1 / 30

บรรยายโดย อ.สมิทธิ์ บุญชุติมา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การ ออกแบบแบบสอบถาม สำหรับการทำ โพลล์. บรรยายโดย อ.สมิทธิ์ บุญชุติมา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โพลล์ คืออะไร ?. โพลล์ ( Poll) คือการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ( Information) จากประชาชน

aolani
Download Presentation

บรรยายโดย อ.สมิทธิ์ บุญชุติมา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การออกแบบแบบสอบถามสำหรับการทำโพลล์การออกแบบแบบสอบถามสำหรับการทำโพลล์ บรรยายโดย อ.สมิทธิ์ บุญชุติมาคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  2. โพลล์คืออะไร? • โพลล์ (Poll) คือการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (Information) จากประชาชน • โพลล์กับงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) คือสิ่งเดียวกันเพียงแต่ว่า โพลล์ถูกใช้โดยองค์กรสื่อมวลชน แต่งานวิจัยเชิงสำรวจถูกทำขึ้นโดยนักวิจัยของสถาบันการศึกษา ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย. โพลล์ (Poll) คืออะไร. 09 กุมภาพันธ์ 56http://www.enn.co.th/6197

  3. วัตถุประสงค์ของการสร้างแบบสอบถามวัตถุประสงค์ของการสร้างแบบสอบถาม หลัก 2 สูง • 1) เพื่อให้ได้จำนวนผู้ตอบตามที่ท่านต้องการให้มากที่สุด (response rate) สูงสุด • 2) เพื่อได้ข้อมูลที่ใช้ได้และมีความถูกต้องสูงสุด สมชัย ชินตระกูล. หลักการสร้างแบบสอบถามที่ดี. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 11 เดือนตุลาคม 2553

  4. ขั้นตอนในการออกแบบ • ก่อนการออกแบบ • ตั้งเป้าหมาย • กำหนดข้อมูลที่ต้องทราบ • วางแผนว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร สมชัย ชินตระกูล. หลักการสร้างแบบสอบถามที่ดี. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 11 เดือนตุลาคม 2553

  5. คิดก่อนทำ • ชัดเจนว่าท่านต้องการได้ข้อมูลอะไรบ้าง • โดยการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย และคิดถึงข้อมูลที่ท่านต้องการจาก ผู้ตอบแบบสอบถาม • และควรคำนึงถึงว่าท่านจะวิเคราะห์แต่ละข้อคำถามอย่างไร เพื่อให้ได้ผลที่ท่านต้องการ • อย่าลืมว่ามีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ท่านต้องการทราบ กับสิ่งที่ถ้าทราบก็ดีไม่ทราบก็ได้ • ไม่ควรนำคำถามที่ไม่จำเป็นมาใส่ไว้ในแบบสอบถาม สมชัย ชินตระกูล. หลักการสร้างแบบสอบถามที่ดี. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 11 เดือนตุลาคม 2553

  6. การกำหนดข้อมูลและตัวชี้วัดการกำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เอกสารประกอบการสอนการสร้างแบบวัดครามรู้. 09 กุมภาพันธ์ 56http://www.enn.co.th/6197

  7. เราต้องการรู้อะไร • ชัดเจนว่าท่านต้องการได้ข้อมูลอะไรบ้าง • โดยการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย และคิดถึงข้อมูลที่ท่านต้องการจาก ผู้ตอบแบบสอบถาม • และควรคำนึงถึงว่าท่านจะวิเคราะห์แต่ละข้อคำถามอย่างไร เพื่อให้ได้ผลที่ท่านต้องการ • อย่าลืมว่ามีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ท่านต้องการทราบ กับสิ่งที่ถ้าทราบก็ดีไม่ทราบก็ได้ • ไม่ควรนำคำถามที่ไม่จำเป็นมาใส่ไว้ในแบบสอบถาม สมชัย ชินตระกูล. หลักการสร้างแบบสอบถามที่ดี. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 11 เดือนตุลาคม 2553

  8. ใครที่จะรู้คำตอบ • ประชากร (population): สมาชิกทุกคนที่ท่านสนใจจะศึกษา • กลุ่มตัวอย่าง (sample): ตัวแทนของประชากรที่ท่านเลือกมาเพื่อตอบแบบสอบถาม ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างท่านต้องแน่ใจว่าได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรที่ท่านกำ ลังจะศึกษา เช่น ครอบคลุมทุกอายุ กลุ่มเศรษฐกิจสังคม และ เพศ เป็นต้น • ผู้ตอบแบบสอบถาม (respondents): ส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามจริง ๆ และส่งคืนมาให้เรา สมชัย ชินตระกูล. หลักการสร้างแบบสอบถามที่ดี. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 11 เดือนตุลาคม 2553

