140 likes | 714 Views
องค์ประกอบ ของ วรรณคดี. แก่นเรื่อง. แก่น เรื่อง ( Theme) เป็นเสมือนความคิดรวบยอดที่ดำรงอยู่ในเรื่องราวที่นักเขียนบรรจงสร้างสรรค์ ขึ้น
E N D
แก่นเรื่อง (Theme) เป็นเสมือนความคิดรวบยอดที่ดำรงอยู่ในเรื่องราวที่นักเขียนบรรจงสร้างสรรค์ขึ้น ถ้าจะพิจารณางานเขียนว่าเกี่ยวกับอะไรก็ให้ดูง่ายๆว่างานเขียนนั้นเขียนเกี่ยวกับอะไร แต่สำหรับแก่นเรื่องแล้วจะเป็นความเห็นบางประการต่อเรื่องนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบเปิดเผยหรือซ้อนเร้น
ความเห็นดังกล่าวนี้ก็คือความหมายที่นักเขียนประสงค์หรือต้องการที่จะสื่อนั่นเอง คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าเรื่องราวเป็นเพียงเปลือกที่ห่อหุ้มแก่นเรื่องเอาไว้ หรือเป็นเพียงภาพแสดง ความงามทางด้านศิลป์เท่านั้น
แก่นเรื่องนั้นเป็นความหมายของเรื่องราวที่ค่อยๆคลี่คลายออกมา เป็นนัยอันสำคัญจำเป็นของเรื่องราวทั้งหมด และในท้ายที่สุด แก่นเรื่องจะเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและเปิดเผยความจริงของเรื่องทั้งหมดในที่สุด ดั้งนั้นแก่นเรื่องและตัวเนื้อเรื่องจึงไม่อาจจะแยกออกจากกันได้
สำหรับงานเขียนแล้ว แก่นเรื่องเป็นส่วนสำคัญพื้นฐานและเป็นสากล เพราะแก่นเรื่องของแต่ละเรื่องสะท้อนคุณค่าของเรื่องนั้นๆสำหรับงานเขียนแล้ว แก่นเรื่องเป็นส่วนสำคัญพื้นฐานและเป็นสากล เพราะแก่นเรื่องของแต่ละเรื่องสะท้อนคุณค่าของเรื่องนั้นๆ
การที่จะเขียนเรื่องหรือนิยายเรื่องหนึ่งขึ้นมาก็ต้องรู้ก็จ๊ะว่าแก่นเรื่องที่แท้จริงคืออะไร...แล้วจะเผยมันออกมาในตอนไหน...อย่างไร...และใช้วิธีการเปิดเผยแบบไหนจึงจะเพิ่มความน่าสนใจให้กับคนอ่าน เหมือนการดูหนังแหละจ๊ะ จุดไคลแม็คของหนังแต่ละเรื่องทำให้เราประทับใจหนังแต่ละเรื่องไม่เท่ากัน
แก่นของเรื่อง หมายถึง ทรรศนะหรือเจตนารมณ์ที่กวีต้องการจะเสนอต่อผู้อ่าน โดยแฝงอยู่ในเนื้อหาของเรื่อง แก่นของเรื่อง เป็นแกนหลักที่กวีใช้ในการวางโครงเรื่อง สร้างตัวละคร สร้างฉาก และดำเนินเรื่อง จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการแต่งเรื่อง
แก่นของเรื่อง เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาหลังสุด หลังจากที่ได้อ่านเรื่องนั้นจบแล้ว เป็นการประมวลทุกสิ่งที่ได้อ่านอย่างพินิจพิเคราะห์มาสกัดเอาแก่นเรื่องออกมา ซึ่งต้องมีประสบการณ์เป็นอย่างดีโดยจะต้องอธิบายได้ว่า ที่เข้าใจแก่นของเรื่องว่าเป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด
ตัวอย่าง เรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อแก่นของเรื่อง คือ ความรักของผู้ที่ต่างเผ่าพันธุ์ย่อมไม่จีรัง น่าจะพิจารณาได้จาก เนื้อเรื่องที่แสดงความพยายามของพระอภัยมณีที่จะหนีนางผีเสื้อ โดยให้เหตุผลที่ว่า...
“ พี่มนุษย์สุดสวาทเป็นชาติยักษ์ จงคิดหักความสวาทให้ขาดสูญ”
ที่มา • http://www.dek-d.com/content/view.php?id=8370 • http://www.nmt.ac.th/home/thai/thai2/page11.htm