1 / 44

ตัวอย่างการกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม

ตัวอย่างการกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม. ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด.

ansel
Download Presentation

ตัวอย่างการกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ตัวอย่างการกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มตัวอย่างการกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม

  2. ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด จากวิสัยทัศน์ของจังหวัดที่ว่า“เป็นเมืองน่าอยู่เป็นศูนย์กลางภูมิภาคทางด้านการค้าการลงทุนการบริการและการคมนาคมขนส่งมุ่งสู่สากล”ทางจังหวัดได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์และได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่คาดว่าจะสามารถนำพาจังหวัดให้บรรลุวิสัยทัศน์ได้ทั้งหมด 7 ประเด็นดังต่อไปนี้ • การแก้ไขปัญหาความยากจน • การพัฒนาเมืองและชนบทอย่างยั่งยืน • สร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ • การพัฒนาทุนมนุษย์ • สร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยว • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • การจัดระบบการบริหารจัดการ

  3. ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 “การสร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ” 3. สร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ 1. เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด ร้อยละ 3 3.1 สร้างศักยภาพการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม 3.2 สร้างศักยภาพการแข่งขันภาคการเกษตร 3.3 สร้างศักยภาพการแข่งขันภาคการค้า การลงทุน และการบริการ 2. เพิ่มมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ร้อยละ 10 3.4 สร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP ทางจังหวัดเล็งเห็นว่า ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 “การสร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ”เป็นประเด็นยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญ และควรนำมาวิเคราะห์เป็นอันดับแรกในการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ทางทีมงานฯ จึงเริ่มต้นการจากการทบทวนข้อมูลรายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  4. กลยุทธ์จังหวัด จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าทางจังหวัดได้ตั้งเป้าประสงค์เพื่อที่จะบรรลุประเด็นยุทธศาสตร์เรื่อง “การสร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ” ไว้ 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ การเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) และการเพิ่มมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP จากเป้าประสงค์ในการเพิ่มมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ทางจังหวัดได้กำหนดกลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP”ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันเพื่อให้จังหวัดสามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้ ตัวอย่างกรณีศึกษานี้จะใช้กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP”นี้เพื่อเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์กระบวนงานปัจจุบันตามรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป

  5. กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP” ทางทีมงานจังหวัดได้จัดประชุมระดมความคิด เพื่อรวบรวมกระบวนงานหลักที่สนับสนุนกลยุทธ์การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP ให้สำเร็จ โดยระบุกระบวนงานหลักในปัจจุบันที่สนับสนุนการสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP ตามรายละเอียดดังแสดงใน แบบฟอร์มที่ 1.1 ชุดที่ 1: แบบฟอร์มเพื่อรวบรวมกระบวนงานในปัจจุบันที่สนับสนุนแต่ละกลยุทธ์ ในขณะเดียวกัน ระหว่างที่ทางทีมงานฯได้ระดมความคิดเพื่อรวบรวมกระบวนงานหลักในปัจจุบันดังกล่าวนั้น การประชุมยังได้มีการวิเคราะห์ถึงกระบวนงานที่ยังไม่มีการดำเนินการในปัจจุบัน แต่มีความสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ของกลยุทธ์ ดังนั้น จึงมีการระบุรายชื่อกระบวนงานเหล่านี้ ไว้ใน แบบฟอร์มที่ 1.1 ชุดที่ 2: แบบฟอร์มเพื่อรวบรวมกระบวนงานที่ควรจะดำเนินการแต่ยังไม่ได้ดำเนินการในปัจจุบัน

  6. ตัวอย่างกระบวนงาน

  7. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตร

  8. การเกษตร พัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร พัฒนาตลาดและขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร • จัดหาและพัฒนาแหล่งต้นน้ำ • ส่งเสริมการจัดสร้างและปรับปรุงแหล่งกักเก็บน้ำ • วางแผนและจัดการน้ำให้มีความเหมาะสมต่อการเกษตร • ควบคุมมลพิษที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ • ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพดิน • สำรวจและจัดหาพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมเพิ่มเติม • ศึกษา และกำหนด Zoning พื้นที่การเกษตร • พัฒนาระบบการเก็บรักษา การกระจาย และการขนส่งผลิตผลทางการเกษตร

  9. การเกษตร พัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร พัฒนาตลาดและขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร • พัฒนาและจัดสรรพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีคุณภาพ • พัฒนาและถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีทางการเกษตร • จัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อเกษตรกร • ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายเกษตรกร

  10. การเกษตร พัฒนาตลาดและขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร พัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร • พัฒนาและส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร • ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร ตามระบบมาตรฐาน GAP • ส่งเสริมและพัฒนาการนำผลผลิตทางการเกษตรไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน

  11. การเกษตร พัฒนาตลาดใหม่และขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร พัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร • ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า • พัฒนาตลาดใหม่ • ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

  12. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้าการลงทุนประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้าการลงทุน

  13. การค้า การลงทุน สร้างความพร้อมผู้ประกอบการและ นักลงทุนท้องถิ่น สร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างถิ่น การพัฒนาตลาดรองรับ และขยายช่องทางการค้า การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน • สำรวจความพร้อม และศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัด • ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการการค้า และการลงทุน • ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรมพื้นฐานเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ • พัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับธุรกิจการค้า และอุตสาหกรรม • จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและเขตสิทธิพิเศษทางการค้า และลงทุน • จัดตั้งศูนย์บริการ เพื่อการค้าและการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จและครบวงจร

  14. การค้า การลงทุน สร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาตลาดรองรับ และขยายช่องทางการค้า สร้างความพร้อมผู้ประกอบการและนักลงทุนท้องถิ่น การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างถิ่น • ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีแก่ผู้สนใจ • พัฒนาผู้ประกอบการ และนักลงทุนเที่ยวกับวิทยาการจัดการและการค้า • จัดหาแหล่งเงินทุน • ส่งเสริมและกำหนดสิทธิพิเศษแก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนท้องถิ่น

  15. การค้า การลงทุน สร้างความพร้อมผู้ประกอบการและ นักลงทุนท้องถิ่น สร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาตลาดรองรับ และขยายช่องทางการค้า การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างถิ่น • ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ศักยภาพความพร้อมของจังหวัด • พัฒนาปัจจัยที่จำเป็นต่อคุณภาพชีวิต

  16. การค้า การลงทุน สร้างความพร้อมผู้ประกอบการและ นักลงทุนท้องถิ่น สร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างถิ่น สร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาตลาดรองรับ และขยายช่องทางการค้า การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน • เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สินค้าของจังหวัด • พัฒนา และส่งเสริมการสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อบ้าน • ศึกษา และพัฒนาตลาดเพื่อการส่งออก

  17. การค้า การลงทุน สร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างถิ่น การพัฒนาตลาดรองรับ และขยายช่องทางการค้า สร้างความพร้อมผู้ประกอบการและ นักลงทุนท้องถิ่น การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน • เผยแพร่ศักยภาพของจังหวัด และจูงใจให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เข้ามีส่วนร่วม • เสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเครือข่าย Logistic

  18. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยว

  19. การท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาความพร้อมภาคบริการ พัฒนาช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ อนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง • ศึกษาและสำรวจ แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด • พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด • พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตด้านการท่องเที่ยว • สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว

  20. การท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาความพร้อมภาคบริการ พัฒนาช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ อนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง • พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและธุรกิจให้มีคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการ • จัดตั้งจุดบริการการท่องเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) • กำหนดและตรวจสอบ คุณภาพ มาตรฐานการบริการของสถานประกอบการ • กำกับดูแล รักษาความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว • เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุร้าย

  21. การท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาความพร้อมภาคบริการ พัฒนาช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ อนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง • ศึกษาและวิจัยแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีในจังหวัด • การจัดทำแผนบริหารจัดการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของจังหวัด • สร้างเครือข่ายองค์กรและชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม • กำจัดและควบคุมมลพิษทางสิ่งแวดล้อม • เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความรู้ทางวิชาการเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

  22. การท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาความพร้อมภาคบริการ อนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง พัฒนาช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ • สำรวจพฤติกรรมการท่องเที่ยว และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย • ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด • พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการท่องเที่ยว

  23. แบบฟอร์มที่ 1.1 ชุดที่ 1: แบบฟอร์มเพื่อรวบรวมกระบวนงานในปัจจุบันที่สนับสนุนแต่ละกลยุทธ์

  24. แบบฟอร์มที่ 1.1 ชุดที่ 2: แบบฟอร์มเพื่อรวบรวมกระบวนงานที่ควรจะดำเนินการแต่ยังไม่ได้ดำเนินการในปัจจุบัน

