1 / 457

การบำบัดของเสียที่เป็นของเหลวจากอุตสาหกรรมเกษตร

การบำบัดของเสียที่เป็นของเหลวจากอุตสาหกรรมเกษตร.

aran
Download Presentation

การบำบัดของเสียที่เป็นของเหลวจากอุตสาหกรรมเกษตร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบำบัดของเสียที่เป็นของเหลวจากอุตสาหกรรมเกษตรการบำบัดของเสียที่เป็นของเหลวจากอุตสาหกรรมเกษตร

  2. สภาพแวดล้อมในปัจจุบันมีลักษณะเสื่อมโทรมลงไม่ว่าจะเป็นทางด้าน อากาศ ทรัพยากร ป่าไม้ สัตว์ป่า ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่สร้างปัญหาให้กับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำเป็นสิ่งที่นับวันจะทวีความสำคัญขึ้นระบบบำบัดน้ำเสียต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการใช้ในการบำบัดน้ำเสียเพื่อให้มีคุณภาพที่ไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมลง

  3. แหล่งของน้ำเสีย ที่มาของน้ำเสียก็มีจากหลายแห่ง เช่น น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียจากบ้านเรือนของมนุษย์ น้ำเสียจากการเกษตร เป็นต้น แต่น้ำเสียที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดมาจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่มีการบำบัดของเสียก่อนปล่อยสู่แม่น้ำลำคลองหรือมีระบบบำบัดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรที่จะต้องมีมาตราการที่นำมาใช้ควบคุมการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน

  4. แหล่งที่มาของน้ำเสีย ที่มาของน้ำเสียมาจากหลายแห่ง เช่น • น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียแก่สิ่งแวดล้อมมากที่สุด • น้ำเสียจากบ้านเรือนของมนุษย์ • น้ำเสียจากการเกษตร

  5. แหล่งของน้ำเสียจากอุตสาหกรรมแหล่งของน้ำเสียจากอุตสาหกรรม จำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท ตามแหล่งกำเนิด 1. น้ำเสียจากมนุษย์ (Domestic wastewater) มาจากน้ำที่ใช้ในการทำความสะอาดโรงงานและการใช้ของคนงาน 2. น้ำเสียจากกระบวนการ (Process wastewater) มาจากการกระเด็นการรั่วซึม และการล้างผลิตภัณฑ์ ซึ่งน้ำเหล่านี้ก็จะมีเศษน้ำมันของเครื่องจักร หรือสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายได้

  6. 3. น้ำจากการหล่อเย็น (Cooling wastewater) มาจากกระบวนการหล่อเย็นต่างๆ ที่อาจจะมีการหลุดรอดของสารในกระบวนการผลิตหรืออาจมีการสะสมของเกลือตะกรันที่จะเกิดขึ้นหากไม่มีการระบายน้ำเสียเป็นเวลานาน

  7. ลักษณะของน้ำเสียจากอุตสาหกรรมเกษตรลักษณะของน้ำเสียจากอุตสาหกรรมเกษตร 1. สิ่งเจือปนในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมเกษตร มาจากวัสดุและสารต่างๆ ที่ใช้ภายในโรงงาน เช่น เศษวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ระหว่างกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จแล้ว สารเคมีที่ใช้ในการปรุงแต่งสิ่งเจือปนพอจะจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  8. 1.1 สารอนินทรีย์ (inorganic matters) ได้แก่ สารเคมี ไอออนของโลหะต่างๆเช่น น้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะจะมีแมกนีเซียมแคลเซียม โซเดียม และเหล็กเป็นต้น • 1.2 สารอินทรีย์ (organic matters) มาจากการแปรรูป ผลิตผลทางการเกษตร เช่น น้ำตาล หรืออนุพันธ์ของน้ำตาล น้ำมัน กรดอินทรีย์ปิโตรเลียม สารสังเคราะห์อื่นๆ ที่ได้จากปิโตรเลียม สี โปรตีน เป็นต้น

  9. 2. การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากระบบการผลิต • ได้แก่ อัตราการไหล และความเข้มข้นของน้ำเสียจากกระบวนการอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงภายในการทำงานวันหนึ่งๆขึ้นเช่น การล้างถังหมักของโรงงานเบียร์ในแต่ละครั้ง

