270 likes | 592 Views
นิติธรรม หรือ นิติรัฐ “เราจะปกรองโดยธรรม” สมชาย หอมลออ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย. ทศพิธราชธรรม หรือราชธรรม ๑๐ ทาน คือการให้หรือการเสียสละ ศีล คือการประพฤติที่ดีงามตามนิติราชประเพณีและศาสนา บริจาค คือการเสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวม ความซื่อตรง คือดำรงตนอยู่ในสัตย์สุจริต
E N D
นิติธรรม หรือ นิติรัฐ “เราจะปกรองโดยธรรม” สมชาย หอมลออ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย
ทศพิธราชธรรม หรือราชธรรม ๑๐ • ทาน คือการให้หรือการเสียสละ • ศีล คือการประพฤติที่ดีงามตามนิติราชประเพณีและศาสนา • บริจาค คือการเสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวม • ความซื่อตรง คือดำรงตนอยู่ในสัตย์สุจริต • ความอ่อนโยน คือมีสัมมาคารวะ โอบอ้อมต่อทุกคน • ความเพียร คือมีความอุตสาหะในการงาน • ความไม่โกรธ คือไม่ใช้อารมณ์ • ความไม่เบียดเบียน คือไม่เอาเปรียบให้ผู้อื่นเดือดร้อน • ความอดทน • ความเที่ยงธรรม คือความหนักแน่นถือความถูกต้อง ไม่หวั่นไหวเอนเอียง
ธรรมกับสิทธิมนุษยชน • ธรรม คือธรรมชาติ กฎธรรมชาติ หลักความเป็นมา อยู่ และไปของโลก ที่อยู่นอกเหนือการกำหนดของผู้ใด “มันเป็นเช่นนั้นเอง” • สิทธิมนุษยชน สิทธิที่มนุษย์คนหนึ่งพึงมีตั้งแต่เกิดจนตายเพื่อให้ดำรงชีวิตได้อย่างมี ศักดิ์ศรี เสมอภาคเท่าเทียมกันโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ • สิทธิเศรษฐกิจ-สังคม-วัฒนธรรม ปลอดพ้นจากความขาดแคลน(Freedom from Wants)เช่นสิทธิในการศึกษา การมีงานทำ การได้รับสวัสดิการต่างๆจากรัฐ การรักษาวัฒนธรรมของกลุ่มตน และ“สิทธิชุมชน” • สิทธิพลเมือง-การเมือง ปลอดพ้นความหวาดกลัว (Freedom from Fear) • สิทธิพลเมือง เช่น สิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นคน มีชื่อ มีสัญชาติ สิทธิเสรีภาพในชีวิตร่างกาย รวมทั้งสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
สิทธิพลเมือง-การเมือง (ต่อ) • สิทธิทางการเมือง เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง การสมาคม การแสดงความคิดเห็น การชุมนุมโดยสงบโดยปราศจากอาวุธ • สิทธิมนุษยชนมีด้านต่างๆที่แบ่งแยกไม่ได้ และต่างส่งผลต่อกันและกัน เช่น • สิทธิในความเสมอภาคระหว่างเพศ การเลือกตั้ง ตำแหน่งอาชีพ การศึกษา • สิทธิเด็ก เช่น สูติบัติ พัฒนาบุคลิกภาพ การปฏิบัติเป็นพิเศษเมื่อกระทำผิด • สิทธิชนกลุ่มน้อยและชนพื้นเมือง ทางด้านภาษา วัฒนธรรมประเพณี • สิทธิแรงงาน เช่น การมีงานทำ ค่าจ้างที่เป็นธรรม ตั้งสมาคม/สหภาพ • สิทธิคนพิการ เช่นการเข้าถึงบริการสาธารณะ การศึกษา การทำงาน • สิทธิแรงงานข้ามชาติและครอบครัว เช่นสิทธิในค่าาจ้างที่เป็นธรรม การศึกษาของบุตร การเข้าถึงการบริการของรัฐ • สิทธิอัตวินิจฉัย ทั้งของบุคคล ชุมชน กลุ่มชน ประเทศชาติ
ธรรมกับสิทธิมนุษยชน (ต่อ) • สิทธิมนุษยชน ติดตัวมาแต่กำเนิด มีอยู่เองโดยธรรมชาติ มิใช่จากการประสิทธิประสาทโดยผู้ใด กษัตริย์ รัฐสภา ไม่อาจโอนหรือพรากไปจากมนุษย์ • มนุษย์ทุกคนเกิดมามี อิสระเสรี เสมอภาค เท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ • มีความเป็นสากล “สิทธิมนุษยชนเป็นของทุกคน” • เป็นรากฐานของสังคมประชาธิปไตย • เป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน • เป็นรากฐานของความยุติธรรม • เป็นรากฐานของความสงบสุขของสังคมและสันติภาพของโลก • เป็นบรรทัดฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ • เป็นสิทธิที่พึงได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายของรัฐ
