรณีภาษาอังกฤษ เช่น: Brown (2000)..............................หรือ....................(Brown, 2000) Brown and Black (1989).............หรือ....................(Brown and Black, 1989) Brown et al.(2009).......................หรือ....................(Brown et al., 2009) ..................(Brown and Black, 1995; Black and White, 2009) ..................(Robert et al., 2000, 2009) เป็นต้น รายละเอียดศึกษาได้จาก วารสารข้างต้น

  14. 6.2 การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ (References, Literature Cited; Bibliography) • เอกสารอ้างอิงทุกรายการในเนื้อเรื่อง ต้องปรากฏในท้ายบทความ • เอกสารอ้างอิงทุกรายการในท้ายบทความ ต้องมีการอ้างอิงในเนื้อเรื่องมาก่อน • เขียนได้หลายรูปแบบ ตามความนิยม: องค์ประกอบหลักคล้ายกัน-ต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย • ข้อสำคัญ:แต่ละรายการต้องใช้ระบบเดียวกัน • ระบบการเขียนของ American Institute of Biological Sciences นิยมใช้กันมากในสายวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่เขียน/จัดพิมพ์ได้ง่ายใช้ได้กับผลงานวิชาการทุกประเภท (บทความวิจัย หนังสือ ตำรา เอกสารคำสอน...) ปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งใช้ใน Chiang Mai University Journal และวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ดังตัวอย่างแนบท้าย: • ข้อสังเกต:ความแตกต่างจากระบบอื่นๆ: ชื่อ-นามสกุลของผู้เขียน เครื่องหมายเว้นวรรค ชื่อเรื่อง-ชื่อหนังสือ ไม่ต้องใช้อักษรตัวหนา/เอน.. ทุกรายการใช้สไตล์การเขียนแบบเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ

  15. ขจรศักดิ์ ภวกุล, พัชรินทร์ เทียมสกุล, และมาโนช ทศพล. 2540. โรครากเน่าของลำไย. วารสารโรคพืช 12(2): 123-128. จริงแท้ ศิริพานิช. 2549. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ . นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ, และปรีชา สุวรรณพินิจ. 2541. จุลชีววิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. พิมพันธ์ เดชะคุปต์. 2542. การเรียนแบบร่วมมือ. หน้า 1-16. ใน: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช, และสร้อยสน สกลรักษ์ (บก.). ประมวลบทความการเรียนการสอนและการวิจัยระดับมัธยมศึกษา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. วิชาการเกษตร, กรม. 2548. ข้อมูลนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรปี 2546. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/toxic/toxic-46.pdf [26 มีนาคม 2548] สันติ พรหมคำ, และสมชาย ชาญณรงค์กุล. 2536. สถานการณ์การผลิตและการตลาดถั่วเขียว. หน้า 1-8. ใน: รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยถั่วเขียวครั้งที่ 5. 24-29 พฤษภาคม 2536. โรงแรมฮอลิเดย์อินท์ แม่โขงรอยัล, หนองคาย. สุนีย์ สอนตระกูล. 2535. การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบจัดกรอบมโนทัศน์สำหรับวิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาหลักสูตรและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

  16. Gennadios, A., C.L. Weller, M.A. Hanna, and G.W. Froning. 1996. Mechanical and barrier properties of egg albumin films. J. Food Sci. 61(3); 585-589. Horst. R.K., and P.E. Nelson (eds.). 1997. Compendium of chrysanthemum diseases. APS Press, Minnesota. Martyn, R.D. 1998. Fusarium wilt of watermelon. pp.13-14. In : T.A. Zitter, D.L. Hopkins, and C.E. Thomas (eds.) Compendium of cucurbit diseases. APS Press, Minesota. Prezioso, V.R. 2004. General notes on primer design in PCR. [Online]. Avialable : http://www.brinkmann.com./PCR-appl-primer.asp [2004 march 31] Rogers, J.A. 1989. Humidity effects on low temperature thermal desorption of adsorbed volatile organic compounds from soil. Ph.D. Dissertation. Illinois Institute of Technology, Illinois. Schmit, V. 1996. Improving sustainability in the uplands through the development of a perennial upland rice. pp. 265-273. In : C. Piggin, B. Courtois, and V. Schmit (eds.) Upland Rice Research in Partnership. Proceedings of the Upland Rice Consortium Workshop. 4-13 January 1996, Manila. Smith, S.E., and D.J. Read. 1997. Mycorrhizal symbiosis. Academic Press, London.

  17. ข้อเสนอแนะส่งท้าย • ความประณีตในการเตรียมต้นฉบับ การพิสูจน์ตัวอักษรทำรูปเล่มให้สวยงามน่าอ่าน.... จะช่วยยกระดับคุณภาพของผลงานวิชาการ • ศึกษาดูตัวอย่างผลงานทางวิชาการของนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในสายงานของท่าน ศึกษารูปแบบ-วิธีการแต่ง/เรียบเรียง ตำรา/หนังสือ บทความวิจัย/วิชาการ เน้นประเด็นที่มักเป็น ปัญหา/ข้อเสนอแนะ ของผู้ทรงคุณวุฒิ หรือเน้นประเด็นที่เป็น จุดอ่อน/ปัญหาของตัวท่านเอง ลองฝึกหัดทำด้วยตัวท่านเองจะทำให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้นในการจัดทำผลงานทางวิชาการ • ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ...............tutor? การจัดทำผลงานทางวิชาการ

More Related