  25. การวิเคราะห์กระบวนงานปัจจุบันการวิเคราะห์กระบวนงานปัจจุบัน จากแบบฟอร์มที่ 1.1 ชุดที่ 1 จะเห็นได้ว่า ทางจังหวัดมีกระบวนงานหลักที่สนับสนุนกลยุทธ์การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP ทั้งหมด 6 กระบวนงาน โดยในลำดับถัดไป ทางจังหวัดจำเป็นต้องวิเคราะห์ในรายละเอียดของแต่ละกระบวนงานดังกล่าวทั้งหมด โดยใช้แบบฟอร์มที่ 1.2 และ 1.3 เป็นตัวช่วยในการกรอกข้อมูล และเมื่อได้วิเคราะห์กระบวนงานครบทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นขั้นตอนเพื่อวิเคราะห์ในภาพรวมของกระบวนงานทั้งหมด เพื่อคัดเลือกกระบวนงานที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาปรับปรุงโดยใช้แบบฟอร์มที่ 4.1 และ 4.2 ในขั้นตอนสุดท้ายต่อไป ตัวอย่างกรณีศึกษานี้ จะทำการวิเคราะห์ กระบวนงานที่ 4“การคัดสรรผลิตภัณฑ์” (เพื่อใช้เป็นตัวอย่างเท่านั้น ทางจังหวัดและส่วนราชการยังคงต้องทำให้ครบทุกกระบวนงาน)

  26. กระบวนงานที่ 4“การคัดสรรผลิตภัณฑ์” ในการวิเคราะห์กระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์นั้น ทางทีมงานฯ ได้ระดมความคิดเพื่อระบุกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการจัดทำกระบวนงานการคัดสรรฯในปัจจุบัน โดยรวบรวมรายชื่อกิจกรรม ดัชนีชี้วัด และรอบระยะเวลา ดังแสดงใน แบบฟอร์มที่ 1.2: แบบฟอร์มรายละเอียดกระบวนงาน (Process)

  27. แบบฟอร์มที่ 1.2: แบบฟอร์มรายละเอียดกระบวนงาน (Process)

  28. “กิจกรรม” ของกระบวนงานที่ 4 การคัดสรรผลิตภัณฑ์ หลังจากที่ระบุรายชื่อกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะทำการระบุรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมใน แบบฟอร์มที่ 1.3: แบบฟอร์มรายละเอียดกิจกรรม (Activity) เพื่อระบุ คำอธิบายโดยสังเขป อุปสรรคหรือปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้แต่ละกิจกรรมที่ดำเนินการในปัจจุบัน โอกาสในการปรับปรุงการดำเนินกิจกรรม และระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งบทบาท เพื่อให้สามารถทราบได้ว่า แต่ละกิจกรรมนั้นมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด จะเห็นได้ว่า กระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์นั้น มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 7 กิจกรรมด้วยกัน โดยแต่ละกิจกรรมจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์รายละเอียดในแบบฟอร์มที่ 1.3 ดังแสดงรายละเอียดในหน้าถัดไป

  29. กิจกรรมที่ 4.1: แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานคัดสรร

  30. กิจกรรมที่ 4.2: จัดการประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการ

  31. กิจกรรมที่ 4.3: การประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการคัดสรร

  32. กิจกรรมที่ 4.4: การลงทะเบียนผู้ผลิตชุมชน และผู้ประกอบการ

  33. กิจกรรมที่ 4.5: อบรมผู้ผลิตชุมชน

  34. กิจกรรมที่ 4.6: การให้คะแนน/จัดระดับ

  35. กิจกรรมที่ 4.6: การให้คะแนน/จัดระดับ (ต่อ)

  36. กิจกรรมที่ 4.7: จัดทำทะเบียนผู้ผลิตชุมชน และผู้ประกอบการ

  37. ภาพแสดงกระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์ภาพแสดงกระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์ การจัดทำร่างภาพแสดงกระบวนงาน จะช่วยให้จังหวัดเข้าใจและสามารถเห็นภาพรวมของกระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์ได้ชัดเจนมากขึ้น โดยภาพร่างจะแสดงให้เห็นถึงกิจกรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม ดังแสดงในหน้าถัดไป

