440 likes | 603 Views
ระบบเครือข่าย. Network System. ระบบเครือข่าย. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างทั่วถึง แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกัน
E N D
ระบบเครือข่าย Network System
ระบบเครือข่าย ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างทั่วถึง แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกัน • การสื่อสาร หมายถึง การติดต่อระหว่างมนุษย์ เพื่อนำเสนอ หรือแลกเปลี่ยนข่าวสาร ระหว่างผู้ส่งสาร กับผู้รับสาร โดยอาศัยสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร • การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การส่งหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล และสารสนเทศ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร ข้อมูลที่ส่งไม่รวมเสียงพูด • โทรคมนาคม หมายถึง การติดต่อสื่อสารระหว่างกันในระยะทางไกล ๆ โดยอาศัยช่องทางการสื่อสาร ส่งได้ทั้งข้อมูลและเสียงพูด • ระบบเครือข่าย หมายถึง การเชื่อมโยงและติดต่อสื่อสารระหว่างแหล่งต้นทางกับปลายทางผ่านทางอุปกรณ์สื่อสาร ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในขณะที่ราคาถูกลง สามารถนำมาใช้ในการเชื่อมโยงและติดต่อระหว่างกันเป็นระบบเครือข่ายให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการทำงานร่วมกันได้
สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture) • สถาปัตยกรรมเครือข่าย ประกอบด้วยแบบจำลอง 4 แบบ ได้แก่ • บัส (Bus Network) • สตาร์ (Star Network) • ริง (Ring Network) • ลูกผสม (Hybrid Network)
สถาปัตยกรรมเครือข่าย (ต่อ) • ระบบเครือข่ายแบบบัส (Bus Network) • เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในพื้นที่เดียวกันโดยใช้สัญญาณต่อเชื่อม เรียกว่า “บัส” สำหรับใช้เป็นทางเดินของข้อมูลร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสัญญาณจะถูกกระจายไปตลอดทั้งเส้นทาง • ข้อดี • ใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน การรับ-ส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง • โครงสร้างง่ายมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว • เพิ่มจุดบริการใหม่ได้ง่าย เนื่องจากจะใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว • ข้อเสีย • หาข้อผิดพลาดได้ยาก ไม่มีศูนย์กลางควบคุมอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง • ถ้าเกิดการเสียหาย เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ • เกิดการชนกันของข้อมูล
สถาปัตยกรรมเครือข่าย (ต่อ) • ระบบเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network) • เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่จุดศูนย์กลางควบคุมการสื่อสาร โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “ฮับ” หรือ “สวิตซ์” นิยมเรียกการทำงานในลักษณะนี้ว่า “โฮสต์คอมพิวเตอร์” • ข้อดี • ง่ายในการติดตั้งหรือจัดการระบบ เนื่องจากมีโฮสต์คอมพิวเตอร์อยู่ที่จุดเดียว • ถ้าเกิดการเสียหายของจุดใช้งานในเครือข่าย จะไม่ส่งผลกระทบกับการทำงานของจุดอื่น ๆ • การควบคุมการส่งข้อมูลทำได้ง่าย ระหว่างโฮสต์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ • ข้อเสีย • เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการติดตั้งและบำรุงรักษา • การเพิ่มจุดใหม่อาจทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยทวนสัญญาณ (Repeater) • ถ้าโฮสต์คอมพิวเตอร์เสีย ก็ไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้
