1 / 34

บุคคลผู้ต้องรับผิดในสัญญาตั๋วเงิน

บุคคลผู้ต้องรับผิดในสัญญาตั๋วเงิน. บุคคลซึ่งต้องรับผิดในสัญญาตั๋วเงิน ได้แก่ บุคคลผู้เป็นลูกหนี้แห่งสัญญาตั๋วเงิน บุคคลผู้ต้องรับผิดในสัญญาตั๋วเงิน มี 2 ประเภท 1. บุคคลผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นในตั๋วเงิน

aquene
Download Presentation

บุคคลผู้ต้องรับผิดในสัญญาตั๋วเงิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บุคคลผู้ต้องรับผิดในสัญญาตั๋วเงินบุคคลผู้ต้องรับผิดในสัญญาตั๋วเงิน • บุคคลซึ่งต้องรับผิดในสัญญาตั๋วเงิน ได้แก่ บุคคลผู้เป็นลูกหนี้แห่งสัญญาตั๋วเงิน • บุคคลผู้ต้องรับผิดในสัญญาตั๋วเงิน มี 2 ประเภท • 1. บุคคลผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นในตั๋วเงิน • ได้แก่ บุคคลซึ่งมีหน้าที่ในการใช้เงินให้แก่ผู้ทรง และไม่อาจจะหลุดพ้นจากความรับผิดในสัญญาตั๋วเงินได้เลย เช่น ผู้รับรอง (นอกจากบุคคลซึ่งมีตั๋วไว้ในครอบครองมิได้มีฐานะเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย)

  2. 2. บุคคลผู้เป็นลูกหนี้ชั้นรองในตั๋วเงิน • ได้แก่ บุคคลซึ่งต้องรับผิดตามสัญญาตั๋วเงินเมื่อผู้จ่าย หรือผู้รับรองไม่ใช้เงิน โดยความรับผิดของลูกหนี้ชั้นรอง จะเป็นความรับผิดอย่างมีเงื่อนไข กล่าวคือ จะรับผิดต่อเมื่อผู้ทรงได้ทำตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น ผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย ผู้อาวัล

  3. ลักษณะของลูกหนี้ในตั๋วเงินลักษณะของลูกหนี้ในตั๋วเงิน • 1. มีลายมือชื่อในตั๋วเงิน • มาตรา 900 ว. 1 “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น” • 2. มีฐานะอย่างหนึ่งอย่างใดในตั๋วเงิน • เช่น มีฐานะเป็นผู้รับรอง ผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย ผู้อาวัล

  4. คำพิพากษาฎีกาที่ 4872/2533 การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในด้าน หลังเช็คที่สั่งจ่ายระบุชื่อโจทก์ และในเช็คไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำสำนวนว่าใช้ ได้เป็นอาวัล หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช้ผู้ลงลาย มือชื่อเป็นผู้รับอาวัล แต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลักเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็น ผู้สั่งจ่ายถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลักเช็คด้วยความสมัครใจที่ จะผูกพันต่อโจทก์ในอันที่จะต้องรับผิดเป็นอย่างเดียวกับ จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่าย ด้วยการลงลายมือชื่อของตนตาม ป.พ.พ. ม.900เมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด

  5. การลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทน ม.901 มาตรา 901 “ถ้าบุคคลใดลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินและไม่ได้เขียนแถลงว่า กระทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นย่อมเป็นผู้รับผิดตามความในตั๋วเงินนั้น” • หมายความว่า • กรณีที่บุคคลหนึ่งลงลายมือชื่อในตั๋วเงินเนื่องจากได้รับมอบอำนาจให้ลงลายมือชื่อแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง หากบุคคลผู้นั้นมิได้เขียนแถลงว่าทำแทนบุคคลใด บุคคลนั้นต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว หรือในทางกลับกัน ถ้าเขียนแถลงว่าทำแทนบุคคลอื่นแล้ว บุคคลนั้นก็ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว

  6. ตัวอย่าง ก. มอบอำนาจให้ A. สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน สั่งให้ ข. จ่ายเงินแก่ ค. จำนวน 10,000 บาท โดยการสั่งจ่ายตั๋วของ A. มิได้เขียนแถลงว่า ทำแทน ก. • ดังนั้น หาก ข. ไม่ใช้เงินแก่ ค. A. ย่อมต้องรับผิดต่อ ค. ตาม ม.900 914 967 • แต่ในทางกลับกัน หาก A. ได้เขียนแถลงลงในตั๋วว่าจัดการแทนบุคคลหนึ่งบุคคลใด (ถ้าเป็นความจริง) เช่นนี้ A. ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ข มอบอำนาจ ก A A ค ออกตั๋ว

  7. ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อA.ผู้สั่งจ่าย ตัวแทน ก.

