320 likes | 525 Views
สื่อและอุปกรณ์รับส่งข้อมูล. Types of Media. สื่อกลาง ( Media ). หมายถึง สื่อกลางหรือตัวกลางที่ทำหน้าที่ส่งผ่าน ของข้อมูลข่าวสารจากฝั่งผู้ส่งไปยังผู้รับ. สื่อกลางประเภทเหนี่ยวนำ ( Guided media) หรือ ระบบใช้สาย ( Wired System ).
E N D
สื่อและอุปกรณ์รับส่งข้อมูลสื่อและอุปกรณ์รับส่งข้อมูล Types of Media
สื่อกลาง ( Media ) หมายถึง สื่อกลางหรือตัวกลางที่ทำหน้าที่ส่งผ่าน ของข้อมูลข่าวสารจากฝั่งผู้ส่งไปยังผู้รับ
สื่อกลางประเภทเหนี่ยวนำ (Guided media) หรือ ระบบใช้สาย (Wired System ) • สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ (Unaided media) หรือระบบไร้สาย (Wireless System) ประเภทของสื่อนำสัญญาณ สามารถแบ่งสื่อกลางได้เป็น 2 ประเภท คือ
สื่อกลางประเภทเหนี่ยวนำ (Guided media) หรือระบบใช้สาย (Wired System ) 1.1 สายคู่พันเกลียว (Twisted-Pair Cable) • เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด • ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดบาง (1 มิลลิเมตร) • มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว • ใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์
สายคู่พันเกลียว มี 2 ประเภท คือ 1. สายคู่พันเกลียวแบบไม่มีสิ่งห่อหุ้ม (Unshielded Twisted Pair – UTP) • ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสาร • มีความยาวไม่เกิน 100 เมตร • มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ 2. สายคู่พันเกลียวแบบมีสิ่งห่อหุ้ม (Shielded Twisted Pair – STP) • มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่ • มีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน • ป้องกันสัญญาณรบกวนต่างๆ • ใช้ในระยะทางไกลกว่าสาย UTP
1.2 สายโคแอกเซียล ( Coaxial Cable) • เป็นสายชีลด์ที่หุ้มส่วนของตัวนำไว้ • มีภูมิต้านทานต่อสัญญาณรบกวน • เหมาะที่จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม • ที่มีสัญญาณรบกวนมาก สายที่รู้จักกันดีที่สุดคือสายเคเบิลที่ใช้สำหรับระบบเครือข่าย Thin Ethernet และ Thick Ethernet
1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber optic cable) • วัสดุที่ใช้ทำเส้นใยแก้วนำแสงมักเป็นสารประกอบประเภท ซิลิกา หรือ ซิลิกอนไดออกไซด์ ( SIO2 ) ซึ่งก็คือ แก้วบริสุทธิ์นั่นเอง
เส้นใยแก้วนำแสงมี 2 แบบ 1. ซิงเกิลโหมด • เป็นการใช้ตัวนำแสงที่บีบลำแสง • ให้พุ่งตรงไปตามท่อแก้ว 2. มัลติโหมด • เป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีลักษณะ • การกระจายแสงออกด้านข้างได้
ตัวส่งแสงและรับแสง • การใช้เส้นใยแก้วนำแสงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณแสง • อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณแสงหรือเป็นแหล่งกำเนิดแสงคือ LED หรือเลเซอร์ไดโอด • อุปกรณ์ส่งแสงนี้ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง • อุปกรณ์รับแสงและเปลี่ยนกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า คือโฟโต้ไดโอด
อุปกรณ์ตัวรับและตัวส่งแสงนี้มักทำมาสำเร็จเป็นโมดูล โดยเฉพาะเชื่อมต่อเข้ากับสัญญาณข้อมูลที่เป็นไฟฟ้าได้โดยตรง และทำให้สะดวกต่อการใช้งาน โครงสร้างของเส้นใยแก้วนำแสง
ข้อดี ของเส้นใยแก้วนำแสง - ความสามารถในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร - กำลังสูญเสียต่ำ - คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถรบกวนได้ -น้ำหนักเบา -ขนาดเล็ก - มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน - มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลสูงกว่า
ข้อเสีย ของเส้นใยแก้วนำแสง - ความเข้าใจผิดบางประการ - แตกหักได้ง่าย - เส้นใยแก้วนำแสงมีราคาแพง - เส้นใยแก้วนำแสงยังไม่สามารถใช้กับเครื่อง ที่ตั้งโต๊ะได้
2. สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ (Unaided media) หรือระบบไร้สาย (Wireless System) • เป็นระบบที่ไม่ใช้สายสัญญาณเป็นตัวนำข้อมูล เช่น ระบบไมโครเวฟ ระบบดาวเทียม ระบบอินฟราเรด ระบบวิทยุ • ความพิเศษของการใช้สื่อประเภทกระจายคลื่น คือ ความสะดวกสบายในเรื่องสถานที่ตั้งและสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว
สื่อประเภทกระจายคลื่น (Unguided Media) สามารถแบ่งการใช้สื่อประเภทกระจายคลื่นเป็น 3 กลุ่มตามการใช้งาน คือ 1. ระบบเครือข่ายไร้สายแบบท้องถิ่น (Wireless LAN) 2. ระบบเครือข่ายไร้สายแบบขยาย (Extended Local Networks) 3. ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Computing)
2.1 ระบบไมโครเวฟ ( Microwave ) • ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอด ๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง • อาจเรียกสัญญาณของไมโครเวฟว่า สัญญาณแบบเส้นสายตา ( Line of Sight ) • สัญญาณของไมโครเวฟ จะเดินทางเป็นเส้นตรง • การตั้งสถานีทวนสัญญาณนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมตั้งในพื้นที่สูง ๆ