ประวัติแนวคิดสิทธิมนุษยชนประวัติแนวคิดสิทธิมนุษยชน • ปรัชญากรีกของกลุ่ม Stoicsที่เชื่อใน “กฎแห่งธรรมชาติ (Natural Law)” • ปรัชญากฎหมายโรมัน ที่เน้นความเสมอภาคและความยุติธรรมทางกฎหมาย • คริสตศาสนาเน้นกฎของพระเจ้า (ธรรมชาติ) ในความเสมอภาค ภราดรภาพ • ยุคการฟื้นฟูศิลปะ เน้นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของปัจเจกบุคคล (มนุษยนิยม) • การปฏิวัติการค้า-อุตสาหกรรม ปฏิรูปศาสนาแลปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุน เน้นสิทธิพลเมืองและการเมือง • การเคลื่อนไหวนักสังคมนิยมเน้นสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม • การต่อสู้เพื่ออิสระภาพของเมืองขึ้น เน้นสิทธิอัตวินิจฉัยและสิทธิการพัฒนา • สำหรับชาวเอเซียยึดถือแนวคิดเรื่องธรรมหรือ กฎแห่งธรรมชาติมาแต่โบราณ
ตราสารด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญตราสารด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ • กฎหมาย 12โต๊ะในยุคของโรมัน ซึ่งเป็นรากฐานของกฎหมายทั่วโลก • Magna Carta 1215 อังกฤษที่ย้ำว่ากษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้กฎของพระเจ้า • The Bill of Rights 1689 อังกฤษที่กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายและรัฐสภา • ประกาศอิสระภาพของอเมริกา1776 และ Bill of Rights ของสหรัฐอเมริกา • ประกาศว่าด้วยสิทธิของมนุษยและพลเมือง1789ในการปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส • ประกาศของคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) ของ Karl Marx • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ 10ธันวาคม 1948 ( • กติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม • กติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง • อนุสัญญาฉบับต่างๆด้านสิทธิมนุษยชน
มนุษย์ สังคม และรัฐ • มนุษยทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรีและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ • มนุษย์จะสามารถดำรงสิทธิอยู่ได้ต่อเมื่ออยู่ร่วมกันเป็นสังคม • บุคคล-บุคคล และ บุคคล-สังคม อาจมีความขัดแย้งกัน • สังคมดำรงอยู่ได้ต้องมีดุลยภาพระหว่าง สิทธิของบุคคล กับ สิทธิของสังคม • มนุษย์ยินยอมสร้างกฎหมายบ้านเมืองขึ้น ยอมจำกัดสิทธิบางประการของตน • รัฐสังคมประชาธิปไตย ยึดถือ นิติธรรม (นิติรัฐ) ดีที่สุดในการรักษาดุลยภาพนั้น • ประชาชนจะทำการใดก็ได้ เว้นแต่ที่กฎหมายห้ามไว้ แต่ เจ้าหน้าที่รัฐ จะทำการใดๆไม่ได้เลย เว้นแต่ที่กฎหมายให้อำนาจไว้ • การจำกัดสิทธิต้องทำเท่าที่จำเป็นและตามสมควรแก่กรณีหรือสถานการณ์ • สิทธิอันสมบูรณ์ ไม่อาจถูกจำกัดหรือพรากไปได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ • สิทธิที่จะไม่ถูกทรมานย่ำยีศักดิ์ศรี เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ เป็นสิทธิอันสัมบูรณ์
กฎหมายกับสิทธิมนุษยชนกฎหมายกับสิทธิมนุษยชน • ตามหลัก กฎธรรมชาติ มนุษย์มีสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติ • เมื่อมนุษย์สร้างรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยนำมารับรองไว้ • เป็นกฎหมายในประเทศ • เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ • บุคคลมีสิทธิและมีหน้าที่ต่อรัฐ • รัฐมีหน้าที่ โดยใช้กฎหมายและกลไกรัฐ • ส่งเสริมสิทธิ เช่นการศึกษา สุขอนามัย และ • ปกป้องคุ้มครองสิทธิ เช่นความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน • รัฐมีกลไกหลัก นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ กลไกเสริม และกลไกตรวจสอบ • ข้าราชการ สถานะหนึ่งเป็นประชาชน อีกสถานะหนึ่งเป็นกลไกรัฐ
นิติรัฐ-นิติธรรม • การทำหน้าที่ของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม • การปกครองโดยคน- Rule by Man การปกรองโดยกฎหมาย Rule by Law หรือการปกครองโดยนิติธรรม –Rule of Law • อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เสรีประชาธิปไตย รัฐสภา • การแบ่งแยกอำนาจถ่วงดุลย์: นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ • คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลโดยไม่เลือกปฎิบัติ • ความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายบริหาร (ปกครอง) และตุลาการ • กฎหมาย (โดยรัฐสภา) ต้องเป็นธรรม เช่น • ความแน่นอนของกฎหมาย ไม่สองหรือสามมาตรฐาน • กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง • ไม่ผิด ไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ก่อน • มีความเหมาะสมได้สัดส่วน