  9. เทคนิคการตั้งชื่อแบบสอบถามให้น่าตอบเทคนิคการตั้งชื่อแบบสอบถามให้น่าตอบ • กำหนดชื่อแบบสอบถามให้สั้นและมีความหมายต่อผู้ตอบ • แสดงข้อมูลเกี่ยวกับท่าน และคำชี้แจงที่ชัดเจน ดังต่อไปนี้ • บอกว่าท่านเป็นใคร • บอกวัตถุประสงค์ของการสำรวจและ • ความสำคัญของคำตอบที่จะได้จากผู้ตอบ • บอกถึงการเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับและไม่เปิดเผยชื่อ • มีคำชี้แจงที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ตอบทราบว่าในแต่ละข้อควรจะตอบอย่างไร เช่น ท่านต้องการให้ตอบเพียง 1 ข้อ หรือตอบได้มากกว่า 1 ข้อ (หลายข้อ) หรือให้จัดลำดับคำตอบหรือไม่ ถ้ามีการให้จัดลำดับ ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า 1 หมายถึงอันดับสูงหรือต่ำ สมชัย ชินตระกูล. หลักการสร้างแบบสอบถามที่ดี. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 11 เดือนตุลาคม 2553

  10. เทคนิคการตั้งชื่อแบบสอบถามให้น่าตอบเทคนิคการตั้งชื่อแบบสอบถามให้น่าตอบ • ทำแบบสอบถามให้สั้นและกระชับมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ • อาจมีการให้สิ่งตอบแทนในการตอบแบบสอบถามอย่างมีความเหมาะสม • ควรมีลักษณะสร้างสรรค์ อาจมีการใส่สี หรือรูปภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามและดึงดูดใจ

  11. ลักษณะของคำถาม

  12. หลักการเขียนคำถาม • 1. ใช้ภาษาง่ายๆ • 2. ใช้ประโยคสั้นๆ กะทัดรัด • 3. ใช้คำเฉพาะเจาะจง • 4. ให้มีคำถามเดียว • 5. อย่าถามนำ ลำเอียง • 6. ไม่ใช้คำปฏิเสธ • 7. ถามเฉพาะที่ต้องการ

  13. จัดเรียง วางรูปแบบ 1. เรียงเป็นหมวดหมู่ 2. แต่ละส่วน เรียง 2.1 ใกล้ตัวก่อน 2.2. ทั่วไปก่อน 2.3 ง่ายไปยาก 2.4 คุ้นเคยมากไปน้อย 2.5 เรียงตามลำดับเหตุการณ์ 3.มีหลายเลขประจำข้อ 4. เรียงตามความเคยชิน 5. เรียงให้ตอบสะดวก 6. วางรูปแบบให้น่าตอบ

  14. ตรวจ แก้ ขั้นต้นด้วยตนเอง 1. เข้าใจคำถามนั้นหรือไม่ 2. ตัวเลือกตอบครอบคลุมหรือไม่ 3. คำถามนี้จำเป็นหรือไม่ 4. ใช้ภาษากว้าง แคบเกินไปหรือไม่ 5. ควรถามตรงหรืออ้อมดี 6. ถามแล้วจะได้คำตอบหรือไม่ 7. คำตอบที่ได้จะเชื่อถือได้หรือไม่ 8. มีคำที่จูงใจให้ตอบตามต้องการหรือไม่

  15. การตรวจสอบคุณภาพ 1. ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ 2. ทดลองใช้หาคุณภาพ 2.1 ความเป็นปรนัย 2.2 ความยากง่าย 2.3 อำนาจจำแนก 2.4 การนำไปใช้

  16. ข้อดี-ข้อจำกัดของแบบสอบถามข้อดี-ข้อจำกัดของแบบสอบถาม ข้อดี 1. ประหยัด 2. สะดวก 3. สรุปง่าย 4. ให้ใครส่งให้ก็ได้ ข้อจำกัด 1. ได้กลับคืนน้อย 2. คำตอบเชื่อถือได้น้อย 3. ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้วิจัย 4. ผู้ตอบต้องมีการศึกษา 5. สร้างความลำเอียงได้ง่าย

  17. เนื้อหาและคำถาม เนื้อหาของแบบสอบถาม ถามได้ทุกเรื่อง • ข้อเท็จจริง • ข้อเท็จจริงผสมความเห็น • ความเห็น • ความตระหนัก ความสำนึก • การรับรู้ • ความรู้สึก นึกคิด • ความหวัง คาดหวัง • ปัญหา ความต้องการ • เหตุผล คำถามแบบเลือกตอบ 1.แบบถูกผิด 2.แบบสองตัวเลือก 3.แบบหลายตัวเลือก