การทำงานของไมโครเวฟภาคพื้นดินการทำงานของไมโครเวฟภาคพื้นดิน
การทำงานของไมโครเวฟเชื่อมต่อผ่านดาวเทียมการทำงานของไมโครเวฟเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม
2.2 ระบบดาวเทียม ( Satellite System ) เครือข่ายสื่อสารภาคพื้นดินส่วนประกอบหลักของระบบสื่อสารดาวเทียม ได้แก่ • ดาวเทียม (Satellite หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Spacecraft) • สถานีควบคุมภาคพื้นดิน (Telemetry Tracking and Command หรือ TT&C) • สถานีเชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสารภาคพื้นดิน (Earth Station หรือ Gateway)
ข้อดีของระบบดาวเทียม • ใช้เวลาในการติดตั้งน้อย • สามารถติดต่อได้กับทุกตำแหน่งที่อยู่ในพื้นที่ ให้บริการของดาวเทียม • ไม่มีสัญญาณรบกวน (Noise) เนื่องจากเป็นการส่งที่ความถี่สูงมาก • ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งต่อจุดคงที่
ข้อเสียของระบบดาวเทียมข้อเสียของระบบดาวเทียม • ความปลอดภัยของข้อมูลต่ำ • สัญญาณที่รับ-ส่ง มี Propagation Delay • ราคาลงทุนเริ่มต้นค่อนข้างสูง • ความแปรปรวนของอากาศมีผลทำให้สัญญาณผิดเพื้ยนจากปกติได้
เปรียบเทียบการทำงานของดาวเทียมกับไมโครเวฟเปรียบเทียบการทำงานของดาวเทียมกับไมโครเวฟ
2.3 ระบบอินฟราเรด (Infrared Transmission) • ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ Remote control • ต้องใช้งานเป็นเส้นตรงระหว่างเครื่องรับและเครื่องส่ง • มีระยะทางรับส่งที่ไม่ไกล • ปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นระบบเครือข่ายระยะใกล้ๆ
วิธีการสื่อสารด้วยอินฟราเรดวิธีการสื่อสารด้วยอินฟราเรด แบ่งเป็น 4 แบบ ดังนี้ 1. Broadband Optical Telepoint 2. Line-of-Sight Infrared 3. Reflective Infrared 4. Scatter Infrared
2.4 โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Transmission) • โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Transmission) จะอาศัยการส่งสัญญาณของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการส่งผ่านข้อมูล • อุปกรณชนิดนี้เปนการสื่อสารสัญญาณเลียง ขอมูล โดยใชคลื่นวิทยุในการสื่อสารกับเสาอากาศวิทยุในขอบเขตของพื้นที่ที่กํ าหนดเรียกวา เซล สัญญาณcellular จะเดินทางจากเซลหนึ่งไปยังอีกเซลหนึ่ง
ส่วนประกอบของโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนประกอบของโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ • ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Electronic Mobile Exchange) หรือ EMX • สถานีเครือข่าย (Cell Site) • เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Telephone)
การกำหนดความถี่ช่องสัญญาณการกำหนดความถี่ช่องสัญญาณ - ย่านความถี่ A ให้บริการโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย แบ่งเป็น 1.1) ความถี่ในการส่งของสถานีเครือข่าย (Base Tx) 870.30 - 879.990 MHz - ช่องสัญญาณเสียง (Voice Channel) หมายเลข 1-312 - ช่องสัญญาณควบคุม (Signaling Channel) หมายเลข 313-333 1.2) ความถี่ในการส่งของ เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Tx) 825.30-834.990 MHz - ย่านความถี่ B ให้บริการโดย บริษัท โทเทิ่ลแอคเซสคอมมิวนิเคชั่น จำกัด แบ่งเป็น 2.1) ความถี่ในการส่งของสถานีเครือข่าย (Base-Tx) 880.20-889.980 MHz - ช่องสัญญาณเสียง (Voice Channel) หมายเลข 355-666 - ช่องสัญญาณควบคุม (Signaling Channel) หมายเลข 334 - 354 2.2) ความถี่ในการส่งของโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Tx) 835.020 - 844.980 MHz
การติดต่อระหว่างสถานีเครือข่ายกับโทรศัพท์เคลื่อนที่การติดต่อระหว่างสถานีเครือข่ายกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ • สัญญาณควบคุม (SIGNALING CHANNEL) ใช้ในการส่งข้อมูล - มอดูเลตแบบ FSK - อัตราการส่ง 10 kbps - Peak deviation + 8.0 KHz - ชนิดการเข้ารหัส Manchester • สัญญาณเสียง (VOICE CHANNEL) ใช้ในการสนทนา - ชนิดการมอดูเลต FM - Peak - deviation + 12.0 KHz
สัญญาณรบกวนที่เกิดกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูล่าร์สัญญาณรบกวนที่เกิดกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูล่าร์ การเกิดสัญญาณรบกวนหรือInterference มี 2 แบบคือ • Cochannel interference ซึ่งเกิดจากการแทรกสอดของสัญญาณที่ความถี่เดียวกันนำมา reuse • Adjacent interference เกิดจากการแทรกสอดของสัญญาณที่มีอยู่ติดกัน
หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อกลางหลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อกลาง • อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission rate) • ระยะทาง (Distance) • ค่าใช้จ่าย (Cost) • ความสะดวกในการติดตั้ง (Easy of install) • ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม (Resistance to environmental conditions)