1 / 24

โดย ชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา

ดัชนีวัดความสุขและสุขภาพ. การเสวนา เ รื่ อ ง. ในการประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 13. โดย ชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วันที่ 3 พฤษภาคม 2550 เวลา 10.45-12.00 น.

aron
Download Presentation

โดย ชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ดัชนีวัดความสุขและสุขภาพดัชนีวัดความสุขและสุขภาพ การเสวนา เ รื่ อ ง ในการประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 13 โดย ชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วันที่ 3 พฤษภาคม 2550 เวลา 10.45-12.00 น. ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค เขตป้องปราบฯ กรุงเทพฯ

  2. ขอบเขตประเด็น การนำเสนอ ดัชนีวัดความสุขและสุขภาพ ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ความเป็นมา และความสำคัญ 1 ความหมาย ขอบเขตการวัด การพัฒนาเครื่องมือวัด 2 3 การนำไปใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมกับบริบทของคนและสังคมไทย 4

  3. ความเป็นมาและความสำคัญความเป็นมาและความสำคัญ กระบวนทรรศ์ใหม่ แผนฯ 8 - แผนฯ 9 การพัฒนาในอดีต (2545-49) (2540-44) แผนฯ 10 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ เชื่อว่าผลประโยชน์จะกระจายสู่ประชาชน ช่วยแก้ปัญหายากจน ปรับวิธีคิด ปรับกระบวน การพัฒนา ยึดคนเป็นศูนย์กลาง พัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในแผนฯ 9 ดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ใช้ GDP และการเติบโตของรายได้ต่อหัวเป็นเครื่องมือวัดผลสำเร็จ การพัฒนา พัฒนาดัชนีชี้วัดผลกระทบด้านการพัฒนา เช่น ดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน

  4. เน้นการปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการ องค์รวม มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนฯ 8 และแผนฯ 9 แผนฯ 10 มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” จำเป็นต้องพัฒนาดัชนีฯ ความอยู่เย็นเป็นสุขที่ทุกภาคส่วนเห็นพ้องกัน คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพ ทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืนอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี สศช.เริ่มกระบวนการพัฒนาดัชนีฯ ประสานความร่วมมือสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน ภาคีต่างๆ ร่วมจัดสัมมนา “การพัฒนาดัชนีชี้วัดสังคมอยู่เย็นเป็นสุขฯ” (13 กย.49) จัดประชุม Focus Group “กรอบแนวคิดการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขฯ” (16 ตค.49) ร่วมการสัมมนา “ความสุขมวลรวมประชาชาติและเศรษฐกิจพอเพียง” (9 สค.49) เป็นองค์กรเจ้าภาพร่วมจัดประชุมสมัชชาสุขภาพปี 49 “ดัชนีอยู่เย็นเป็นสุขสร้างสุขได้อย่างไร” (27 ตค.49)

  5. วัตถุประสงค์การพัฒนาดัชนีชี้วัด ความอยู่เย็นเป็นสุขฯ  พัฒนากรอบแนวคิดจัดทำดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม  ใช้เป็นเครื่องมือบ่งชี้สถานะแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ติดตามประเมินผลและใช้ปรับทิศทางและนโยบายสาธารณะให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย  ใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนแนวคิดสร้างกระแสหลักให้ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ค่านิยมร่วมในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  วางแนวทางพัฒนาฐานข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดทำดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข

  6. กรอบแนวคิด และหลักการจัดทำดัชนีชี้วัดฯ • ยึดวิสัยทัศน์ประเทศไทยในแผนฯ 10 “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” • ยึดหลักปฏิบัติตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” • ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม ยึด “คนเป็นศูนย์กลาง” พัฒนาดัชนีชี้วัด “ความสุข-ความอยู่เย็นเป็นสุข” • ความสุขเป็นภาวะ ความสมดุล เกิดจาก ทุกองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันภายใต้ หลักดุลยธรรม เป็นค่านิยมร่วมของการดำรงชีวิตและพัฒนาสังคมไทย สะท้อนเป้าหมาย (Ends) เชื่อมโยงถึงวิธีการ (Means) ความสมดุลที่เป็นธรรมทุกมิติ เน้นเชิงคุณค่าของความสุข คุณค่าทางจิตใจ นำไปใช้กำหนดปรับทิศทางการพัฒนาประเทศ/นโยบาย กระตุ้นการปรับเปลี่ยน วิธีคิด ค่านิยม กำ หนดจากปัจจัยร่วมที่สังคมยอมรับ ระดับสังคมไทย • วิธีคิดและสร้างสุข ต้องมองอย่างเป็นองค์รวม • ยึดหลักภูมิสังคมสะท้อนความแตกต่างของความอยู่เย็นเป็นสุขในแต่ละพื้นที่ (เมือง-ชนบท) กระตุ้นให้ชุมชนคิด ดำเนินการเอง เน้นปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน/ระดับการจัดการ/วิธีการแก้ปัญหา ระดับชุมชน • ความสุขมีหลายระดับเริ่มตั้งแต่บุคคล ขยายสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม เน้นให้ทุกคน ทุกครอบครัวใช้ประเมินตนเองได้ (Self-Assessment) ระดับครอบครัว/บุคคล ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมพัฒนาดัชนีชี้วัดเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนสร้างเครือข่ายทุกภาคส่วน

  7. การมีจิตสำนึกประชาธิปไตยการมีจิตสำนึกประชาธิปไตย สังคมประชาธิปไตย มีธรรมาภิบาล • สุขภาพกายดี การมีสุขภาวะ • สุขภาพจิตดี • สังคมที่มีธรรมาภิบาล • คิดเป็นทำเป็น • ความสมานฉันท์ทางสังคม • ปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิต สภาพแวดล้อมดีระบบนิเวศสมดุล • ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน • คุณภาพสิ่งแวดล้อมดี • ระบบนิเวศสมดุล เศรษฐกิจเป็นธรรมและเข้มแข็ง • การมีสัมมาชีพ ชุมชนเข้มแข็ง • บทบาทครอบครัวที่เหมาะสม • เศรษฐกิจเข้มแข็ง ครอบครัวอบอุ่น • มีความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ • สัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว ความหมาย และองค์ประกอบ“ความอยู่เย็นเป็นสุข” “ความอยู่เย็นเป็นสุข” หมายถึง สภาวะที่คนอยู่ดีมีสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพทั้งจิต กาย ปัญญา ที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นองค์รวม และสัมพันธ์กันได้ถูกต้องดีงาม นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างคนกับคน และการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6 องค์ ประกอบ ปัจจัย พื้นฐานร่วม ในการ สร้างสุข • ชุมชนพึ่งตนเอง • ชุมชนเกื้อกูลกัน • การมีส่วนร่วม

  8. ความหมายในแต่ละองค์ประกอบ และองค์ประกอบย่อย 1 การมีสุขภาวะ มีร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วย มีอายุยืนยาว มีสุขภาพจิตใจที่ดี ดำเนินชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะ สมาธิและความเพียร คิดเป็น ทำเป็น มีความเป็นเหตุเป็นผล มีทักษะในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข สร้างสรรค์ประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัวและสังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ มีร่ายกายแข็งแรง ภาวะโภชนาการดี มีพฤติกรรมดำรงชีวิตที่เหมาะสม ส่งผลให้ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บมีอายุยืนยาว • ร่างกายแข็งแรง สุขภาพกายดี • อายุยืนยาว รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง สามารถปรับตัวให้มีความสุขในสังคม มีความเข้าใจผู้อื่น มีจิตดีงาม มีคุณธรรมจริยธรรม เข้าใจในสรรพสิ่งที่เป็นจริง ส่งผลให้ปัจเจกบุคคลมีความสุข มีจิตสำนึกความเป็นไทย มีความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ชุมชน สังคม • ไม่เจ็บป่วยทางจิต สุขภาพจิตดี • มีคุณธรรม • ความสามารถใน การเรียนรู้ การศึกษาทำให้เกิดการเรียนรู้ มีความใฝ่รู้ รับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความรู้เท่าทัน ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถใช้ประสบการณ์ ศักยภาพ ทักษะความสามารถของตนให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ • คุณภาพการเรียนรู้ คิดเป็นทำเป็น • การรับรู้ข่าวสาร (ใฝ่เรียนรู้)

