1 / 22

ตำนานเมืองจันทบุรี

ตำนานเมืองจันทบุรี. จัดทำโดย. นางสาวนุดี จันทร์อุ่น รหัสนิสิต 54430554. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว สาขา การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. เสนอ. อาจารย์ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ วิชัย บุญเจือ. วิชา Information Technology in Daily Life 885101 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555. ตำนานเมืองจันทบุรี.

ardara
Download Presentation

ตำนานเมืองจันทบุรี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ตำนานเมืองจันทบุรี จัดทำโดย นางสาวนุดี จันทร์อุ่น รหัสนิสิต 54430554 คณะการจัดการและการท่องเที่ยว สาขา การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ เสนอ อาจารย์ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ วิชัย บุญเจือ วิชา Information Technology in Daily Life 885101 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555

  2. ตำนานเมืองจันทบุรี

  3. สารบัญ หน้า เรื่อง 4-5 ตำนานและความเป็นมาของเมืองจันท์ 6 คำขวัญ จันทบุรี 7 ตราประจำจังหวัดจันทบุรี ของดี ที่อยาก ให้ทุกคนได้สัมผัส ณ เมืองจันท์ 8-19 20 การเดินทางมาจันทบุรี 21 เอกสารอ้างอิง

  4. ตำนานและความเป็นมาของเมืองจันท์ตำนานและความเป็นมาของเมืองจันท์ • จันทบุรีเป็นเมืองเก่าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อกันว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี สร้างขึ้นโดยชนชาติ ชอง บางตำนานก็ว่าสร้างโดยชนชาติ ขอม หัวเมืองเดิมตามศิลาจารึกเรียกว่า "ควนคราบุรี" ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เมืองกาไว" ตามชื่อผู้ปกครอง เมืองจันทบุรีเดิมตั้งอยู่บริเวณหน้าเขาสระบาป มีชนพื้นเมืองเดิมอาศัยอยู่เรียกว่า ชาวชอง มีภาษาพูดเป็นภาษาของตนเอง ซึ่งแตกต่างจากภาษาไทยและภาษาเขมร เจ้าผู้ครองเมืองที่ยิ่งใหญ่ในตำนานคือ พระเจ้าพรหมทัต (พ.ศ. 1349-1399) ครั้นถึงปี พ.ศ. 1800 ได้มีการย้ายถิ่นฐานมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านหัววัง ตำบลพุงทลาย ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำจันทบุรีในปัจจุบัน ต่อมาปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2310 หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ในคราวนั้นเจ้าเมืองจันทบุรีนามว่าเจ้าขรัวหลาน(ยศเจ้าเมืองจันทบุรีเดิม) ชึ่งราษฎรเลือกขึ้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่าพระยาจันทบูรณ์จะช่วยปกป้องรักษาเมืองจันทบุรีให้อยู่รอดสืบต่อไป ได้ต่อต้านกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เมืองจันทบุรีอยู่รอดเป็นอิสระ รักษาแผ่นดินไว้ให้ชนชาติบูรพา แต่สุดท้ายก็ต้องปราชัยพ่ายแพ้แก่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระองค์ทรงใช้พญาช้างศึกบุกชนกำแพงเมืองจนสามารถเข้าตีเมืองเอาไว้ได้สำเร็จ เจ้าเมืองจันทบุรีได้หลบภัยไปอาณาจักรกัมพูชาจนถึงแก่อสัญกรรม เมืองจันทบุรีจึงตกเป็นของสยามนับแต่นั้นเป็นต้นมา

  5. ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 11 ปีเนื่องจากไทยมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยฝรั่งเศสกล่าวหาว่าไทยล่วงล้ำดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนไทยได้อ้างว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของไทย ฝ่ายไทยเห็นว่าจะต่อสู้ทางทหารฝรั่งเศสไม่ได้จึงขอเปิดการเจรจา ทางฝรั่งเศสยื่นคำขาด โดยฝ่ายไทยต้องยอมยกดินแดนที่เป็นข้อพิพาทรวมทั้งเกาะทั้งหมดในลำน้ำโขง พร้อมเงินอีกหนึ่งล้านฟรังก์และสามล้านบาท โดยจนกว่าจะดำเนินการเสร็จฝรั่งเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้ก่อน แต่เมื่อทางไทยดำเนินการเสร็จ ฝรั่งเศสไม่ได้ถอนกำลังออก ฝ่ายไทยจึงต้องยอมยกเมืองตราดและเมืองประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี และอีกหนึ่งปีต่อมาไทยยอมยกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกเมืองตราดคืนมา แต่ฝรั่งเศสไม่ได้คืนเมืองประจันตคีรีเขตร์แต่อย่างใด ปัจจุบันเมืองประจันตคีรีเขตร์จึงอยู่ในการปกครองของราชอาณาจักรกัมพูชา ต่อมามีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จัดตั้งมณฑลจันทบุรี โดยมีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราดอยู่ในเขตการปกครองจนถึงปี พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลและได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ดังนั้นเมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้