  8. ข้อสังเกต • มาตรา 901 กล่าวถึงความรับผิดของตัวแทน ส่วนความรับผิดของตัวการ แม้จะไม่มีลายมือชื่อในตั๋วเงินก็ตาม ตัวการต้องรับผิดตาม ม.820 ข มอบอำนาจ ออกตั๋ว ก A ค ม.820

  9. มาตรา 901 ไม่บังคับใช้กับการลงลายมือชื่อของผู้แทนนิติบุคคล กล่าวคือ การลงลายมือชื่อของผู้แทนนิติบุคคล ผู้แทนฯ ไม่ต้องแถลงว่าทำแทนนิติบุคคล แต่ต้องทำตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือก่อตั้งนิติบุคคล นั้น ๆ • ในกรณีที่ผู้แทนฯ ลงลายมือชื่อไม่ครบเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในหนังสือก่อตั้งฯ ซึ่งจะมีผลเท่ากับว่ามิได้เป็นการแสดงเจตนาของนิติบุคคล เช่นนี้ ถ้าผู้แทนฯ มิได้เขียนแถลงว่าทำการแทนนิติบุคคล ผู้แทนฯก็ต้องรับผิดตามมาตรา 901 นี้ด้วย

  10. คำพิพากษาฎีกาที่ 799/2510 เช็ครายพิพาทจำเลยลงชื่อเป็น ผู้สั่งจ่ายโดยมิได้เขียนว่ากระทำการแทนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำเลยจึงต้องรับผิดตามความในตั๋วเงินตามมาตรา 900,901 คำพิพากษาฎีกาที่ 133/2524 การที่จำเลยที่ 2กรรมการบริษัท จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจและกระทำการแทน บริษัทจำเลยที่ 1ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและประทับตราของบริษัท จำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้ ร.เป็นการกระทำ การตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็น ส่วนตัวไม่

  11. ความรับผิดในตั๋วเงินเป็นเรื่องเฉพาะตัวความรับผิดในตั๋วเงินเป็นเรื่องเฉพาะตัว • การที่ผู้เป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินคนหนึ่ง หลุดพ้นจากความรับผิดในตั๋วเงิน(เนื่องในเหตุส่วนตัว)ไม่ผลกระทบต่อความรับผิดของคู่สัญญาคนอื่นๆ • มาตรา 902“ถ้าตั๋วเงินลงลายมือชื่อของบุคคลหลายคนมีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจจะเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลไซร้ ท่านว่าการนี้ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่นๆนอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน”

  12. บุคคลซึ่งไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วได้เลยบุคคลซึ่งไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วได้เลย • ได้แก่ กรณีที่นิติบุคคลซึ่งกระทำการเกินขอบวัตถุประสงค์ (Ultra Vires) • เช่น บริษัท A. มีวัตถุประสงค์ของบริษัทในการทำโรงแรมที่พัก รีสอร์ทสปา ต่อมา บริษัท ได้ออกตั๋วชำระหนี้ให้แก่คู่สัญญาเป็นค่าจัดทำระบบโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจด้านใหม่ของบริษัท โดยยังมิได้มีการแก้ไข หนังสือ บริคนธ์สนธิ

  13. บริษัท A. ง ค ออกตั๋ว ไล่เบี้ย นอกขอบวัตถุประสงค์

  14. A ง ค (ผู้เยาว์) ออกตั๋ว ไล่เบี้ย มีการบอกล้าง • บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แต่ไม่เต็มผลได้แก่ ผู้เยาว์ หรือ ผู้ไร้ความสามารถ

  15. ข้อห้ามต่อสู้ผู้ทรงในคดีตั๋วเงิน ม. 916 • มาตรา 916 “บุคคลทั้งหลายผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงินหาอาจจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่าย หรือกับผู้ทรงคนก่อนๆนั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล”

