1 / 18

อำเภอ ละแม

อำเภอ ละแม. ประวัติความเป็นมา.

Download Presentation

อำเภอ ละแม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อำเภอ ละแม

  2. ประวัติความเป็นมา • คำว่า “ ละแม“ นั้นถ้าได้ฟังนั้นอาจจะคิดว่าเป็นชุมชนของคนมุสลิม แต่ในความเป็นจริงแต่อดีตที่ผ่านมาไม่เคยพบว่าที่นี่มีคนมุสลิมอาศัยอยู่เลยและจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่คำว่า “ ละแม “ อาจจะเป็นการเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า  “ ลาแม่ “ หรืออีกคำบอกเล่าหนึ่งคือ คำว่า "ละแม" สันนิษฐานว่า เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์ท้องถิ่นริมอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดตราดเรื่อยมาจนถึงปักษ์ใต้ตอนล่าง มีคำเขมรโบราณใช้กันอยู่มากที่ใช้เรียกเครื่องมือ สัตว์ ต้นไม้ เกาะ ภูเขา มีภูเขาลูกหนึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันออกของสถานีรถไฟละแม มีรูปร่างคล้ายหนูหมอบอยู่ เมื่อมองจากสถานีรถไฟ หรือมองจากชายทะเลก็มีลักษณะเหมือนหนูหมอบอยู่ ตามพจนานุกรมเขมร คำว่า แลมห์ แปลว่า หนูผี เป็นคำเขมรโบราณ จึงเป็นไปได้ว่ามีคนไทยที่ย้ายลงมาจากทางเหนือ และคนท้องถิ่นแถบนี้เป็นคนขอม พูดภาษาขอมหรือเขมร เรียกชื่อตามรูปภูเขาที่เห็น ต่อมาเพี้ยนเสียงเป็นละแม ชุมชนแรกตั้งของตำบลละแม คือชุมชนบ้านปากน้ำละแม เพราะว่าอยู่ติดกับชายทะเลอ่าวไทย ในอดีตนั้นใช้ทางน้ำเป็นเส้นทางในการคมนาคม จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ของชาวปากน้ำละแมว่า คนท้องถิ่นเดิมนั้นมีไม่มากนัก แต่มีคนที่มาจากถิ่นอื่น ที่เข้ามาตั้งรกรากโดยมีอาชีพค้าขาย และทำการประมง ปากน้ำละแมเป็นจุดขนถ่ายสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเกลือ ซึ่งบรรทุกมากับเรือสำเภาจากจังหวัดเพชรบุรี นำมาขายที่หัวเมืองชายฝั่ง เมื่อถึงปากน้ำละแมก็จะบรรทุกไม้หลาโอน ถ่าน และของป่ากลับไปขายที่แม่กลอง ประมาณกันว่าปากน้ำละแมได้ก่อตั้งมาก่อน พ.ศ. 2452 ยังมีการปกครองเป็นกลุ่มบ้าน มีผู้ปกครองคนแรก ชื่อ นายจรูญ เป็นคนมาจากภาคกลาง ซึ่งในขณะนั้นยังขึ้นอยู่กับอำเภอหลังสวน ต่อมามีการแบ่งแยกหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน และยกฐานะเป็นตำบลละแม ขึ้นกับอำเภอหลังสวนมี กำนันอั้นพลารชุน เป็นผู้ปกครอง จากนั้นในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการแบ่งแยกหมู่บ้านออกเป็น 16 หมู่บ้าน และได้มีการแบ่งแยกตำบลเป็น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลละแม ( เดิม ) ตำบลทุ่งหลวง ตำบลสวนแตง และได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอละแมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2514  มีหัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรกคือ นายวิรัชวงศ์วโรทัยจวบจน วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2520 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยกฐานะเป็นอำเภอละแม

