1 / 18

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต. จัดทำโดย นาง สางส รากร แก่นดี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/15 เลขที่ 11. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต.

artie
Download Presentation

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต จัดทำโดย นางสางสรากร แก่นดี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/15 เลขที่ 11

  2. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตมีการเคลื่อนไหว และ เคลื่อนที่แตกต่างกัน โดยอาศัยโครงสร้างที่ช่วยในการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกัน เช่น สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอาศัยโครงร่างค้ำจุนของเซลล์ (Cytoskeleton) ช่วยในการเคลื่อนที่ ส่วนคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังเคลื่อนที่โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของโครงกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อ

  3. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว อาศัยโครงร่างค้ำจุนภายในเซลล์เพื่อให้เซลล์คงรูปร่าง เรียก โครงสร้างเหล่านี้ว่า  ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)::  คือโครงสร้างภายในเซลล์ ประกอบด้วยเส้นใยที่ประสานกันเป็นร่างแห แทรกตัวอยู่ภายใน cytoplasm ทำหน้าที่เป็นโครงร่างภายในเพื่อรักษารูปทรงหรือเปลี่ยนรูปทรง และทำให้เกิดการเคลื่อนไหวภายใน cytoplasm และการเคลื่อนที่ของเซลล์บางชนิด ภาพโครงสร้างของไซโทสเกเลตอนภายในเซลล์

  4. ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)  ประกอบด้วย         1. ไมโครทูบูล (Microtubule) เป็นท่อตรงและกลวงประกอบด้วย tubulin protein ชนิด alpha-tubulinและ Bata-tubulinขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 nm      2.  ไมโครฟิลาเมนท์ (Microfilament)  เป็นเส้นใยทึบ 2 สายพันกันเป็นเกลียว ประกอบด้วย Actin Protein      3.  ประกอบด้วยมัดของหน่วยย่อยโปรตีนที่พันกันเป็นเกลียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-12nm  ประกอบด้วยโปรตีนหลายชนิด แล้วแต่ชนิดของเซลล์  เช่น keratin ภาพเปรียบเทียบ ไซโทสเกเลตอนทั้ง 4 ชนิด

  5. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่โดยอาศัยเท้าเทียม (pseudopodium) ได้แก่ อะมีบา:: เคลื่อนที่โดยอาศัยการไหลของไซโทรพลาสซึม หรือเท้าเทียม (Pseudopodium(ชูโดโพเดียม)โดยการที่ไซโทรพลาสซึมจะไหลได้นั้นเกิดขึ้นจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ1. เอ็กโทพลาสซึม (Ectoplasm) เป็นไซโทรพลาสซึมที่อยู่ข้างนอก มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว                 เรียกว่า เจล (gel) 2. เอ็นโดพลาสซึม (Endoplasm) เป็นไซโทรพลาสซึมทีอยู่ด้านในมีลักษณะค่อนข้างเหลว               เรียกว่า  โซล (sol) 3. ไมโครฟิลาเมนท์ การเกิดเท้าเทียม เกิดจาก  การแยกตัวและรวมตัวของโปรตีนแอกติน ในไมโครฟิลาเมนท์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของไซโทรพลาซึม ดังนี้ 1. ทำให้เอนโดพลาสซึมไหลไปในทิศทางที่อะมีบาจะเคลื่อนที่แล้วปรับสภาพเป็นเอ็กโทพลาสซึม 2. ส่วนเอ็กโทรพลาสซึมที่อยู่ด้านท้ายจะกลายเป็น เอนโดพลาซึม เป็นของเหลวไหลมาแทนที่เอนโดพลาสซึมที่เคลื่อนไปแล้ว ภาพ การไหลของไซโทรพลาซึมของอะมีบา