  10. ขั้นตอนของกระบวนการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมเกษตรขั้นตอนของกระบวนการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมเกษตร • โดยทั่วไปมีขั้นตอนของการบำบัดน้ำเสีย 4 ขั้นตอน คือ • 1. การบัดบัดขั้นแรก (Pretreatment) • 2. การบำบัดขั้นต้น (Primary treatment) • 3. การบำบัดขั้นที่สอง (Secondary treatment) • 4. การบำบัดขั้นที่สาม (Tertiary treatment)

  11. 1. การบำบัดขั้นแรก (Pretreatment) • น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหลายชนิดจำต้องมีการบำบัดล่วง หน้าก่อนที่จะเข้าสู่ระบบบำบัดรวม ทั้งนี้เนื่องจากต้องการลดผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบบำบัด เนื่องจากน้ำเสียชนิดนั้นอาจจะมี equalization, neutralization, oiland grease removalเป็นต้น

  12. 2.การบำบัดขั้นต้น (Primary treatment) • เป็นการบำบัดขั้นตอนแรกของกระบวนการซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลดภาระการบำบัดของระบบด้วยกระบวนการที่ค่อนข้างง่ายได้แก่ screening, gritchamber, gravity sedimentation เป็นต้น

  13. 3.การบำบัดขั้นที่สอง (Secondary treatment) • เป็นการบำบัดหลักสารที่ต้องการกำจัดออกส่วนใหญ่จะถูกกำจัดออกในขั้นตอนนี้ ได้แก่ activated sludge, trecklingfilter , incineration, precipitation เป็นต้น

  14. 4. การบำบัดขั้นที่สาม (Tertiary treatment) • เป็นกระบวนการบำบัดขั้นสุดท้ายที่จะแต่งเติมให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น chlorination เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนที่จะทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ carbon adsorption เพื่อจำกัดสารอินทรีย์ที่หลงเหลือ ionexchange กำจัดไอออนที่เหลือเพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น

  15. กระบวนการบำบัดน้ำเสียกระบวนการบำบัดน้ำเสีย สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กระบวนการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ 1. กระบวนการทางกายภาพ (Physical Unit Operations) 2. กระบวนการทางเคมี (Chemical Unit Process) 3. กระบวนการทางชีวภาพ (Biological Unit Process) 4. กระบวนการทางกายภาพ-เคมี (Physiochemical Unit Processes)

  16. 1. กระบวนการทางกายภาพ(Physical Unit Operations) • เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียที่อาศัยแรงต่างๆ ทางกายภาพ เพื่อการแยกของแข็งที่ไม่ละลายน้ำออกจากน้ำเสีย ขั้นตอนของระบบบำบัดน้ำเสียโดยมีวิธีการต่างๆ เช่น • การดักด้วยตะแกรง (Screening) • การตัดย่อย (Comminution) • การกวาด (Skimming) • การกวน (Mixing) การทำให้ลอย (Floatation) • การตกตะกอน (Sedimetation) • การแยกตัวด้วยแรงเหวี่ยง (Centrifugation) • การกรอง (Filtration) • การกำจัดตะกอนหนัก (Grit removal)

  17. 2.กระบวนการทางเคมี(Chemical Unit Process) • เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารเคมีผสมกับน้ำเสียโดยจะมีการเติมสารเคมีบางชนิดเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีแล้วแยกเอามลสารต่างๆ ออกจากน้ำเสีย เช่น • การตกตะกอนผลึก (Precipitation) • การทำให้เป็นกลางหรือการสะเทิน(Neutralization) • การฆ่าเชื้อโรค (Disinfection)

  18. 3.กระบวนการทางชีวภาพ (Biological Unit Process) • เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียที่อาศัยจุลินทรีย์ที่จะทำการย่อยสลายแล้วเปลี่ยนสารอินทรีย์ต่างที่ปนเปื้อนน้ำเสียให้เป็นก๊าซคาร์บอนได-ออกไซด์ลอยขึ้นสู่อากาศซึ่งจะได้จุลินทรีย์เซลล์ใหม่เพิ่มจำนวนขึ้น เช่น ระบบบำบัดแบบ Activated sludge, Trickling filter, Aerated lagoon, Anaerobic pond, Stabilization เป็นต้น

  19. 4.กระบวนการทางกายภาพ-เคมี(Physiochemical Unit Processes) • เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียที่อาศัยทั้งเทคนิคทางกายภาพและทางเคมีร่วมกัน เพื่อใช้ในการกำจัดทั้งสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย เช่น ระบบIon exchange, Carbonadsorption,Reverse osmosis, Electrodialysis เป็นต้น

