1 / 95

“ ประติมากรรมดินเผา ”

“ ประติมากรรมดินเผา ”. TERRACOTTA. ประติมากรรมดินเผา (Terracotta). ประติมากรรม คืองานศิลปกรรมที่สร้างเป็นรูปทรงสามมิติแสดงออกโดยการใช้วัสดุและปริมาตรของรูปทรง

aspen
Download Presentation

“ ประติมากรรมดินเผา ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “ประติมากรรมดินเผา” TERRACOTTA

  2. ประติมากรรมดินเผา (Terracotta) ประติมากรรม คืองานศิลปกรรมที่สร้างเป็นรูปทรงสามมิติแสดงออกโดยการใช้วัสดุและปริมาตรของรูปทรง Terracotta มาจากภาษาอิตาเลียน หมายถึงดินเผา เป็นดินสีแดงอมส้ม ซึ่งจะมีสีเข้มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณออกไซด์ของเหล็กภายในดินเและอุณหภูมิในการเผา ดินเทอราคอตตาพบได้ตามแหล่งต่างๆ ทั่วโลก นิยมใช้ทำอิฐ กระถางต้นไม้ และภาชนะใช้สอยอื่นๆ รวมไปถึงงานหัตถศิลป์และงานศิลปะ ประติมากรรมดินเผา คืองานศิลปกรรมที่สร้างเป็นรูปทรงสามมิติโดยใช้ดินเผาเป็นวัสดุ

  3. รูปทรงที่ใช้ในงานประติมากรรมรูปทรงที่ใช้ในงานประติมากรรม 1. รูปทรงเรขาคณิต (Geometric Form) หมายถึง รูปทรงที่มีลักษณะเป็นแบบเรขาคณิต เช่น รูปกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมฯลฯ รูปทรงเหล่านี้เป็นรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเป็นกลาง เป็นโครงสร้างหรือเป็นพื้นฐานให้แก่รูปทรงอื่นๆ 2. รูปทรงธรรมชาติ (Organic Form) หมายถึง รูปทรงของสิ่งที่มีชีวิต หรือมีลักษณะคล้ายสิ่งที่มีชีวิต มีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยการขยายตัวและผนึกตัวของเซลล์ต่างๆ เช่น คน สัตว์ พืช กระดูก ปะการังฯลฯ เป็นรูปทรงที่ให้ความรู้สึกว่ามีโครงสร้างของชีวิตและเติบโตได้ 3. รูปทรงอิสระ (Free Form) หมายถึง รูปทรงที่เกิดขึ้นอย่างอิสระไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนในตัวเองแต่เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม มีลักษณะลื่นไหลให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว อาทิเช่น รูปทรงของเมฆ ฯลฯ

  4. กระบวนการสร้างสรรค์รูปทรงกระบวนการสร้างสรรค์รูปทรง 1. ค้นหาแรงบันดาลใจจากปฏิกิริยาที่มีต่อสภาพแวดล้อม ปรัชญาหรือประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดรูปความคิด 2. พัฒนารูปความคิดเป็นจุดมุ่งหมายหรือแนวความคิด 3. ค้นหารูปทรงเพื่อตอบสนองต่อแนวความคิด 4. คลี่คลายรูปทรงไปสู่ความชัดเจนและสมบูรณ์

  5. คุณสมบัติทางกายภาพของดินความเหนียวของเนื้อดิน (Plasticity of Clay) ความเหนียวเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการขึ้นรูป ดินที่มีความเหนียวน้อยจะทำให้ ขึ้นรูปได้ยากเนื่องจากอณูของเม็ดดินที่ใหญ่และมีความพรุนตัวสูง ดินที่มีความเหนียวมากจะทำให้ผลงานเกิดการหดตัวสูงและเกิดการแตกร้าวตามมาเนื่องจากอณูของเม็ดดินที่เล็กและมีความพรุนตัวต่ำนั่นเอง การทดสอบความเหนียวของเนื้อดิน 1. วิธีแบบชาวบ้าน คือการนำดินมาบี้กับหัวแม่มือหรือนำมาคลึงกับอุ้งมือให้เป็นก้อนกลม ถ้าดินเกิดความมันวาวหรือเรียกกันว่า ”มันปู” แสดงว่าดินนั้นมีความเหนียวมากพอที่จะนำมาขึ้นรูปได้ 2. วิธีขดงอ คือการนำดินมาคลึงเป็นเส้นกลมขนาดประมาณแท่งดินสอ แล้วขดงอให้เป็นวงแหวนเล็กๆ ถ้าปรากฏรอยแตกร้าวที่ส่วนโค้งของวงแหวน แสดงว่าดินนั้นมีความเหนียวน้อย

