1 / 43

การอ้างอิงเอกสาร ( Citations)

บทที่ 7. การอ้างอิงเอกสาร ( Citations). การอ้างอิงเอกสาร (Citations). การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาน ทำให้งานเขียนมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นการให้เกียรติแก่ผู้เขียนเดิม และแสดงเจตนาของผู้เขียนว่าไม่ได้คัดลอกข้อมูลของผู้อื่น

ardith
Download Presentation

การอ้างอิงเอกสาร ( Citations)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 7 การอ้างอิงเอกสาร (Citations)

  2. การอ้างอิงเอกสาร (Citations) การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาน ทำให้งานเขียนมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นการให้เกียรติแก่ผู้เขียนเดิม และแสดงเจตนาของผู้เขียนว่าไม่ได้คัดลอกข้อมูลของผู้อื่น อ้างตามความเป็นจริง ครบถ้วน แต่ไม่พร่ำเพรื่อ

  3. การศึกษาค้นคว้าในระดับอุดมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาค้นคว้าจาก ตำราหนังสืออ้างอิงบทความวารสารหรือ อินเทอร์เน็ตที่เป็นความคิด ทฤษฎี ข้อมูล ของผู้ที่ได้ศึกษาไว้ก่อนแล้วผู้ที่ศึกษาจะต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงสารสนเทศขึ้นมาใหม่ด้วยสำนวนภาษาของตนเองและจะต้องใช้วิธีการอ้างอิงเอกสาร จึงจะไม่เป็นการแอบอ้างความคิดของผู้อื่น (Plagiarism)

  4. หลักการของอ้างอิง • เนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวกับตัวเลขสถิติ • มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ระบุเวลาและสถานที่ • ข้อความที่เป็นแนวความคิด ทฤษฎี คำพูด • ข้อเขียนที่ให้ข้อคิด • ผลการวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ตาราง แผนภูมิและรูปภาพ • พิจารณาถึงแหล่งที่มาของเนื้อหาความรู้ ต้องเป็นแหล่งปฐมภูมิ มิใช่เป็นเนื้อหาความรู้ที่คัดลอกต่อ ๆ กันมา ซึ่งเป็นแหล่งทุติยภูมิ (secondary source) อาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้

  5. รูปแบบการอ้างอิงเอกสารรูปแบบการอ้างอิงเอกสาร • การอ้างอิงเอกสาร มีการอ้างอิง 2 ส่วน คือ 1. ระบบนาม-ปี เขียนแทรกปนในเนื้อหา หรือ 2. ระบบแยกส่วนจากเนื้อหาหรือระบบท้ายหน้า

  6. การอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหา การอ้างโดยการระบุชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสารที่อ้าง แทรกปนไปกับเนื้อหาของรายงานเรียกว่าระบบนาม-ปี (Name-year system)ซึ่งเป็นการอ้างโดยการระบุ ชื่อผู้แต่งปีพิมพ์ และ เลขหน้าของเอกสารที่อ้าง • ผู้แต่งที่เป็นคนไทยให้ระบุทั้งชื่อ และชื่อสกุล • ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ระบุเฉพาะชื่อสกุล เท่านั้น

  7. การอ้างอิงระบบนาม-ปี เขียนได้ 2 แบบ คือ  การเขียนระบุชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ และ เลขหน้า ไว้ท้ายข้อความที่อ้างมีรูปแบบดังนี้ ข้อความที่อ้าง ... (ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์, หน้า เลขหน้า) ข้อความที่อ้าง ... (ประไพ อุดมทัศนีย์, 2530, หน้า 20) ข้อความที่อ้าง ... (Taylor, 2002, pp. 181-182) หน้า 215

  8. ตัวอย่าง เป้าหมายของการดำเนินการศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขามุ่งจะให้ชาวเขามีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (ประไพ อุดมทัศนีย์, 2530, หน้า 20) เมื่อบุคคลต้องการข้อสนเทศจะถามเพื่อนก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อทราบแหล่งวรรณกรรม หากไม่ได้คำตอบที่ต้องการแล้วจึงค้นหาข้อมูลโดยใช้ห้องสมุดอื่น ๆ (Taylor, 2002, pp. 181-182)