นิติธรรม-นิติรัฐ(ต่อ) • ปกป้อง และส่งเสริม สิทธิมนุษยชนอื่นๆ • ทุกคนอยู่ภายใต้และเสมอภาคกันทางกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติ • หลักความยุติธรรมทางธรรมชาติได้รับการนับถือ • การตรา การบริหารจัดการ การบังับใช้ และการตีความกฎหมายต้องสามารถเข้าถึงได้ เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ • ความเป็นอิสระของตุลาการและการทบทวนโดยศาล • สิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งการเข้าถึงความยุติธรรม • สิทธิผู้เสียหาย • สิทธิผู้ต้องกา จำเลย ฯลฯ
หลักสิทธิมนุษยชนนำมาไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศที่รัฐไทยปฏิบัติตามในฐานะที่เป็น:หลักสิทธิมนุษยชนนำมาไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศที่รัฐไทยปฏิบัติตามในฐานะที่เป็น: • สมาชิกองค์การสหประชาชาติ • ทางศีลธรรม เช่นปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุษยชน มติและมาตรฐานสากลด้านต่างๆ • ทางกฎหมาย เช่นกฎบัตรสหประชาชาติ และมติของคณะมนตรีความมั่นคง • ภาคีสนธิสัญญา (พหุภาคี) ด้านสิทธิมนุษยชน ๗ ฉบับ • สมาชิกชุมชนโลก ประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศ เช่นห้ามผลักดันผู้ลี้ภัยออกไปประสบกับภัยประหัตประหาร • สมาชิกของอาเซียน ตามกฎบัตร (ภูมิภาค) และ • ข้อตกลงแบบทวิภาคี กับประเทศต่างๆหรือองค์การระหว่างประเทศ
การนำเอาพัธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนมาใช้ตามทฤษฎีทวินิยม (Dualism) • ประเทศไทยยึดหลักทวินิยม กฎหมายระหว่างประเทศจะมีผลบังคับใช้ต้องอนุวัติกฎหมายในประเทศให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ • ได้นำเอาหลักสิทธิมนุษยชนมาไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การไม่เลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ การต่อต้านการทรมาน • ศาลนำเอาหลักสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานระหว่างประเทศมาใช้ตรวจสอบการกระทำของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐ • ศาลจะตีความกฎหมายในประเทศไปในทางที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นคดีการชุมนุมต่อต้านท่อก๊าซ ไทย-มาเลย์เซียคดีกรณี ๗ตค. ๒๕๕๑ เรื่อง ๗ขั้นตอนในการสลายการชุมนุมและคดีสั่งคุ้มครองชั่วคราวกรณีการตีตรวน๒๔ ชั่วโมง
รัฐอาจไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ๑. รัฐไม่เต็มใจ(Unwilling) ที่จะส่งเสริมหรือปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่นผู้ละเมิดมีอิทธิพลเหนือรัฐ มี impunity culture ๒. รัฐไม่สามารถ(Unable) ที่จะส่งเสริมหรือปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่นเกิดภาวะสงครามกลางเมือง ทั้งสองกรณีกฎหมายและกลไกระหว่างประเทศจะเข้ามาแทรกแซงรัฐ
การร้องเรียน การตรวจสอบและการบังคับตามกฎหมายระหว่างประเทศ ๑. การร้องเรียนโดยทั่วไปบุคคลหรืออง์กรใดๆ ก็อาจร้องเรียนกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนไปยังหน่วยงานองค์การสหประชาติ รัฐบาลต่างประเทศ องค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน ได้โดยยึดหลัก สิทธิมนุษยชนเป็นสากล ๒. การร้องเรียนให้มีผลบังคับทางกฎหมายระหว่างประเทศในกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน ต้องเป็นกรณีที่รัฐไม่แก้ไขเยียวยาแล้วเพราะยังถือหลักรัฐมีอธิปไตย
กลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ • สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ • คณะมนตรีความมั่นคง • คณะมนตรีศรษฐกิจและสังคม • คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน • คณะกรรมการตามสนธิสัญญาแต่ละฉบับ • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน(HRC) • คณะกรรมการต่อต้านการทรมาน (CAT) • ฯลฯ • กระบวนการพิเศษ(Extra-Conventional Mechanism or Special Procedure) • Special Rapporteur, Representative, Independent Expert, Working Group • UN Secretary General or Representative