  9. 2 ครอบครัวอบอุ่น สภาพครอบครัวที่สมาชิกมีความมุ่งมั่นในการดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างมีจุดหมาย มีความรักความผูกพันต่อกันสามารถปฏิบัติบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม มีการอบรมเลี้ยงดูสมาชิกวัยเยาว์ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพในวิถีชีวิตของความเป็นไทย เลี้ยงดูผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันเพื่อให้สามารถดำรงความเป็นครอบครัวได้อย่างมีคุณภาพที่ยั่งยืน สมาชิกในครอบครัวสามารถทำบทบาทหน้าที่ได้เหมาะสม ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมรอบตัวด้วยความเป็นไทย รับผิดชอบเอาใจใส่ดูแลกันและกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุข สมาชิกในครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เกื้อกูลสังคมอย่างมีคุณธรรม บทบาทครอบครัวที่เหมาะสม • ความรัก ความเอื้ออาทรในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวมีเจตจำนงอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ผูกพันต่อกันทำให้ดำรงความเป็นครอบครัว และสืบทอดความเป็นครอบครัว ส่งผลให้สมาชิกมีสภาพจิตใจที่ดี มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความเข้มแข็งในการเผชิญต่อปัญหา สัมพันธภาพ ที่ดีในครอบครัว • การดำรงความเป็นครอบครัว

  10. 3 ชุมชนเข็มแข็ง ชุมชนเข้มแข็งที่สามารถบริหารจัดการชุมชน และแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ประชาชน/องค์กรในชุมชนร่วมมือ ช่วยเหลือกัน เกื้อกูลและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข รวมทั้งมีภาคีการพัฒนาที่มีบทบาทเกื้อหนุนกันภายในชุมชน มีการสื่อสาร และกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง สามารถธำรงไว้ซึ่งคุณค่าประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น และเอกลักษณ์ความเป็นไทย ชุมชนและสมาชิกในชุมชนมีความเข้มแข็ง รวมตัวเป็นปึกแผ่นมีการพัฒนาจิตสำนึก มีกระบวนการเรียนรู้ สร้างภูมิปัญญา ตอบสนองความต้องการของชุมชน เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิใช้ทรัพยากรของชุมชนอย่างเป็นธรรม เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ พร้อมร่วมจัดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภายนอก • เศรษฐกิจชุมชน ชุมชนพึ่งตนเอง • ความสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง สมาชิกมีความผูกพัน รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีระบบความเชื่อ มีจิตสำนึกสาธารณะในการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างคนในชุมชน ทำให้เกิดความรัก หวงแหนชุมชน ชุมชน เกื้อกูลกัน • การมีสวัสดิการในชุมชน มีกระบวนการที่เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง จนเป็นวิถีของชุมชนภายใต้การร่วมเรียนรู้ คิด และร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมในชุมชน ฟื้นฟูคุณค่าทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ความเป็นไทย การมีส่วนร่วมของชุมชน • การรวมกลุ่ม

