1 / 14

ระบบปฏิบัติการ แบบกระจาย ( Distributed Operating Systems )

ระบบปฏิบัติการ แบบกระจาย ( Distributed Operating Systems ). ระบบสารสนเทศแบบกระจาย Distributed Information System. ระบบปฏิบัติการแบบกระจาย.

ashby
Download Presentation

ระบบปฏิบัติการ แบบกระจาย ( Distributed Operating Systems )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบปฏิบัติการแบบกระจาย(Distributed Operating Systems) ระบบสารสนเทศแบบกระจาย Distributed Information System

  2. ระบบปฏิบัติการแบบกระจายระบบปฏิบัติการแบบกระจาย ระบบของหน่วยประมวลผลแบบกระจาย คือ กลุ่มของหน่วยประมวลผลกลางที่ไม่ได้ใช้หน่วยความจำหรือนาฬิการ่วมกัน แต่ละหน่วยประมวลผลกลางจะมีหน่วยความจำเป็นของตัวเอง หน่วยประมวลผลกลางแต่ละอันจะมีการติดต่อสื่อสารที่แตกต่างกันออกไป

  3. แรงจูงใจ • ระบบประมวลผลแบบกระจาย คือกลุ่มของหน่วยประมวลผลกลางที่เชื่อมต่อกันอย่างหลวมๆ โดยติดต่อสื่อสารกันผ่านทางเน็ตเวิร์ก • จุดสำคัญของระบบประมวลผลแบบกระจายอยู่ที่หน่วยประมวลผลกลาง และจะเกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่อยู่ห่างไกล • มี 4 เหตุผลหลักๆ ในการสร้างระบบประมวลผลแบบกระจาย คือ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน, การคำนวณที่เร็วขึ้น, ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือขึ้น และการติดต่อสื่อสารที่ดีขึ้น

  4. โครงสร้างโดยทั่วไปของระบบประมวลผลแบบกระจาย • หน่วยประมวลผลกลางในระบบประมวลผลแบบกระจาย จะมีการเปลี่ยนแปลง ขนาด และหน้าที่ได้ • โดยจะประกอบไปด้วยตัวประมวลผลกลางขนาดเล็ก, พื้นที่ทำงาน, คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ • การอ้างถึงหน่วยประมวลผลกลางสามารถดูได้จากชื่อ เช่น ตำแหน่ง, ปลายทาง, คอมพิวเตอร์, เครื่อง และเจ้าของ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่กล่าวถึงด้วย โดยส่วนใหญ่จะใช้ตำแหน่งในการบ่งบอกถึงที่ตั้งของเครื่อง และเจ้าของเครื่องด้วย

  5. โครงสร้างโดยทั่วไปของระบบประมวลผลแบบกระจาย รูป A Distributed System • โครงสร้างโดยทั่วไปของระบบประมวลผลแบบกระจาย โดยทั่วไปแล้ว 1 ตำแหน่งจะมีเจ้าของได้ 1 คน แต่ผู้ให้บริการจะเป็นเจ้าของเครื่องได้หลาย ตำแหน่ง

  6. ชนิดของระบบปฏิบัติการแบบกระจาย • ประเภททั่วๆ ไปของเครือข่ายระบบปฏิบัติการ คือ 1) เครือข่ายระบบปฏิบัติการ(Network Operating System: NOS) 2) ระบบปฏิบัติการแบบกระจาย (Distributed Operating System) • เครือข่ายระบบปฏิบัติการมีวิธีการจัดการที่ง่าย แต่โดยทั่วไปจะยุ่งยากสำหรับผู้ใช้งาน ในการใช้ประโยชน์ได้มากกว่าระบบปฏิบัติการแบบกระจาย

  7. เครือข่ายระบบปฏิบัติการเครือข่ายระบบปฏิบัติการ • เครือข่ายระบบปฏิบัติการ เป็นตัวจัดสภาพแวดล้อมให้กับผู้ใช้ แม้จะมีกลไกของเครื่องจักรที่สลับซับซ้อน ก็สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ห่างไกลได้โดยง่าย หรือย้ายข้อมูลจากที่ห่างไกลมาไว้ที่เครื่องของตนเองได้โดยง่าย • การเข้าระบบที่อยู่ห่างไกล - หน้าที่สำคัญของเครือข่ายระบบปฏิบัติการ คือ ยินยอมให้ผู้ใช้เข้าระบบที่อยู่ห่างไกลได้ อินเทอร์เน็ตจัดสรรอำนวยความสะดวกด้าน telnet ให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้โดยง่าย

  8. เครือข่ายระบบปฏิบัติการเครือข่ายระบบปฏิบัติการ • การย้ายไฟล์ที่อยู่ห่างไกล - หน้าที่หลักอื่นๆ ของเครือข่ายระบบปฏิบัติการคือ การจัดสรรการอุปกรณ์ในการย้ายไฟล์จากที่ห่างไกล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