  6. การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ชั้นต่ำ ที่ไม่มีกระดูกเป็นแกนภายในร่างกาย บางชนิดอาจมีโครงร่าง  แข็งที่ไม่ใช่กระดูกอยู่ภายในลำตัวเพื่อช่วยค้ำจุนร่างกาย และ บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก เพื่อป้องกัน อันตราย และใช้ยึดของกล้ามเนื้อ  นักวิทยาศาสตร์พบว่า พวกแมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มใหญ่ที่สุด ซึ่งอาศัยอยู่บนบกมากกว่า อาศัยอยู่ในน้ำ 1. การเคลื่อนที่ของไส้เดือน 2. การเคลื่อนที่ของพลานาเรีย 3. การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุน 4. การเคลื่อนที่ของหมึก 5. การเคลื่อนที่ของดาวทะเล 6. การเคลื่อนที่ของแมลง

  7. การเคลื่อนที่ของไส้เดือนการเคลื่อนที่ของไส้เดือน ไส้เดือน(earth worm)ไส้เดือนจัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิดา (annelida)ไส้เดือนมีกล้ามเนื้อ 2 ชุด คือ กล้ามเนื้อวงกลมรอบตัว (circular muscle) อยู่ทางด้านนอก และกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) ตลอดลำตัวอยู่ทางด้านในนอกจากนี้ไส้เดือนยังใช้เดือย (setae)ซึ่งเป็นโครงสร้างเล็ก ๆ ที่ยื่นออกจากผนังลำตัวรอบปล้องช่วยในการเคลื่อนที่ด้วย ขณะที่ไส้เดือนเคลื่อนที่จะใช้เดือยจิกดินไว้ กล้ามเนื้อวงกลมหดตัว ส่วนกล้ามเนื้อตามยาวคลายตัว ทำให้ลำตัวยืดยาวออก เมื่อสุดแล้วส่วนหน้า คือ ปล้องแรกของไส้เดือนกับเดือยจะจิกดินแล้วกล้ามเนื้อวงกลมคลายตัว กล้ามเนื้อตามยาวหดตัวดึงส่วนท้ายของลำตัวให้เคลื่อนมาข้างหน้า การเคลื่อนที่ของไส้เดือน เกิดจากการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อวงกลมและกล้ามเนื้อตามยาว หดตัวและคลายตัวเป็นระลอกคลื่นจากทางด้านหน้ามาทางด้านหลังทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปทางด้านหน้า

  8. การเคลื่อนที่ของพลานาเรียการเคลื่อนที่ของพลานาเรีย พลานาเรีย(planaria)พลานาเรียเป็นสัตว์จำพวกหนอนตัวแบน อาศัยอยู่ในน้ำ พลานาเรียมีกล้ามเนื้อ 3 ชนิด คือ • กล้ามเนื้อวง (circular muscle) อยู่ทางด้านนอก • กล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) อยู่ทางด้านใน • กล้ามเนื้อทแยง (oblique muscle) ยึดอยู่ระหว่างส่วนบนและส่วนล่างของลำตัว พลานาเรีย เคลื่อนที่โดยการลอยไปตามน้ำ หรือ คืบคลานไปตามพืชใต้น้ำโดยอาศัยกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาว ส่วนกล้ามเนื้อทแยงจะช่วยให้ลำตัวแบนบางและพลิ้วไปตามน้ำในขณะที่พลานาเรียเคลื่อนไปตามผิวน้ำซีเลียที่อยู่ทางด้านล่างของลำตัวจะโบกพัดไปมาช่วยเคลื่อนตัวไปได้ดียิ่งขึ้น

  9. การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุนการเคลื่อนที่ของแมงกะพรุน แมงกะพรุน (jelly fish) แมงกะพรุนมีรูปร่างคล้ายกระดิ่ง มีลำตัวนิ่มมาก มีของเหลวเรียกว่า มีโซเกลีย (mesoglea) แทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นใน มีน้ำเป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่ของลำตัวแมงกะพรุนเคลื่อนที่โดยการหดตัวของเนื้อเยื่อบริเวณขอบกระดิ่งและที่ผนังลำตัวสลับกัน ทำให้พ่นน้ำออกมาทางด้านล่างส่วนตัวจะพุ่งไปในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางน้ำที่พ่นออกมา การหดตัวนี้จะเป็นจังหวะทำให้ตัวแมงกะพรุนเคลื่อนไปเป็นจังหวะด้วย