  6. 3. วิธีการคำนวณ เป็นการคำนวณปริมาณน้ำที่ทำให้ดินมีความเหนียวเพียงพอต่อการขึ้นรูป มีขั้นตอนดังนี้ 3.1 นำดินมาตากให้แห้ง หลังจากนั้นบดให้ละเอียด 3.2 นำดินที่บดแล้วจำนวน 500 กรัม มาวางไว้บนกระจก (เนื่องจากกระจกไม่ดูดซึมน้ำ จึงทำให้น้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลง) 3.3 ตวงน้ำ 500 ซีซี ผสมลงในเนื้อดิน คนให้ทั่ว ถ้าไม่พอให้เติมลงไปอีกโดยมีการจดบันทึกปริมาณน้ำที่เพิ่มเข้าไปด้วยทุกครั้ง 3.4 นวดดินจนมีความเหนียวเพียงพอต่อการขึ้นรูป แล้วคำนวณตามสูตรดังนี้ เปอร์เซ็นต์ปริมาณน้ำที่ทำให้ดินมีความเหนียว = จำนวนน้ำหนักของน้ำ x 100 จำนวนน้ำหนักดินแห้ง

  7. การหดตัวของดิน (Shrinkage of Clay) การหดตัวของดินเกิดจากการระเหยของน้ำในโครงสร้างของดิน ทำให้อนุภาคของดินมีขนาดที่เล็กลงและบีบตัวเข้าหากัน การหดตัวของดินทำให้เกิดผล 2ประการคือ 1. ทำให้ขนาดของผลงานเกิดความผิดพลาด 2.ทำให้ผลงานเกิดการแตกร้าว การหดตัวของดินเกิดขึ้นได้ 2 ระยะ คือ 1.ขณะกำลังแห้ง 2. ขณะกำลังเผา การหดตัวของดินสามารถแก้ไขได้โดยการนำดินชนิดอื่นที่หดตัวน้อยกว่ามาผสมหรือการนำทรายละเอียดมาผสมก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน

  8. การทดสอบการหดตัวของเนื้อดินการทดสอบการหดตัวของเนื้อดิน • วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการหดตัว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลงานแตกร้าวหรือบิดเบี้ยว มีวิธีทดสอบดังนี้ • วัดความยาวแท่งดินทดลองก่อนเผา • นำแท่งดินทดลองไปเผาในอุณหภูมิที่กำหนด • วัดความยาวหลังจากเผา • คำนวณการหดตัวด้วยสูตรดังนี้ • เปอร์เซ็นต์การหดตัวหลังเผา = ความยาวก่อนเผา – ความยาวหลังเผา x 100 ความยาวก่อนเผา

  9. เตาและการเผา การเผา คือการเพิ่มอุณหภูมิให้แก่ผลงานภายในเตา ภายใต้อุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อเปลี่ยนสภาพดินให้กลายเป็นวัตถุที่มีความแข็งแกร่ง การเผามีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ใช้วิธีการสุมเผาแบบง่าย ๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีการเผาในลักษณะเช่นนี้อยู่ ต่อมาจึงรู้จักวิธีใช้ประโยชน์จากการก่อผนัง หรือสร้างเตาที่มีผนังและหลังคากั้นเพื่อเก็บกักความร้อนให้ภายในเตามีอุณหภูมิสูงขึ้น เตา เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน มีหลายชนิด สามารถแบ่งจำแนกได้ดังนี้ แบ่งตามชนิดเชื้อเพลิง เช่น เตาฟืน เตาแก๊ส เตาไฟฟ้า แบ่งตามลักษณะเตา เช่น เตาเผาแบบไม่ต่อเนื่อง เตาเผาแบบต่อเนื่อง การเลือกใช้เตาในการเผาขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เช่น ประเภทของผลงาน คุณภาพของผลงาน ลักษณะการเผา พื้นที่ ความถี่ ฯลฯ

