E N D
บทที่ 10 บริษัทหลักทรัพย์ อ.ชารวี บุตรบำรุง
ความเป็นมาของบริษัทหลักทรัพย์ความเป็นมาของบริษัทหลักทรัพย์ ความเป็นมาของบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่หนึ่งเป็นระยะที่ได้มีการจัดตั้งบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในรูปของบริษัทหลักทรัพย์ก่อนด้านอื่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2496 คือ บริษัทเบิร์ด จำกัด โดยนายวิลลิส เฮสซาร์ เบิร์ด ในระยะแรกบริษัทประกอบธุรกิจด้านการนำเข้าและส่งออกเป็นงานหลัก และในปี พ.ศ.2503 กลุ่มเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศได้จัดตั้งสถาบันการเงินประเภทบริษัทจัดการลงทุน (investment management company) ขึ้นดำเนินกิจการในลักษณะ “กองทุนรวม” (Mutual Fund) โดยให้ชื่อว่า กองทุนรวมไทย (Thailand Investment Fund หรือ TIF) ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2505 กลุ่มอุตสาหกิจไทยเอกชนได้ร่วมกันจัดตั้งกิจการดำเนินงานในลักษณะสถานปริวรรตหุ้นที่เรียกว่า ตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้ชื่อว่า บริษัทตลาดหุ้นกรุงเทพ จำกัด (bangkok stock exchange) ซึ่งตลาดดังกล่าวใช้เป็นสถานที่ซึ่งสมาชิกชุมนุมเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายหลักทรัพย์ อ.ชารวี บุตรบำรุง
ระยะที่สอง เนื่องจากธุรกิจหลักทรัพย์ของไทยที่ตั้งขึ้นในระยะแรกมีเงินทุนน้อยและดำเนินงานอยู่ในวงจำกัด ต่อมามีธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้เข้าร่วมทุนก่อตั้งธุรกิจประเภทนี้ โดยการร่วมทุนกับสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ และเป็นวิธีที่ธนาคารและสถาบันการเงินในต่างประเทศจะเข้าร่วมในตลาดการเงินของประเทศไทย คือ ในพ.ศ.2512 ธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมทุนกับ BenkersIntenational Corporation of New York และ Bancom Corporation of Phillippinessจัดตั้งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ขึ้นชื่อว่า บริษัทค้าหลักทรัพย์และลงทุน จำกัด (Thai Investment and Securities Co.,Ltd. หรือ TISCO) อ.ชารวี บุตรบำรุง
ต่อมาใน พ.ศ.2513 ธนาคารกรุงเทพร่วมทุนกับ First National City Bank of New York จัดตั้งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ขึ้นเรียกว่า บริษัทกรุงเทพธนาธร จำกัด (Bangkok First Investment and Trust Ltd. หรือ BFIT) และ First National City Development Finance Corporation (Thailand) หรือ FNCDF (Thailand) ในช่วงก่อนปี พ.ศ.2515 การจัดตั้งบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ขึ้นโดยมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเท่านั้น ทั้งนี้เพราะรัฐบาลยังมิได้มีกฎหมายใดๆ ควบคุมการทำงานของบริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์เลย ทั้งๆที่สถาบันการเงินเหล่านี้รับฝากเงินจากประชาชนแต่เลี่ยงไปเรียกว่า การกู้เงิน ปัญหาที่สำคัญคือ ตามพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ได้กำหนดไว้ว่า การรับฝากเงินเป็นการประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น กิจการที่มิได้รับอนุญาตจึงรับฝากเงินไม่ได้ อ.ชารวี บุตรบำรุง
ระยะที่สาม ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ทางการเงินและตัวแทนของกระทรวงการคลัง มีหน้าที่พิจารณาแล้วเสนอให้กระทรวงการคลังออกใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนและหรือธุรกิจหลักทรัพย์แก่บริษัทต่างๆ บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตรุ่นแรก เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2516 มีจำนวน 28 ราย และในเดือนธันวาคม พ.ศ.2532 มีบริษัทเงินทุนถึง 22 บริษัท บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 72 บริษัท และบริษัทหลักทรัพย์ 11 บริษัท ในปี พ.ศ.2540 ประเทศไทยได้เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุด ส่งผลให้ทางการจำเป็นต้องสั่งปิดบริษัทเงินทุนและบริษัท หลักทรัพย์เป็นการถาวรจำนวนทั้งสิ้น 56 แห่ง อ.ชารวี บุตรบำรุง
ต่อมาในช่วงต้นปี พ.ศ.2542 เหลือบริษัทเงินทุนที่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้เพียง 6 บริษัท บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 12 แห่ง และบริษัทหลักทรัพย์ 23 แห่ง โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถดำเนินกิจการได้ทั้งหมดจำนวน 35 บริษัท อ.ชารวี บุตรบำรุง
การดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์การดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ 1. ธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ลักษณะสำคัญในการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์เกี่ยวกับธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นั้น จะเน้นการดำเนินการที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ทั้งในด้านการให้บริการและการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าที่ฝากไว้ โดยจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและความเสียหายต่อระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ โดยทั่วไปแล้วบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนได้โดยตรงจะต้องเป็นสมาชิกของตลากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการเลือกคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จำนวน 5 คน จากคณะกรรมการจำนวน 11 คน และมีสิทธิแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับอนุญาตตามเงื่อนไขที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดเพื่อเข้าไปทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในห้องค้าหลักทรัพย์ในนามบริษัท อ.ชารวี บุตรบำรุง
2. ธุรกิจการค้าหลักทรัพย์ สำหรับลักษณะในการประกอบธุรกิจค้าหลักทรัพย์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ โดยลักษณะแรกเป็นกิจการค้าหลักทรัพย์ในตลาดแรก ซึ่งมีการรับซื้อหลักทรัพย์ จากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ใหม่จำหน่ายและนำออกจำหน่ายให้กับผู้สนใจที่จะซื้อ เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์อื่นๆ เป็นต้น และสำหรับประเภทที่สองเป็นกิจการค้าหลักทรัพย์ในตลาดรอง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจาก การที่บริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีการทำธุรกรรมในตลาดรองค่อนข้างมาก ทำให้บริษัทหลักทรัพย์และสถาบันการเงินต่างๆ ต้องทำการซื้อขายหลักทรัพย์โดยผ่านบริษัทสมาชิกของตลากหลักทรัพย์ อ.ชารวี บุตรบำรุง
3. ธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน มีการประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนหรือไม่นั้น กฎหมายกำหนดให้ต้องพิจารณาว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญทั้ง 3 ประการ ได้แก่ องค์ประกอบแรก การให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักทรัพย์ หมายถึง การแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ทั้งนี้หลักทรัพย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญิตหลักทรัพย์ฯ หมายถึง ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ซึ่งการให้คำแนะตำดังกล่าวจะต้องเป็นการให้คำแนะนำเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการลงทุน โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นการให้คำแนะนำในทางตรงหรือทางอ้อม อ.ชารวี บุตรบำรุง
นอกจากนี้การให้คำแนะนำไม่จำเป็นต้องระบุราคาหรือช่วงเวลา อย่างไรก็ดีหากการให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้นมีลักษณะเป็นเพียงการให้ข้อเท็จจริงล้วนๆ โดยไม่มีการให้ความเห็นเพิ่มเติม เช่น การให้ข่าวจากข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้วและการรายงานความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ซื้อขายระหว่างวัน เป็นต้น จะไม่ถือว่าเข้าองค์ประกอบในข้อนี้ องค์ประกอบที่สอง การกระทำเป็นทางค้าปกติ หมายถึง การกระทำเป็นประจำหรือมีรายได้หลักจากการให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามองค์ประกอบในข้อแรก องค์ประกอบที่สาม การได้รับค่าตอบแทน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปเงินสดหรือสิ่งของอื่นใด ทั้งนี้ค่าตอบแทนดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเป็นค่าตอบแทนที่ผู้ให้คำแนะนำได้รับจากผู้รับคำแนะนำโดยตรงเท่านั้น แต่ค่าตอบแทนดังกล่าวต้องมีมูลค่า ทางเศรษฐกิจและสามารถจับต้องได้ อ.ชารวี บุตรบำรุง
4. ธุรกิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจำหน่ายหลักทรัพย์ สามารถกระทำได้ใน 2 ลักษณะ โดยกำหนดไว้เป็นเงื่อนไขของสัญญา ได้แก่ การรับประกันการจัดจำหน่ายและการจำหน่ายให้ได้มากที่สุด โดยการรับประกันการจัดจำหน่าย (firm underwriting) หมายถึง การที่บริษัทหลักทรัพย์ที่รรับจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ให้กับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์โดยตกลงว่าจะชำระเงินค่าหลักทรัพย์ตามจำนวนหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายภายในเวลาที่กำหนด หากไม่สามารถจำหน่ายได้หมดบริษัทหลักทรัพย์จะรับซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือนั้นไว้เอง ในปัจจุบัน การรับจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ในประเทศไทยเป็นลักษณะนี้ทั้งหมด สำหรับการจัดจำหน่ายให้ได้มากที่สุด (best effort basis) หมายถึง การที่บริษัทหลักทรัพย์ที่รับจัดจำหน่ายหลักทรัพย์สัญญากับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ว่าจะพยายามจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่จะไม่รับผิดชอบกับจำนวนหลักทรัพย์ที่เหลือจากการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์นั้น อ.ชารวี บุตรบำรุง
5. ธุรกิจการจัดการกองทุนรวม ธุรกิจการจัดการกองทุนรวม (mutual fund management) คือ กองทรัพย์สินของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ ซึ่งเรียกว่า “หน่วยลงทุน” ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภทเดียวกันจะได้รับผลตอบแทนที่เท่ากัน ทั้งนี้กองทุนรวมเกิดขึ้นจากการที่บริษัทจัดการเป็นผู้ยื่นคำขออนุมัติจัดตั้งและจัดการโครงการจัดการกองทุนรวมจากสำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อได้รับอนุมัติแล้วบริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุน โดยต้องมีการจัดทำหนังสือชี้ชวนแจกจ่ายให้แก่ผู้สนใจลงทุน อ.ชารวี บุตรบำรุง
เมื่อขายหน่วยลงทุนได้เรียบร้อยแล้ว บริษัทจัดการจะต้องยื่นขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อจดทะเบียนแล้วกองทุนรวมจึงมีสภาพเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ซึ่งการมีสภาพนิติบุคคลนี้ หมายความว่า หากบริษัทจัดการประสบปัญหาทางการเงิน กองทุนรวมจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ โดยเจ้าหนี้ของบริษัทจัดการจะไม่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ อ.ชารวี บุตรบำรุง
6. ธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคล กองทุนส่วนบุคคล (private fund management) หมายถึง การจัดการเงินกองทุนของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้มอบหมายให้จัดการลงทุน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์ไม่ว่าจะมีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำเป็นทางค้าปกติโดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น อ.ชารวี บุตรบำรุง
การจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคล คือ การทำสัญญาระหว่างลูกค้ากับบริษัทจัดการกองทุนรวมส่วนบุคคลจึงไม่ได้มีสภาพเป็นนิติบุคคล กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นชื่อของลูกค้า โดยมีการระบุชื่อของบริษัทจัดการควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าที่บริหารโดยบริษัทจัดการใด และเนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของลูกค้า สัญชาติของกองทุนส่วนบุคคลจึงเป็นไปตามสัญชาติของลูกค้าด้วย ซึ่งเมื่อการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลในหลักทรัพย์ได้รับผลประโยชน์ เช่น หุ้นที่ลงไว้มีการจ่ายเงินปันผล (dividend) หรือได้รับส่วนเกินจากมูลค่าเงินลงทุน (capital gain) ลูกค้าก็จะต้องเสียภาษีในผลประโยชน์ที่ตนได้รับในอัตราภาษีเช่นเดียวกับที่ลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์นั้น อ.ชารวี บุตรบำรุง
7. กิจการอื่นที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. สำหรับธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending : SBL) บริษัทหลักทรัพย์สามารถเป็นทั้งผู้ให้ยืม (lenders) และตัวแทนในการจัดหาหลักทรัพย์เพื่อให้ลูกค้ายืมเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ลูกค้าสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้หลากหลาย และเพิ่มความสามารถในการซื้อขายอีกด้วย อ.ชารวี บุตรบำรุง