  20. ปัจจุบันมีระบบบำบัดน้ำเสียหลายวิธี แต่ละระบบมีความเหมาะสมกับการบำบัดน้ำเสียที่มีคุณสมบัติต่างๆ กันไป ซึ่งระบบ แอ็คติเวตเต๊ดสลัดจ์ (Activated sludge) หรือ ระบบบำบัดแบบเลี้ยงตะกอนหรือตะกอนเร่ง เป็นระบบบำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ข้อดี คือ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้พื้นที่น้อย ข้อเสีย คือ ต้องใช้เครื่องจักรกลมาก, ค่าใช้จ่ายการควบคุมสูง, ต้องการผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียที่มีความสามารถและ ความชำนาญ

  21. กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบ Activated sludge เป็นการบำบัดน้ำเสียทางชีววิทยา ซึ่งอาศัยสิ่งมีชีวิตอันได้แก่พวกจุลินทรีย์ทั้งหลาย ในการกิน ทำลาย ย่อยสลาย ดูดซับ หรือเปลี่ยนรูปของมวลสารต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำเสียให้มีค่าความสกปรกน้อยลง

  22. กลไกในการทำงานของกระบวนการ Activated sludge มวลสารอินทรีย์ + จุลินทรีย์ ----> จุลินทรีย์ตัวใหม่ + คาร์บอนไดออกไซด์ +น้ำ+ พลังงาน มวลสาร (POLLUTANTS) ที่อยู่ในน้ำเสียจะถูกจุลินทรีย์ใช้เป็นอาหารและเจริญเติบโตขยายพันธุ์ต่อไป ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะลอยขึ้นไปในอากาศ ส่วนน้ำจะผสมออกไปกับน้ำที่บำบัดแล้ว พลังงานก็จะถูกจุลินทรีย์ใช้ในการดำรงชีวิต

  23. สรุป คือ มวลสารส่วนใหญ่ได้แก่ สารอินทรีย์ต่างๆ ในน้ำเสียจะถูกเปลี่ยนมาเป็นมวลจุลินทรีย์ที่หนักกว่าน้ำ สามารถแยกออกได้ง่ายด้วยการตกตะกอนในถังตกตะกอน น้ำเสียที่ถูกจุลินทรีย์นำสารอินทรีย์ต่างๆ มาใช้ ก็จะเป็นน้ำที่สะอาดพอที่จะปล่อยทิ้งได้โดยไม่เกิดการเน่าเหม็น

  24. จุลินทรีย์ในระบบ Activated Sludge แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. จุลินทรีย์ที่สร้างฟลอค (Floc Former) จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียที่สามารถจับตัวกันเป็นกลุ่มฟลอค และตกตะกอนได้ดี 2. Saprophyte จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นแบคทีเรียที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ บางชนิดก็จะทำหน้าที่สร้างฟลอคด้วย

  25. 3. จุลินทรีย์ทำลาย (Predator) จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยโปรโตซัว (Protozoa) อมีบา (Amoeba) โรติเฟอร์ (Rotifer) ทำหน้าที่กินจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร • 4. จุลินทรีย์ก่อกวน (Nuisance Microorganisms) เป็นพวกที่ก่อกวนการทำงานของระบบ เช่นแบคทีเรียที่เป็นเส้นใย (FilamentousBacteria) ซึ่งทำให้เกิดอาการตะกอนไม่จมตัว(Bulkin Slugde)

  26. การเกิด Activated Sludge เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน 3 ขั้นตอนในถังเติมอากาศ คือ 1. ขั้นส่งถ่าย (Transfer Step) 2. ขั้นเปลี่ยนรูป (Convertion Step) 3. ขั้นรวมตะกอน (Flocculation Step)

  27. ขั้นแรก สารอินทรีย์ในน้ำเสียจะถูกจุลินทรีย์ดูดมาติดที่ผนังเซลล์และส่งน้ำย่อยออกมาย่อยสลายจนสารอินทรีย์เปลี่ยนไปอยู่ในรูปของโมเลกุลที่เล็กพอ ที่จะซึมผ่านเข้าข้างในเซลล์เพื่อใช้เป็นสารอาหารได้ ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 15 ถึง 30 นาที น้ำย่อยหรือเอนไซม์ (Enzymes) นี้จุลินทรีย์จะผลิตขึ้นมาไว้ภายในเซลล์และในน้ำที่อยู่รอบตัวของมันสารอินทรีย์แต่ละชนิดต้องใช้เอนไซม์เฉพาะอย่างในการย่อย ดังนั้น จุลินทรีย์จึงต้องปรับตัวและผลิตเอนไซม์ออกมาใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของน้ำเสียต่างๆ และต้องให้เวลาแก่จุลินทรีย์ในการปรับตัวที่พอเหมาะ (Acclimatize) โดยเฉพาะในช่วงเริ่มการทำงาน (Start-up) ของระบบบำบัดน้ำเสีย

