1 / 1

sepo.go.th

www.sepo.go.th. สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.). ข้อมูลทั่วไป. สังกัด : กระ ทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : พล.อ.อ.ไพบูลย์ จันทร์หอม กรรมการผู้แทน กค. : นางอัจฉราพร เหมาคม Website : www.catc.or.th โทร. 0 2272 5741-4.

Download Presentation

sepo.go.th

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. www.sepo.go.th สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) ข้อมูลทั่วไป สังกัด: กระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : พล.อ.อ.ไพบูลย์ จันทร์หอม กรรมการผู้แทน กค. :นางอัจฉราพร เหมาคม Website : www.catc.or.th โทร. 022725741-4 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย • กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) • จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน(ม. 6) • การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) • วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีเป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่งแต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) (ม. 8 วรรคสองและวรรคสาม) • การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรคหนึ่ง) • การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหาร • ผู้ว่าการ (CEO) : อยู่ระหว่างสรรหา • สัญญาจ้างลงวันที่ : • ระยะเวลาจ้าง : • วาระที่ 1  วาระที่ 2 • ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO : •  Board  รอง CEO บุคคลภายนอก • รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง • CFO  พนักงาน สัญญาจ้าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลังSTATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง เงินเดือนพนักงาน • กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน • บอร์ดกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง • มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง •  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น • อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดขั้นที่ 58 • Min-max ของเงินเดือน = 5,510-113,520 บาท • อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 8,130 บาท • จำนวนพนักงาน = 228 คน ลูกจ้าง 54 คน (31 พ.ค. 54) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม วัตถุประสงค์ (ม. 6) ให้ สบพ. มีวัตถุประสงค์ในการจัดดำเนินการผลิตบุคลากรทางด้านการบินและดำเนินกิจการเกี่ยวกับบริการช่างอากาศ บริการอากาศยาน และกิจการอื่นเกี่ยวกับการบินเพื่อประโยชน์ในการผลิตบุคลากรดังกล่าว • จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : กรรมการไม่เกิน 11 คน (ม.10)ประกอบด้วย ประธานกรรมการ, ผู้แทนกระทรวงคมนาคม, ผู้แทนกระทรวงการคลัง, ผู้แทนกรมการขนส่งทางอากาศ, ผู้แทนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, ผู้แทนบริษัทการบินไทย จำกัด ผู้แทนบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ผู้แทนกองทัพอากาศ ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 2 คน และผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ • วาระการดำรงตำแหน่ง : ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน (ม. 13) • การแต่งตั้งกรรมการอื่น : คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ (ม. 10 วรรคสอง) • ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม. 17) • ผู้ว่าการอาจพ้นจากตำแหน่ง โดยคณะกรรมการให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถตาม ม. 19 (3) ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่ง นอกจากผู้ว่าการ และต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี (ม. 19 วรรคท้าย) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่างๆ • ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทั่วไป • ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่ปรากฎว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หมายเหตุ : ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ต้องไม่มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับ สบพ. หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการของ สบพ. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม (ม. 12) ผู้ว่าการ ต้องไม่มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับ สบพ. หรือในกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขัน (ม. 18 (1)) ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร  www.krisdika.go.th  มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ :นางสาวชัชดาภา จารุรังสรรค์ โทร. 0 2298 5880 ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ปรากฏว่ามีสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตามมติคณะรัฐมนตรี ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 684/2538 เรื่อง หารือปัญหาข้อกฎหมายตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 แห่งพรฎ.การจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือนฯ มิได้บัญญัติให้ผู้ว่าการฯ จะต้องมีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนที่โอนมาเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสถาบันการบินพลเรือนตั้งแต่เมื่อใด ดังนั้น ผู้ว่าการฯ จึงมีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งเมื่อใดก็ได้ เรื่องเสร็จที่ 571/2545 เรื่อง หารือเรื่องการนับอายุความคดีข้อพิพาททางแพ่งระหว่างสถาบันการบินพลเรือน กับบริษัท การบินไทย กรณีการยกเลิกการฝึกบินหลักสูตร JET FAMILIRIZATION ) ประเด็น คณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาแล้วเห็นว่า จะไม่พิจารณาให้ความเห็นทางกฎหมายในเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสถาบันอื่นอยู่แล้วตามกฎหมาย ประกอบกับมีมติ ครม.กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง สบพ.ต้องปฏิบัติตามมติดังกล่าวแล้ว จึงยังไม่พิจารณาให้ความเห็นตามประเด็นที่หารือมา

More Related