  18. ลำดับของคำถาม • ใส่คำถามที่สำคัญมากไว้ในครึ่งแรกของแบบสอบถาม • อย่าเริ่มด้วยคำถามที่กระอักกระอ่วนหรือทำให้ขวยเขิน เพราะอาจทำให้ผู้ตอบเลิกตอบได้ • เริ่มด้วยคำถามที่ง่ายและไม่มีผลต่อผู้ตอบ • เริ่มจากคำถามทั่วๆ ไป ไปสู่คำถามเฉพาะ • เริ่มจากคำถามที่เป็นความจริงจับตาได้หรือเป็นรูปธรรมไปสู่นามธรรม • เริ่มจากคำถามปลายปิดไปสู่คำถามปลายเปิด

  19. การทดสอบแบบสอบถาม • ทดลองใช้กับคนกลุ่มหนึ่งในประชากรที่ท่านจะศึกษาก่อนที่ท่านจะแจกแบบสอบถามจริง ๆ เพราะท่านอาจจะพบ • การพิมพ์ผิด • ข้อที่มีความกำกวมในคำพูดของข้อคำถาม • ต้องมีการเพิ่มข้อคำถามขึ้นอีก หากต้องการวิเคราะห์ผลบางอย่างเพิ่มเติม • คำถามบางข้อไม่มีความจำเป็นและสามารถตัดทิ้งได้ • เวลาที่ใช้ในการตอบแต่ละคำถามด้วย

  20. หลักการทั่วไปในการเขียนคำถามหลักการทั่วไปในการเขียนคำถาม • ในการเขียนคำถาม มีหลักการสำคัญ 4 ประการได้แก่ • ต้องถามคำถามที่ถูกต้อง (หมายถึง ถามในสิ่งที่ต้องการทราบ และเกี่ยวข้องจริงๆ) • ผู้ตอบต้องเข้าใจคำถามของท่าน • ผู้ตอบต้องทราบคำตอบ • ผู้ตอบต้องเต็มใจและสามารถให้คำตอบ

  21. หลักการทั่วไปในการเขียนคำถามหลักการทั่วไปในการเขียนคำถาม • ในคำถามแบบเลือกตอบ ต้องจัดให้มีทุกคำตอบที่เป็นไปได้ และเพื่อเป็นการป้องกันคำตอบที่ไม่คาดคิด ก็ควรจะใส่ ตัวเลือก อื่น ๆ (โปรดระบุ)...... ลงไปด้วย • ตัวอย่างที่ไม่ดี: ท่านมีคอมพิวเตอร์ยี่ห้ออะไร 1) IBM PC 2) Apple • ตัวอย่างที่ดี: ท่านเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ยี่ห้ออะไร(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) • 1. ไม่มีคอมพิวเตอร์ • 2 . IBM PC • 3. Apple • 4. อื่น ๆ (โปรดระบุ)..................

  22. หลักการทั่วไปในการเขียนคำถามหลักการทั่วไปในการเขียนคำถาม • การเขียนคำถามและตัวเลือก ต้องมีความคงเส้นคงวา (consistency) • คำถามต้องสัมพันธ์กับประสบการณ์ของผู้ตอบ • คำถามต้องมีความชัดเจนและแน่นอน • ตัวอย่างที่ไม่ดี : ท่านคิดอย่างไรกับผลิตภัณฑ์นี้? • ตัวอย่างที่ดี : จากระดับ 1 ถึง 10 ขนมปังนี้มีความสดเท่าไร? ให้ท่านเขียนวงกลมล้อมรอบ 1 ค่าเก่ามาก 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 สดมาก • เขียนตัวเลือกของคำตอบให้ชัดเจน ตัวเลือกต้องไม่ซ้ำซ้อน หรือต้องแยกจากกันโดยเด็ดขาด (Mutuallyexclusive) • ตัวอย่างที่ไม่ดี : ท่านเติบโตจากที่ใด1) ชนบท 2) ในฟาร์ม 3) ในเมือง