  28. ขั้นที่สองเมื่อจุลินทรีย์ถูกย่อยให้มีโมเลกุลเล็ก และสามารถละลายน้ำผ่านเข้าไปในเซลล์ได้แล้ว ก็จะถูกจุลินทรีย์ทำการเปลี่ยนรูปโดยกระบวนการสังเคราะห์ (Synthesis) ซึ่งหมายถึงการสร้างเซลล์ใหม่ และกระบวนการออกซิเดชัน (Oxidation) ซึ่งหมายถึง ปฏิกิริยาที่มีการเติมออกซิเจนแล้วได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และพลังงาน กระบวนการทั้งสองนี้รวมกันเป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นในจุลินทรีย์ (Metabolic Process)

  29. ขั้นที่สาม เป็นการรวมตัวของตะกอนเร่งโดยจุลินทรีย์จะถูกกวนผสมกันอยู่ในถังเติมอากาศเมื่อมาชนกันก็จะจับรวมตัวกันเป็นตะกอนที่ใหญ่ขึ้นเรียกว่า ฟลอค (Floc) หรือตะกอนเร่ง (Activated Sludge) ซึ่งตกตะกอนได้ดีกว่าเซลล์เดี่ยวทำให้สามรถแยกออกจากน้ำที่บำบัดแล้วได้ง่าย เมื่อตะกอนเร่งไปสัมผัสกับน้ำเสียซึ่งมีสารแขวนลอย (Suspended Material) หรือคอลลอยด์ (Colloidal Material) ก็จะจับมวลสารเหล่านั้นเอาไว้ภายในและทำการย่อยสลายเป็นอาหารต่อไป

  30. ส่วนประกอบและการทำงานของระบบส่วนประกอบและการทำงานของระบบ ระบบบำบัดน้ำเสียประกอบด้วยส่วนที่สำคัญอย่างน้อยสองส่วนคือถังเติมอากาศ (Aeration Basin) และถังตกตะกอน (Sedimentation Basin)ดังรูปที่ 1

  31. รูปที่ 1 การทำงานของกระบวนการ Activated Sludge

  32. การเริ่มทำงาน โดยน้ำเสียจะถูกส่งมาเข้าถังเติมอากาศซึ่งมีตะกอนเร่งอยู่เป็นจำนวนมาก ภายในถังจะมีสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของ จุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน เช่น มีออกซิเจนละลายน้ำ อาหาร pH ฯลฯ ที่พอเหมาะ ตะกอนจุลินทรีย์จะทำการลดค่ามวลสารอินทรีย์ในรูปต่างๆ ด้วยการย่อยสลายให้อยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ เป็นต้น

  33. น้ำเสียที่ถูกบำบัดแล้วจะไหลต่อไปยังถังตกตะกอนเพื่อแยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ำใสตะกอนที่แยกตัวอยู่ที่ก้นถังตกตะกอนส่วนหนึ่งจะถูกสูบกลับไปเข้ายังถังเติมอากาศเพื่อลดมวลสารที่เข้ามาใหม่ อีกส่วนหนึ่งจะเป็นตะกอนจุลินทรีย์ส่วนเกินที่เป็นผลจากการเจริญเติบโตซึ่งจะต้องนำไปทิ้งสำหรับน้ำใสส่วนบนจะเป็นน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วทิ้งออกจากระบบ

  34. การนำตะกอนจุลินทรีย์เกิน (Excess Sludge) ที่เกิดจากการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ไปทิ้งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาปริมาณตะกอนจุลินทรีย์ในระบบให้มีค่าพอเหมาะซึ่งเป็นหลักสำคัญในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ Activated Sludge ให้มีอัตราส่วนของอาหารต่อจุลินทรีย์ (F/M) ที่สมดุลอันจะยังผลให้อาหารหรือมวลสารที่อยู่ในน้ำเสียสามารถถูกกำจัดให้หมดไปหรือมีค่าเหลืออยู่น้อย เพื่อให้อาหารเป็นตัวจำกัดในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ (Food Limiting Factor)

