431 likes | 706 Views
ระบบการสร้างเอกสารรายละเอียดของรายวิชา ( มคอ. 3) TQF – 3 DOCUMENTATION SYSTEM. นายอดิศร พัฒน์ เพียร 53630108 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา. บทนำ : ที่มาของโครงงาน.
E N D
ระบบการสร้างเอกสารรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3)TQF – 3 DOCUMENTATION SYSTEM นายอดิศร พัฒน์เพียร 53630108 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทนำ : ที่มาของโครงงาน • ผู้สอนต้องสร้างเอกสาร มคอ.3 ใหม่ ถ้าเอกสารหรือไฟล์เดิมหายไป หรือถ้ามีการจัดการเอกสารไม่ดี ก็ทำให้ยากในการค้นหาเอกสาร มคอ.3 • ผู้สอนกรอกเอกสาร มคอ.3 ด้วยการพิมพ์ข้อมูลมาก ๆ นั้น มีโอกาสที่จะพิมพ์ผิดได้เสมอและต้องดูรายละเอียดจากหลักสูตร(มคอ.2) อีก ทำให้เสียเวลามาก
บทนำ : ที่มาของโครงงาน (ต่อ) • จากการที่ได้ศึกษาระบบการสร้างเอกสาร มคอ.3 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นกรณีศึกษานั้นผู้สอนต้องกรอกรายละเอียดของ มคอ.3 ทั้งหมด บนระบบออนไลน์ ซึ่งรายละเอียดบางส่วนของ มคอ.3 นั้นมีอยู่ในรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) อยู่แล้ว ผู้สอนไม่มีความจำเป็นต้องกรอกรายละเอียดเหล่านี้อีกครั้ง และเมื่อผู้สอนกรอกรายละเอียดเสร็จแล้ว ก็สามารถดูผลสรุปได้บนหน้าเว็บเท่านั้น • ผู้สอนมีไฟล์เอกสาร มคอ.3 อยู่แล้ว แต่ยังไม่มีข้อมูลในระบบ ผู้สอนก็ต้องกรอกรายละเอียดทั้งหมดอยู่ดี
บทนำ : วัตถุประสงค์ของโครงงาน • เพื่อให้สร้างเอกสาร มคอ.3 แบบออนไลน์ได้ • เพื่อกรอกรายละเอียดของ มคอ.3 น้อยลง • เพื่อแบ่งปันเอกสาร มคอ.3 ให้กับผู้สอนอื่น ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้สอนในรายวิชานั้น ๆ • เพื่อให้อัพโหลดเอกสาร มคอ.3 ที่มีอยู่แล้วเข้าสู่ระบบและบันทึกลงฐานข้อมูลได้ • เพื่อบันทึกไฟล์เอกสาร มคอ.3 ออกเป็นไมโครซอฟต์เวิร์ดได้
บทนำ : ขอบเขตของโครงงาน • สร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) บางส่วน • เลือกรหัสวิชาที่จะสร้างเอกสาร มคอ.3 • ค้นหารหัสวิชาที่จะสร้างเอกสาร มคอ.3 • เพิ่มรหัสวิชาที่ยังไม่มีในระบบโดยผู้สอนเองได้ • อัพโหลดไฟล์ มคอ.3 รูปแบบไมโครซอฟต์เวิร์ดหรือพีดีเอฟ เข้าสู่ระบบแล้วบันทึกลงฐานข้อมูลได้ • บันทึกไฟล์เอกสาร มคอ.3 เป็นรูปแบบไมโครซอฟต์เวิร์ดได้
บทนำ : ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • ผู้สอนค้นหาและสร้างเอกสาร มคอ.3 ได้ทุกที่ บนระบบออนไลน์ • ถ้ามีเอกสาร มคอ.3 ที่มีรูปแบบไมโครซอฟต์เวิร์ดหรือพีดีเอฟอยู่แล้ว ผู้สอนลดเวลาในการสร้างเอกสาร มคอ.3 โดยอัพโหลดเอกสาร มคอ.3 เข้าระบบและบันทึกรายละเอียดลงฐานข้อมูลได้เลย • แบ่งปันเอกสาร มคอ.3 กับผู้สอนท่านอื่น ๆ ในกรณีเปลี่ยนผู้สอนในรายวิชานั้นได้ • ผู้สอนได้เอกสาร มคอ.3 ในรูปแบบที่สวยงาม น่าอ่าน
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1. รายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) 2. รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) 3. ระบบการสร้างเอกสาร มคอ.3 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4. โปรแกรม XPDF Linux 5. โปรแกรม ABIWORD Linux
1. รายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) • รายละเอียดของหลักสูตร (Curriculum Specification) หมายถึง คำอธิบายภาพรวมของการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้นิสิตบรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตรนั้น ๆ โดยจะถ่ายทอดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของนิสิตที่กำหนดไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานคุณวุฒิสาขาไปสู่การปฏิบัติในหลักสูตร อ้างอิงจาก http://cid.buu.ac.th/tqf.php
1. รายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) (ต่อ) • ประกอบด้วย 8 หมวดต่อไปนี้ • หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร • หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และ โครงสร้างของหลักสูตร • หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและประเมินผล • หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา อ้างอิงจาก http://cid.buu.ac.th/tqf.php
1. รายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) (ต่อ) • หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์และบุคลากร • หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร • หมวดที่ 8 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของ หลักสูตร อ้างอิงจาก http://cid.buu.ac.th/tqf.php
2. รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) • รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการของแต่ละรายวิชาเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องและเป็นไปตามที่วางแผนไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) ซึ่งแต่ละรายวิชาจะกำหนดไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และรายละเอียดของเนื้อหาความรู้ในรายวิชา แนวทางการปลูกฝังทักษะต่าง ๆ ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ ที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของรายวิชานั้น ๆ อ้างอิงจาก masterorg.wu.ac.th/file/das-20091014-JwNAL.pdf
2. รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) (ต่อ) ประกอบด้วย 7 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา อ้างอิงจาก masterorg.wu.ac.th/file/das-20091014-JwNAL.pdf
3. ระบบการสร้างเอกสาร มคอ.3 ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • เป็นระบบที่สร้างเอกสาร มคอ.3 บนระบบออนไลน์ • ผู้สอนเข้าสู่ระบบโดยใช้อีเมล์ของมหาวิทยาลัย เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วจะมีรหัสวิชาที่ผู้สอนรับผิดชอบในการสอนนั้นแสดงขึ้น • ผู้สอนคลิกเลือกรหัสวิชาที่ต้องการและกรอกรายละเอียดของรายวิชาทั้ง 7 หมวด โดยผู้สอนต้องกรอกข้อมูลทั้งหมดเอง และบันทึกลงฐานข้อมูล • ผู้สอนสามารถตรวจสอบและแก้ไขรายละเอียดวิชาที่ผู้สอนรับผิดชอบได้ โดยดูจากสถานะ มคอ.3 ที่แสดงอยู่หน้าหลักของระบบ • ระบบแสดงผลการกรอกเอกสาร มคอ.3 ผ่านหน้าเว็บเท่านั้น
3. ระบบการสร้างเอกสาร มคอ.3 ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ต่อ) จากการศึกษาระบบแล้วพบข้อเสีย ดังนี้ 1. ผู้สอนต้องกรอกรายละเอียดของ เอกสาร มคอ.3 ทั้งหมดเอง 2. ผู้สอนต้องกรอกรายละเอียดบางส่วนซ้ำ เพราะรายละเอียดบางส่วนนั้นมีอยู่ในรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) แล้ว 3. ถ้าผู้สอนมีไฟล์เอกสาร มคอ.3 รูปแบบ Microsoft Word หรือ PDF อยู่แล้ว แต่ก็ต้องสร้างเอกสาร มคอ.3 ใหม่โดยกรอกจากแบบฟอร์มออนไลน์อยู่ดี 4. ระบบแสดงผลการกรอกเอกสาร มคอ.3 ผ่านหน้าเว็บเท่านั้น
