1 / 29

เนื่องจากในภาวะดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ทำให้เกิดเงื่อนไขของ

เนื่องจากในภาวะดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ทำให้เกิดเงื่อนไขของ MRS J FC = Pc = MRS J FC P F ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (competitive equilibrium) สร้างประสิทธิภาพในการจัดสรร (แลกเปลี่ยน) สินค้า.

aric
Download Presentation

เนื่องจากในภาวะดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ทำให้เกิดเงื่อนไขของ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เนื่องจากในภาวะดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ทำให้เกิดเงื่อนไขของ MRSJFC = Pc = MRSJFC PF ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (competitive equilibrium) สร้างประสิทธิภาพในการจัดสรร (แลกเปลี่ยน) สินค้า

  2. ประสิทธิภาพในการผลิต(Efficiency in production)

  3. การวิเคราะห์คล้ายกับกรณี Exchange โดยใช้ Edgeworth Box แต่เปลี่ยน - คนเป็นสินค้า - สินค้าเป็นปัจจัยการผลิต - IC เป็น isoquant

  4. หลักเกณฑ์ที่ว่าการผลิตใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ (technically efficient) มีหลักการว่า “ปริมาณของสินค้าชนิดหนึ่งที่ผลิตได้ไม่อาจเพิ่มขึ้นโดยปราศจากการลดลงของปริมาณของสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ผลิตได้”

  5. ดังนั้น ณ.กระบวนการผลิตใดก็ตามที่การจัดสรร(ใช้)ปัจจัยการผลิตนำไปสู่ปริมาณของสินค้าอย่างน้อยหนึ่งชนิดมากขึ้น โดยไม่ไปลดสินค้าอื่นๆแล้ว ก็จะถือว่าการผลิตตรงนั้นยังไร้ประสิทธิภาพ จุดที่มีประสิทธิภาพคือจุดสัมผัสระหว่าง isoquant ของสินค้า 2 ชนิด

  6. เส้น Production Contract Curve เป็นเส้นต่อจุดสัมผัสทุกจุดบน Edgeworth Box แสดงถึงคู่ (combination) ของปัจจัยการผลิตต่างๆที่มีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

  7. การสัมผัสของ isoquants ของสินค้า 2 ประเภททำให้รู้ว่า Marginal Rate of Technical Substitution ของทั้งสองเท่ากัน MRTSFLK = MRTSCLK จากความรู้เดิม MRTSLK = w/r และ w/r = MPL/ MPK ดังนั้น MRTSFLK = MRTSCLK = w/r = MPL/ MPK

  8. เนื่องจากในภาวะดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ทำให้เกิดเงื่อนไข MRTSFLK = MRTSCLK = w/r ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า ดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์(competitive equilibrium) สร้างประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า

  9. แม้ว่าเส้น Production Contract Curve จะบอกว่าจุดของการผลิตที่มีประสิทธิภาพอยู่ตรงไหน แต่ไม่สามารถบอกว่าจุดใดจะดีที่สุด จุดที่สังคมเลือกขึ้นยู่กับความพึงพอใจ (preferences) ของผู้บริโภค

  10. เมื่อนำ Production Contract Curve มา plot กราฟใน 2 มิติ จะได้ Production Possibilities Frontier (PPC) PPC เป็นเส้นแสดงความเป็นไปได้ในการผลิตสินค้า 2 ชนิด จากปัจจัยการผลิต 2 ชนิดที่คงที่ โดยให้เทคโนโลยีไม่เปลี่ยนแปลง

  11. Marginal rate of transformation (MRT) เป็นการวัดว่าหากเราต้องการสินค้าชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหน่วย จะต้องไปลดสินค้าชนิดอื่นลงกี่หน่วย MRT ในแต่ละจุดบนเส้น PPC มีค่าต่างกัน สะท้อนถึงการทดแทนของสินค้า 2 ชนิดต่างกันไป

  12. การเปลี่ยนแปลงบนเส้น PPC สะท้อนถึงต้นทุนของการผลิตสินค้า 2 ชนิด เมื่อผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นก็จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยเปรียบเทียบกับต้นทุนของสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ลดลงไป ดังนั้น MRT = MCF MCC