  35. วิธีควบคุมการทำงานของระบบบำบัดแบบ Activated Sludge เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถบำบัดได้อย่างต่อเนื่อง และคุณภาพของน้ำที่บำบัดแล้วมีค่าไม่เกินมาตรฐานน้ำเสียตามกฎหมาย ซึ่งการควบคุมสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  36. 1.วิธีควบคุมค่าอัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์(F/M ratio method) ตะกอนจุลินทรีย์ที่มีสมรรถภาพในการทำงาน จะต้องมีปริมาณอาหารที่พอเหมาะ ซึ่งควบคุมได้โดยการรักษาอัตราส่วนของน้ำหนักของสารอินทรีย์ที่ส่งเข้ามาบำบัด ต่อน้ำหนักของตะกอนจุลินทรีย์ซึ่งวัดในรูปของตะกอนแขวนลอย (MLSS) หรือตะกอนแขวนลอยระเหย (MLVSS) ให้มีค่าคงที่ตามที่ต้องการ และเรียกค่าที่ใช้ควบคุมนี้ว่า ค่าอัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์(Food to Microorganism ratio, F/M)

  37. สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ อัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์ = น้ำหนักของสารอินทรีย์ที่เข้าระบบต่อวัน น้ำหนักของจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศ = น้ำหนักของ BOD ที่เข้าเป็นกิโลกรัม/วัน น้ำหนักของ MLSS ในถังเติมอากาศ (kg) = อัตราการไหลของน้ำเสีย(m3/day) x BOD (mg/l) ปริมาตรถังเติมอากาศ(m3) x MLVSS (mg/l)

  38. จะเห็นได้ว่า ค่าอาหาร (F) หรือค่า BOD ในน้ำเข้านั้นเราไม่สามารถควบคุมหรือควบคุมได้น้อย ดังนั้น ผู้ควบคุมจึงต้องรักษาค่า F/M โดยการเปลี่ยนแปลงค่าน้ำหนักของจุลินทรีย์ (M) ซึ่งวัดในรูปของ MLSS หรือ MLVSS โดยการเพิ่มหรือลดการนำตะกอนส่วนเกินไปทิ้ง เช่น ถ้า F/M มีค่าสูง แสดงว่า M มีค่าน้อย จะต้องลดการนำตะกอนจุลินทรีย์ไปทิ้งเพื่อให้ M มีค่าสูงขึ้นและในทำงานกลับกันถ้า F/M มี่ค่าต่ำ ก็จะต้องเพิ่มการนำตะกอนจุลินทรีย์ไปทิ้งเพื่อลดค่า M ให้ต่ำลง

  39. ในการทำงานของระบบบำบัดแบบ Activated Sludge ได้มีการแบ่งระบบออกเป็น 3 ประเภทตามอัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์ (F/M) ได้ดังตารางที่ 1

  40. ตารางที่ 1 ค่าอัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์ (F/M) ที่ช่วงการทำงานต่างๆ หมายเหตุ : F คำนวณจากค่า BOD, COD หรือ TOC M คำนวณจากมวลตะกอนจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศ (MLSS) *กำหนดให้ค่าBOD/COD สำหรับน้ำเสียมีค่า = 0.60 # กำหนดให้ค่า BOD/TOC สำหรับน้ำเสียมีค่า = 2.50

  41. 2. วิธีควบคุมค่าอายุตะกอน อายุตะกอน (Sludge Age) หมายถึงระยะเวลาเฉลี่ยที่ตะกอนจุลินทรีย์หมุนเวียนอยู่ในระบบ (Mean cell residence time) เป็นค่าที่สำคัญในการออกแบบและควบคุมการทำงานของระบบ และมีความสัมพันธ์โดยตรงกับค่าอัตราส่วนอาหารจุลินทรีย์ (F/M) การควบคุมค่าอายุตะกอนให้มีค่าคงที่จะทำให้อัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์หรือค่า Organic Loading มีค่าคงที่ตามไปด้วย ซึ่งค่าที่ควบคุมเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของน้ำเสีย การควบคุมจะต้องทดลองหาค่าอายุตะกอนที่เหมาะสม โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าอายุตะกอนกับคุณภาพของน้ำเสีย เช่น BOD, COD และตะกอนแขวงลอย แล้วเลือกค่าที่เห็นว่าดีที่สุด