4. โปรแกรม XPDF Linux • โปรแกรม XPDF มีลักษณะเด่นอยู่หลายด้าน ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ WINDOW, LINUX และ MAC OSX นอกจากนี้ยังสามารถ แปลงไฟล์ PDF เป็นไฟล์ TEXT ได้ • โครงงานนี้ใช้ XPDF ในการแปลงไฟล์รูปแบบ PDF เป็นไฟล์รูปแบบ TEXT โดยใช้คำสั่ง pdftotext -raw -enc UTF-8 ไฟล์ของผู้ใช้.pdf ** คำสั่งนี้เข้ารหัสในรูปแบบ UTF-8 เพื่อรองรับภาษาไทย
5. โปรแกรม ABIWORD Linux • โปรแกรม ABIWORD เป็นฟรีแวร์จำพวก office คล้ายกับ Microsoft Word, Open Office ซึ่งสามารถทำงานได้หลาย Platform เช่น Windows, Linux, QNX หรือ Solaris นอกจากนี้ยังสามารถแปลงไฟล์รูปแบบ MS-Word เป็นรูปแบบ TEXT ได้ • โครงงานนี้ใช้ ABIWORD ในการแปลงไฟล์รูปแบบ MS-Wordเป็นไฟล์รูปแบบ TEXT โดยใช้คำสั่ง abiword --to=txt ไฟล์ของผู้ใช้.doc
ขั้นตอนการดำเนินโครงงานขั้นตอนการดำเนินโครงงาน 1. การศึกษาและวิเคราะห์ระบบ 2. การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ 3. การออกแบบฐานข้อมูล 4. แผนภาพ Activity Diagram 5. การออกแบบการอัพโหลดไฟล์เอกสาร มคอ.3 เข้าระบบและบันทึกข้อมูล
1. การศึกษาและวิเคราะห์ระบบ ระบบประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ 1. ส่วนฐานข้อมูลของหลักสูตร - ผู้จัดทำโครงงาน เพิ่มรายละเอียดบางส่วนของ มคอ.2 ลงฐานข้อมูล 2. ส่วนของผู้สอน - เข้าสู่ระบบโดยใช้อีเมล์ของมหาวิทยาลัย - ดูรหัสวิชาที่ผู้สอนรับผิดชอบที่แสดงอยู่หน้าหลัก - เลือกรหัสวิชาเพื่อแก้ไข - กรอกรายละเอียดของรายวิชา หมวดที่ 1 – หมวดที่ 7
1. การศึกษาและวิเคราะห์ระบบ (ต่อ) - เพิ่มรหัสวิชาที่ยังไม่มีที่หน้าหลัก - ค้นหารหัสวิชา - อัพโหลดไฟล์ มคอ.3 ในรูปแบบไมโครซอฟต์เวิร์ดหรือพีดีเอฟ เพื่อบันทึกข้อมูล - บันทึกไฟล์เอกสาร มคอ.3 ในรูปแบบไมโครซอฟต์เวิร์ด
2. การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้
3. การออกแบบฐานข้อมูล • การออกแบบฐานข้อมูลนั้น ผู้จัดทำได้ศึกษาจากระบบของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนำมาใช้กับระบบการสร้างเอกสาร มคอ.3 ใหม่
4. แผนภาพ Activity Diagram การกรอกรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) กรณีมีรหัสวิชา
4. แผนภาพ Activity Diagram (ต่อ) การกรอกรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) กรณีไม่มีรหัสวิชา
4. แผนภาพ Activity Diagram (ต่อ) การอัพโหลดไฟล์ มคอ.3 รูปแบบ Microsoft Word หรือ PDF
4. แผนภาพ Activity Diagram (ต่อ) ผู้จัดทำโครงงาน การกรอกข้อมูลบางส่วนของ มคอ.2
5. การออกแบบการอัพโหลดไฟล์เอกสาร มคอ.3 เข้าระบบและบันทึกข้อมูล
ผลการดำเนินโครงงาน ตามที่ผู้จัดทำโครงงานได้ทำการวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาระบบการสร้างเอกสาร มคอ.3 ผลการดำเนินโครงงานมีดังนี้ ผู้สอนเข้าสู่เว็บไซต์จะเจอหน้า Login เพื่อเข้าสู่ระบบ และเมื่อ Login เรียบร้อยแล้วระบบจะแสดงหน้าแรกของระบบ ซึ่งมีเมนูต่าง ๆ ดังนี้ 1. แสดงรหัสวิชาที่หน้าหลักของระบบ - ผู้สอนเลือกรหัสวิชา เพื่อกรอกรายละเอียด หรือแก้ไขรายละเอียด
