1.34k likes | 3.39k Views
โรคข้าวโพด. จัดทำโดย ผศ. อดิศักดิ์ บ้วนกียาพันธุ์. โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต. การขาดธาตุของข้าวโพด. ขาดไนโตรเจน ต้นกล้าเหลือง แคระแกร็น -ใบเหลืองจากเส้นใบออกไป เป็นรูปตัว v - อาการแสดงที่ใบล่าง ใบล่างแห้งตาย ขอบใบยังเขียว -ปลายฝักเมล็ดไม่เต็ม โค้งเล็กน้อย ต้นผอมบาง โค้ง.
E N D
โรคข้าวโพด จัดทำโดย ผศ. อดิศักดิ์ บ้วนกียาพันธุ์
โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตโรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต
การขาดธาตุของข้าวโพด • ขาดไนโตรเจน • ต้นกล้าเหลือง แคระแกร็น • -ใบเหลืองจากเส้นใบออกไป เป็นรูปตัว v • -อาการแสดงที่ใบล่าง ใบล่างแห้งตาย • ขอบใบยังเขียว • -ปลายฝักเมล็ดไม่เต็ม โค้งเล็กน้อย ต้นผอมบาง • โค้ง
สภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการสภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการ 1.ดินทรายที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ ขาดอินทรีย์วัตถุและพืชตระกูลถั่วบำรุงดิน 2.อินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงในดินสลายตัวยังไม่สมบูรณ์ 3.พืชขาดน้ำ หรือน้ำท่วมขัง 4.ดินถูกชะล้างมากเนื่องจากความลาดชันสูง
ขาดฟอสฟอรัส • พืชแคระแกร็น ใบมีสีม่วงหรือแดง • -เมื่ออายุยังน้อย ปลายใบไหม้ • -ฝักเล็กโค้ง แถวเมล็ดไม่ตรง ปลายฝักโค้งไม่ • ติดเมล็ด • -ต้นผอมบาง โค้ง
สภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการสภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการ 1.น้ำท่วมขัง หรือพืชขาดน้ำ ดินแน่น รากเจริญได้น้อย รากเป็นแผล 2.พืชได้รับปุ๋ยฟอสฟอรัส ไม่เพียงพอ ดินมีธาตุนี้ต่ำ 3.ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและโปแตสเซียมสูงกว่า ฟอสฟอรัสมาก ธาตุนี้จึงถูกยับยั้ง
ขาดโปแตสเซียม -ใบเหลือง ปลายใบล่างไหม้ตาย -ต้นหักง่าย เพราะอ่อนแอต่อโรครากเน่า -ฝักมีขนาดเล็ก เมล็ดหลวม ปลายฝักไม่ติดเมล็ด
สภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการสภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการ 1.ดินทราย ดินที่มีอินทรีย์วัตถุที่สภาพเปียกหรือแน่นเกินไป 2.ดินที่มีธาตุ โปแตสเซียมต่ำ 3.ปลูกข้าวโพดตามหลังพืชที่ใช้โปแตสเซียมในดินสูง 4.ดินมีธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียมอัตราสูงกว่าโปแตสเซียม
โรคข้าวโพดขาดความสมดุลของธาตุอาหารแคลเซียมโรคข้าวโพดขาดความสมดุลของธาตุอาหารแคลเซียม อาการ -อายุประมาณ 4 สัปดาห์ ลำต้นอวบใหญ่ ข้อสั้น ต้นเตี้ย -ยอดอ่อนห่อตัวบิดริ้วเป็นเกลียว -ยอดอ่อนห่อตัวบิดริ้วเป็นเกลียวปลายใบติดเข้าด้วยกัน -ปลายใบห่อติดกัน คลี่ออกยาก บางต้นยอดโค้งงอ เนื้อใบขรุขระ
-ช่วงสร้างดอกบริเวณเนื้อเยื่อเจริญตามข้อและยอดฉ่ำน้ำ และฉีกขาดกรวงแห้งตาย -ช่อดอกตัวผู้เน่าและไม่สมบูรณ์ หรือแทงช่อออกมาลำบาก -เนื้อเยื่อเจริญตามข้อและยอดฉ่ำน้ำต่อมาแห้งตายฉีดขาดทำให้กาบใบแห้งช่อดอกตัวผู้เน่าและไม่สมบูรณ์
