330 likes | 911 Views
การ พัฒนากระบวนการ เรียนรู้ เรื่องสีส ำ หรับ เด็ก ออทิสติก โดย ใช้ชุดฝึกมัลติมีเดียเกมและศิลปะ. จิระ ศักดิ์ เลิศชัย ยุทธ พงษ์ คณิ ศร จี้กระ โทก ไพศาล ดาแร่. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏ อุดรธานี. บทนำ.
E N D
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เรื่องสีสำหรับเด็กออทิสติก โดยใช้ชุดฝึกมัลติมีเดียเกมและศิลปะ จิระศักดิ์ เลิศชัยยุทธพงษ์ คณิศร จี้กระโทก ไพศาล ดาแร่ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
บทนำ โรคออทิสติก(Autistic Disorder) หรือออทิสซึม(Autism) เป็นความบกพร่องของพัฒนาการรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณ์เฉพาะ นับเป็นเวลา 60 ปีแล้ว ที่นักวิชาการรู้จักโรคนี้ และพยายามศึกษารายละเอียดต่างๆ ของโรค แต่ยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคได้ชัดเจน[1] ออทิสติก(Autistic) เป็นโรคทางจิตเวชเด็กที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง โดยเด็กออทิสติก(Autistic) จัดเป็นเด็กพิเศษกลุ่มหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการล่าช้าแบบแผ่กระจายหรือที่เรียกว่าพีดีดี(Pervasive developmental disorder [PDD]) ทำให้เกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการอย่างรุนแรง โดยเฉพาะใน 3 ด้านใหญ่ๆ คือ…
1) พัฒนาการ ด้านสื่อความหมายและการสื่อสาร 2) ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ ทางสังคม 3) ด้านอารมณ์ และพฤติกรรม *โดยความผิดปกติในแต่ละด้านขึ้นกับความรุนแรงของโรค[2]
การขาดความรู้เกี่ยวกับโรคออทิสติกในประเทศไทย โดยเฉพาะในชนบท ทำให้เกิดผลด้านการยอมรับของพ่อแม่ และบุคคลในครอบครัว การขาดความช่วยเหลือ ด้านคำแนะนำ ปรึกษา และการไม่ได้รับบริการทางการแพทย์ที่ถูกต้องของสังคมไทยในสมัยก่อน ส่งผลต่อความช่วยเหลือเด็ก และกลุ่มผู้ปกครองเป็นอย่างมาก เพราะผู้ปกครองไม่รู้วิธีการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นชัดเจน การลำดับความสำคัญของปัญหาและระยะเวลาของแต่ละวิธีการ ที่ใช้ช่วยเหลือจะสิ้นสุดเมื่อใด[3] ความไม่รู้ดังกล่าวส่งผลต่อความช่วยเหลือเด็ก และกลุ่มผู้ปกครองพึงจะได้รับเป็นอย่างมาก เช่น โอกาสที่จะได้รับสิทธิ์ในทางการแพทย์ และวิธีในการปรับพฤติกรรมของลูก แต่ในปัจจุบันจะพบเด็กออทิสติกมากขึ้น เป็นเพราะสังคมไทยรับรู้ และมีความเข้าใจมากขึ้น[4]
การสร้างสภาพแวดล้อมจำลองเพื่อดึงเด็กให้เกิดความสนใจ[14] การใช้เกมและศิลปะ เพื่อช่วยส่งเสริมการประสานกันระหว่างสายตา และมือของเด็ก ขณะจดจ่ออยู่กับเกม[15]
กิจกรรมศิลปะนั้นจะช่วยทำให้เด็กมีสมาธิ ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เด็กมีความละเอียดอ่อน ใจเย็น[16] ได้ฝึกคิดก่อนลงมือระบายสี เป็นการช่วยในการสร้างพัฒนาการด้านสมอง และด้านสังคมให้กับเด็ก ใช้แบบสังเกตพฤติกรรม แบบทดสอบในการจำแนกสีในชีวิตประจำวัน ผลการศึกษาทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นแนวทาง และวิธีเพื่อที่จะนำไปพัฒนา และช่วยเหลือเด็กออทิสติกด้านต่างๆ ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความสามารถในการจำแนกสีต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันโดยใช้ชุดฝึกมัลติมีเดียเกมศิลปะและแผนการสอนกิจกรรมศิลปะ โดยแบ่งเป็น 3 ด้านได้แก่ การระบายสี การบอกชื่อสี การแยกสี กลุ่มเด็กที่เข้ามารับการบาบัดที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดหนองคาย
สมมติฐานของการวิจัย เด็กออทิสติกที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดฝึกมัลติมีเดียเกมศิลปะ และแผนการสอนกิจกรรมศิลปะในการฝึกทักษะมีความสามารถในการจำแนกสีต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
การเก็บรวบรวมข้อมูล เด็กผู้ชาย 6 คน เด็กผู้หญิง 4 คน อายุระหว่าง 8-14 ปี ทำกิจกรรมโดย ชุดฝึกมัลติมีเดียเกมศิลปะ และแผนการสอนกิจกรรมศิลปะ โดยทำกิจกรรมเกี่ยวกับสีใน 2 มิติ คือ โทนสีแตกต่างกัน และโทนสีใกล้เคียงกัน โดยให้เด็กเล่นเกมสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ระยะเวลาทั้งหมด 7 สัปดาห์