  9. ตัวอย่าง ความสำคัญของหนังสือพิมพ์เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ดังปรากฏอยู่ในวาทะของบุคคลสำคัญหลายท่าน กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ขณะทรงดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีได้ประทานคำขวัญแก่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เนื่องในวันครบรอบปีที่ 5 ของการก่อตั้ง เมื่อ 28 มีนาคม 2511 โดยทรงกล่าวถึงความสำคัญของหนังสือพิมพ์ไว้ ความว่า "เสียงของผู้แทน เป็นเสียงของประชาชนก็จริงอยู่ แต่เสียงของหนังสือพิมพ์ เป็นเสียงแทนมติมหาชน" (ประชัน วัลลิโก, 2516, หน้า 42)วาทะอันเฉียบคมนี้ เป็นการเน้นความสำคัญของหนังสือพิมพ์ . . .

  10. ตัวอย่าง ... คำว่า นิทาน ในทางคติชนวิทยา คือเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาจนถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งส่วนมากมักจะถ่ายทอดด้วยวิธีมุขปาฐะ (กิ่งแก้ว อัตถากร, 2520, หน้า 12) นิทานเหล่านี้จะเรียกว่า นิทานพื้นบ้านบ้าง นิทานพื้นเมืองบ้าง และนิทานชาวบ้านบ้าง มีความหมายเฉพาะเจาะจงถึงเรื่องเล่าประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ ในที่นี้จะขอเรียกว่า นิทานพื้นบ้าน...

  11. การอ้างอิงระบบนาม-ปี  การเขียนระบุชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ และ เลขหน้าไว้หน้าข้อความที่อ้างมีรูปแบบดังนี้ ชื่อผู้แต่ง (ปีพิมพ์, หน้า เลขหน้า)ข้อความที่อ้าง ... ประไพ อุดมทัศนีย์ ( 2530, หน้า 20) ได้กล่าวถึง ... โรเบิร์ต เทเลอร์ (Taylor, 2002, pp. 181-182) ได้แสดงความเห็นไว้ว่า…

  12. ตัวอย่าง ประไพ อุดมทัศนีย์ (2530, หน้า 20) ได้กล่าวถึงเป้าหมายของการดำเนินการศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขาว่ามุ่งจะให้ชาวเขามีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โรเบิร์ต เทเลอร์ (Taylor, 2002, pp. 181-182) ได้แสดงความเห็นไว้ว่า เมื่อบุคคลต้องการข้อสนเทศจะถามเพื่อนก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อทราบแหล่งวรรณกรรม หากไม่ได้คำตอบที่ต้องการแล้วจึงค้นหาข้อมูลโดยใช้ห้องสมุดอื่น ๆ

  13. ตัวอย่าง การเขียนรายงานการวิจัยเป็นการพรรณนา อธิบาย หรือชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดของงาน วิจัยชิ้นนั้น ๆ อย่างตรงไปตรงมา ครบถ้วน เพื่อเป็นหลักฐานอันหนักแน่นของการทำวิจัยต่อความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ของงานวิจัยชิ้นนั้น ๆ สุบรรณ พันธ์วิศวาส และชัยวัฒน์ ปัญจพงศ์ (2522, หน้า 212) ได้เสนอแนะว่า การเขียนรายงานการวิจัย จะต้องรายงานไปตามความเป็นจริง และตามข้อมูลที่ได้รับและได้วิเคราะห์แปลความออกมาด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และปราศจากอคติ (bias) ...

  14. ตัวอย่าง ความสำคัญของหนังสือพิมพ์นั้น ประชัน วัลลิโก (2516, หน้า 42)ได้นำวาทะของบุคคลสำคัญขึ้นมาอ้างให้เห็นชัดโดยยกคำขวัญของ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ขณะทรงดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ที่ประทานแก่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เนื่องในวันครบรอบปีที่ 5 ของการก่อตั้ง เมื่อ 28 มีนาคม 2511 ความว่า "เสียงของผู้แทน เป็นเสียงของประชาชนก็จริงอยู่ แต่เสียงของหนังสือพิมพ์ เป็นเสียงแทนมติมหาชน" วาทะอันเฉียบคมนี้ เป็นการเน้นความสำคัญของหนังสือพิมพ์ ...

