1 / 23

การประชุมสัมมนาผู้ขับเคลื่อนนโยบาย การจัดการเรียนร่วม/เรียนรวม ปี 2555

การประชุมสัมมนาผู้ขับเคลื่อนนโยบาย การจัดการเรียนร่วม/เรียนรวม ปี 2555. นางธัญสุตา อุดมศิลปทรัพย์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต34. ขอบข่าย. กฎหมายและอนุบัญญัติในการจัดการศึกษา สำหรับเด็กพิการ นโยบายปฏิรูปการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551-2562

Download Presentation

การประชุมสัมมนาผู้ขับเคลื่อนนโยบาย การจัดการเรียนร่วม/เรียนรวม ปี 2555

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประชุมสัมมนาผู้ขับเคลื่อนนโยบายการจัดการเรียนร่วม/เรียนรวม ปี 2555 นางธัญสุตา อุดมศิลปทรัพย์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต34

  2. ขอบข่าย กฎหมายและอนุบัญญัติในการจัดการศึกษา สำหรับเด็กพิการ นโยบายปฏิรูปการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551-2562 แผนพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2555-2559 บทบาทของ สพม ด้านการจัดการเรียนร่วม แผนงาน/โครงการปี 2555-2556 มาตรฐานการศึกษาพิเศษ ก้าวสู่อาเซียน

  3. กฎหมายและนโยบาย • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 • พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2546 • พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 • พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 • นโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ด้านนโยบายการศึกษา • กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่ง อำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทาง การศึกษา พ.ศ.2545, 2548 • อนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษา สำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑

  4. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม 2545) • มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย … การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

  5. พระราชบัญญัติการการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 หมวด 1 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา (1) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ จนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา (2) เลือกบริการทางการศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น (3) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบ ทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล

  6. การเข้าถึงสิทธิของคนพิการการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ คนไทยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน

  7. นโยบายปฏิรูปการศึกษาสำหรับคนพิการในทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑ ภายใต้วิสัยทัศน์ “คนพิการได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเสมอภาค” ประกอบด้วย นโยบาย ๔ ข้อ คือ ๑) คนพิการได้รับการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค๒) คนพิการได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเภทความพิการในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา๓) การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ -

  8. แผนพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2555-2559) เจตนารมณ์ คนพิการทุกประเภทมีสิทธิได้รับการศึกษาและได้รับความช่วยเหลือทางการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาและการจัดบริการทางการศึกษาให้กับเด็กพิการ ต้องจัดให้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

  9. ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ 1 เพิ่มโอกาสให้คนพิการได้รับบริการทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ 2 วิจัยและพัฒนาหลักสูตรกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัด และประเมินผลให้เหมาะสมสำหรับคนพิการ ยุทธศาสตร์ 3 พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ยุทธศาสตร์ 4 พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้สำหรับคนพิการ ยุทธศาสตร์ 5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ยุทธศาสตร์ 6 พัฒนาระบบการบริหารและกลไกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ยุทธศาสตร์ 7 ปฏิรูประบบการเงิน การคลัง และงบประมาณเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการ

  10. ปฏิญญาโลก ใน ค.ศ. 1990 ได้มีการประชุมครั้งสำคัญที่จัดขึ้นที่จอมเทียน ประเทศไทยในการประชุมครั้งนี้ได้มีการประกาศปฏิญญาโลกว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน (World Declaration on Education for All) ของ 155 ประเทศ เป้าหมายคือ การศึกษาเพื่อคนทุกคน รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (children with special needs)

  11. และได้รับการรับรองจากที่ประชุมระดับโลกเรื่องการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษที่ ซาลามันกา ประเทศสเปน เมื่อ ค.ศ. 1994 โดยมีการออกแถลงการณ์ซาลามันกา เรื่อง หลักการ นโยบาย และการปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ (Salamanca Statement on Principle, Policy and Practice in Special Needs Education) สาระสำคัญของแถลงการณ์ ได้แก่ การสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอย่างจริงจัง โดยประกาศว่า

  12. 1. เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการศึกษา สิทธินี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กทุกคน 2. เด็กแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร มีความสนใจ ความสามารถและความต้องการในการเรียนรู้แตกต่างกัน 3. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กจะต้องจัดให้สอดคล้องกับลักษณะที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน

  13. 4. เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะต้องได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติทั่วไป ทางโรงเรียนจะต้องจัดบริการทางการศึกษาให้แก่เด็กเหล่านี้ด้วย 5. การให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้มีโอกาสเรียนรวมกับเด็กปกติเป็นการขจัดการแบ่งแยกทางสังคมอย่างหนึ่ง การเรียนรวมเป็นการสอนคนให้ดำรงชีวิตร่วมกัน ดังนั้นการศึกษาจึงควรเป็นลักษณะของการศึกษาเพื่อคนทุกคน (education for all) ไม่แบ่งแยก