กลไกระหว่างประเทศ (ต่อ) • Country Mechanisms • Special Committee • Thematic Mechanism • Special Representative of SG • Arbitrarydetention • Torture • ฯลฯ • การจัดทำรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) • ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) • กลไกระดับภูมิภาค เช่น ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน
สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนแต่ละด้าน/กลุ่มที่ประเทศไทยเป็นภาคี ๗ ฉบับ • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ • อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ • อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน • อนุสัญญาว่าด้วยด้วยสิทธิของคนพิการ อนุฯว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้หายสบสูญ(ลงนาม) สนธิสัญญาผูกพันเฉพาะรัฐภาคีเท่านั้น ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฯ ไม่ใช่สนธิสัญญา
สนธิสัญญาหรือข้อตกลงระดับภูมิภาคASEANได้จัดทำข้อตกลงจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน กลไกส่งเสริมและปกป้องสิทธิเด็กและสตรีอาเซียน ข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ เช่นการก่อการร้าย กำลังร่างปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน • ข้อตกลงทวิภาคีกับประเทศต่างๆ เช่น MOU ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเรื่อง เรื่องแรงงานข้ามชาติ ข้อตกลงว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฯลฯ • ข้อตกลงกับองค์กรระหว่างประเทศ • ข้อตกลงกับองค์กรสิทธิมนุษยชนต่าง ประเทศ เช่นกับกาชาดสากล • ฯลฯ
พันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ • กติกาฯว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองข้อบทที่ ๗และ ๑๐ • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบข้อบทที่ ๕ • อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อบทที่ ๓๗ • ประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ ๑๙๗๙ • หลักจริยธรรมเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ในการคุ้มครองผู้ต้องขังจากการทรมาน ๑๙๘๒ • หลักการว่าด้วยการป้องกันและการสอบสวนคดีการประหารโดยวิธีการนอกกฎหมาย ๑๙๘๙ • หลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังบังคับและการใช้อาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ ๑๙๙๐ • หลักการสอบสวนหรือแสวงหาหลักฐานในคดีการทรมาน ๒๐๐๐
กระบวนการUPR • เป็นกระบวนการของคณะมนตรีสิทธืมนุษยชน ตรวจสอบแบบรอบด้าน • รัฐบาลไทยเสนอรายงาน ตุลาคม ๒๕๕๔ และจะเสนอรอบต่อไป ๒๕๕๙ • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและภาคประชาสังคมสามารถเสนอรายงานได้ด้วย • ประเด็นที่เกี่ยวกับกับการทรมาน • การปรับปรุงกฎหมายในประเทศให้สอดล้องกับอนุสัญญา • ลงนามและให้สัตยาบันอนุสัญญาคุ้มครองบุคคลจากการบังคับสูญหาย • ห้ามลงโทษตีเด็ก • ต่อต้านการค้ามนุษย์ • แก้ปัญหาการลอยนวลของผู้กระทำผิด • ฯลฯ
บทบาทของเจ้าหน้าที่ • เจ้าหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของกลไลรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบริหาร (การบังคับใช้กฎหมาย) • ปกป้องสิทธิมนุษยชนจากการถูกละเมิดสิทธิ • ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน • การเยียวยาเหยื่อของการละเมิดสิทธิ • การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน • การ่วมมือในการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ เช่นการจัดทำรายงาน การรับเรื่องร้องเรียน ฯลฯ
HUMAN RIGHTS AND JUSTICE FOR ALL