  15. ตัวอย่างการใช้ แบบที่ 1 ร่วมกับแบบที่ 2 ความตรงทางด้านเนื้อหายังไม่มีสูตรคณิตศาสตร์สำหรับใช้คำนวณและยังไม่มีแนวทางใดแสดงค่าความตรงของเนื้อหาเป็นตัวเลขได้ (เรืองอุไร ศรีนิลทา, 2535, หน้า 35) พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2531, หน้า 124) เสนอแนะเอาไว้ว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหา ไม่ควรน้อยกว่า 3 ท่าน ร่วมกันพิจารณา และใช้ดรรชนีความพ้อง (index concurrence) ของความเห็น ...

  16. การอ้างอิงจากหนังสือ (ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์,/หน้า/หมายเลขหน้าที่อ้าง) (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2542, หน้า 73) (Gupta, 2001, pp. 397-399) (ชื่อหนังสือ,/ปีที่พิมพ์,/หน้า/หมายเลขหน้าที่อ้าง) เช่น (โภชนาการก้าวหน้า, 2547, หน้า 15-16) (The commercial bank management, 1992, p. 25)

  17. การอ้างอิงจากหนังสือ กรณีไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง แต่มีผู้รับผิดชอบอื่น ได้แก่ บรรณาธิการ ผู้รวบรวม (ผู้รับผิดชอบ,/หน้าที่,/ปีที่พิมพ์,/หน้า/หมายเลขหน้าที่อ้าง) (ชนิดา ปโชติการ, บรรณาธิการ, 2548, หน้า 60-70) (นิดา, ผู้แปล, 2536, หน้า 6-7) (น้ำทิพย์ วิภาวิน, ผู้รวบรวม, 2549, หน้า 102) (Smith, trans, 1996, p. 67) Normans, ed., 1999, pp. 68-72)

  18. การอ้างอิงจากหนังสือ กรณีไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ (ชื่อผู้แต่ง,/ม.ป.ป.,/หน้า/หมายเลขหน้าที่อ้าง) สมบูรณ์ ไพรินทร์, ม.ป.ป., หน้า 25) (Davies, n.d., p. 19)

  19. การอ้างอิงจากหนังสือ หนังสือหลายเล่มจบ และผู้แต่งคนเดียวกัน (ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์,/เล่มที่ใช้,/หน้า/หมายเลขหน้าที่อ้าง) เช่น (วัลยา ภู่ภิญโญ, 2543, เล่ม 2, หน้า 9-10) (Laymar, 2005, vol. 3, p. 16) สรุปเนื้อหา แนวคิดทั้งเล่ม ไม่จำเป็นต้องใส่เลขหน้า (ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์) (นวพันธ์ ปิยะวรรณกร, 2543) (Baugh, 1993)

  20. การอ้างอิงจากวารสาร (ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์,/หน้า/หมายเลขหน้าที่อ้าง) (นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ, 2540, หน้า 17) (Chew, 2000, pp. 56-57) หากไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อบทความ (ชื่อบทความ.//ปีที่พิมพ์,/หน้า/หมายเลขหน้าที่อ้าง) เช่น (พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547. 2547, หน้า 112)

  21. การอ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ (ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์,/หน้า/หมายเลขหน้าที่อ้าง) (นิติภูมิ นวรัตน์, 2548, หน้า 2) กรณีไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง (ชื่อบทความ.//ปีที่พิมพ์,/หน้า/หมายเลขหน้าที่อ้าง) (กฎหมายแรงงานใหม่. 2541, หน้า 6)

  22. การอ้างอิงจากจุลสาร (ผู้จัดทำ,/ปีที่พิมพ์,/หน้า/หมายเลขหน้าที่อ้าง) (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2543, หน้า 6) กรณีไม่ปรากฏชื่อผู้จัดทำ (ชื่อจุลสาร,/ปีที่พิมพ์,/หน้า/หมายเลขหน้าที่อ้าง) (แนะนำการทำสมาธิและฝึกจิต, 2536, หน้า 1)

  23. การอ้างอิงจากสารานุกรม หรือ หนังสือหลายเล่มจบ (ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์,/เล่มที่ใช้,/หน้า/เลขหน้าอ้าง) (พิเศษ เจียจันทน์พงษ์, 2542, เล่ม 24, หน้า 87-132) (Kanley, 1993, vol.15, pp. 241-244) กรณีไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง (ชื่อบทความ.//ปีที่พิมพ์,/เล่มที่ใช้,/หน้า/เลขหน้าที่อ้าง) (คอมพิวเตอร์. 2530, เล่ม 8, หน้า 199-256) (Information resource management. 2002, vol. 43, pp. 93-112)