ธุรกิจการจัดการเงินร่วมลงทุน (venture capital fund : VCF) มีหน้าที่จัดการหรือบริหารเงินลงทุนของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นมาเพื่อลงทุนหรือมีหุ้นของกิจการไว้ โดยกิจการที่ลงทุนต้องเป็นวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมที่มีมูลค่าทรัพย์สินถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนจะลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อนิติบุคคลร่วมลงทุนเกินหนึ่งในสามของจำนวนหุ้นที่จัดจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่ได้ ซึ่งหากมีการปฏิบิตไม่เป็นไปตามที่กำหนด บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการถือหุ้นเกินอัตราส่วนดังกล่าว อ.ชารวี บุตรบำรุง
8. ธุรกิจหลักอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทหลักทรัพย์ 8.1 ธุรกิจวาณิชธนกิจและที่ปรึกษาทางการเงิน (corporate finance) เนื่องจากในการดำเนินการเพื่อขอความเห็นชอบ และการเปิดเผยข้อมูลในการทำธุรกรรมต่างๆ เกี่ยวกับหลักทรัพย์ เช่น การขออนุญาตออกและเสนอขายหลักทรัพย์ การทำคำเสนอซื้อเพื่อการซื้อหรือควบรวมบริษัทมหาชน จำกัด และการขอความเห็นชอบการทำรายการระหว่างกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้กำหนดให้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินและหลักทรัพย์เป็นผู้ร่วมจัดทำหรือให้ความเห็น โดยผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. รวมทั้งยังให้บริการเป็นที่ปรึกษาในด้านอื่นๆ อีก ได้แก่ การปรับโครงสร้างเงินลงทุน การจัดหาผู้ร่วมทุน (joint venture partner) ให้คำปรึกษา และเป็นตัวกลางในการซื้อหรือควบกิจการ (merger & acquisition) การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (feasibility study) อ.ชารวี บุตรบำรุง
8.2 ธุรกิจดูแลรักษาทรัพย์สินที่ฝากไว้ (custodian service) บริษัทหลักทรัพย์ดำเนินธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับลูกค้า ลูกค้าที่จะขายหลักทรัพย์จะต้องมีหลักทรัพย์อยู่ในบัญชีก่อนจึงจะสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ได้ ดังนั้นผู้ขายหลักทรัพย์จะต้องซื้อหลักทรัพย์และฝากไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ หรือจะต้องนำหลักทรัพย์มาฝากไว้ ทั้งนี้เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของหลักทรัพย์ที่นำมาฝากขาย การปฏิบัติหน้าที่เก็บรักษาหลักทรัพย์ในกรณีนี้ บริษัทหลักทรัพย์ถือเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการต่อเนื่องจากการเป็นนายหน้าให้กับลูกค้า (ซึ่งได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายแล้ว) และมักจะไม่คิดค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ อ.ชารวี บุตรบำรุง
การดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ ธุรกิจการค้าหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หมายถึง การซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ในนามของตนเองเป็นทางค้าปกตินอกตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ส่วนบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ พ.ศ.2547 มีจำนวน 20 บริษัท คือ 1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 5. ธนาคารเครดิต อะกริกอล อินโตสุเอซ สาขากรุงเทพฯ 6. ธนาคารเชส แมนแฮดตัน สาขากรุงเทพฯ 7. ธนาคารซิติ้แบงค์ เอ็น.เอ. 8. ธนาคารดอยซ์แบงก์ 9. ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) 10. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 11. ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) 12. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 13. ธนาคารแห่งอเมริกาเนชั่นแนลทรัสต์และเซฟวิส์แอสโซวิเอชั่น 14. ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) 15. ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ (สาขากรุงเทพ) 16. ธนาคารยูโอบี รัตรสิน จำกัด (มหาชน) 17. ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด 18. ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด นครธน จำกัด (มหาชน) 19. ธนาคารเยเชีย จำกัด (มหาชน) 20 ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร เอ็น.วี อ.ชารวี บุตรบำรุง
หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 1. คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต กฎกระทรวงฉบับที่ 5 พ.ศ.2539และกฎกระทรวงฉบับที่ 17 พ.ศ.2545 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1.1 เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ยังไม่ครบทั้ง 3 ประเภท และต้องการขอใบอนุญาตเพิ่มในส่วนที่ยังขาดอยู่ 1.2 ไม่เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายอื่น 1.3 ไม่มีการถือหุ้นไขว้กันกับบริษัทหลักทรัพย์อื่นเกินร้อยละ 99 1.4 มีความมั่นคงทางฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน โดยกรณีผลการดำเนินงานจะพิจารณาย้อนหลัง 3 ปีสำหรับงวดที่ติดต่อกัน อ.ชารวี บุตรบำรุง
หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ต่อ) 2. การยื่นคำขอรับใบอนุญาต ผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่น แบบ 90-6 ต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนตามที่กำหนด สำนักงานจะนำเสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาโดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะต้องมีคำเสนอแนะต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ และสำนักงานได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วนรัฐมนตรีจะพิจารณาและในกรณีที่เห็นควรอนุญาตจะต้องออกใบอนุญาตให้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง อ.ชารวี บุตรบำรุง
หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ต่อ) 3. เกณฑ์ในการกำกับดูแลที่สำคัญ 3.1.1 เกณฑ์การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่อง (net liquid capital rule) มีดังนี้ 1) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าในทุกขณะบริษัทหลักทรัพย์จะต้องมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องในจำนวนที่เพียงพอที่จะชำระคืนให้แก่ลูกค้าและเจ้าหนี้อื่น 2) ทุกสิ้นวันบริษัทหลักทรัพย์จะต้องคำนวณสัดส่วนเงินกองทุน สภาพคล่อง (NCR) ตามวิธีการ และจะต้องดำรง NCR ขั้นต่ำ ณ สิ้นวัน 7% ดังนี้ NCR = (สินทรัพย์สภาพคล่อง – ค่าความเสี่ยง) – หนี้สินรวม หนี้สินทั่วไป อ.ชารวี บุตรบำรุง
หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ต่อ) 3.1.2 เกณฑ์การดูแลทรัพย์สินของลูกค้า (customer protection rute / segregation rule)มีรายละเอียดดังนี้ 1) บริษัทหลักทรัพย์จ้องจัดเก็บทรัพย์สินของลูกค้าไว้ โดยแยกต่างหากจากทรัพย์สินของบริษัท 2) ต้องบันทึกรายการในบัญชีลูกค้าให้ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันรวมทั้งต้องจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินของลูกค้า ณ วันสิ้นเดือนหรือ แบบ บ.ล.8 ให้แก่ลูกค้าภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป 3) ห้ามนำทรัพย์สินของลูกค้าไปใช้ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้า อ.ชารวี บุตรบำรุง
หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ต่อ) 3.1.3 เกณฑ์การให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (lending to customers / credit balance) 1) บริษัทหลักทรัพย์จะต้องเรียกให้ลูกค้าวางเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อ 2) จะต้องคำนวณอำนาจซื้อขายหลักทรัพย์ที่ลูกค้านำมาวางเป็นประกันและจะต้องดูแลไม่ให้ลูกค้าซื้อหลักทรัพย์เกินกว่าอำนาจซื้อ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง 3) หลักทรัพย์ที่จะให้กู้ยืมเงินเพื่อไปซื้อได้ ได้แก่ หลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหุ้นเพิ่มทุนที่เสนอขายต่อประชาชนครั้งแรก อ.ชารวี บุตรบำรุง
หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ต่อ) 3.1.4 เกณฑ์เกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน (books & records requirements) มีดังนี้ 1) จะต้องมีการจัดเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายของลูกค้า 2) กรณีนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ จะต้องมีบันทึกและจัดเก็บหลักฐานเกี่ยวกับการให้คำแนะนำและการรับคำสั่งซื้อขาย 3.1.5 เกณฑ์เกี่ยวกับการรายงาน (reporting requirements) บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทำและยื่นรายงาน 3.1.6 เกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินและควบคุมความเสี่ยง (risk assessment requirements) มีดังนี้ 1) บริษัทหลักทรัพย์จะต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยง เพื่อป้องกับไม่ให้ความเสียหายมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ 2) การบริหารความเสี่ยงจะต้องครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภท ที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ อ.ชารวี บุตรบำรุง
หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ต่อ) 3.2 การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจ (conduct regulations) มีดังนี้ 3.2.1 การกระทำในลักษณะที่เป็นการเอาเปรียบหรือแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบจากลูกค้า (anti-fraud provision) มีดังนี้ 1) ไม่ให้คำแนะนำหรือข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือมีเจตนาหลอกลวงลูกค้า 2) กรณีนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ต้องไม่ให้คำแนะนำหรือยุยงให้ลูกค้าทำการซื้อขายบ่อยครั้ง (churning) 3) ต้องไม่ซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน หรือเปิดเผยข้อมูลภายในให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ 4) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าที่เป็นเจ้าของบัญชีหรือบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจ 5) ต้องเก็บรักษาความลับของลูกค้า อ.ชารวี บุตรบำรุง
หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ต่อ) 3.2.2 เกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (trading practices) มีดังนี้ 1) ต้องปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรมตามลำดับก่อนหลัง 2) ไม่ชักชวนหรือแนะนำให้ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์มีส่วนได้เสียในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 3) ต้องส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าก่อน (duty of best execution) อ.ชารวี บุตรบำรุง
หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ต่อ) 3.2.3 เกณฑ์อื่นๆ มีดังนี้ 1) ต้องจัดให้มีการขั้นตอนที่เพียงพอในการทำความรู้จักหรือตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า 2) ต้องจัดให้มีระบบการรับข้อร้องเรียนของลูกค้าและรายงานผลการพิจารณาต่อสำนักงานเป็นรายไตรมาส 3) ต้องจัดให้มีระบบการกำกับดูแลการปฏิบัติงานและการควบคุมภายในที่มีมาตรฐาน อ.ชารวี บุตรบำรุง
แหล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของเงินทุนของบริษัทหลักทรัพย์แหล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของเงินทุนของบริษัทหลักทรัพย์ 1. แหล่งที่มาของเงินทุนของบริษัทหลักทรัพย์ 1.1 เงินกองทุนตามกฏหมายเป็นแหล่งเงินทุนแหล่งแรก หมายถึง ส่วนของผู้ถือหุ้น ได้แก่ 1.1.1 ทุนจดทะเบียนและทุนซึงชำระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ 1.1.2 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 1.1.3 เงินสำรองของบริษัทหลักทรัพย์นั้นให้บริษัทจัดสรรกำไรของแต่ละโครงการเข้าบัญชีสำรองกำไรของโครงการนั้นๆ ก่อนจ่ายเงินปันผลตามอัตราส่วนต่อไปนี้ คือ 1) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรส่วนทุนสุทธิ (กำไรส่วนทุนหักด้วยขาดทุนส่วนที่เกิดจากการขายหลักทรัพย์ภายในงวดเงินบัญชีก่อนจ่ายเงินปันผล) 2) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำไรส่วนสุทธิ 1.1.4 กำไรสุทธิคงเหลือจากการจัดสรร อ.ชารวี บุตรบำรุง
แหล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของเงินทุนของบริษัทหลักทรัพย์ (ต่อ) 1.2 เงินกู้ยืม ประกอบด้วย เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินอื่น เงินกู้ยืมจากต่างประเทศ เงินกู้ยืมจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล 1.2.1 เจ้าหนี้บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งรวมถึงเงินกู้ยืมเพื่อหลักทรัพย์ 1.2.2 บัญชีลูกค้า 1.2.3 หนี้สินอื่น 2. แหล่งใช้ไปของเงินทุนของบริษัทหลักทรัพย์ 2.1 เงินสดและเงินฝากธนาคาร 2.2 เงินลงทุนในหลักทรัพย์ 2.3 เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ 2.4 ลูกหนี้บริษัทหลักทรัพย์ อ.ชารวี บุตรบำรุง
ปัญหาของบริษัทหลักทรัพย์ปัญหาของบริษัทหลักทรัพย์ ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานขาดประสิทธิภาพ ปัญหาเกี่ยวกับประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ปัญหามาตรการจูงใจทางภาษีอากร ปัญหาประชาชน ขาดความเชื่อมั่นและปัญหาเกี่ยวกับข้อกฏหมายที่เปิดโอกาสให้บริษัทเดียวทำธุรกิจได้หลายประเภท แนวทางในการแก้ไขปัญหาของบริษัทหลักทรัพย์ ควรดำเนินการส่งเสริมความรู้ทางด้านเทคโนโลยีให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์ เนื่องจากธุรกิจหลักทรัพย์จำเป็นต้องมีการพัฒาข้อมูลการวิเคราะห์ให้มากขึ้นเพื่อรองรับระบบเทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถใช้ข้อมูลต่างๆ เพื่อพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน อ.ชารวี บุตรบำรุง