  11. 4 เศรษฐกิจเป็นธรรมและเข้มแข็ง การมีรายได้ที่เพียงพอเกิดจากการมีสัมมาชีพหรือการมีงานที่ดี มีความมั่นคงและปลอดภัยในการทำงาน มีรายได้ที่เป็นธรรม ต่อเนื่อง และต้องอยู่ภายใต้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ เสถียรภาพ และมีการกระจายรายได้ในกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรม • มีงานทำ การทำงานที่สุจริตไม่เบียดเบียนตนเองผู้อื่น ทำงานเต็มความสามารถ มีหลักประกันความมั่นคงและความปลอดภัยในการทำงาน มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข สามารถจัดหาปัจจัย 4 ต่อการยังชีพ และปัจจัยที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ • มีรายได้เพียงพอ การมีสัมมาชีพ • มีหลักประกันและความปลอดภัยในการทำงาน ระบบเศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ สามารถพึ่งตนเองได้ มีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ มีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต สามารถปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์โลก • เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจเข้มแข็ง ระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสการเข้าถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิต โครงสร้างพื้นฐานของรัฐอย่างทั่วถึง มุ่งไปสู่การลดความยากจน ลดช่องว่างของการกระจายรายได้ และกระจายความมั่งคั่งอย่างทั่วถึง มีความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ • มีการกระจายรายได้

  12. 5 สภาพแวดล้อมดี มีระบบนิเวศสมดุล สภาพแวดล้อมมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและการมีปฏิสัมพันธ์ที่กับเพื่อนบ้าน และการมีบริการสาธารณูปโภคที่พอเพียง ตลอดจนมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพเพื่อสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย • ที่อยู่อาศัย การมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่พอเพียง ทั้งชลประทาน คมนาคมขนส่ง ไฟฟ้า ประปา และการสื่อสาร ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิต • สาธารณูปโภค สาธารณูปการ สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจากอาชญากรรม และยาเสพติด สังคมได้รับการป้องกันแก้ไขอย่างดี กระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพ กฎหมายที่เกี่ยวข้องสามารถเอื้อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน • คดีความรุนแรง การที่มลภาวะต่างๆ ถูกควบคุมแก้ไขให้ฟื้นคืนสู่สุภาพที่ดี กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพทันสมัย สมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ให้มีความสมบูรณ์หลากหลาย คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี • มลภาวะด้านน้ำ อากาศ ดิน ขยะ ระบบนิเวศสมดุล • ความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรฯ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ

  13. 6 สังคมประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาล คนมีศักดิ์ศรี มีสิทธิเสรีภาพมีความสัมพันธ์ต่อกันบนพื้นฐานของความยุติธรรมยอมรับและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นคนที่เท่าเทียมกันตามระบบประชาธิปไตย ประพฤติ ปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่ของตนเอง เคารพในสิทธิหน้าที่ของคนอื่น มีระเบียบวินัย ระบบการบริหารจัดการที่ยึดหลักธรรมาภิบาลที่รัฐกับประชาชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันร่วมกันบริหารจัดการประเทศ ให้เกิดความโปร่งใส คุ้มค่า กระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม นำไปสู่สังคมสมานฉันท์มีสันติสุขอย่างยั่งยืนอยู่ร่วมกันนานาอารยะประเทศได้อย่างเป็นมิตร ประชาชนตื่นตัวรู้จักรักษาสิทธิ หน้าที่ และมีเสรีภาพทางการเมืองในฐานะพลเมืองของประเทศ กระตือรือร้น และแสวงหาข้อมูลข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้าง ขวางนำไปสู่การสร้างค่านิยมใหม่ๆ ไม่ยอมรับการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องดีงาม วางรากฐานให้ประชาธิปไตยยืนยาว • ระเบียบวินัย การมีจิตสำนึกประชาธิปไตย • มีส่วนร่วมในการพัฒนา การบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ เกิดกระบวนการรับผิดชอบ ตรวจสอบการดำเนินการให้โปร่งใส เกิดการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมทั่วถึง สังคมที่มี ธรรมาภิบาล • การบริหารจัดการที่ดี การอยู่ร่วมกันในสังคม ฉันท์กัลยาณมิตรยอมรับความหลากหลายด้านชนชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ยอมรับความเห็นที่แตกต่าง เข้าร่วมกิจกรรมด้านประเพณี วัฒนธรรม มีความไว้วางใจ สมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความสมานฉันท์ ทางสังคม • ปัญหาที่เกิดจากวัฒนธรรม ความเชื่อ และความเท่าเทียม