สถาปัตยกรรมเครือข่าย (ต่อ) • ระบบเครือข่ายแบบริง (Ring Network) • เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะวงแหวน มีการรับส่งข้อมูลในทิศทางเดียวกันผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกว่า “โทเค็น (Token)” • ถ้าเครื่องใดต้องการที่จะส่งข้อมูล ก็จะจับโทเค็นแล้วใส่ข้อมูลลงไป แล้วจะปล่อยออกมาวิ่งวนรอบผ่านเครื่องอื่น ๆ จนพบเครื่องที่เป็นเป้าหมาย • ข้อดี • ความยาวของในการใช้สายส่งข้อมูลมีขนาดพอดีทำให้การรับส่งข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น • เหมาะสำหรับใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง เนื่องจากจะช่วยให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง • ข้อเสีย • ถ้าจุดใดในเครือข่ายเสียหาย ก็ไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้ • การตรวจสอบข้อผิดพลาดต้องตรวจสอบระหว่างจุดกับจุดถัดไป • ยากต่อการเพิ่มจุดใช้งานใหม่ • การส่งข้อมูลต้องมั่นใจว่าสายส่งข้อมูลว่าง
สถาปัตยกรรมเครือข่าย (ต่อ) • ระบบเครือข่ายแบบลูกผสม (Hybrid/Mesh Network) • เป็นการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายในลักษณะการผสมผสานที่มีจำนวนมากกว่า 1 แบบเข้าด้วยกัน
การประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์การประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • แบบจำลองทั้ง 4 แบบ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้ • เครือข่ายระยะใกล้ (Local Area Network : LAN) • เครือข่ายบริเวณปานกลาง (Metropolitan Area Network : MAN) • เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN) • เครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network) • เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)
เครือข่ายระยะใกล้ (Local Area Network : LAN) • เป็นการเชื่อมต่อในระยะทางใกล้ ๆ ทีมีพื้นที่จำกัด ส่วนใหญ่นิยมใช้ภายในอาคาร เช่น สำนักงาน ห้องเรียน • รองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ไม่จำกัดจำนวน และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันได้ โดยผ่านสายส่งข้อมูลชนิดต่าง ๆ • ช่วยในการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูล ฐานข้อมูล เครื่องพิมพ์ • ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน
เครือข่ายบริเวณปานกลาง (Metropolitan Area Network : MAN) • เป็นการเชื่อมต่อในระยะทางที่ไม่ห่างไกลมากนัก แต่ยังคงอยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน • ส่วนใหญ่มักนิยมใช้กันในหน่วยงานที่มีสาขาที่อยู่ต่างสถานที่กัน เช่น ธนาคารสำนักงานใหญ่กับสาขาย่อย ระบบเคเบิลทีวี การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายดาวเทียม
เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN) • เป็นการเชื่อมต่อในระยะทางที่ห่างไกลกันมาก ๆ ขึ้นอยู่กับจำนวนที่เชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไป ทำให้เกิดการขยายวงกว้างออกไปในระดับจังหวัด ประเทศ หรือทวีป
เครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network) • เป็นเทคโนโลยีเพื่อใช้แก้ปัญหาข้อจำกัดในการติดตั้งและการเดินสายส่งข้อมูล เหมาะสำหรับใช้งานภายในสำนักงาน และมีพื้นที่บริเวณโล่งกว้าง • การรับส่งข้อมูลจะส่งผ่านอุปกรณ์ควบคุมย่านความถี่ เรียกว่า “Wireless Router” สำหรับใช้จัดการเพื่อรับส่งสัญญาณข้อมูลระหว่างกันให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการรบกวนหรือการชนกันของข้อมูล • ไม่ต้องใช้สายส่งข้อมูล • เกิดความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย และสะดวกในการเชื่อมต่อเพื่อใช้งาน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) • เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างไร้ขอบเขต • เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารและทำงานร่วมกันได้อย่างทั่วถึง • โดยใช้โปรโตคอลเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันเหมือนเส้นใยแมงมุม หรือเรียกว่า “World Wide Web : WWW”
เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต (Internet Technology) • ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต • อินเทอร์เน็ต มาจากคำว่า “International Network” • คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อถึงกันทั่วโลก หรืออาจเรียกว่า เครือข่ายของเครือข่าย (Network of networks) ซึ่งหมายถึง เครือข่ายรวมของเครือข่ายระดับต่าง ๆ ทั้งหมดรวมตัวกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ • อินเทอร์เน็ตมีต้นกำเนิดมาจากเครือข่าย ARPAnet(Advance Research Projects Agency Network) ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา
ปัญหาที่สำคัญบนอินเทอร์เน็ตปัญหาที่สำคัญบนอินเทอร์เน็ต ที่มา: รายงานผลการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ประจำปี 2553 (Internet User Profile of Thailand 2010), สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต (Internet Technology) (ต่อ) • การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ต (Internet Application Area) • Intranet • เป็นระบบเครือข่ายสารสนเทศเฉพาะกิจหรือส่วนบุคคล ที่ได้นำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร • ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและทำงานร่วมกันเฉพาะภายในองค์กรหรือหน่วยงานเท่านั้น • เครื่องลูกข่ายจะรับส่งข้อมูลโดยตรงกับเซิร์ฟเวอร์ เฉพาะที่อยู่ภายในระบบเครือข่ายของตนเท่านั้น • เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเครือข่ายไม่สามารถเข้ามาเรียกใช้สารสนเทศที่อยู่ภายในเครือข่าย เนื่องจากเครือข่ายได้มีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่ เรียกว่า “ไฟล์วอลล์ (Firewall)” สำหรับตรวจสอบผู้ที่มาเข้าสู่ระบบ
เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต (Internet Technology) (ต่อ) • การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ต (Internet Application Area) (ต่อ) • Intranet
เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต (Internet Technology) (ต่อ) • การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ต (Internet Application Area) (ต่อ) • Extranet • เป็นเครือข่ายสารสนเทศที่เกิดจากการผนวกรวมโดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอินทราเน็ต ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเข้าด้วยกัน • เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและทำงานร่วมกัน ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้กว้างไกลมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีด้านอินเตอร์เน็ต (Internet Technology) (ต่อ) • โปรโตคอล (Protocols) • ระเบียบวิธีการในการติดต่อสื่อสาร จะครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมไปถึงมาตรฐานที่ใช้เพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง • มาตรฐานโปรโตคอล • การติดต่อสื่อสารบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต้องมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันได้ และไม่เกิดปัญหาความเข้ากันไม่ได้ของระบบที่ต่างผลิตภัณฑ์กัน • หน่วยงานกำหนดมาตรฐานการสื่อสารสากล (International Standard Organization : ISO) มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติให้แก่ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ใช้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้แม่ต่างผลิตภัณฑ์กัน ที่เรียกว่า “มาตรฐานการสื่อสารคอมพิวเตอร์ระบบเปิด (OSI : Open System Interconnection)
เทคโนโลยีด้านอินเตอร์เน็ต (Internet Technology) (ต่อ) • โปรโตคอล (Protocols) (ต่อ) • หลักการทำงานของโปรโตคอล • มาตรฐานคอมพิวเตอร์ระบบเปิด ได้แบ่งระดับการติดต่อสื่อสารออกเป็น 7 ระดับชั้น หรือเรียกว่า “แบบจำลองมาตรฐาน OSI 7 Layer” • การจัดการข้อมูลในแต่ละลำดับชั้น ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละระดับขั้น
OSI 7 Layer ติดต่อกับผู้ใช้ โดยรับคำสั่งและแปลผลไปยังชั้นถัดไป เข้ารหัสและแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูป EBCDIC, Binary และอื่น ๆ ควบคุมจังหวะการรับส่งข้อมูลให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เชื่อมต่อ แยกส่วนและตรวจสอบความถูกต้องของชุดข้อมูลทั้งหมด เลือกเส้นทางที่เหมาะสม เพื่อลำเลียงชุดข้อมูลไปยังปลายทางตามที่ระบุไว้ ส่งชุดข้อมูลไปยังปลายทางที่ได้กำหนดไว้ ตรวจสอบและแก้ไขในระดับฮาร์ดแวร์ ส่งสัญญาณชุดข้อมูลผ่านทางสายการสื่อสารบนระบบเครือข่ายไปยังปลายทาง