ควบคู่กับการใช้แผนการสอนกิจกรรมศิลปะ โดยจัดห้องฝึกเฉพาะให้เด็ก เพื่อเป็นการสร้างสมาธิให้กับเด็ก สังเกตพฤติกรรมโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมเด็กจากผู้ปกครอง ครูฝึก และผู้วิจัย แบบทดสอบการบอกชื่อสี การระบายสี การแยกสี วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐานเปอร์เซ็นต์ และค่า t-test สรุปได้ดังนี้
ผลการศึกษาความสามารถในการจำแนกสีต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันโดยใช้ชุดฝึกมัลติมีเดียเกมศิลปะ และแผนการสอนกิจกรรมศิลปะ
มิติที่ 1 โทนสีแตกต่างกัน 1.การบอกชื่อสี 2.การระบายสี 3.การจำแนกโทนสี มิติที่ 2 สีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ ก่อนและหลังการใช้บูรณาการเกมที่นำเสนอเป็นชุดฝึกมัลติมีเดียเกมศิลปะ และแผนการสอนกิจกรรมดังตารางที่ 1 – 3
ตารางที่ 1 เรื่องการบอกชื่อสี โทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ตารางที่ 1 เรื่องการบอกชื่อสี โทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ตารางที่ 1 เรื่องการบอกชื่อสี โทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ตารางที่ 1 เรื่องการบอกชื่อสี โทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ตารางที่ 2 เรื่องการระบายโทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ตารางที่ 2 เรื่องการระบายโทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ตารางที่ 2 เรื่องการระบายโทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ตารางที่ 2 เรื่องการระบายโทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ตารางที่ 3 เรื่องการแยกสีโทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ตารางที่ 3 เรื่องการแยกสีโทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ตารางที่ 3 เรื่องการแยกสีโทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ตารางที่ 3 เรื่องการแยกสีโทนสีแตกต่างกันและ โทนสีใกล้เคียงกัน แสดงเป็นค่าร้อยละ และค่า t-test ดังนี้ ** P < .01
ข้อจำกัดในงานวิจัย ในรายงานศึกษาวิจัยฉบับนี้ ไม่มีผลการติดตามการศึกษาหลังจากเด็กผ่านการทดสอบไปแล้ว 7 สัปดาห์ ผู้วิจัยไม่สามารถทราบถึงผลพัฒนาการในการบอกชื่อสี การระบายสี และการจำแนกโทนสี และความสามารถในการแยกความแตกต่างระหว่างสีเข้มและสีอ่อนของเด็ก เพราะหากเด็กในกลุ่ม ย้ายศูนย์ฝึก และไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้พัฒนาการในเรื่องสีของเด็กถดถอย หรือทำให้ไม่เกิดการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องได้
อธิปรายผล เมื่อเด็กฝึกผ่านไป 7 สัปดาห์ ปรากฏว่าเด็กมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น โดยเด็กมีความสามารถในการบอกชื่อสีได้ดีขึ้น ความสามารถในการระบายสีโดยให้อยู่ในกรอบที่กำหนด เด็กสามารถทำได้เป็นอย่างดี โดยระบายสีออกนอกกรอบน้อยลง และความสามารถในการแยกความแตกต่างระหว่างสีเข้มและสีอ่อนเด็กสามารถทำได้ดีขึ้น หากพิจารณาแยกกลุ่ม พบว่า กลุ่มเด็กผู้ชายจะชอบเล่นเกม ในบทเรียนมัลติมีเดียมากกว่า แต่กลุ่มเด็กผู้หญิงจะชอบใช้แบบฝึกหัดในการระบายสี มีสมาธิในการระบายสีดีกว่ากลุ่มเด็กผู้ชาย
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้สามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเด็กกลุ่มนี้ได้ โดยใช้ข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความ เป็นการดึงความสนใจให้เด็กจดจ่ออยู่ในกิจกรรม[10] และกิจกรรมศิลปะ เช่น การวาดภาพ การระบายสีช่วยทำให้ เด็กมีสมาธิมากขึ้น[16] อีกทั้งยังสามารถเป็นตัวกลางในการสื่อสารกับเด็กแทนการสอน[17] และที่สำคัญเวลาที่ใช้ในการฝึก ผู้ปกครองควรมีส่วนในการรับรู้ กระบวนการ และแบ่งเวลาในการเรียนรู้วิธีการฝึกเพื่อสามารถนากลับไปฝึกต่อที่บ้านได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการช่วยให้เด็กทำซ้ำๆ[18] เพื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ จดจำ ในสิ่งที่ครูผู้ฝึกได้ทำการสอน เพื่อทำให้เกิดความคงทนในความรู้ของตัวเด็กเอง และเป็นสิ่งที่จำเป็นต่ออนาคตของตัวเด็กในการดำเนินชีวิตในสังคมต่อไปในอนาคต[19]
กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ ผู้ปกครอง คณะครูฝึกและเด็กออทิสติกประจำศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดหนองคายทุกท่านที่สละเวลา ให้ความร่วมมือกับทีมผู้วิจัย และขอบคุณ นางสาวธนภร ฤทธิแผลง ผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดหนองคายเป็นอย่างสูงที่อำนวยความสะดวกในการทำงานให้กับทีมผู้วิจัย
อ้างอิง [1] รจนา ทรรทรานนท์, 2527, เด็กออทิสติก…คาแนะนาสาหรับบิดามารดาและนักวิชาการ, กรุงเทพมหานคร: เกียรติธุรกิจ, หน้า 15. [2] เพ็ญแข ลิ่มศิลา, 2545, ออทิซึมในประเทศไทย: จากตาราสู่ประสบการณ์, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง ครู หมอ พ่อแม่: มิติแห่งการพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก, กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [3] R. Dewri, and N. Chakraborti. “Simulating recrystallization through cellular automata and genetic algorithms.” Modelling Simul. Mater. Sci. Eng. 2005. 13 (3): 173-183. U. Tarangkhasombat. Help children with autism. Bankkok: Research and Family Development, 2007. [4] C. ChanthaYa Non. “Small World of Autism[Online].” Available : http://www.clinicdek.com [2012, September 28]. [5] S. Kaeokangwan. “Modern Psychology of Exceptional Children.” Bankkok:Thammasat University, 2001. [6] JA. Kientz, GR. Hayes, GD. Abowd and RE. Grinter. “From the war room to the living room: decision support for home-based therapy teams. In: Proceedings of the CSCW 2006.” Banff. Alberta, Canada 2006. [7] M. Van Ameringen, C. Mancini, and P. Farvolden. “The impact of anxiety disorders on educational achievement.” Journal of Anxiety Disorders. 433. 1–11, 2002. [8] A. Klin, W. Jones, R. Schultz, F. Volkmar and D. Cohn. “Visual fixation patterns during viewing of naturalistic social situations as predictors of social competence in individuals with autism.” Archives of General Psychiatry. 59. 9. 809, 2002. [9] J. Barnard, A. Prior and D. Potter. “Inclusion and autism: is it working? National Autistic Society.”, London 2000. [10] N. Borgers, E. de Leeuw, and J. Hox. “Children as Respondents in Survey Research: Cognitive Development and Response Quality 1” Bulletin of Sociological Methodology. 66(1). 60-75. DOI =10.1177/075910630006600106, 2000. [11] S. Rong But Si, “Stimulate Development [Online].” Available : http://ednet.kku.ac.th [2012, October 01] [12] N. Bunchu. “The effects of teaching about the program TEACCH for students with autism.” NongKhai: The Special Education NongKhaiCenter (Thailand), 2011. [13] Due to family matters [Online]. Available: http://www.tataya.com/school/montessori.htm. [2012, September 14]. [14] N. Oudin O. Grynszpan, J.-C. Martin. “Towards a methodology for the design of humancomputer interfaces for persons with autism.” ACM Crossroads. Special Issue on Human-Computer Interaction, Winter 2005. [15] S. Bögels and C. Lamers. “The causal role of self-awareness in blushing-anxious, socially-anxious and social phobic individuals.” Behaviour Research and Therapy. 40. 1367–1384, 2001. [16] N. Yen Ya San, T. Toem Thong, N. Won Than Kun and C. Plueang Nut. “The Effect Of Music And Arttherapy Program On Aggressive Behaviors Of Severe Intellectual And Developmental Disabilities Persosns In RajanukulNstitute,” 2010. [17] D.L. Edyburn. “A synthesis of the special education technology literature.” Journal of Special Education Technology 19. 4. 57-80, 2004. [18] C. Tachechak. “The initial period of assistance for children with autism, Child Development Institute of the Rajanagarindra.” Faculty of Education Chiang Mai University, 2009. [19] J. Chano. “The Development of a Communicative Instructional Model To Reduce Behavioral Problems in Preschool Autistic Children”. KhonKaen University, 2008.