  23. หลักการทั่วไปในการเขียนคำถามหลักการทั่วไปในการเขียนคำถาม • ช่วงในตัวเลือกต้องไม่ขาดหายไป • ตัวอย่างที่ไม่ดี: อายุของท่านอยู่ในกลุ่มใด?1) น้อยกว่า 20 ปี 2) มากกว่า 20 ปี • ตัวอย่างที่ดี: อายุของท่านอยู่ในกลุ่มใด?1) น้อยกว่า 20 ปี 2) ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป • คำถามแบบให้ตอบได้หลายคำตอบ ผู้ตอบมักจะตอบหลายคำตอบ แต่ถ้าทุกคนตอบทุกคำตอบก็ไม่ได้ช่วยให้เราทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นควรจำกัดให้ตอบได้ 3 คำตอบที่ตรงหรือสำคัญมากที่สุด • ใช้ภาษาธรรมดาและผู้ตอบมีความคุ้นเคย ต้องแน่ใจว่าท่านใช้ภาษาที่คนทุกระดับการศึกษาเข้าใจ • มีความเฉพาะเจาะจง หลีกเลี่ยงคำ พูดที่แสดงอารมณ์ หรือคำคลุมเครือ ต่อไปนี้ เช่น โดยปกติ • บ่อยครั้ง หรือ มากที่สุด เนื่องจากความคิดของแต่ละคนเกี่ยวกับคำว่า โดยปกติ บ่อยครั้ง หรือมากที่สุด อาจจะแตกต่างกัน

  24. หลักการทั่วไปในการเขียนคำถามหลักการทั่วไปในการเขียนคำถาม • อย่าตั้งข้อสมมุติเอาเอง • ตัวอย่างที่ไม่ดี: ท่านพอใจกับประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบันของท่านหรือไม่? 1) ใช่ 2) ไม่ใช่ • ตัวอย่างที่ดี: ท่านพอใจกับประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบันของท่านหรือไม่? 1) ใช่ 2) ไม่ใช่ 3) ไม่มีประกันรถยนต์ • ตัวอย่างที่ไม่ดี:ท่านสนับสนุนการแก้มาตราที่ 193 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 หรือไม่? 1) ใช่ 2) ไม่ใช่ • ตัวอย่างที่ดี: ท่านสนับสนุนการแก้มาตราที่ 193 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 หรือไม่? 1) ใช่ 2) ไม่ใช่ 3) ยังไม่ตัดสินใจ

  25. หลักการทั่วไปในการเขียนคำถามหลักการทั่วไปในการเขียนคำถาม • อย่าใช้คำหรือข้อความที่แสดงถึงความลำเอียงหรือต้องการคำตอบตามที่เราต้องการ • ตัวอย่างที่ไม่ดี: ทำไมคอมพิวเตอร์ยี่ห้อนี้คนไม่ชอบ • ตัวอย่างที่ไม่ดี: ท่านไม่คิดว่ารัฐบาลนี้ ใช้เงินมากเกินไปหรือ? • ถามข้อละ 1 คำถาม หรือ 1 ประเด็น • ตัวอย่างที่ไม่ดี: ท่านชอบรสชาดและผิวสัมผัสของสินค้ายี่ห้อนี้หรือไม่? 1) ชอบ2) ไม่ชอบ • ตัวอย่างที่ดี: ท่านพอใจกับประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบันของท่านหรือไม่? 1) ใช่ 2) ไม่ใช่ 3) ไม่มีประกันรถยนต์ • ระบุสิ่งที่คาดหวังให้ชัดเจน • ตัวอย่างที่ไม่ดี: ใน 6 เดือนที่แล้ว มาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ท่านซื้อมาใหม่จากร้านค้าคืออะไร? • ตัวอย่างที่ดี: ใน 6 เดือนที่แล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในรายการต่อไปนี้ ท่านได้ซื้อมาใหม่หรือไม่? • ตู้เย็น 1) ใช่ 2) ไม่ใช่ • เตาอบ 1) ใช่ 2) ไม่ใช่ • เตาไฟฟ้า 1) ใช่ 2) ไม่ใช่ • เตาไมโครเวฟ 1) ใช่ 2) ไม่ใช่

  26. หลักการทั่วไปในการเขียนคำถามหลักการทั่วไปในการเขียนคำถาม • เขียนคำถามที่จะทำให้ได้คำ ตอบที่หลากหลาย เพราะการได้เพียงคำตอบเดียวเป็นส่วนใหญ่ไม่สามารถจะวิเคราะห์ทางสถิติได้ในข้อนั้นๆ • ท่านคิดเห็นอย่างไรกับรายงานนี้ • 1. เป็นรายงานที่แย่ที่สุดเท่าที่ข้าพเจ้าเคยได้อ่าน • 2. เป็นรายงานที่อยู่ระหว่างแย่ที่สุดกับดีที่สุด (ข้อนี้คนจะตอบมากที่สุด) • 3. เป็นรายงานที่ดีที่สุดเท่าที่ข้าพเจ้าเคยได้อ่าน • หลีกเลี่ยงการใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เช่น แทนที่จะถามผู้ตอบว่าเห็นด้วยกับข้อความปฏิเสธซ้อนปฏิเสธหรือไม่ • ตัวอย่างที่ไม่ดี: ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า “การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะไม่ควรจะถูกห้าม” • ตัวอย่างที่ไม่ดี:ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า “การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะควรจะถูกห้าม”