  3. ความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบล • องค์การบริหารส่วนตำบลละแมเดิมเป็นสภาตำบลและได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลละแมเมื่อวันที่  30  มีนาคม  2539  โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทยและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามความในมาตรา  40  แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.  2532 • สำหรับดวงตราสัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลละแมเป็นรูปวงกลมภายในเป็นรูปภูเขาสูงตระหง่านมีดวงอาทิตย์ส่องแสงเปล่งรัศมีระหว่างภูเขายามรุ่งอรุณมีทะเลและเรือใบมีถนนระหว่างทะเลกับภูเขาซึ่งมีความหมายในตัวเองว่าองค์การบริหารส่วนตำบลละแมเป็นเมืองที่มีความหลากหลายของทรัพยากรมีความอุดมสมบูรณ์ธรรมชาติสวยงาม อยู่ดีกินดีและมีความรู้ความสามารถมีความคิดกว้างไกลดั่งแสงอาทิตย์ส่องภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย(ภาคผนวกก)หมายเหตุสีประจำองค์การบริหารส่วนตำบลละแมคือสีเขียว

  4. กลุ่มอาชีพแปรรูปอาหารทะเล หมู่ที่ 5 บ้านแหลมสันติ สนับสนุนโดยองค์การบริหารส่วนตำบลละแม ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากทะเล

  5. บ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู     ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลสวนแตง ห่างจากอำเภอตามทางหลวงสาย 41 ประมาณ 7 กม. มีลักษณะเป็น บ่อน้ำร้อน 3 บ่อ ในบริเวณเดียวกันมีถ้ำอยู่ 4 ถ้ำ ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอละแม

  6. บ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู ตั้งอยู่ ม.2 ต.สวนแตง อ.ละแม ห่างจากตัวเมืองละแม 6 กม. เป็นเนินเขาไม่สูงนัก บริเวณเชิงเขามีบ่อน้ำพุร้อน จำนวน 3 บ่อ ซึ่งมีชื่อเรียกคล้องจองกันคือ เอื้ออารีย์ธารทิพย์ อมฤตธาราและพฤกษาชลธาร แต่ละบ่อมีน้ำแร่ร้อน ผุดจากผิวดิน อุณหภูมิระหว่าง 55-56 องศาเซลเซียส ทุกบ่อ ก่ออิฐขึ้นมาเป็นแนวขอบบ่อน้ำเล็ก ๆ และมีน้ำร้อนไหลลงมายังแอ่งปูน สามารถตักน้ำมาล้างหน้าและเช็ดตัวได้ ช่วยรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคผิวหนัง และทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น บริเวณโดยรอบแวดล้อมด้วยป่าทึบ เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 18.30 น.

  7. บ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู มีบริการให้ท่านได้แช่น้ำร้อนจากธรรมชาติดังนี้ • สระรวม ค่าบริการ คนละ 5 บาท • บ้านพักสำหรับอาบน้ำภายในมีอ่างอาบน้ำให้นอนแช่น้ำเป็นการส่วนตัว ราคาชั่วโมงละ 60 บาท ชั่งโมงต่อมา 40 บาท เหมาวัน วันละ 300 บาท ครับ • นอกจากนั้นยังมีถ้ำเล็กๆ ซึ่งอยู่สูงจากพื้นดินพอสมควรมีบันได้ให้เดินขึ้นไปชมสะดวกสบาย เดินกันพอเหนื่อยได้เหงื่อค่อยลงไปแช่น้ำอุ่นๆ เพื่อคลายความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อกันต่อ

  8. หาดตะวันฉาย

  9. ที่ปากแม่น้ำละแมท่านที่ชอบกีฬาตกปลา สามารถติดต่อเช่าเรือไปตกปลา และตกหมึก หรือจะนั่งเรือเที่ยวทางทะเลได้ (สามารถให้ทางสนทรายรีสอร์ทประสานให้ได้) โดยมีค่าบริการดังนี้ • เรือเล็ก นั่งได้ 4 คน ค่าบริการคืนละ 1,000 บาท • เรือใหญ่ นั่งได้ 10 คน ค่าบริการคืนละ 2,500 บาท

  10. Mrs.Supaporn Nilayakanon

More Related