  24. การอ้างอิงจากการสัมภาษณ์ และรายการวิทยุโทรทัศน์ การสัมภาษณ์ (interview ) (ผู้ให้สัมภาษณ์,/ปีที่สัมภาษณ์) (ยุพา ผลจำรูญ, 2545) รายการวิทยุโทรทัศน์ (ชื่อผู้จัดทำ,/ปีที่ผลิต) (ชุติมา สัจจานันท์, 2540) (ธนาคารกสิกรไทย, 2548)

  25. การอ้างอิงจากสื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ (ชื่อผู้จัดทำ,/ปีที่ผลิต) (ชุติมา สัจจานันท์, 2541) (Lee, 2003) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ผู้จัดทำ,/ปีที่ผลิต) (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 1997) (มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540) (Slouka, 1995) (Mankiewicz, 2003)

  26. ผู้แต่ง : สามัญชน (เสนอ อินทรสุขศรี, 2546, หน้า 3-8) (Thanat Khoman, 1976, pp. 16-25) (Dowing, 1996, p. 224) (Taylor, 1942, pp. 30-32)

  27. ผู้แต่ง : มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ องค์กร (ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์, 2530, หน้า 95-107) (พระยาอนุมานราชธน, 2510, หน้า 52) (พระครูสังฆรักษปริคต [เกศ], 2511, หน้า 7-9) (กระทรวงการคลัง, 2531, หน้า 120-35) (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2548, หน้า 99) (กาญจนาคพันธุ์, 2514, หน้า 238 - 241)

  28. ผู้แต่ง 2 คน (ชื่อผู้แต่ง 1 และ ชื่อผู้แต่ง 2, ปีพิมพ์, หน้า เลขหน้า) (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ และประภาศรี สีหอำไพ, 2519, หน้า 98-100) (Marks &Neilwson, 1991, pp. 26-29)

  29. ผู้แต่ง 3-5 คน (ผู้แต่ง 1, ผู้แต่ง 2, ผู้แต่ง 3, ผู้แต่ง 4, และผู้แต่ง 5, ปีพิมพ์, หน้า เลขหน้า) (คณิต มีสมมนต์, แสวง โพธิเงิน และสนอง ด้านสิทธิ์, 2545, หน้า 25) (Larry, Tayler, dewey & Ragan, 2005, pp. 12-14)

  30. ผู้แต่ง 6 คน ขึ้นไป (ผู้แต่ง 1 และคนอื่น ๆ, ปีพิมพ์, หน้า เลขหน้า) (คณิต มีสมมนต์ และคนอื่น ๆ, 2549, หน้า 25) (Larry et al., 2005, p. 12)

  31. ผู้แต่งคนเดียวกันมีหลายเรื่องปีพิมพ์เดียวกันผู้แต่งคนเดียวกันมีหลายเรื่องปีพิมพ์เดียวกัน ให้ใส่ ก ข ค หรือ a b c กำกับเล่มที่ต้องการอ้าง (ธานินทร์ กรัยวิเชียร, 2520 ก, หน้า 64-75) (ธานินทร์ กรัยวิเชียร, 2520 ข, หน้า 52-55) (Larry, 1984 a, pp. 25-26) (Larry, 1984 b, p. 69)

  32. เอกสารรอง การอ้างเอกสารที่ปรากฏในเอกสารซึ่งเรามิได้ค้นคว้าจริงแต่มีหลักฐานการอ้างอิงในเอกสารฉบับที่เรากำลังใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง ถ้าให้ความสำคัญเอกสารต้นฉบับเดิมมากกว่าให้ลงรายการของเอกสารต้นฉบับเดิมตามด้วยคำว่า “อ้างถึงใน”หากเป็นภาษาอังกฤษใช้ คำว่า“quoted in”หรือ “cited by”แล้วจึงอ้างรายการเอกสารรอง เช่น (Felix, 1943, p. 17 quoted in Rampel, 1974, p. 94) (ม.ล.จ้อย นันทิวัชรินทร์, 2514, หน้า 110 อ้างถึงใน วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2534, หน้า 171)