  27. หลักการทั่วไปในการเขียนคำถามหลักการทั่วไปในการเขียนคำถาม • คำถามต้องสามารถทำให้ได้ความจริง โดยคำถามต้องไม่มีผลคุกคามต่อผู้ตอบ เนื่องจากหากผู้ตอบคำนึงถึงผลที่จะตามมาจากการตอบคำถามนั้น ๆ ก็มักจะให้คำตอบที่ไม่จริง การเก็บเป็นความลับหรือไม่ใส่ชื่อผู้ตอบมักจะได้คำ ตอบที่เป็นจริงมากกว่า • อย่าให้ผู้ตอบจัดอันดับของรายการที่มีมากกว่า 5 รายการ • ถ้าเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประเมินวัดความคิดเห็น ความพึงพอใจ หรือเจตคติ แบบมาตราส่วน (rating scale) ควรใช้แบบมาตรสมดุล(balanced scale) ตัวอย่าง เช่น แบ่งความคิดเห็นเป็น 5 ระดับ ซึ่งประกอบด้วย เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยไม่ควรตัดไม่แน่ใจทิ้งไป เพราะจะทำ ให้เป็นมาตรไม่สมดุล นอกจากนี้ยังต้องหาคุณภาพของเครื่องมือ กล่าวคือ หาอำนาจจำแนกของแต่ละข้อหาค่าเที่ยงตรง (validity) และความเชื่อมั่น (reliability) ของเครื่องมือด้วย

  28. หลักการทั่วไปในการเขียนคำถามหลักการทั่วไปในการเขียนคำถาม • เขียนคำถามที่จะทำให้ได้คำ ตอบที่หลากหลาย เพราะการได้เพียงคำตอบเดียวเป็นส่วนใหญ่ไม่สามารถจะวิเคราะห์ทางสถิติได้ในข้อนั้นๆ • ท่านคิดเห็นอย่างไรกับรายงานนี้ • 1. เป็นรายงานที่แย่ที่สุดเท่าที่ข้าพเจ้าเคยได้อ่าน • 2. เป็นรายงานที่อยู่ระหว่างแย่ที่สุดกับดีที่สุด (ข้อนี้คนจะตอบมากที่สุด) • 3. เป็นรายงานที่ดีที่สุดเท่าที่ข้าพเจ้าเคยได้อ่าน • หลีกเลี่ยงการใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เช่น แทนที่จะถามผู้ตอบว่าเห็นด้วยกับข้อความปฏิเสธซ้อนปฏิเสธหรือไม่ • ตัวอย่างที่ไม่ดี: ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า “การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะไม่ควรจะถูกห้าม” • ตัวอย่างที่ไม่ดี:ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า “การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะควรจะถูกห้าม”

  29. หลักการทั่วไปในการเขียนคำถามหลักการทั่วไปในการเขียนคำถาม • เขียนคำถามที่จะทำให้ได้คำ ตอบที่หลากหลาย เพราะการได้เพียงคำตอบเดียวเป็นส่วนใหญ่ไม่สามารถจะวิเคราะห์ทางสถิติได้ในข้อนั้นๆ • ท่านคิดเห็นอย่างไรกับรายงานนี้ • 1. เป็นรายงานที่แย่ที่สุดเท่าที่ข้าพเจ้าเคยได้อ่าน • 2. เป็นรายงานที่อยู่ระหว่างแย่ที่สุดกับดีที่สุด (ข้อนี้คนจะตอบมากที่สุด) • 3. เป็นรายงานที่ดีที่สุดเท่าที่ข้าพเจ้าเคยได้อ่าน • หลีกเลี่ยงการใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เช่น แทนที่จะถามผู้ตอบว่าเห็นด้วยกับข้อความปฏิเสธซ้อนปฏิเสธหรือไม่ • ตัวอย่างที่ไม่ดี: ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า “การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะไม่ควรจะถูกห้าม” • ตัวอย่างที่ไม่ดี:ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า “การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะควรจะถูกห้าม”

  30. หลักการทั่วไปในการเขียนคำถามหลักการทั่วไปในการเขียนคำถาม

More Related