  16. มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ • 1. ผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงิน ได้แก่ บุคคลที่มีลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน ในฐานะผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง ผู้รับรอง ผู้อาวัล ผู้สอดเข้าแก้หน้า • 2. สิ่งที่กฎหมายห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องยกขึ้นต่อสู้ผู้ทรง ได้แก่ ข้อต่อสู้ที่อาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างผู้ถูกฟ้องกับผู้สั่งจ่าย และผู้ถูกฟ้องกับผู้ทรงคนก่อนๆ

  17. “ข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคล” ได้แก่ ข้อต่อสู้ในเรื่องต่างๆที่มิได้ปรากฏในตั๋วแลกเงิน และเป็นเรื่องที่รับรู้ระหว่างกันเอง • เช่น ข้อต่อสู้ว่ามูลหนี้ในการออกตั๋วเงินไม่สมบูรณ์เป็นโมฆะ หรือระงับไปด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด • -ข้อต่อสู้ระหว่างผู้ถูกฟ้องกับผู้สั่งจ่ายโดย “ผู้ถูกฟ้อง” ในกรณีนี้ได้แก่ ผู้รับรอง • ดังนั้นข้อต่อสู้กรณีนี้ จึงได้แก่ ข้อต่อสู้ระหว่างผู้รับรอง กับผู้สั่งจ่าย

  18. ก. สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน ให้ ข. จ่ายเงินให้แก่ ค. 10,0000 บาท ต่อมา ค. นำตั๋วยื่นให้ ข.รับรอง ซึ่ง ข. ก็ยอมรับรองแต่โดยดี ภายหลังจากนั้น ค. สลักหลังเฉพาะให้แก่ ง. ต่อมา ง. นำตั๋วยื่นให้ ข. ใช้เงิน แต่ ข. ไม่ใช้ โดย ข. ต่อสู้ว่าตนมิได้ เป็นหนี้ ก. เนื่องจาก มูลหนี้ระหว่างตนกับ ก. ระงับลงแล้ว ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย ลงชื่อ ข.

  19. ฟ้องให้รับผิด ข (ผู้รับรอง) หนี้ระงับ ง ก ค สลักหลัง

  20. ข้อต่อสู้ระหว่างผู้ถูกฟ้องกับผู้ทรงคนก่อนๆข้อต่อสู้ระหว่างผู้ถูกฟ้องกับผู้ทรงคนก่อนๆ • ผู้ทรงคนก่อนๆ ได้แก่ ผู้สลักหลังซึ่งอยู่ในลำดับก่อนผู้ทรงคนปัจจุบัน

  21. สลักหลัง สลักหลัง ค ง จ ก ผู้สลักหลัง ผู้รับสลักหลัง ผู้ขาย ผู้ซื้อ หนี้ระงับ ฟ้องให้รับผิด

  22. สลักหลัง สลักหลัง ค ง จ ก (ผู้ทรงคนปัจจุบัน)) ผู้สลักหลัง ผู้รับสลักหลัง (ผู้ทรงคนก่อน)) (ผู้ถูกฟ้อง) หนี้ระงับ ฟ้องให้รับผิด

  23. (ผู้ถูกฟ้อง) (ผู้ทรงคนก่อน)) ข (ไล่เบี้ย) สลักหลัง สลักหลัง ค ง จ ฉ ก ผู้สลักหลัง ผู้สลักหลัง ผู้รับสลักหลัง (ผู้ทรงคนปัจจุบัน)) ผู้ซื้อ ผู้ขาย หนี้ระงับ

  24. ข้อยกเว้นถ้าเป็นข้อต่อสู้ในเรื่องดังต่อไปนี้ ผู้ถูกฟ้อง(ผู้รับรอง ,ผู้สั่งจ่าย,ผู้สลักหลัง) สามารถยกขึ้นเป็นต่อสู้ผู้ทรงได้ • ก. ข้อต่อสู้ที่ปรากฏในตั๋วแลกเงิน • ตราสารไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน • การสลักหลังตั๋วเงินขาดสาย ฯลฯ • ข. ข้อต่อสู้อันมีต่อผู้ทรงเอง • ผู้ทรงไม่ได้ยื่นตั๋วเงินให้รับรองหรือใช้เงินโดยชอบ • ผู้ทรงผ่อนเวลาให้แก่ผู้รับรอง ฯลฯ