  42. วิธีควบคุมการทำงานโดยใช้ค่าอายุตะกอนเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะเป็นการควบคุมค่า Organic Loading ไปในตัว และสามารถคำนวณค่าของตะกอนที่นำไปทิ้งได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งวิธีการควบคุมก็ง่ายและไม่ต้องใช้การวิเคราะห์ที่ยุ่งยาก

  43. ตารางที่ 2 แสดงค่าอายุตะกอนในช่วงการทำงานแบบต่างๆ ซึ่งหมายถึงการควบคุมค่าอายุตะกอนเป็นการควบคุมอัตราการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และเป็นการคัดเลือกชนิดของจุลินทรีย์ให้อยู่ในระบบด้วยเช่น หากลดอายุตะกอนให้ต่ำกว่า 7 – 10 วัน จะทำให้จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิด Nitrification เจริญเติบโตไม่ทัน และหลุดออกไปกับตะกอนส่วนเกินที่นำไปทิ้ง จนทำให้ไม่สามารถเกิด Nitrification ได้

  44. ตารางที่ 2 ค่าอายุตะกอนที่ช่วงการทำงานต่างๆ

  45. การควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงค่าอายุตะกอน ทำได้โดย การปรับอัตราการนำตะกอนจุลินทรีย์ส่วนเกินไปทิ้ง หากนำไปทิ้งมากค่าอายุตะกอนก็จะลดลง และหากนำไปทิ้งน้อยลง ค่าอายุตะกอนก็จะเพิ่มมากขึ้น ในการปรับค่าอายุตะกอนแต่ละครั้ง จะต้องใช้เวลาประมาณ 1 – 3 เท่าของค่าอายุตะกอน เพื่อให้ระบบปรับตัวให้อยู่ในสภาวะที่คงที่ และจะต้องติดตามคำนวณค่าน้ำหนักของ MLVSS ที่ใช้บำบัดน้ำเสียและปริมาณตะกอนจุลินทรีย์ที่ต้องนำไปทิ้งทุกวัน จนกว่าจะมีค่าไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

  46. การเจริญเติบโตของจุลชีพในระบบการเจริญเติบโตของจุลชีพในระบบ มีการเจริญเติบโตของจุลชีพ ซึ่งจะแสดงในรูปของสมการคณิตศาสตร์ คือ

  47. ค่าอายุสลัดจ์ (Mean Cell Residence Time หรือ Sludge Age, ) คือ ระยะเวลาที่น้ำสลัดจ์อยู่ในระบบนานกี่วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการถ่ายทิ้งสลัดจ์ออกจากระบบ โดยอาจถ่ายจากถังเติมอากาศ หรือจากถังตกตะกอน แล้วแต่ความเหมาะสมของระบบ

  48. สมการหาค่า cทั่วไป c= X1 (X2 – X1)/t (2) • สมการหาค่า c จากการถ่ายทิ้งสลัดจ์ออกจากถังตะกอน • c = X1V • XrQw + (Q – Qw) Xe (3)

  49. สมการหาค่าc จากการถ่ายทิ้งสลัดจ์ออกจากถังเติมอากาศ • c= X1VX2Qw + (Q – Qw) Xe (4)

  50. เมื่อ ; = อายุสลัดจ์, วัน X1 = ความเข้มข้นของน้ำสลัดจ์ที่ต้องการควบคุมในระบบ (มักจะใช้ค่า Mixed Liquor Volatile Suspended Solids, MLVSS), mg/l MLVSS X2 = ความเข้มข้นของน้ำสลัดจ์ที่มีในระบบ, mg/1 MLVSS t = ระยะที่มีสลัดจ์จุลชีพเพิ่มขึ้นจาก X1 เป็น X2, วัน V = ปริมาตรถังเติมอากาศ, ลบ.ม. Xr = ความเข้มข้นของน้ำสลัดจ์ในท่อไหลกลับจากก้นถังตกตะกอนกลับมาสู่ถังเติมอากาศ , mg/l MLVSS Qw = ปริมาณน้ำสลัดจ์ที่ต้องการถ่ายทิ้ง, ลบ.ม./วัน Q = อัตราการไหลเข้าของน้ำเสีย, ลบ.ม./วัน Xe = ความเข้มข้นของน้ำสลัดจ์ที่หลุดลอยไปกับน้ำทิ้งที่ไหลล้นออกจากถังตกตะกอนที่สอง, mg/l TSS

More Related