เทคโนโลยีด้านอินเตอร์เน็ต (Internet Technology) (ต่อ) • อินเตอร์เน็ตโปรโตคอลและชื่อโดเมน • การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอื่น ๆ เข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีการกำหนดหมายเลขหรือชื่อของเครือข่าย เพื่อให้สามารถอ้างถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้อย่างถูกต้อง • TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) • เป็นกลุ่มของโปรโตคอลหลายชนิด ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
เทคโนโลยีด้านอินเตอร์เน็ต (Internet Technology) (ต่อ) • อินเตอร์เน็ตโปรโตคอลและชื่อโดเมน (ต่อ) • IP Address (Internet Protocol Address) • เป็นหลายเลขประจำเครื่องที่กำหนดเฉพาะเครื่องแต่ละเครื่องที่ไม่ซ้ำกัน • เพื่อให้ส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางได้ถูกต้อง • ระบบชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System) • เป็นชื่อเฉพาะสำหรับอ้างถึงตำแหน่งในการติดต่อบนอินเทอร์เน็ต • มักใช้ชื่อโดเมน แทนตัวเลขที่เป็น IP Address • มีการกำหนดและควบคุมโดยหน่วยงานที่ให้บริการชื่อโดเมนบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเรียกโดยทั่วไปว่า “ISP (Internet Service Provider)”
การให้บริการบนอินเตอร์เน็ตพื้นฐานการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตพื้นฐาน • Electronic Mail : E-Mail • หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นจดหมายที่ส่งผ่านกันทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • สามารถติดต่อกับบุคคลได้รวดเร็ว จัดเก็บข้อความ และตอบกลับส่งต่อเป็นทอด ๆ ได้ • ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาได้มากกว่าวิธีการส่งด้วยจดหมายหรือโทรศัพท์ • File Transfer Protocol : FTP • เป็นโปรแกรมสำหรับใช้โอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน • ประกอบด้วยเครื่องแม่ข่ายทำหน้าที่เป็น FTP Server และเครื่องลูกข่ายทำหน้าที่เป็น FTP Client • ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไฟล์หรือไดเร็คทอรีไปใช้งานได้เรียกว่า “Download” • ผู้ใช้สามารถนำไฟล์ไปเก็บที่ FTP Server ได้ เรียกว่า “Upload”
การให้บริการบนอินเตอร์เน็ตพื้นฐาน (ต่อ) • Telnet • เป็นการขอเข้าไปใช้บริการในระบบผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่ายเดียวกัน โดยไม่ต้องไปนั่งอยู่ที่หน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นโดยตรง • ซึ่งต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของเครื่องเป้าหมายด้วย • Gopher • เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดค้นหาข้อมูลและขอใช้บริการด้วยระบบเมนู และเป็นจุดศูนย์รวมในการเรียกใช้บริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต • ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เนื่องจากไม่ต้องพิมพ์คำสั่ง และไม่จำเป็นต้องจดจำชื่อโฮสต์ที่ต้องการติดต่อ เพราะสามารถเลือกได้จากเมนู Gopher ได้เลย • Archie • เป็นระบบค้นหาแหล่งที่อยู่ของแฟ้มข้อมูล โดยใช้ซอฟต์แวร์ Gopher ค้นว่าแฟ้มข้อมูลที่สนใจอยู่ที่โฮสต์ใด
การให้บริการบนอินเตอร์เน็ตพื้นฐาน (ต่อ) • Internet Telephony • หรือเรียกว่า “VoIP (Voice over IP)”เป็นเทคโนโลยีที่ให้ผู้ใช้สามารถโทรศัพท์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งต้องมีอุปกรณ์สนับสนุนการใช้งาน เช่น ซอฟต์แวร์ควบคุมการสนทนา ไมโครโฟน ลำโพง • การทำงานจะแปลงเสียงพูดเป็นสัญญาณดิจิตอลผ่านอินเทอร์เน็ตไปสู่ปลายทาง แล้วแสดงผลผ่านลำโพงปลายทาง ทำให้การทำงานคล้ายกับการใช้งานโทรศัพท์ เช่น 009 • Chat Room • หรือห้องสนทนา เป็นการสื่อสารแบบเรียลไทม์ และสนทนากันด้วยการพิมพ์ข้อความเหมือนกัน ผู้ร่วมสนทนาทั้งหมดจะเห็นข้อความเกือบพร้อมกัน ซึ่งเหมือนกับการร่วมสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน เช่นโปรแกรม mIRC, Pirch