  13. ประสิทธิภาพทั้งในการแลกเปลี่ยนและการผลิต(output efficiency) หมายถึง ประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในที่นี้ หมายถึง ผู้ผลิตและผู้บริโภค

  14. สินค้าที่ระบบเศรษฐกิจผลิตออกมาต้องสอดคล้องกับ 2 สิ่ง คือ 1. ผลิตด้วยต้นทุนต่ำสุด 2. เป็นสินค้าที่ผลิตออกมาได้ตรงตามที่ผู้คนยินดีที่จะจ่ายให้คุ้มกับต้นทุนการผลิต ดังนั้น MRTFC = MRSFC

  15. กลไกตลาดของสินค้าที่มีการแข่งขันสมบูรณ์กลไกตลาดของสินค้าที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ จะทำหน้าที่ให้เกิดประสิทธิได้ ดังนี้คือ 1. ด้านผู้ซื้อ : MRSFC= PF / PC 2. ด้านผู้ผลิต : PF= MCF และ PC = MCC 3. ด้านปัจจัยการผลิต : MRT = MCF MCC ดังนั้น MRSFC= PF = MCF = MRT PC MCC

  16. หาก MRSFCไม่เท่ากับMRT แล้ว กลไกราคาก็จะปรับตัวให้เกิด PF / PC ใหม่ที่ทำให้ MRSFC = MRT

  17. ประสิทธิภาพ (efficiency) และ ความเสมอภาค(equity)

  18. Utility Possibilities Frontier (UPF) เป็นการนำเอาเส้น contract curve มา plot ใน 2 มิติของคน 2 คน ในการแลกเปลี่ยนสินค้า 2 ชนิด จุดประสงค์ของ UPF คือการแสดงให้เห็นว่าทุกๆจุดบนเส้นนี้มีการจัดสรรที่มีประสิทธิภาพ

  19. จุดใดๆภายใต้เส้นนี้ มีโอกาสที่จะมาอยู่บนเส้นได้ ซึ่งทำให้สวัสดิการของคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนดีขึ้น แต่ก็จะมีจุดที่เหนือเส้น UPF ซึ่งเป็นไม่ได้ เพราะสินค้าขนาดนั้นเกินกว่าที่มีอยู่

  20. การจัดสรรที่ทำให้จุดใต้เส้น UPF มาอยู่บนเส้น อาจเป็นการจัดสรรที่เป็นธรรม (more equitable) มากขึ้นก็ได้ แต่ก็อยู่ในขอบเขตที่จำกัด โดยส่วนใหญ่ การจัดสรรที่มีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องเป็นธรรมด้วย

  21. Social Welfare Function (SWF) เป็นวิธีการกำหนดน้ำหนัก (weights) ที่ถ่วงอรรถประโยชน์ของแต่ละคนในการตัดสินว่าอะไรเป็นที่พึงปรารถนาของสังคม ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเสมอภาคหรือเป็นธรรมขึ้นมาในสังคม สังคมจะไม่ใช้อรรถประโยชน์ที่บุคคลได้รับโดยตรง (อย่างที่ปรากฏใน UPF ) มาคำนวณหาความพึงพอใจรวม แต่ปรับด้วยน้ำหนักที่ถ่วง

  22. เพื่อให้เกิดความเสมอภาค รัฐบาลอาจเข้าแทรกแซงโดยการใช้ภาษีมาทำการจัดสรรรายได้ใหม่ (redistribution of income) หรือ อุดหนุนสินค้าบริการที่จำเป็นแก่คนที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ

  23. เนื่องจากความเสมอภาคไม่มีนิยามที่ยอมรับ เพราะขึ้นอยู่กับค่าแห่งดุลยพินิจ (value judgement) จึงเป็นการยากที่ทำให้สอดคล้องกับความมีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น สังคมส่วนใหญ่จึงต้องเลือกที่จะ trade off ระหว่างสองสิ่งนี้

More Related