  14. การกำหนดตัวชี้วัดในระดับประเทศ และเกณฑ์การวัดผล ทบทวน พิจารณาตัวชี้วัดเกี่ยวกับ “ความสุข/การพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต” ที่สถาบัน องค์กร หน่วยงานต่างๆ พัฒนาขึ้น ยึดเกณฑ์ที่สามารถสะท้อนประเด็นการวัดผลได้อย่างเหมาะสม รวบรวม และคัดเลือกได้ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการพัฒนาในแต่ละองค์ประกอบ “ความอยู่เย็นเป็นสุข” คัดกรองตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อนและสะท้อนเป้าหมายได้ไม่ดีออกไป คงเหลือตัวชี้วัดหลักที่สะท้อนประเด็นการวัดได้ตรงตามเป้าหมายเข้าใจง่าย (รวม 36 ตัวชี้วัด) ตัวชี้วัดอื่นๆ เป็นตัวอธิบายเสริมประกอบการเปลี่ยนแปลง ตัวชี้วัดอื่นๆ เป็นตัวอธิบายเสริมประกอบการเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดหลัก กำหนดเกณฑ์การวัด กำหนดค่าน้ำหนัก • ใช้เป้าหมายแผน ให้ความสำคัญเท่าเทียมกันในทุกองค์ประกอบ • ใช้เกณฑ์มาตรฐานนานาชาติ • ใช้ผลจากการศึกษาวิจัยเชิงลึก • ใช้การหาค่าเฉลี่ย อัตราสูง/ต่ำสุด

  15. ตัวอย่าง : สถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขฯ “ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุข” • ระดับความอยู่เย็นเป็นสุขในช่วงปี 44-48 ยังต้องปรับปรุง แม้จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.92ในปี 44 เป็นร้อยละ 63.41 ในปี 48 • ปัญหาด้านครอบครัว และสังคมธรรมาภิบาลอยู่ในระดับต่ำ บั่นทอนความอยู่เย็นเป็นสุขของสังคม • องค์ประกอบหลักส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงดีขึ้น ยกเว้นองค์ประกอบความ อบอุ่นในครอบครัว และการสร้างสุขภาวะที่ลดลง

  16. ตัวอย่าง : การวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบและข้อเสนอแนะเบื้องต้น สุขภาวะของคนไทยโดยรวมดีขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงโดยเฉพาะการคิดเป็นทำเป็น สุขภาวะ ผลการวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะเบื้องต้น เร่งพัฒนาคนให้มีคุณธรรม นำความรอบรู้ มีสุขภาพแข็งแรง • ดัชนีสุขภาวะอยู่ในระดับปานกลางลดลงจากร้อยละ 62.63 ในปี 44 เป็น 61.25 ในปี 45 และปรับตัวเพิ่มเป็นร้อยละ63.8 ในปี 48 • พัฒนาจิตใจของคนไทยให้สำนึกในศีลธรรม คุณธรรม มีจริยธรรมความเพียร ซื่อสัตย์สุจริตไม่โลภ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักประมาณตน มีเหตุผล รอบคอบ • คนไทยได้รับบริการสุขภาพทั่วถึง อายุยืนยาวขึ้นจาก 72.5 ปี ในปี 44 เป็น 73.2 ปี ในปี 48 • ปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อเพิ่มคุณภาพคนไทยให้มีทักษะความสามารถ • การมีคุณธรรมอยู่ในระดับปานกลาง มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 86.4 ในปี 44 เป็น 76.6 ในปี 48 เป็นผลจากวิกฤต ค่านิยม และพฤติกรรมที่เปลี่ยนสู่วัตถุนิยม/บริโภคนิยม • บริหารจัดการองค์ความรู้สู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เน้นสนับสนุนการวิจัยพัฒนาสร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างศักยภาพการแข่งขัน • สุขภาวะด้านสติปัญญาอยู่ในระดับต้องปรับปรุง การเรียนรู้ของคนไทยในระดับคิดเป็นทำเป็นอยู่ในระดับต่ำระหว่างร้อยละ 20.0-23.4 ในช่วงปี 44-48 • พัฒนาระบบสุขภาพครบวงจร มุ่งดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ส่งเสริมให้คนลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ

  17. ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย สำรวจความเห็นของหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย กระบวนการมีส่วนร่วม สำรวจความเห็นของชุมชนในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ในพื้นที่เมือง ในพื้นที่ชนบท ประชุม Focus Group ยืนยันกรอบ หลักการ แนวคิด และ 6 องค์ประกอบ เสนอแนะเพิ่มเติมประเด็นการวัด และตัวชี้วัดที่เหมาะสม พัฒนาปรับปรุงดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยและในเมือง ชนบท

  18. สรุปผลการสำรวจความเห็นสรุปผลการสำรวจความเห็น • ได้รับความร่วมมือตอบแบบสอบถามและส่งให้ สศช.ร้อยละ 46.84 (ส่วนใหญ่เป็นภาครัฐ) • เห็นด้วยกับภาพรวมความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน กรอบแนวความคิด ความหมาย หลักการ : ร้อยละ 88.25-93.55 สำรวจความเห็นหน่วยงาน • เห็นด้วยกับ 6 องค์ประกอบหลัก : ร้อยละ 73.08-83.64 • เห็นด้วยกับการกำหนดค่าน้ำหนักการวัด ให้เท่ากันในแต่ละองค์ประกอบ : ร้อยละ 51.47 • เสนอแนะเพิ่มเติมองค์ประกอบ วิธีการวัด เกณฑ์การวัด • สำรวจความเห็นชุมชนโดยจัดเวทีใน 4 ภูมิภาค 9 จังหวัด 16 เวที 54 หมู่บ้าน ผู้เข้าร่วมเวทีละ 40-50 คน ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ผู้นำชุมชน ผู้แทน อบต. สมาชิกชุมชน สตรี และเยาวชน • ทุกเวทีเสนอความเห็นใน 3 ประเด็นหลัก 1. ความหมาย/องค์ประกอบความสุข และความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน สำรวจความเห็นชุมชน 2. ที่ผ่านมาชุมชนของท่านมีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันมากน้อยเพียงใด เพราะเหตุปัจจัยใด 3. ปัจจัยสร้างสุขร่วมกัน มีอะไร และชุมชนมีวิธีวัดความสุข อย่างไร

  19. สรุปประเด็นผลการสอบถามความเห็นของหน่วยงานภาครัฐและภาคีต่างๆ หน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายบทบาทภาคีส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกรอบแนวคิดความหมาย และองค์ประกอบของดัชนีในสัดส่วนกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป • เสนอแนะให้ปรับปรุงขยายความ คำจำกัดความ / ความหมาย ในองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เสนอแนะให้เพิ่มเติมตัวชี้วัด ส่วนใหญ่เป็นตัวชี้วัดที่ใช้อธิบายบ่งชี้สถานการณ์ รวมทั้งให้พิจารณาเพิ่มเติมตัวชี้วัดในกลุ่มองค์ประกอบด้านสุขภาพจิต ใช้ข้อมูลการสำรวจจากกรมสุขภาพจิต และกลุ่มตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ • เสนอแนะให้ปรับปรุงเกณฑ์การวัดในบางองค์ประกอบของดัชนีให้สะท้อนเป้าหมายความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจริง • ส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยกับการกำหนดน้ำหนักขององค์ประกอบดัชนีเท่ากัน มีประมาณ ร้อยละ 48.53 ที่เห็นว่าควรมีน้ำหนักตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ 1) การมีสุขภาวะ 2) ครอบครัวอบอุ่น 3) สภาพแวดล้อมดีระบบนิเวศสมดุล 4) เศรษฐกิจเป็นธรรมและเข้มแข็ง 5) ชุมชนเข้มแข็ง 6) สังคมประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาล • สนับสนุนการจัดทำดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขฯ ในเมืองและชนบท ยึดกรอบแนวคิด หลักการ องค์ประกอบ ตามระดับประเทศ มีตัวชี้วัดที่สะท้อนลักษณะเฉพาะและความแตกต่างของเมืองและชนบท และตัวชี้วัดร่วมที่สามารถใช้ตัววัดในระดับประเทศได้