  10. การเคลื่อนที่ของหมึก หมึก (squid)หมึกเป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับหอย หมึกเคลื่อนที่โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อลำตัว พ่นน้ำออกมาจากไซฟอน (siphon)  ซึ่งอยู่ทางส่วนล่างของส่วนหัวทำให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าในทิศทางที่ตรงข้ามกับทิศทางของน้ำ นอกจากนี้เปลี่ยนแปลงทิศทางของน้ำที่พ่นออกมาและยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทาง ของการเคลื่อนที่ด้วย ส่วนความเร็วขึ้นอยู่กับความแรงของการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำตัวแล้วพ่นน้ำ ออกมาและหมึกยังมีครีบอยู่ทางด้านข้างลำตัวช่วยในการทรงตัวให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เหมาะสม

  11. การเคลื่อนที่ของดาวทะเลการเคลื่อนที่ของดาวทะเล ดาวทะเล (sea star)  เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีโครงแข็งที่ผิวนอกไม่ได้ยึดเกาะกับกล้ามเนื้อ ดาวทะเลมีระบบการเคลื่อนที่ด้วยระบบท่อน้ำ (water vascularsystem) ประกอบด้วย มาดรีโพไรต์ (madrepolite) มีลักษณะคล้ายตะแกรงเป็นทางให้น้ำเข้า สโตนแคเนล (stonecanal) เป็นท่อที่ต่อมาจากมาดรีโพไรต์ริงแคแนล (ring canal) เป็นท่อวงแหวนที่อยู่รอบปากน้ำจาก มาดรีโพไรต์และสโตนแคแนล มาเปิดเข้าส่วนนี้ เรเดียลแคแนล (radial canal)เป็นท่อยาวยื่นจาก ริงแคแนลเข้าไปในอาร์มแต่ละอัน แลเทอรอลแคแนล (lateral canal) เป็นท่อสั้นๆ ที่ยื่นออกมาจากเรเดียลแคแนลทางด้านข้างจำนวนมาก ทิวบ์ฟีท (tube feet) มีลักษณะเป็นหลอดยาวปลายตันที่ต่อมาจากแลเทอรอบแคแนลทิวบ์ฟีท เป็นท่อปิดรูปทรงกระบอก ปลายที่ยื่นออกนอกลำตัวมีผนังเป็นกล้ามเนื้อทำหน้าที่เป็นอวัยวะเกาะติดหรือชัคเกอร์ (sucker) ปลายอีกด้านหนึ่งเป็นกระเปาะกล้ามเนื้อเรียกว่า แอมพูลลา (ampulla) ดาวทะเลเคลื่อนที่โดยแอมพลูลาหดตัว จะดันน้ำไปตามทิวบ์ฟีททำให้ทิวบ์ฟีทยืดยาวออก เมื่อเคลื่อนที่ไปแล้วทิวบ์ฟีทหดสั้นเข้า ดันน้ำกลับเข้าสู่แอมพูลลาใหม่ การหดตัวและคลายตัวของทิวบ์ฟีทอาศัยแรงดันของน้ำ ไม่อาศัยแอนตาโกนิซึมของกล้ามเนื้อ การยืดและหดตัวของ ทิวบ์ฟีท หลายๆ อันต่อเนื่องกันทำให้ดาวทะเลเคลื่อนที่ได้

  12. การเคลื่อนที่ของแมลง แมลง (insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแต่แมลงมีโครงร่างภายนอก(exoskeleton) ซึ่งเป็นสารพวกไคทินมีลักษณะเป็นโพรงเกาะกันด้วยข้อต่อซึ่งเป็นเยื่อที่งอได้ ข้อต่อข้อแรกของขากับลำตัว เป็นข้อต่อแบบบอลแอนด์ซอกเก็ต (ball and socket) ส่วนข้อต่อแบบอื่นๆ เป็นแบบ บานพับ การเคลื่อนไหวเกิดจากทำงานสลับกันของกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) และเอ็กเทนเซอร์ (extensor) ซึ่งเกาะอยู่โพรงไคทินนี้ โดยกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) ทำหน้าที่ในการงอขา และกล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ (extensor) ทำหน้าที่ในการเหยียดขา ซึ่งการทำงานเป็นแบบแอนทาโกนิซึม (antagonism) เหมือนกับคน