  10. การขึ้นรูปผลงานโดยวิธีการใช้มือการขึ้นรูปผลงานโดยวิธีการใช้มือ

  11. การขึ้นรูปผลงานโดยวิธีบีบ (Pinching) เหมาะสำหรับการขึ้นรูป รูปทรงอิสระ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ • 1. นวดดินให้เป็นก้อนกลม มีขนาดโตตามความเหมาะสม • 2. ใช้หัวแม่มือกดดินให้เป็นหลุม หลังจากนั้นออกแรงบีบให้เป็นรูปทรงตามต้องการ โดยพยายามควบคุมการบีบดินให้มีความหนาใกล้เคียงกันตลอดทั้งชิ้นงาน • 3. ตกแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อย

  12. การขึ้นรูปผลงานโดยวิธีขด (Coiling) เหมาะสำหรับการขึ้นรูป รูปทรงกลมหรือทรงกระบอก มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ • 1. นวดดินให้เป็นก้อนกลม มีขนาดโตตามความเหมาะสม • 2. คลึงดินให้เป็นเส้นกลม มีขนาดเหมาะสมตามขนาดของชิ้นงานที่ต้องการ • 3. นำไปขดให้เป็นรูปทรงที่ต้องการ โดยใช้น้ำดินเป็นตัวประสานระหว่างรอยต่อ ใช้มือบีบหรือกดให้แนบสนิท • 4. ตกแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อย

  13. การขึ้นรูปผลงานโดยวิธีทำเป็นแผ่น (Slab) เหมาะสำหรับการขึ้นรูปชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยม มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ • 1. นวดดินให้เป็นก้อนกลม มีขนาดโตตามความเหมาะสม • 2. ใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งดินหรือรีดดินให้เป็นแผ่นโดยพยายามควบคุมการรีดดินให้มีความหนาใกล้เคียงกันตลอดทั้งแผ่น • 3. ตัดดินตามรูปแบบที่ต้องการ รอให้ดินแห้งหมาด • 4. นำดินที่เตรียมไว้มาประกอบเข้าด้วยกันโดยใช้น้ำดินเป็นตัวประสานระหว่างรอยต่อ ใช้มือบีบหรือกดให้แนบสนิท (ควรหาเศษดินหรือวัสดุต่างๆ มาช่วยค้ำยันรูปทรง เพื่อช่วยให้รูปทรง ทรงตัวได้ดียิ่งขึ้น) • 5. ตกแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อย

  14. ภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน

  15. ภาพตัวอย่างผลงาน

  16. ก่อนประวัติศาสตร์ Venus of DolníVěstonice ถูกค้นพบเมื่อปี 1925 ที่แหล่งโบราณคดี DolniVestoniceประเทศสาธารณรัฐเชค มีอายุระหว่าง 29,000-25,000 ปี ก่อน ค.ศ. ที่มาwww.donsmaps.com/dolnivenus.html

  17. เปรู Human Statuettes ที่มาhttp://www.vanhollowpottery.com

  18. Nok civilization NOK TERRACOTTA ที่มาhttp://visualculture09.wordpress.com

  19. อียิปต์ Female Figurine. ที่มาhttp://www.brooklynmuseum.org

  20. กรีก Persephone and Hades in the Underworld ที่มาhttp://www.onenessastrologywithki.com

  21. โรมัน Herakles ที่มาhttp://en.wikipedia.org

  22. ไบแซนไทน์ Woman Wearing a Tunic ที่มาhttp://www.metmuseum.org

  23. เรเนอซองส์ An Italian Renaissance ceramic ที่มาhttp://bortnervacation.com

  24. Picasso ที่มาhttp://www.seveflore.com/?cat=3

  25. Picasso ที่มาhttp://4.bp.blogspot.com

More Related