  6. คำขวัญ จังหวัดจันทบุรี

  7. ตราประจำจังหวัด จันทบุรี ต้น จัน ต้นไม้ประจำจังหวัด จันทบุรี ดอกเหลืองจันทบูร ดอกไม้ประจำจังหวัด จันทบุรี

  8. ของดี ที่อยากให้ทุกคนได้สัมผัส ณ เมืองจันท์

  9. เมืองจันท์ ผลไม้หลากหลายชนิด

  10. พลอยเมืองจันท์ที่มีความงามที่สุดในภาคตะวันออก และ คนจันทบุรีส่วนใหญ่ มักจะนิยมการเจียรนัยพลอยเป็นอาชีพ

  11. น้ำตกที่หลากหลายในเมืองจันท์น้ำตกที่หลากหลายในเมืองจันท์ อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น น้ำตกเขาสอยดาว อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

  12. หาดแหลมเด็จ หลาวหาดเจ้า

  13. เขาพระบาทพลวง ที่ชาวบ้านบริเวณนั้นเชื่อกันว่ามีรอยพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่ และ ก้อนหินใหญ่ตั้งอยู่บนหน้าผาข้างพระพุทธบาทชาวบ้านเชื่อว่าก้อนหินนี้ลอยจากพื้นเพราะเคยทดลองเอาด้ายลอดผ่านก้อนหินนี้ได้

  14. อาสนวิหารแม่พระปฏิสนธินิรมล ( วัดคาทอลิก ) จันทบุรี ที่ถือได้ว่าเป็นโบสถ์ที่เก่าและสวยงามที่สุดในประเทศไทย

  15. ร้านเจียรนัยพลอยที่เก่าแก่ในชุมชนริมน้ำร้านเจียรนัยพลอยที่เก่าแก่ในชุมชนริมน้ำ ร้านเสริมสวยในชุมชนริมน้ำสมัยที่เก่าแก่และหาชมได้ยากในปัจจุบันนี้

  16. เสื่อจันทบูร ใช้วัสดุทางธรรมชาติ คือ “ ต้นกก ” ที่เป็นวัสดุสำคัญในการทำเสื่อ หาได้ง่ายในท้องถิ่น จึงเป็นสินค้าพื้นเมืองประจำจังหวัดจันทบุรีที่สินค้าในท้องถิ่นที่ตัวเองผลิตมีความสวยงาม ราคาถูก และที่สำคัญได้ใช้

  17. อาหารขึ้นชื่อของเมืองจันท์อาหารขึ้นชื่อของเมืองจันท์ ก๋วยเตี๋ยวผัดปู หมูชมวง น้ำพริกปูไข่

  18. จังหวัดจันทบุรี :: การเดินทาง ทางรถยนต์จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทางได้แก่ เส้นทางสายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-บ้านฉาง-ระยอง-จันทบุรี (ทางหลวงหมายเลข3) ระยะทางประมาณ 291 กิโลเมตร 2. เส้นทางสายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-ศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี (ผ่านทางหลวงหมายเลข 36) ระยะทางประมาณ 254 กิโลเมตร 3. เส้นทางสายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-แกลง-จันทบุรี (ผ่านทางหลวงหมายเลข 344) ระยะทางประมาณ 245 กิโลเมตร รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ทุกวันสอบถามรายละเอียดโทร. 391-8097 นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการได้แก่เชิดชัยทัวร์โทร. 391-2237, (039) 350384, 350357 พรนิภาทัวร์โทร. 391-5179, (039) 311278 ศุภรัตน์ทัวร์โทร. 391-2231, (039) 312011 รถโดยสารธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ทุกวันสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 391-2504 นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารจากจันทบุรีไปยังจังหวัดอื่นๆเช่นนครราชสีมาตราดระยองสระแก้วสระบุรีบุรีรัมย์ปราจีนบุรีตากรายละเอียดติดต่อสถานีขนส่งจังหวัดจันทบุรีโทร. (039) 311299

  19. เอกสารอ้างอิง • ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553. • ประกาศสานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย • "เหตุสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศสและจดหมายเหตุฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี (พ.ศ. 2436-2447)." พระนคร: กรมศิลปากร, 2483.

  20. ขอให้ทุกท่านมีความสุขและประทับใจในการเที่ยวเมืองจันทบุรีเมืองที่มีเสน่ห์อีกเมืองที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากติดใจก็สามารถมาเที่ยวได้บ่อยๆ เมืองจันท์ก็มีดี และ ถ้าท่านไม่มา “ ท่านจะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง ” สวัสดีค่ะ

More Related