  25. ค. ข้อต่อสู้ว่าการโอนตั๋วแลกเงินเกิดขึ้นด้วยคบคิดฉ้อฉล • ได้แก่ ผู้รับโอนรู้ว่าผู้โอนมีสิทธิบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดในตั๋วเงิน

  26. สลักหลัง สลักหลัง ค ง จ ก (ผู้ทรงคนปัจจุบัน)) ผู้สลักหลัง ผู้รับสลักหลัง (ผู้ทรงคนก่อน)) (ผู้ถูกฟ้อง) หนี้ระงับ จ. รู้ว่าหนี้ระหว่าง ค. กับ ง. ระงับ

  27. มาตรา ๙๒๕ “เมื่อใดความที่สลักหลังมีข้อกำหนดว่า “ราคาอยู่ที่เรียกเก็บ” ก็ดี“เพื่อเรียกเก็บ” ก็ดี “ในฐานจัดการแทน” ก็ดี หรือความสำนวนอื่นใดอันเป็นปริยายว่าตัวแทนไซร้ ท่านว่าผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้นก็ย่อมได้ทั้ง สิ้น แต่ว่าจะสลักหลังได้เพียงในฐานเป็นตัวแทน ในกรณีเช่นนี้ คู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดอาจจะต่อสู้ผู้ทรงได้แต่เพียงด้วยข้อต่อสู้อันจะพึงใช้ได้ต่อผู้สลักหลังเท่านั้น” • มาตรา ๙๒๖ “เมื่อใดความที่สลักหลังมีข้อกำหนดว่า”ราคาเป็นประกัน” ก็ดี “ราคาเป็นจำนำ” ก็ดี หรือข้อกำหนดอย่างอื่นใดอันเป็นปริยายว่าจำนำไซร้ ท่านว่าผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้นก็ย่อมได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าผู้ทรงสลักหลังตั๋วนั้น ท่านว่าการสลักหลังย่อมใช้ได้เพียงในฐานเป็นคำสลักหลังของตัวแทน คู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิด หาอาจจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สลักหลังนั้นได้ไม่ เว้นแต่การสลักหลังจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล”

  28. การเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายการเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย การเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย(เจ้าหนี้) จะต้องประกอบไปด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ • 1. ครอบครองตั๋วเงิน • 2. ในฐานะ • 2.1 ผู้รับเงิน • 2.2 ผู้ถือ • 2.3 ผู้รับสลักหลัง(โดยไม่ขาดสาย) • 3. ได้ตั๋วเงินมาโดยสุจริต กล่าวคือ • 3.1 ได้รับตั๋วเงินมาโดยมีมูลหนี้ • 3.2 ปราศจากกลฉ้อฉล(ไม่สุจริต) • 3.3 ปราศจากการประมาทเลินเล่อ

  29. ได้ตั๋วมาโดยไม่มีมูลหนี้ได้ตั๋วมาโดยไม่มีมูลหนี้ ข ใช้เงิน ค. หรือ ผู้ถือ ง ก ไล่เบี้ยไม่ได้ หาย เก็บได้

  30. ได้ตั๋วมาโดยไม่สุจริตได้ตั๋วมาโดยไม่สุจริต ข โอน ค. หรือ ผู้ถือ ง จ ก รับโอนโดยรู้ว่า ง. เก็บตั๋วได้ หาย เก็บได้

  31. ได้ตั๋วมาโดยประมาทเลินเล่อได้ตั๋วมาโดยประมาทเลินเล่อ ข โอน ค. หรือ ผู้ถือ ง จ ก ตั๋วเงินมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นที่น่าสงสัย,ผู้โอนตั๋วไม่น่าจะได้ตั๋วมาโดยชอบด้วยกฎหมาย

  32. บุคคลซึ่งมีลักษณะดังกล่าว แม้จะปรากฏว่าได้รับตั๋วมาจากบุคคลซึ่งมิได้เป็นเจ้าของตั๋วอันแท้จริง(ไม่มีสิทธิในตั๋ว) กฎหมายก็ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิในตั๋วเงิน(เจ้าหนี้ในตั๋ว) ซึ่งจะมีผลดังต่อไปนี้ • (1) มีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินได้ • (2) ไม่ต้องคืนตั๋วให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของตั๋วอันแท้จริง (เว้นแต่เมื่อ ลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือชื่อปลอม)

  33. มาตรา ๙๐๕ “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐๘ บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้วท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริต หรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่ง ข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย

  34. จบ

More Related