50 likes | 244 Views
ข้อที่ ๖.อย่าด่วนเชื่อ ด้วยคาดคะเนล่วงหน้า จะมาพูดถึงข่าวที่เกี่ยวกับการคาดคะเนล่วงหน้าคือ การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง.
E N D
ข้อที่ ๖.อย่าด่วนเชื่อ ด้วยคาดคะเนล่วงหน้าจะมาพูดถึงข่าวที่เกี่ยวกับการคาดคะเนล่วงหน้าคือ การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง การเกิดสุปริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้คำนวณปรากฏการณ์ดังกล่าวไว้ล่วงหน้าถึงสองปี และทรงเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนี้ยังบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
พระองค์ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าถึงสองปีว่าเส้นศูนย์ของสุริยุปราคาจะผ่านมาใกล้ที่สุด ณ ตำบลหว้ากอ ตรงละติจูด 11 องศา 38 ลิปดาเหนือ และลองติจูด99 องศา 39 ลิปดาตะวันออก สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นนานที่สุดอยู่ตรงเชิงเขาหลวง โดยที่พระองค์ทรงคำนวณขึ้นมาด้วยพระองค์เอง ไม่มีอยู่ในหลักฐานการคำนวณของหอดูดาวกรีนิซแต่อย่างใด
ฝ่ายการคำนวณของกรีนิซนั้นแสดงเฉพาะแนวศูนย์กลางของการพาดผ่านของเงามืดเพียงเส้นเดียว แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยากรณ์ว่าสุริยุปราคานั้นจะเห็นมืดทั้งดวงตั้งแต่ชุมพรถึงปราณบุรี นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งก็ได้ทำนายสุริยุปราคาคราวนี้ด้วยเช่นกัน แต่คำนวณผิดพลาดไป 2 นาที
สรุป จากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาในครั้งนี้ก็เป็นการคาดคะเนล่วงหน้าซึ่งการคาดคะเนครั้งนี้ได้มีการพิสูจน์ออกมาแล้วซึ่งมีการเชื่อได้ แต่ว่าเราก็ไม่ควรที่จะเชื่อถือการคาดคะเนล่วงหน้าอย่างนี้ก่อน เพราะอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดหรือเข้าใจผิดได้ค่ะ
นางสาวพีรยา คุ้มคง เลขที่ 25 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 หัวข้อ อย่าด่วนเชื่อ...โดยการคาดคะเนล่วงหน้า