  14. เตรียมความพร้อมนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องเตรียมความพร้อมนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่อง กายภาพ S - Student E - Environment บุคคลที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมนักเรียนทั่วไป การบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ การบริหารจัดการหลักสูตร SEAT งบประมาณ การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ระบบการบริหารจัดการ การตรวจสอบทางการศึกษา กฎกระทรวง เทคนิคการสอน เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (AT) การรายงานความก้าวหน้าของนักเรียน T - Tools A - Activities สิ่งอำนวยความสะดวก การจัดกิจกรรมการสอนนอกห้องเรียนและชุมชน สื่อ การประกันคุณภาพ บริการ การรับนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องเข้าเรียน ตำรา การจัดตารางเรียน ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา การประสานความร่วมมือ ครูการศึกษาพิเศษและนักวิชาชีพอื่น การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล ปรับปรุงงาน

  15. การบริหารโดย ใช้โรงเรียนเป็นฐาน SEAT SBM ระบบการบริหารจัดการเรียนร่วมที่ดี การบริหารจัดการเรียนร่วม โดยใช้โครงสร้าง SEAT S: Student E: Environment A: Activities T: Tools • หลักการกระจายอำนาจ • หลักการมีส่วนร่วม • หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน • หลักการบริหารตนเอง • หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล

  16. สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2554 ข้อมูลเด็กพิการทั้ง 9 ประเภทที่เรียนร่วมอยู่ในโรงเรียนทั่วไป มีจำนวน 246,097 คน ใน 18,447 โรงเรียน พบว่า มีนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มากที่สุดถึง 186,996 คน ใน 14,302 โรงเรียน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่จะมีปัญหาการเรียนวิชาภาษาไทย (อ่าน เขียน)และวิชาคณิตศาสตร์ (ด้านการคิดคำนวณ) ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาด้านอื่นๆ ของเด็กด้วย แต่หากได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม จะช่วยพัฒนาหรือปรับปรุงสมรรถภาพของเด็กให้ดีขึ้นได้(เต็มศักยภาพ)

  17. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสทั่วประเทศการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสทั่วประเทศ 1.โรงเรียนเฉพาะความพิการ 43 แห่ง จำนวนนักเรียน 13,098 คน 2. ศูนย์การศึกษาพิเศษ 77 แห่ง จำนวนนักเรียน 64,046 คน 3. โรงเรียนเรียนร่วม 18,370 แห่ง จำนวนนักเรียน 242,888 คน 4. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 51 แห่ง จำนวนนักเรียน 37,661 คน

  18. 1 มีโรงเรียนเฉพาะความพิการ เช่น รร.โสตฯ, รร.สอนคนตาบอด รร.กาวิละอนุกูล,รร.ศรีสังวาลย์ 2. มีศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา, ศูนย์ฯ ม.ราชภัฎเชียงใหม่ 3. โรงเรียนเรียนร่วม 34 โรง จำนวนนักเรียนพิการเรียนร่วม 463 คน 4. โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม 18 โรง(เพิ่มจากปี54 2 โรงเรียน) 4. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 8 แห่ง การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34

  19. การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอย่างยั่งยืนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอย่างยั่งยืน นโยบาย จัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ตอบสนองความหลากหลายของผู้เรียนอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกันโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน วิสัยทัศน์ ผู้เรียนทุกคนได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพภายใต้ รูปแบบและวิธีการจัดการที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน

  20. พันธกิจ ๑.การให้สิทธิและโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้เรียนทุกคนอย่างเท่าเทียม(กัน)และเป็นธรรม ๒.พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพอย่างเหมาะสมตามวัยและความสามารถ ๓.ส่งเสริมและสนับสนุนรูปแบบและวิธีการจัดการที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ ๔.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน

  21. งานการศึกษาพิเศษ ก้าวสู่อาเซียน ในปี 2015 (พ.ศ. 2558) • การสรรหาและพัฒนาบุคลากร สืบค้นทั่วโลก • การเรียนรวม (Inclusive Education) • การเปลี่ยนผ่าน (Transition) หลายระดับ • เตรียม Early Intervention โดยศูนย์การศึกษาพิเศษให้มีคุณภาพ > จัดส่งเข้าเรียนร่วม/เรียนรวมในระดับอนุบาล >ประถมศึกษา> มัธยมศึกษา(ต้น+ปลาย) > เรียนต่อ/ฝึกอาชีพ เหมาะกับศักยภาพ • เป้าหมายสามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป พึ่งตนเองได้ มีทักษะที่จำเป็น มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

  22. สวัสดี ก้าวข้ามความแตกต่าง เพื่อสร้างสังคม แห่งการเรียนรวม

More Related