  9. ระบบปฏิบัติการแบบกระจาย • การย้ายข้อมูล - ผู้ใช้ในพื้นที่ A ต้องการเข้าถึงข้อมูล (เช่น แฟ้มข้อมูล) ที่อยู่ในพื้นที่ B ระบบสามารถที่จะย้ายข้อมูลได้โดยใช้ 1 ในสองวิธีต่อไปนี้ 1) การย้ายข้อมูลเข้าไปในพื้นที่ A จากจุดอื่นเข้าไปไว้ในพื้นที่ท้องถิ่น เมื่อผู้ใช้เข้าถึงไฟล์ไม่นาน ก็จะทำการคัดลอกข้อมูลกลับไปยังพื้นที่ B (FTP) 2) การย้ายข้อมูลเฉพาะบางส่วนเข้าไปในไฟล์ A จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ทำให้สามารถทำให้เกิดได้ในทันที ถ้าต้องการส่วนอื่นๆ ในเวลาถัดมา ส่วนนั้นก็จะถูกย้ายมาด้วย เมื่อผู้ใช้เข้าถึงไฟล์ไม่นาน ส่วนต่างๆ ก็จะถูกส่งกลับไปยังพื้นที่ B

  10. ความมั่นคง แข็งแรง (Robustness) • Distributed System มีชนิดของฮาร์ดแวร์ล้มเหลว (failure) หลายอย่าง วิธีการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาต่างๆ มีดังนี้ 1) Failure Detection - การตรวจสอบความผิดพลาดของ link และ site มักใช้วิธีการ handshaking - ฝั่ง A และ ฝั่ง B มีการติดต่อกันแบบ physical link โดยแต่ละฝั่งต่างส่งข้อความว่า “I-am-up”

  11. ความมั่นคง แข็งแรง (Robustness) 1) Failure Detection (ต่อ) - ถ้าฝั่ง A ไม่ได้รับข้อความภายในเวลาที่กำหนด ก็สันนิษฐานได้ว่าฝั่ง B มีการผิดพลาดเกิดขึ้น - นั่นหมายถึง link ระหว่างทั้งสองฝั่งเสีย หรือ ข้อความจากฝั่ง B สูญหายไป - ดังนั้นฝั่ง A มีสองทางเลือกคือ รอข้อความ I-am-up จากฝั่ง B ต่อ หรือ ส่งข้อความ Are-you-up ไปถามฝั่ง B

  12. ความมั่นคง แข็งแรง (Robustness) 1) Failure Detection (ต่อ) - เมื่อเวลาผ่านไป ฝั่ง A ก็ยังไม่ได้รับข้อความ I-am-up จากฝั่ง B ฝั่ง A ก็จะทำการตรวจสอบว่า link หรือ site ที่เสีย - โดยจะส่งข้อความ Are-you-up? ไปหาฝั่ง B โดยใช้ route ตัวอื่น (ถ้ามี) - ถ้าฝั่ง B ได้รับข้อความ และไม่ตอบกลับมา แสดงว่า link เสีย แต่ถ้าไม่ได้รับการตอบกลับ อาจเกิดเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ • ฝั่ง B ล่ม • ลิงค์ระหว่างทั่งสองฝั่งล่ม • ข้อความสูญหาย

  13. ความมั่นคง แข็งแรง (Robustness) 2) Reconfiguration - ถ้าลิงค์จากฝั่ง A ไป B เสีย ต้องทำการ broadcast ไปทุกๆ ฝั่งบนระบบ และ routing table ก็จะทำการอัพเดทตามลำดับ - ถ้าระบบเชื่อว่า site failure เช่นเกิด deadlock จะเกิดกระบวนการต่อไปนี้ Recovery from Failure (กู้คืนจากการล้มเหลว) • ตัวเชื่อมระหว่าง A กับ B ล้มเหลว เมื่อไรที่มีการซ่อมแซม A และ B จะต้องแจ้ง เราสามารถทราบการแจ้งเตือนนี้อย่างต่อเนื่องโดยการทำซ้ำในขั้นตอนที่อธิบายไว้ในตอน Failure Detection

  14. ความมั่นคง แข็งแรง (Robustness) Recovery from Failure (กู้คืนจากการล้มเหลว) • บริเวณที่ตั้ง B มีการผิดพลาด เมื่อกู้คืนจะต้องแจ้งไซต์อื่นๆ ทั้งหมด • บริเวณที่ตั้ง B อาจจะได้รับการแจ้งจากที่ตั้งอื่นๆ เพื่อที่จะปรับปรุงเส้นทางในตาราง

More Related