  38. หน่วยงาน เวลา ภาพแสดงกระบวนงานในปัจจุบันของการคัดสรรผลิตภัณฑ์ 5 วัน แต่งตั้งกรรมการและคณะทำงานคัดสรร ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องและคณะกรรมการ 23 วัน 12 วัน การประชาสัมพันธ์ 3 วัน ลงทะเบียนผู้ผลิตชุมชนและผู้ประกอบการ 3-4 วัน อบรมผู้ผลิตชุมชน 9 วัน การให้คะแนน / จัดระดับ ได้รับ 3 ดาว ขึ้นไป ใช่ ได้รับ 3 ดาว ขึ้นไป ใช่ ได้รับ 3 ดาว ขึ้นไป ใช่ ได้รับ 3 ดาว ขึ้นไป ใช่ กระบวนงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ 3 วัน จัดทำทะเบียนผู้ผลิตชุมชน และผู้ประกอบการ ประกาศผลและจัดทำ/ส่งรายชื่อฐานข้อมูล สิ้นสุด

  39. การวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงานการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงาน หลังจากที่ทางจังหวัดได้วิเคราะห์และรวบรวมรายละเอียดของกระบวนงานทั้ง 6 กระบวนงานภายใต้กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP”เรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นการวิเคราะห์แต่ละกระบวนงานในภาพรวม เพื่อพิจารณาคัดเลือกกระบวนงานที่มีความสำคัญต่อกลยุทธ์และจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น และเป็นกระบวนงานที่มั่นใจได้ว่ามีความเป็นไปได้สูงในการนำไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ การวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงานนั้น จังหวัดจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน โดยให้คะแนนความสำคัญและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากแต่ละกระบวนงาน ตามเกณฑ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้ • เป็นกระบวนงานหลักที่สนับสนุนเป้าประสงค์หลักของกลยุทธ์ • ช่วยลดเวลาในการทำงาน • เพิ่มคุณภาพการให้บริการ และ • ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน

  40. การวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงาน (ต่อ) ในขณะเดียวกัน จังหวัดยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดและอุปสรรคที่อาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง โดยปัจจัยดังกล่าวอาจได้แก่ • ข้อกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติ • โครงสร้างการจัดแบ่งส่วนงานราชการ • ความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ • การสนับสนุนจากหน่วยงานราชการส่วนกลาง • ฯลฯ โดยกระบวนงานทั้งหมดภายใต้กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP” สามารถวิเคราะห์และให้คะแนนได้ดังแสดงใน แบบฟอร์มที่ 4.1: แบบฟอร์มการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงานที่ควรพิจารณาปรับปรุง ดังต่อไปนี้

  41. แบบฟอร์มที่ 4.1: การวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงานที่ควรพิจารณาปรับปรุง

  42. การคัดเลือกกระบวนงาน เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์กระบวนงานปัจจุบันครบทุกกระบวนงานแล้ว ทางจังหวัดจะต้องพิจารณาคัดเลือกกระบวนงานที่มีความสำคัญและเหมาะสม สามารถปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีความเป็นไปได้สูงในการนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยกระบวนงานที่ได้รับการคัดเลือกนั้น ทางจังหวัดได้ระบุจัดลำดับรายชื่อกระบวนงานใน แบบฟอร์มที่ 4.2: แบบฟอร์มการสรุปรวบรวมกระบวนงานที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อพิจารณาปรับปรุง ดังแสดงในหน้าถัดไป

  43. แบบฟอร์มที่ 4.2: แบบฟอร์มการสรุปรวบรวมกระบวนงานที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อพิจารณาปรับปรุง * กระบวนงานในแบบฟอร์มที่ 4.2 นี้ ถือว่าเป็นกระบวนงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินกลยุทธ์และมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาปรับปรุงสูง และจะเป็นกระบวนงานทั้งหมดที่จัดหวัดจะต้องนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบกระบวนงานใหม่ต่อไป

  44. เสร็จสิ้นการวิเคราะห์กระบวนงานปัจจุบันภายใต้กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP” การวิเคราะห์กระบวนงาน “การคัดสรรผลิตภัณฑ์” ในปัจจุบันภายใต้กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP”ที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ “สร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ”ที่ได้แสดงไว้ในเอกสารชุดนี้ เป็นเพียงการวิเคราะห์กระบวนงานเพียงกระบวนงานเดียว โดยจังหวัดจะต้องดำเนินการวิเคราะห์กระบวนงานส่วนที่เหลืออื่นๆ ภายใต้แต่ละกลยุทธ์ให้ครบถ้วนต่อไป

More Related