ผลการดำเนินโครงงาน 2. ค้นหารหัสวิชา - เป็นเมนูสำหรับค้นหารหัสวิชา ถ้าผู้สอนไม่พบรหัสวิชาที่ต้องการ 3. กรอกรายละเอียด มคอ.3 ใหม่ (กรณีไม่มีรหัสวิชา) - เป็นเมนูสำหรับสร้างรหัสวิชาใหม่ และกรอกรายละเอียด มคอ.3 4. อัพโหลดเอกสาร มคอ.3 รูปแบบ MS – Word หรือ PDF - เป็นเมนูสำหรับอัพโหลดเอกสาร มคอ.3 ที่มีรูปแบบ Microsoft Word หรือ PDF เข้าสู่ระบบเพื่อบันทึกข้อมูล
ผลการดำเนินโครงงาน http://angsila.cs.buu.ac.th/~53630108/project/mko_code/login.php
สรุปผลการดำเนินโครงงานสรุปผลการดำเนินโครงงาน • สามารถสร้างเอกสาร มคอ.3 แบบออนไลน์ได้ • สามารถสร้างเอกสารรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) ได้ กรณีที่มีรหัสวิชา • สามารถสร้างเอกสารรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) ได้ กรณีที่ไม่มีรหัสวิชา • สามารถค้นหารหัสวิชาได้ • สามารถเพิ่มรหัสวิชาใหม่เข้าสู่ระบบได้
สรุปผลการดำเนินโครงงาน (ต่อ) • สามารถอัพโหลดไฟล์เอกสาร มคอ.3 รูปแบบ Microsoft Word หรือ PDF เข้าสู่ระบบเพื่อบันทึกรายละเอียดของรายวิชาลงฐานข้อมูลได้ • สามารถนำเสนอผลสรุปการกรอกเอกสาร มคอ.3 ผ่านหน้าเว็บ • สามารถบันทึกไฟล์เอกสาร มคอ.3 เป็นรูปแบบ Microsoft Word
ประโยชน์ที่ได้รับ • ผู้สอนค้นหาหรือสร้างเอกสาร มคอ.3 ได้ทุกที่ผ่านระบบออนไลน์ • ระบบมี Interface ที่ง่ายต่อการใช้งาน • แบ่งปัน เอกสาร มคอ.3 ให้กับผู้สอนท่านอื่นได้ ในกรณีที่เปลี่ยนผู้สอนในรายวิชานั้น ๆ • ช่วยลดเวลาในการกรอกเอกสาร ถ้าผู้สอนมีเอกสาร มคอ.3 อยู่แล้วก็สามารถอัพโหลดเข้าระบบเพื่อบันทึกข้อมูลได้ โดยไม่ต้องกรอกรายละเอียดอีกครั้ง • ผู้สอนได้ไฟล์เอกสาร มคอ.3 ที่มีรูปแบบสวยงามและน่าอ่าน
ข้อจำกัดของโครงงาน • ระบบอัพโหลดไฟล์เอกสาร มคอ.3 ที่มีรูปแบบ MS-WORD เวอร์ชั่น 2003 เท่านั้น • ระบบยังไม่สามารถดึงข้อมูลจากไฟล์เอกสาร มคอ.3 ได้ทั้งหมด • ระบบยังไม่มีในส่วนผู้ดูแลระบบ • ผู้สอนต้องเลือกชนิดเป็น Microsoft Word 2003 เองทุกครั้ง ขณะบันทึกไฟล์เอกสาร มคอ.3
ข้อจำกัดของโครงงาน (ต่อ) • ระบบยังไม่สามารถบันทึกไฟล์เอกสาร มคอ.3 ในรูปแบบ PDF ได้ • โครงงานนี้ดัดแปลงมาจาก ม.เกษตรศาสตร์ และยังไม่สามารถนำมาใช้กับ ม.บูรพาได้ • ระบบยังไม่สามารถดึงรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) จากฐานข้อมูลได้ทั้งหมด
ข้อเสนอแนะ • ควรเพิ่มเติมชนิดของไฟล์ มคอ.3 ที่อัพโหลดให้รองรับรูปแบบ MS-WORD เวอร์ชั่น 2007 ด้วย • พัฒนาเพิ่มเติมให้ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่มรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) โดยมีเมนูสำหรับผู้ดูแลระบบด้วย • ควรศึกษาในเรื่อง PHPWORD เพื่อใช้ในการสร้างเอกสาร มคอ.3 ในรูปแบบ Microsoft Word • ควรศึกษาในเรื่อง FPDF เพื่อใช้ในการสร้างเอกสาร มคอ.3 ในรูปแบบ PDF
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) • พัฒนาระบบให้สามารถใช้กับ ม.บูรพาได้ โดยแก้ไขแบบฟอร์มการกรอกรายละเอียดของ มคอ.3 ให้ถูกต้อง • ควรเพิ่มรายละเอียดของ มคอ.2 ทั้งหมดลงฐานข้อมูลของหลักสูตร • การอัพโหลดไฟล์เอกสาร มคอ.3 ควรรองรับ Template ได้ทุกแบบ