1 / 20

โดย..พัชรา เดช โฮม กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษา : รศ.ดร.สมบูรณ์ ศิ ริสรรหิรัญ

การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556 The study of new student's satisfaction on registration service of Mahidol University for academic year 2013. โดย..พัชรา เดช โฮม กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

apu
Download Presentation

โดย..พัชรา เดช โฮม กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษา : รศ.ดร.สมบูรณ์ ศิ ริสรรหิรัญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556 The study of new student's satisfaction on registration service of Mahidol University for academic year 2013 โดย..พัชรา เดชโฮม กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษา: รศ.ดร.สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

  2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • จากการที่มีนักศึกษามาขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ เป็นจำนวนมากและมีจุดบริการหลายจุด จึงเป็นการยากที่คณะกรรมการทุกฝ่ายที่รับผิดชอบในการให้บริการขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่จะให้บริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

  3. อีกทั้งเพื่อเป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research: R2R) ที่การปฏิบัติงานด้านการขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ เป็นงานที่กองบริหารการศึกษาปฏิบัติ และรับผิดชอบมาโดยตลอดเป็นประจำในทุกๆ ปี อันจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด เทคนิค และวิธีการในการสร้างสรรค์และพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ซึ่งจะพัฒนาไปสู่การทำงานวิจัยร่วมกันในระดับส่วนงานและมหาวิทยาลัย

  4. Flow Chart การขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ วันที่ ๒๙-๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖

  5. ดังนั้นในการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556 ในด้านกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่ ด้านสถานที่ และด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่จะนำมาวางแผนปรับปรุงการให้บริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการต่อไป

  6. วัตถุประสงค์ • เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556

  7. ขอบเขตของการศึกษา • การศึกษาครั้งนี้สอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา2556 โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ • 1) ด้านกระบวนการ • 2) ด้านเจ้าหน้าที่ • 3) ด้านสถานที่ • 4) ด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ

  8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • เพื่อให้มหาวิทยาลัยตระหนักถึงการบริการด้านกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่ ด้านสถานที่ และ ด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ • เพื่อนำผลที่ได้มาวางแผนพัฒนาปรับปรุงในจุดอ่อน รักษามาตรฐานการบริการในจุดแข็ง • เพื่อให้นักศึกษาพึงพอใจในการได้รับการบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดลที่ดี และได้มาตรฐานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหิดล

  9. ประชากร • ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 1 ที่ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2556 จำนวน 3,625 คน

  10. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล • แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดของLikert แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ • ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะคำถามเป็นแบบให้เลือกตอบ (Checklist) โดยสอบถามเกี่ยวกับเพศ คณะ และสาขา • ตอนที่ 2 ความพึงพอใจในการได้รับการบริการ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดของLikert โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านกระบวนการ 2) ด้านเจ้าหน้าที่ 3) ด้านสถานที่ และ 4) ด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ • ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการ เป็นแบบปลายเปิด

  11. การเก็บรวบรวมข้อมูล • 1. ดำเนินการนำแบบสอบถามไปแจกให้กับประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษามหาวิทยาลัย มหิดล ชั้นปีที่ 1 ที่ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2556 • 2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำตอบในแบบสอบถาม • 3. จัดหมวดหมู่ของข้อมูลในแบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติ

  12. การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปใช้ค่าทางสถิติ แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ • ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์หาค่าความถี่และร้อยละแล้วนำเสนอในรูปของตารางประกอบ • ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจในการได้รับการบริการ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ คือ 1) ด้านกระบวนการ 2) ด้านเจ้าหน้าที่ 3) ด้านสถานที่ และ 4) ด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแต่ละข้อคำถาม • ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการ เป็นแบบสอบถามปลายเปิด (Open Ended) วิเคราะห์โดยการสรุปรวบรวมเป็นหมวดหมู่ หาค่าความถี่และร้อยละ แล้วนำเสนอในรูปของตารางประกอบ

  13. ผลการวิจัย

  14. นักศึกษามีความพึงพอใจในการได้รับการบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา2556 ในแต่ละด้าน และโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า • ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านอื่นๆ ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 • รองลงมา ด้านสถานที่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ตามลำดับ

  15. ข้อเสนอแนะ • 1. การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา2556 ด้านกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่ ด้านสถานที่ และด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ ในภาพรวมเท่านั้น ดังนั้นจึงควรมีงานวิจัยที่ถามรายละเอียดอย่างลึกซึ้งในแต่ละด้าน เพื่อได้ข้อมูลบ่งชี้ถึงปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อใช้ในการดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างตรงประเด็นมากขึ้น

  16. ข้อเสนอแนะ (ต่อ) • 2. การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา2556 เป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะทำให้มองเห็นทัศนคติและมุมมองของนักศึกษาซึ่งบริการด้านต่างๆ ของกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวางแผนพัฒนาปรับปรุงการให้บริการอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง ดังนั้น กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ควรมีการประเมินหรือศึกษาทัศนคติการได้รับการบริการและความพึงพอใจในการใช้บริการทุกประเภทอย่างต่อเนื่อง

  17. ขอบพระคุณค่ะ

More Related