สาเหตุ • ขาดการเพิ่มอินทรีย์วัตถุลงไปในดิน • การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณสูงในรูปของยูเรียหรือ • แอมโมเนียมซัลเฟต • สภาพความเป็นกรด- ด่างบริเวณรอบๆ รากข้าวโพด • เปลี่ยนแปลงไปมาก
การป้องกันกำจัด • การปลูกพืชเดี่ยวซ้ำที่เดิมเป็น เวลานาน ควรมีการเติมอินทรีย์วัตถุในดินให้สูงกว่า 1.5 % • ควรมีการวิเคราะห์ดินใส่ปูนขาวเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง • (pH 5.5-8.0)
ขาดแมกนีเซียม -ต้นกล้าแสดงจุดด่างขาว -ใบบนเหลือง -พื้นที่ระหว่างเส้นใบเหลืองซีด ใบแก่มีสีแดง ตามขอบใบและปลายใบ ถ้าขาดมากอาจตาย -ต่อมาทั้งต้นจะแสดงอาการเนื้อใบเหลือง (เส้นใบยังเขียว) -แคระแกร็น แต่ไม่รุนแรงเหมือนธาตุฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม
สภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการสภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการ 1.ดินทราย ดินเป็นกรด แหล่งที่มีฝนตกชุก ดินถูกชะล้างมาก 2.มีโปแตสเซียมสูง ขาดความสมดุลกับธาตุนี้ 3.ใส่หินปูนมาก มีแคลเซียมมาก ยับยั้งการใช้ธาตุแมกนีเซียมของพืช
ขาดสังกะสี -เมื่อต้นกล้าอายุ 2 สัปดาห์ ข้อสั้น ใบมีเส้น เหลือง -ต่อมาเนื้อใบเหลืองมาก ข้างเส้นกลางใบที่ยัง เขียว ขอบใบและเส้นกลางใบยังเขียว -ใบใหม่มีสีซีดจนขาว -ข้อล่างของลำต้นมีสีเข้ม
สภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการสภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการ 1.ดินเป็นด่าง 2.ดินใส่ปุ๋ยโปแตสเซียมสูงจน ขาดความสมดุลกับธาตุสังกะสี 3.ดินทรายที่เป็นกรดและถูกชะล้างมาก 4.ภาวะน้ำท่วมขัง
ขาดธาตุโบรอน -ต้นกล้ามีจุดสีขาวที่เนื้อใบ ต่อมาขยาย เป็นแถบสีขาวเป็นเงานูนจากเนื้อใบ -ข้อสั้น เกสรตัวผู้ และฝักไม่โผล่ ต้นเป็น พุ่ม -เส้นกลางใบกรอบ เปราะปลายราก ฝอยบวมพอง -ฝักเล็ก โค้ง เมล็ดติดไม่ดี ไม่เต็มฝัก ปลายฝักขาวโค้ง เมล็ดผิดรูปร่าง
สภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการสภาพที่ส่งเสริมให้แสดงอาการ 1.พืชเครียดเพราะขาดน้ำ 2. ดินที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูง 3.ดินที่มีการชะล้างสูง 4.การใส่ปูนขาวปริมาณสูง 5.ธาตุโบรอนในดินที่น้อย กว่า 0.5 ส่วนในล้าน
อาการผิดปกติของข้าวโพดจากสารเคมีอาการผิดปกติของข้าวโพดจากสารเคมี • อาการใบไหม้ขาวโพดจากสารเคมีเมทธิลโบลไมด์
อาการใบไหม้ของต้นกล้าจากสารคลุกเมล็ดฟูราดานที่ใช้เกินอัตรากำหนด
โรคราน้ำค้างข้าวโพด Corn Downy Mildew • อาการโรคราน้ำค้างที่รุนแรง ช่อดอกตัวผู้เปลี่ยนเพศ ไปเป็นต้นกล้าเจริญเติบโตขึ้นมา
อาการโรคที่เรียกว่าใบลายมีสีเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียว สร้างสปอร์ผงสีขาวเมื่อมีน้ำค้าง
อาการเริ่มแรกของระยะกล้า แผลจุดสีเหลือง ขยายออกเป็นปื้นเหลือง (local symptom)
ฝักจากต้นที่เป็นโรค เมล็ดไม่สมบูรณ์