  33. เอกสารรอง ถ้าให้ความสำคัญเอกสารรองมากกว่าเอกสารต้นฉบับเดิมให้ลงรายการเอกสารรองตามด้วยคำว่า “อ้างจาก”หากเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า “quoting”หรือ “citing”แล้วจึงอ้างรายการเอกสารต้นฉบับเดิม เช่น (Rampel, 1974, p.94 citing Felix, 1943, p.17) (วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2534, หน้า 171 อ้างจาก ม.ล.จ้อย นันทิวัชรินทร์, 2514, หน้า 110)

  34. ความหมายของการโฆษณาสินค้า ความหมายของการโฆษณาสินค้า ความหมายของการโฆษณาสินค้านั้น ฟื้น เพชรรักษ์ (2525, หน้า 5) ได้อ้างคำนิยามจากสารานุกรมอเมริกานาและสมาคมการตลาดอเมริกันมีความว่า "หมายถึงการส่งเสริมการผลิต บริการหรือความคิด เพื่อผลตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง . . .” และ ประสาน ปุตรเศรณี (2527, หน้า 7) ได้อธิบายความหมายไว้ดังนี้ การโฆษณา คือ การติดต่อสื่อสารหรือการให้ข่าวสาร ตลอดจนข้อมูลโดยผ่านสื่อมวลชนประเภทต่างๆ จากผู้ผลิตสินค้านั้นไปยังกลุ่มผู้บริโภค ทั้งนี้ ก็เพื่อจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมาย อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ก่อให้เกิดการรู้จักสินค้าที่โฆษณา ก่อให้เกิดความประทับใจอยากลองสินค้านั้นหรือเพื่อให้ได้รับรู้สินค้านั้น

  35. ความหมายของก๊าซหุงต้มความหมายของก๊าซหุงต้ม ปัจจุบันก๊าซหุงต้มได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นเป็นลำดับ ก๊าซหุงต้มมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าก๊าซแอลพีจี เป็นอักษรย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Liquefied Petroleum Gas หมายถึง ก๊าซที่ได้จากปิโตรเลียมทำให้เหลว เรียกสั้นๆว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นสารประกอบของไฮโดรเจนกับคาร์บอนในอัตราส่วนที่ต่างๆกันที่เรียกว่าโพรเพน ประกอบด้วยคาร์บอน 3 อณูกับไฮโดรเจน 8 อณู และที่เรียกว่าบิวเทน ประกอบด้วยคาร์บอน 4 อณูกับไฮโดรเจน 10 อณู (การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย, 2526, หน้า 29) ก๊าซแอลพีจีที่ใช้อยู่นั้นเป็นส่วนผสมของโพรเพนและบิวเทน โดยมีส่วนผสมของโพรเพนร้อยละ 30-50 (รังสรรค์ ศรีสาคร, 2529, หน้า 51) ปัจจุบันสามารถผลิตได้ 2 วิธีคือ

  36. การอ้างอิงแบบเชิงอรรถการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ ข้อความส่วนหนึ่งนอกเหนือจากเนื้อหาซึ่งเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วนล่างของหน้าใต้เนื้อหาลงไป เชิงอรรถเสริมความ (Content footnote) เชิงอรรถอ้างอิง (Citation footnote) เชิงอรรถโยง (Cross-reference footnote)

  37. เชิงอรรถเสริมความ ข้อความที่อธิบายขยายความเพิ่มเติมรายละเอียดของคำ หรือข้อความที่ปรากฏในเนื้อหาเพื่อให้ได้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น โดยอธิบายไว้ที่ส่วนล่างของหน้าเนื้อหารายงานการค้นคว้า เพื่อเสริมความเข้าใจในข้อความหรือคำนั้น ๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  38. เนื่องจากศาลเจ้ากวนอูได้ทรุดโทรมลงไปมากเกินกว่าที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์ คณะกรรมการมูลนิธิประชานุกูลจึงได้สร้างศาลเจ้ากวนอูใหม่ทั้งหมดในที่เก่าในปีพ.ศ. 2510 และในปี พ.ศ. 2513 ก็ได้สร้างศาลเจ้าเล็กๆ อยู่หลังศาลเจ้ากวนอูใหม่แทนศาลเจ้าเดิมซึ่งทรุดโทรมไป ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เก็บป้ายชื่อ*ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ และบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำประโยชน์ให้แก่ชุมชนปัจจุบัน ศาลเจ้ากวนอู และศาลเจ้าที่เก็บป้ายชื่อ ยังเป็นที่เคารพนับถือของชาวจีน ชาวไทยในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียงมาก *ตามประเพณีของชาวจีน เมื่อฝังศพผู้ตายเสร็จแล้ว จะทำป้ายชื่อไว้เซ่นไหว้ จะจัดเครื่องเซ่นเป็น 2 ที่ คือ เซ่นป้ายพระภูมิที่หนึ่ง และเซ่นป้ายผู้ที่ล่วงลับอีกที่หนึ่ง อ้างจาก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สาส์นสมเด็จ. เล่ม 2. (พระนคร: องค์การค้าของครุสภา, 2505) หน้า 210.