  13. การเคลื่อนที่ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบโครงกระดูก ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงร่างแข็งช่วยค้ำ จุนร่างกายให้คงรูปและยังช่วยในการเคลื่อนที่อีกด้วย สัตว์มีกระดูกสันหลังมีทั้งที่อาศัยอยู่ในน้ำ และบนบกซึ่งมีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน 1. การเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬ 2. การเคลื่อนที่ของกบและเป็ดในน้ำ 3. การเคลื่อนที่ของนก 4. การเคลื่อนที่ของเสือชีต้า

  14. การเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬการเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬ โลมาและวาฬมีขนาดใหญ่กว่าปลาทั่ว ๆ ไปมากและมีรูปร่างเพรียวเหมือนปลา   มีส่วนกระดูกคอสั้น   ทำให้กลมกลืนระหว่างลำตัวกับหัว   ขาคู่หน้าเปลี่ยนไปเป็นครีบ ช่วยในการว่ายน้ำ  และขาคู่หลังก็หดหายไป   แต่มีหางที่แบนขนาดใหญ่ขนานกับพื้น  การเคลื่อนที่ใช้การตวัดหาง  และใช้ครีบหน้าช่วยในการพยุงตัว  ทำให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี             สัตว์กลุ่มนี้จะมีขาคู่หน้าที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะเป็นพาย เรียกว่า  ฟลิปเปอร์   ( flipper )  ช่วยในการโบกพัดร่วมกับส่วนประกอบอื่นของร่างกาย ทำให้มันเคลื่อนที่ไปในน้ำเป็นอย่างดี

  15. การเคลื่อนที่ของกบและเป็ดในน้ำการเคลื่อนที่ของกบและเป็ดในน้ำ กบและเป็ดขณะที่เคลื่อนไหวในน้ำ จะใช้โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ยึดติดอยู่ระหว่างนิ้วเท้าช่วยโบกพัดน้ำทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าได้เรียกว่า web ถ้าเป็นการกระโดด ของกบจะใช้ขาหลังทั้งสองในการดีดตัวไปข้างหน้า

  16. การเคลื่อนที่ของนก นกมีกระดูกที่กลวง ทำให้ตัวเบา และอัดตัวกันแน่น ทำให้นกมีขนาดเล็ก และรูปร่างเพรียวลมจึงเคลื่อนตัวไปในอากาศได้ดี นกมีกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขยับปีกที่แข็งแรงโดยกล้ามเนื้อนี้จะยึดอยู่ระหว่างโคนปีกกับกระดูกอก (keel or sternum) กล้ามเนื้อคู่หนึ่ง ทำหน้าที่ เป็น กล้ามเนื้อยกปีก (levater muscle)  คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์ (pectorlis minor) และกล้ามเนื้ออีกคู่มีขนาดใหญ่มากทำหน้าที่ในการหุบปีกลง (depresser muscle) คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์ (pectorralis major)   การทำงานของกล้ามเนื้อคู่นี้มีลักษณะเป็นแอนทาโกนิซึมด้วย คือ ขณะที่นกกดปีกลง กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์จะหดตัว  ส่วนเพกทอราลิสไมเนอร์จะคลายตัวขณะที่นกยกปีกขึ้นกล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์จะหดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์จะคลายตัวสลับกันไป

  17. การเคลื่อนที่ของเสือชีต้าการเคลื่อนที่ของเสือชีต้า เสือชีต้ามีกล้ามเนื้อขาทั้งสี่ที่แข็งแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาหลังจะแข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะต้องใช้ในการกระโดด นอกจากนี้กระดูกสันหลังของเสือชีต้าก็ช่วยได้ มาก เนื่องจากมีขนาดยาวและเคลื่อนที่ขึ้นลงได้ดี ทำให้ช่วงการก้าวของขาหน้าและขาหลังห่าง กันมาก มันจึงวิ่งได้เร็ว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยให้ความถี่และความแรงของการก้าวสูง  เสือชีต้าจึงวิ่งได้เร็วมาก  

  18. จบการนำเสนอ

More Related