การให้บริการบนอินเตอร์เน็ตพื้นฐาน (ต่อ) • Instant Messaging : IM • เป็นการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ (Real Time) โดยการพิมพ์โต้ตอบกัน และอาจส่งไฟล์ถึงกันได้ทั้งไฟล์รูปภาพ วิดีโอ ข้อความ เสียง เช่น โปรแกรม MSN Messenger, QQ, ICQ • Newsgroup • หรือเรียกว่า “กระทู้สนทนา” ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการอภิปรายกลุ่มหรือตั้งกระทู้ • ผู้ร่วมอภิปรายจะได้รับข้อความและส่งผ่านข้อความต่าง ๆ คล้ายกับห้องสนทนา • การแสดงผลไม่ได้เป็นแบบเรียลไทม์เหมือนห้องสนทนา • USErsNETwork : USENET • เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มสนทนาและอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ ผ่านทางระบบกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ • ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็นตามหัวข้อที่ตนสนใจเท่านั้น
การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่น Web Application Development
Web Programming • เป็นการเขียนโปรแกรมเพื่อกำหนดคำสั่งในการทำงานให้กับ web application • ต้องใช้เทคนิคการเขียนโปรแกรมด้วยการผสมผสานภาษาโปรแกรมมิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ภาษาโปรแกรมมิ่งที่นิยมใช้งาน มีดังนี้ • HyperText Markup Language : HTML • เป็นภาษามาตรฐานที่กำหนดโดยองค์กร W3C(World Wide Web Consortium) สำหรับใช้ในการสร้างเว็บเพจ
Web Programming (ต่อ) • eXtensible Markup Language : XML • เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้สร้างเว็บเพจเช่นเดียวกับ HTML • ผู้ใช้สร้าง tag คำสั่งขึ้นใช้งานเองได้ • โครงสร้างข้อมูลเป็นมาตรฐานไม่ขึ้นอยู่กับ Platform ใด • มีส่วนที่ใช้อธิบายข้อมูลในเอกสาร XML เรียกว่า “DTD (Document Type Definition)” ทำให้สามารถส่งไฟล์ XML ไปประมวลผลกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิดได้ • eXtensibleHyperText Markup Language :XHTML • เป็นภาษามาตรฐานใหม่ที่เกิดจากการนำความสามารถของ HTML และ XML มารวมกัน • จะใช้พื้นฐานโครงสร้างไวยากรณ์ของ XML แต่ใช้รูปแบบ tag คำสั่งของ HTML เพื่อสร้างความเป็นกลางของข้อมูลให้ดียิ่งขึ้น
Web Programming (ต่อ) • Wireless Markup Language : WML • เป็นภาษาที่ใช้สร้างเว็บเพจเพื่อนำไปแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า “Microbrowser” ซึ่งเป็นเว็บบราวเซอร์ที่นิยมใช้ในอุปกรณ์สื่อสารไร้สายต่าง ๆ • ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารผ่านโปรโตคอลมาตรฐานที่ชื่อว่า WAP (Wireless Application Protocol) • Common Gateway Interface : CGI • เป็นวิธีการมาตรฐานที่ช่วยให้เซิร์ฟเวอร์สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ • สำหรับภาษาโปรแกรมมิ่งที่นิยมใช้เขียน CGI ได้แก่ Perl, C/C++, TCL, Python, Shell Script
Web Programming (ต่อ) • Script Languages • เป็นเทคนิคที่นำมาใช้สร้างเว็บร่วมกับภาษา HTML เพื่อให้เว็บมีคุณสมบัติแบบ Dynamic โดยการนำมาทำงานร่วมกับภาษา HTML ได้แก่ • Client-Side Script • เป็นภาษาที่ใช้จัดการกับไฟล์ต่าง ๆ บนเครื่อง client โดยสคริปต์เหล่านี้จะถูกประมวลผลบนเว็บบราวเซอร์ของเครื่อง client ก่อนที่จะนำมาแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพของเครื่อง client ได้แก่ JavaScript, VBScript
Web Programming (ต่อ) • Script Languages (ต่อ) • Server-Side Script • เป็นภาษาที่ใช้จัดการกับไฟล์ต่าง ๆ บนเซิร์ฟเวอร์ โดยสคริปต์ประเภทนี้จะถูกประมวลผลบนเว็บเซิร์ฟเวอร์จนเสร็จสิ้นก่อนที่จะส่งผลลัพธ์ในรูปของ HTML Stream ผ่านโปรโตคอล HTTP บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกลับไปแสดงผลที่เว็บบราวเซอร์ของเครื่อง Client ได้แก่ ASP, PHP, JSP