เชื้อราสาเหตุPeronosclerospora sorghi ( Weston & Uppal ) C.G. Shaw การแพร่ระบาดของเชื้อ -ระบาดต้นฤดูฝน พ.ค. มิ.ย. ก.ค. และ ส.ค. จนสิ้นฤดูฝน -อุณหภูมิ 20-26 องศาเซลเซียส ความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด • ไม่ควรปลูกก่อนฝนตกชุก หรือก่อนฤดูฝน • กำจัดพืชอาศัย วัชพืช ส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลง • ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรค • ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 1 สุวรรณ 5 สุวรรณ3601 5. ใช้สารเคมี เช่น เมตาแลกซิล (Apron 35 SD)
โรคใบไหม้แผลเล็กของข้าวโพดโรคใบไหม้แผลเล็กของข้าวโพด Southern or Maydis Leaf Blight ลักษณะอาการ -เริ่มจากจุดเล็กๆ สีเขียวอ่อนฉ่ำน้ำ ต่อมาขยายออกตามความยาวของใบ -กลางแผลมีสีเทา ขอบแผลมีสีเทาน้ำตาล -ขนาดแผลไม่แน่นอน
ลักษณะอาการ(ต่อ) -กรณีเป็นรุนแรงแผลจะขยายใหญ่ ทำให้ใบแห้งตาย -ในระยะกล้า ต้นกล้าเหี่ยว และแห้งตายภาย ใน 3-4 สัปดาห์หลังปลูก -ในต้นแก่ อาการเกิดที่ใบล่างๆ ก่อน -เกิดได้ทั้งกับ ต้น กาบใบ ฝัก และเมล็ด
เชื้อราสาเหตุBipolaris maydis (Nisik.) Shoemaker. มีชื่อเดิมว่า Helminthosporium maydis Nisik. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม -ความชื้นสูง อุณหภูมิระหว่าง 20-32 องศาเซลเซียส -เชื้อแพร่กระจายไปกับลม ฝน
การป้องกันกำจัด 1.ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรค 2.ถอนเผาทำลายต้นที่เป็นโรค วัชพืช 3.ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น นครสวรรค์1 นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 1 สุวรรณ2 สุวรรณ5 สุวรรณ 3851 4.ใช้สารเคมี ไตรโฟรีน (ซาพรอล)
โรคใบไหม้แผลใหญ่ ของข้าวโพด Northern Leaf Blight ลักษณะอาการ -เกิดทุกส่วนของข้าวโพด ทั้งกาบใบ ลำต้น ฝัก เกิดเป็นแผลขนาดใหญ่สีเทา หรือน้ำตาล -แผลที่ใบอาจเกิดเดี่ยวๆ หรือหลายแผลซ้อนรวม กันขยายเป็นขนาดใหญ่ -แผลรวมกันมากใบจะแห้งตาย -พบโรคนี้ได้ตลอดฤดูเพาะปลูก
เชื้อราสาเหตุBipolaris turcica (Pass.) Shoemaker. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม -ชอบความชื้นสูง อากาศเย็นประมาณ 18-27 องศาเซลเซียส
การป้องกันกำจัด 1.ปลูกพืชหมุนเวียน 2.ไม่ปลูกพืชหนาแน่น ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่สูง 3.ไม่ปลูกพืชแซมไม้ยืนต้นเช่น มะม่วง ยางพารา มะละกอ เพราะจะทำให้เชื้อระบาดมาก 4.ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 72 5.ใช้สารเคมี ไตรโฟรีน (ซาพรอล)ฉีดพ่น
โรคใบจุดจากเชื้อเฮลมินโธสปอเรี่ยมNorthern Leaf Spot หรือ Helminthosporium Leaf Spot ลักษณะอาการ -พบอาการตั้งแต่ใบแรกถึงใบธง -แผลเป็นจุดค่อนข้างกลม สีเหลือง หรือน้ำตาล ขนาดเล็ก มีวงแหวน สีเหลืองล้อมรอบ
-เมื่อความชื้นสูงแผลขยายใหญ่ เนื้อใบแห้งตาย หูใบแห้ง -กาบใบและกาบฝักไหม้แห้ง ฝักเน่า
เชื้อราสาเหตุBipolaris zeicola (Stout.) Shoemaker ชื่อเดิมคือHelminthosporium carbonum Ullstrup. Drechslera zeicola. (Stout) Subram. & Jain.