  39. นักมานุษยวิทยา (Anthropologist)๑ นักชาติพันธุ์วิทยา (Ethnologist)๒ และนักชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographer)๓ ทั่วโลกได้ศึกษาและสรุปความเห็นเกี่ยวกับความเป็นมาและอารยธรรมของชนชาติไทยไว้เป็นแนวเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นอายุของชาติ และอารยธรรมไทยที่ว่า “ไทย”เป็นชาติพันธุ์อันเก่าแก่ มีอายุของชาติและมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเองต่อเนื่องมายาวนานกว่า ๔,๐๐๐ ปี ใกล้เคียงกับชาติเก่าแก่ในทวีปเอเชียทั้งสองชาติ คือ จีน และอินเดีย ๑มานุษยวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องตัวคนและสิ่งที่คนสร้างขึ้น (อ. anthropology). อ้างถึง ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕. (กรุงเทพฯ, ๒๕๓๘). หน้า ๖๔๗. ๒ชาติพันธุ์วิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งเชื้อชาติของมนุษย์ กำเนิดของเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของชนชาติต่างๆ (อ. ethonology). อ้างถึง เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๖๖.

  40. เชิงอรรถอ้างอิง เชิงอรรถที่แจ้งบอกแหล่งที่มาของคำ ข้อความ หรือข้อมูลที่นำมาอ้างถึงในเนื้อหารายงานการค้นคว้าด้วยการใส่หมายเลขกำกับไว้ข้างท้ายข้อความที่อ้างพร้อมระบุรายละเอียดของแหล่งที่มาไว้ที่ด้านล่างของหน้าแต่ละหน้า ใส่หมายเลขให้ตรงกัน

  41. ดังปรากฏว่า สมเด็จเจ้าพระยาได้รับเลือกจากที่ประชุมขุนนางและพระบรมวงศานุวงศ์ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในระหว่างที่รัชกาลที่ 5 ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ ระหว่าง พ.ศ. 2411 – 2416 อำนาจอันยิ่งใหญ่ที่สมเด็จพระยาฯ มีอยู่นี้ หากท่านจะคิดทรยศต่อราชบัลลังค์โดยยกตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ก็ย่อมจะทำได้ แต่สมเด็จเจ้าพระยาฯ มีความยึดมั่นกตัญญูและจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์จักรี1กับทั้งยังได้ยืนยันความสุจริตใจของตนต่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังโฆสิตารามจะทำนุบำรุงแผ่นดินโดยเที่ยงธรรม และตั้งใจประคับประคองสนองพระเดชพระคุณโดยสุจริต คิดถึงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นที่ตั้งอยู่เป็นนิจ จากการศึกษาภาษาอังกฤษ ทำให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ที่มีความคิดทันสมัย ก้าวหน้ากว่าคนอื่นๆในสมัยนั้น ท่านได้นำความเจริญของตะวันตกทั้งทางด้านศิลปะวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ 1ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์. เล่ม 2. (กรุงเทพ: แพร่พิทยา, 2516) หน้า 768.

  42. เชิงอรรถโยง การโยงหรือชี้แนวให้ผู้อ่านหารายละเอียดเพิ่มเติมจากหน้าอื่น ๆ ที่ได้เคยอ้างอิงไว้แล้ว เพื่อลดการเขียนซ้ำซ้อน โดยเขียนไว้ตรงส่วนล่างของหน้าเหมือนเชิงอรรถเสริมความ

  43. ตัวอย่าง รายละเอียดวิธีลงรายการเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ครั้งที่พิมพ์ เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ และปีที่พิมพ์ ให้ศึกษาวิธีลงรายการดังกล่าวในตอนต่อไปที่กล่าวถึงการจัดพิมพ์บรรณานุกรมของเอกสารประเภทต่าง ๆ1 1ดูรายละเอียดเพิ่มเติม หน้า 148.

More Related