271 likes | 660 Views
การส่งเสริมปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย. นายณัฐธพงษ์ ซื่อสัตย์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพนียด. ความสำคัญ.
E N D
การส่งเสริมปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัยการส่งเสริมปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย นายณัฐธพงษ์ ซื่อสัตย์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพนียด
ความสำคัญ • ช่วงอายุปฐมวัย เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาชีวิตของเด็ก สมองของเด็กพัฒนาอย่างรวดเร็ว เด็กมีการพัฒนาทางการรับรู้ ภาษา สังคม อารมณ์และกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว • การพัฒนาทางสมองของเด็กขึ้นอยู่กับการกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพของการเลี้ยงดูและระดับการปฏิสัมพันธ์ที่เด็กได้รับ เด็กที่ได้รับการกอด หยอกล้อ อาทรและกระตุ้นทางการมองเห็นจะได้เปรียบเด็กที่ไม่ได้รับหลายเท่า เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดมีโอกาสที่จะพัฒนาทักษะทางด้านการรับรู้ ภาษา อารมณ์และสังคมอย่างเต็มที่ มีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์แข็งแรงและมีความเชื่อมั่นและรู้จักคุณค่าของตนมากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ การพัฒนาในแต่ละด้านนี้ล้วนแต่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นผู้ใหญ่ของเรา เพราะประสบการณ์ในวัยเด็กเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความเป็นตัวตน
อย่างไร.....จึงเรียกว่า “ฉลาด”
สมอง เป็นผู้บัญชาการ IQ EQ AQ MQ SQ IQ = ความจำความคิดวิเคราะห์อ่านเขียนคำนวณวิชาการ EQ = การรู้-เข้าใจอารมณ์ตนและคนอื่นควบคุมอารมณ์ตนเองได้ AQ= สามารถแก้ปัญหาเมื่อพบวิกฤติเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้ MQ = จริยธรรมคุณธรรม SQ = ทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น
องค์ประกอบ IQ • ความช่างสังเกต จำแนกสิ่งต่างๆได้ เป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหา • การถ่ายทอดจินตนาการ การเรียนรู้ทักษะทางสังคม-ภาษา • การคิดเชื่อมโยงเหตุผล จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ • การทำงานประสานระหว่างมือและตา เพื่อแสดงออกด้านการเรียนรู้ การคิด การใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
องค์ประกอบ EQ • การรู้จักและการควบคุมอารมณ์ - การควบคุมความอยาก - การควบคุมอารมณ์ (รู้จัก ทำให้สงบโดยไม่เก็บกดอารมณ์) • การเรียนรู้ระเบียบวินัย (รู้ผิด - ถูก และยอมรับผิดโดยใช้นิทานและเหตุผลง่ายๆ) - วินัยความประพฤติทั่วไป ปฏิบัติตามกฎระเบียบ - วินัยในการเรียน รักษาคำพูด - วินัยในการควบคุมตนเอง อดทน • ความสนุกสนานร่าเริง การเล่น
ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก 1. ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน การเรียนจากการปฏิบัติจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ “ ฉันฟัง ฉันลืม ฉันเห็น ฉันจำได้ ฉันได้ทำ ฉันเข้าใจ”
ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก 2. ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข ไม่ให้เครียด 3. ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ และพยายามเข้าใจเขา
พึงระลึกว่า... เด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผล ลูกไม่รู้ว่าแม่เหนื่อย ลูกไม่เข้าใจ ลูกก็ซน ช่างซักช่างถาม อย่ารำคาญ อย่าโกรธลูกเลย รักลูกก็ให้กอดลูกแล้วบอกว่า “แม่รักพ่อรัก”แสดงความรักออกมาอย่างจริงใจ แสดงความใส่ใจต่อลูก นี้คือยาวิเศษที่ลูกต้องการ คนที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุดคือคนอารมณ์ดี
พัฒนาการด้านสติปัญญา • การคิด หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์สิ่งของต่างๆ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหา • การใช้ภาษาในการสื่อสาร ด้วยการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน • การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ ได้แก่ การจำแนกเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง การจัดหมวดหมู่สิ่งของ และการเรียงลำดับสิ่งต่างๆ • จำนวน ทั้งการนับจำนวนและการรู้ค่าของจำนวน • มิติสัมพันธ์ คือ การเข้าใจและการอธิบายในเรื่องพื้นที่ ตำแหน่ง ระยะทาง ทิศทาง • เวลา ใช้ในการเปรียบเทียบเวลาต่างๆ เรียงลำดับเหตุการณ์ และความเข้าใจเกี่ยวกับฤดูกาล
ลักษณะเด็กที่มีพัฒนาการด้านสติปัญญาดี ลักษณะเด็กที่มีพัฒนาการด้านสติปัญญาดี • หรือที่เรามักเรียกว่า เด็กฉลาด จะเป็นเด็กช่างสังเกต เรียนรู้เร็ว ชอบตั้งคำถาม ใช้คำศัพท์ได้มากและถูกต้อง มีความคิดเป็นของตัวเอง มีความจำดี ชอบอ่านหนังสือ ชอบเป็นผู้นำ ชอบแสดงความคิดเห็น ชอบวาดภาพตามความคิดของตัวเอง มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจ ชอบทดลองสิ่งต่างๆ ชอบคิดแก้ปัญหา มีจินตนา การ และชอบสร้างสรรค์สิ่งต่างๆอย่างเป็นอิสระ
พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาให้ลูกได้อย่างไร? • จัดกิจกรรมที่ปลูกฝังการคิด ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (มอง ฟัง สัมผัส ชิมรส ดมกลิ่น) เลียนแบบการกระทำและเสียงต่างๆที่ได้ยิน พาลูกไปทัศนศึกษา ชวนลูกเขียนภาพ ระบายสี ปั้นดิน และให้ลูกได้มีโอกาสพูดอธิบายผลงานของตนเอง • ฝึกฝนการใช้ภาษาในการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ให้ลูกได้มีโอกาสเล่นกับเพื่อน ได้พูดแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น อธิบาย เล่านิทานให้ลูกฟัง อ่านคำคล้องจอง คำกลอนต่างๆ • ส่งเสริมทักษะการสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ ด้วยการพาลูกสำรวจ อธิบายความเหมือน-ความต่างของสิ่งต่างๆ สนทนากับลูกเกี่ยวกับลักษณะของวัตถุสิ่งของนั้นๆ นำสิ่งของมาจับคู่ จำแนก จัดกลุ่ม เปรียบเทียบ เรียงลำดับ คาด คะเน ตั้งสมมติฐาน ทำการทดลอง สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ฯลฯ
พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาให้ลูกได้อย่างไร? • สอนเรื่องจำนวน ทั้งการนับจำนวนและการรู้ค่าของจำนวน ด้วยการฝึกเปรียบเทียบจำนวน มากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน นับสิ่งของต่างๆ จัดโต๊ะอาหาร จับคู่อุปกรณ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ช้อนกับส้อม จานกับผ้ารองจาน เป็นต้น • อธิบายเรื่องมิติสัมพันธ์ คือ ความเข้าใจในเรื่องตำแหน่ง ระยะทาง ทิศทาง และพื้นที่ ด้วยการเล่นทราย กรอกน้ำ ต่อบล็อก ปีนป่ายเครื่องเล่นสนาม สำรวจสถานที่ อธิบายตำแหน่งที่อยู่ ทิศทางของสิ่งต่างๆ • เชื่อมโยงระยะเวลากับการกระทำ ทบทวนกิจวัตรประจำวันที่ทำ เปรียบเทียบเวลาต่างๆ เรียงลำดับเหตุการณ์ ด้วยการให้ลูกทำกิจกรรมประจำวันตามลำดับอย่างสม่ำเสมอทุกวัน และสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โดยสังเกตอากาศแต่ละวัน และสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับสภาพอากาศนั้น
นอกจากนี้............ • เด็กควรได้รับโอกาสในการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้สำรวจ เล่น ทดลอง ค้นพบสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหา เลือก ตัดสินใจ ใช้ภาษาสื่อความหมาย ได้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้เล่นกับเพื่อน กิจกรรมเหล่านี้จะส่งเสริมให้เด็กน้อยมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดเกมให้ลูกฝึกเชาว์ปัญญาอย่างไร? • เข้าใจหลักพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูก สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องเข้าใจหลักพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูก เข้าใจธรรมชาติของลูกในวัยนี้ และควรเลือกซื้อหรือจัดหาเกมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของลูก ไม่ยากหรือเป็นเกมที่เน้นวิชาการจนเกินความสามารถของลูก • อยู่ใกล้ชิดกับลูก ถ้าเป็นเกมประเภทวีดิโอเกมหรือเกมคอมพิวเตอร์ พ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นตามลำพัง พ่อแม่ควรอยู่ใกล้ชิดกับลูกขณะที่ลูกกำลังเล่น เนื่องจากเกมบางประเภทอาจมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมซ่อนอยู่ข้างใน หรืออาจมีสื่อที่ยั่วยุ กระตุ้นความก้าวร้าวให้กับเด็ก และยังต้องกำหนดเวลาให้กับเด็กในการเล่นด้วย เนื่องจากเด็กควรได้รับการพัฒนาทางด้านสติปัญญาจากกิจกรรมอื่นๆหลายประเภท
พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดเกมให้ลูกฝึกเชาว์ปัญญาอย่างไร? • ฝึกลูกจากกิจวัตรประจำวัน นอกจากการจัดหาเกมด้วยวิธีการซื้อมาให้เด็กเล่นแล้ว พ่อแม่สามารถฝึกเชาวน์ปัญญาให้ กับลูกจากกิจวัตรประจำวันได้ เช่น การให้ลูกจัดสิ่งของในบ้านให้เป็นหมวดหมู่ เช่น ช่วยจัดเก็บอุปกรณ์ในครัว ให้เด็กวางช้อนและส้อมให้ตรงกับที่นั่งของพ่อ แม่หรือบุคคลที่เป็นสมาชิกในครอบครัว จัดเก็บเสื้อผ้าไว้ในตู้ จัดเก็บอุปกรณ์การเรียนและของใช้ส่วนตัว • ฝึกลูกจากการเล่านิทาน การเล่านิทานให้ลูกฟังที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ อาจฝึกฝนทักษะด้านการคิดและสติปัญญาโดยการให้เด็กสังเกตลักษณะของสัตว์แต่ละชนิด สอนเรื่องที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่างๆ ให้เด็กจัดกลุ่มของสัตว์จากนิทาน หรือให้เด็กบอกจำนวนสัตว์ในนิทานว่ามีกี่ชนิด รวมกันแล้วมีจำนวนเท่าใด เป็นต้น การฝึกฝนเชาวน์ปัญญาในลักษณะดังกล่าวนี้เป็นการใช้สถานการณ์จริง และเด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อเด็ก และเด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่ถาวรและมั่นคงจนเกิดเป็นทักษะในที่สุด