  20. สรุปประเด็นผลการประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปประเด็นผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ “เวทีชุมชน” • ความสุขมีหลายระดับต้องเริ่มที่ระดับตัวคนก่อน พร้อมกับความสุขในระดับครอบครัว • จากนั้นขยายสู่ความสุขร่วมกันในระดับชุมชนที่ให้ความสำคัญกับการที่คนในชุมชนมีสุขภาพแข็งแรง ครอบครัวอบอุ่น และปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ทั้งการมีเศรษฐกิจดี มีหลักประกันชีวิต สภาพแวดล้อมดี สังคมชุมชนเข้มแข็ง มีจิตสำนึกประชาธิปไตย และสมานฉันท์ • ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยด้านสังคม การมีส่วนร่วม ความปลอดภัย และความสะดวก ขณะที่ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และปัญหาอื่นๆ ในชุมชนจะเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความทุกข์ • กระบวนการสร้างสุขต้องมาจากการร่วมกันแก้ปัญหาของชุมชน ทำให้ครอบครัวอบอุ่น ลด ละ เลิกอบายมุข แก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยความสร้างมั่นคงในอาชีพ สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือน • วิธีวัดความสุขในระดับชุมชน ชุมชนควรคิดเอง กำหนด และเป็นผู้ใช้ เป็นตัววัดที่เข้าใจง่าย ภาครัฐควรมีบทบาทสนับสนุนกระบวนการขับเคลื่อนให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  21. สรุปประเด็นผลการประชุม Focus Group • การกำหนดตัวชี้วัดหลักขององค์ประกอบครอบครัว ควรพิจารณาเพิ่มเติมตัวชี้วัดให้มากขึ้น โดยเฉพาะตัวชี้วัดที่สะท้อนในด้านบวก เช่น การแสดงความรักในครอบครัว • ควรปรับตัวชี้วัดให้สามารถสะท้อนประเด็นการวัดได้ถูกต้อง ชัดเจนมากขึ้น ควรพิจารณาเพิ่มเติมในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรเพิ่มเติมตัวชี้วัดอัตราการเจ็บป่วยเรื้อรังในองค์ประกอบการมีสุขภาวะ • ควรกำหนดเกณฑ์การวัดของตัวชี้วัดบางตัวให้สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือความสามารถที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด • กำหนดเกณฑ์การวัดของตัวชี้วัดในระดับเมือง – ชนบท อาจใช้เกณฑ์การวัดที่แตกต่างกันได้เพราะระดับการพัฒนาและปัญหามีความรุนแรงต่างกันในแต่ละพื้นที่ สำหรับตัวชี้วัดการคิดเป็นทำเป็นควรใช้เกณฑ์การวัดเกณฑ์เดียวกัน คือ อัตราการเรียนรู้ 12 ปี ทั้งในเขตเมืองและชนบท

  22. สรุปการดำเนินงานต่อไปสรุปการดำเนินงานต่อไป ปรับปรุงพัฒนาดัชนีชี้วัดฯ และรายงานสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขฯ และจัดทำเป็นเอกสารเพื่อรายงานผลต่อสาธารณะในการประชุมประจำปี 2550 ของ สศช. ประมาณต้นเดือนกรกฎาคม ศกนี้ เสริมสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขระดับพื้นที่ พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาดัชนีชี้วัดเป็นระบบที่ทันสมัยเข้าถึงง่าย สะดวกต่อการใช้งาน

  23. ขอขอบคุณ www.nesdb.go.th E-mail deco@nesdb.go.th

  24. ที่มา • http://www.hiso.or.th/hiso/news_hiso/fileUpload/664PP289-9.ppt • สืบค้นวันที่ 22 กันยายน 2552

More Related