การป้องกันกำจัด 1.ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรค 2.ถอนเผาทำลายต้นที่เป็นโรค วัชพืช 3.ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น นครสวรรค์1 นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 1 สุวรรณ2 สุวรรณ5 สุวรรณ 3851 4.ใช้สารเคมี ไตรโฟรีน (ซาพรอล)
โรคราสนิม Southern Rust ลักษณะอาการ -เป็นจุดนูนเล็กๆ สีน้ำตาลแดง -แผลเกิดด้านบนใบ มากกว่า ด้านล่างใบ -ต่อมาแผลแตกออก มองเห็นเป็นผงสี สนิมเหล็ก -กรณีเป็นรุนแรง ใบจะแห้งตาย
เชื้อราสาเหตุPuccinia polysora Underw. -เชื้อระบาดปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว -ชอบความชื้นในอากาศสูง 95-100% -อุณหภูมิ ค่อนข้างเย็น ประมาณ 24-28 องศาเซลเซียส
การป้องกันกำจัด 1.ปลูกพันธุ์ต้านทาน 2.กำจัดวัชพืช และต้นที่เป็นโรคออกจากแปลง 3.ใช้สารเคมี ไดฟิโนโคนาโซล (สกอร์) หรือ แมนโคเซบ 80% WP
โรคกาบและใบไหม้ Banded Leaf and Sheath Blight ลักษณะอาการ -อาการเริ่มจากส่วนล่างของกาบฝักชั้นนอก สุด -แผลบนกาบฝักกระจายตัว และอาการเป็น แถบจะเห็นชัด
-พบจุดฉ่ำน้ำรูปร่างไม่แน่นอนทั้งด้าน-พบจุดฉ่ำน้ำรูปร่างไม่แน่นอนทั้งด้าน หน้าและหลังของโคนกาบใบ -ต่อมาจุดเหล่านั้นจะเปลี่ยนเป็นสีฟาง ข้าว ในข้าวโพดพันธุ์ต้านทาน เช่นพวก inbred line -ในพันธุ์ที่อ่อนแอแผลจะขยายปกคลุม ทั่วทั้งกาบใบ
- ที่ลำต้น เกิดจุดหรือแผลบนเปลือกของ ลำต้น ซึ่งอยู่ใต้กาบใบที่เป็นโรคแผลเป็น สีน้ำตาลเข้มถึงดำ - แผลอาจยุบตัวลงในเปลือก - แผลจะขยายตัวบนข้อที่สี่หรือห้านับจาก โคนต้นขึ้นมา - แผลจะขยายรวมกันทางด้านข้างของ ปลายแผลแต่ละแผล - บางครั้งแผลแห้งเป็นสะเก็ดน้ำตาลเข้ม
เชื้อราสาเหตุRhizoctonia solani Kuhn.f.sp.sasakii Exner. -เส้นใยเจริญเติบโตเร็ว ที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส -ความชื้นสัมพัทธ์ 90-100%
การป้องกันกำจัด 1.ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรค 2.ถอนและเผาทำลายต้นที่เป็นโรค วัชพืช พืชอาศัย 3.เตรียมดินให้มีการระบายน้ำที่ดี 4.ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินความจำเป็น 5.ปลูกพืชหมุนเวียน 6.เพิ่มจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น Trichoderma harzianum, T. viride หรือ Bacillus subtilis เชื้อเหล่านี้สามารถเจริญแข่งขันและย่อยสลายเส้นใยของเชื้อสาเหตุเหล่านี้ได้
โรคใบจุด Leaf Spot • ลักษณะอาการ • พบที่ใบ กาบใบ และในฝักด้วย • -เป็นจุดเล็กๆ ตรงกลางจุดแห้งมีสีเทา • หรือน้ำตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลแดง • -และแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไหม้ • -มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง • พบเมื่ออากาศร้อนชื้น
เชื้อราสาเหตุCurvularia lunata (Wakker) Boed. Var. aeria
การป้องกันกำจัด 1.ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ 2.ปลูกพันธุ์ต้านทานโรค เช่น นครสวรรค์1 นครสวรรค์72 สุวรรณ5 3.ไม่ปลูกพืชหนาเกินไป 4.ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินความจำเป็น
โรคจุดสีน้ำตาล Brown Spot • อาการใบจุดสีน้ำตาลสาเหตุจากเชื้อราPhysoderma maydisบนใบพบจุดสีน้ำตาลขอเหลืองเป็นกลู่มบนกาบใบและเส้นกลางใบแผลมีสีน้ำตาลเข้มขนาดใหญ่กว่าบนใบ