1 / 15

เรื่องสารพันธุกรรม

เรื่องสารพันธุกรรม .

annis
Download Presentation

เรื่องสารพันธุกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่องสารพันธุกรรม • สารพันธุกรรม เป็นแหล่งเก็บข้อมูลทั้งหมดสำหรับควบคุมโครงสร้างและการทำหน้าที่ของกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตให้เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ สารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยกรดนิวคลีอิกชนิดใดชนิดหนึ่งอาจเป็น DNA หรือ RNA สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมีสารพันธุกรรมเป็น DNA ยกเว้นไวรัสบางชนิดเท่านั้นที่มีสารพันธุกรรมเป็น RNA

  2. DNA เป็นกรดนิวคลีอิกชนิดหนึ่ง โครงสร้างทางเคมีของ DNA ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ต่อกันเป็นสายยาว 2 สาย ซึ่งอยู่ในลักษณะบิดเป็นเกลียว ความแตกต่างของ DNA แต่ละโมเลกุลขึ้นอยู่กับจำนวนนิวคลีโอไทด์และลำดับของนิวคลีโอไทด์ • DNA เป็นสารพันธุกรรม เพราะ DNA สามารถจำลองตัวเองขึ้นได้ใหม่โดยมีโครงสร้างทางเคมีเช่นเดิมและควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน โดยทำการสังเคราะห์ RNA กำหนดรหัสพันธุกรรมบน mRNA เพื่อกำหนดลำดับกรดอะมิโนในโมเลกุลของโปรตีน

  3. แผ่นภาพที่ 1 • กริฟฟิธ ได้ทำการแยกโคโลนีเชื้อแบคทีเรียชนิดนิวโมคอคคัส (pneumococcus) สายพันธุ์ต่าง ๆ จากคนไข้โรคปอดบวม (pneumonia) แล้วนำเชื้อนั้นไปทดลองกับหนูในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาความรุนแรงของเชื้อโรคนี้

  4. แผ่นภาพที่ 2 • เฮอร์เชย์และเชส ได้ทำการทดลองเลื้ยงแบคทีเรีย E. coli ร่วมกับไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่าแบคทีรีโอเฟจ (bacterio phage) ที่ติดฉลากด้วยธาตุกัมมันตรังสี 2 ชนิด โดยการแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุด • ชุดที่ 1 เลี้ยงแบคทีเรียร่วมกับไวรัสที่มี DNA ที่ติดฉลากด้วย 32p • ชุดที่ 2 เลี้ยงแบคทีเรียร่วมกับไวรัสที่มีเปลือกโปรตีนที่ติดฉลากด้วย 35s

  5. แผ่นภาพที่ 3 • โครงสร้างของโครโมโซม ประกอบด้วย DNA (Deoxyribonucleic acid) รวมกับโปรตีนประเภทฮิสโทน (histone) การรวมตัวระหว่าง DNA กับฮิสโทน จะเป็นโครงสร้างหน่วยพื้นฐานของโครโมโซมที่เรียกว่านิวคลีโอโซม (nucleosome) ซึ่งเชื่อมต่อกันคล้ายลูกปัดบนเส้นด้าย (beads on string)

  6. แผ่นภาพที่ 4 • นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) เป็นหน่วยย่อยของโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก มีองค์ประกอบหลัก 3 ชนิด ได้แก่ • นิวคลีโอไทด์เบส (nucleotide base) • น้ำตาลเพนโทส (pentose sugar) • หมู่ฟอสเฟต (phosphate group)

  7. แผ่นภาพที่ 5 • โครงสร้างของ DNA ประกอบด้วยพอลีนิวคลิโอไทด์ 2 สาย พอลีนิวคลีโอไทด์แต่ละสายประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ มาเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว พอลีนิวคลีโอไทด์ทั้ง 2 สาย จะยึดติดกันด้วยพันธะไฮโดรเจนระหว่างเบส

  8. แผ่นภาพที่ 6 • RNA เป็นกรดนิวคลีอิกชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบหลักคล้ายกับดีเอ็นเอ คือประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์เชื่อมต่อกันเป็นสายยาว RNA มีโครงสร้างเป็นสายเดี่ยว ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์เบส 4 ชนิด (ได้แก่ อะดีนีน กวานีน ไซโทซีนและยูราซิล) น้ำตาลไรโบส และหมู่ฟอสเฟต

  9. แผ่นภาพที่ 7 Transfer RNA (tRNA) ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ประมาณ 75-85 หน่วย พับทบเข้าหากัน 2-3 ครั้ง โดยที่ปลาย3 มีเบสปลายเปิดเป็นเบสอิสระ 3 ตัว คือ A-C-C ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีกรดอะมิโนมาเกาะเพื่อนำไปสังเคราะห์โปรตีน

  10. แผ่นภาพที่ 8 • การสังเคราะห์ DNA หรือดีเอ็นเอเรพลิเคชัน (DNA replication) เริ่มต้นจากการที่สายพอลีนิวคลีโอไทด์ 2 สาย ของ DNA ต้นแบบ ห่างออกจากกันเพื่อเปิดช่อง ให้นิวคลีโอไทด์ ที่เป็นวัตถุดิบได้เข้าไปจับคู่กับเบสของนิวคลีโอไทด์ที่มีอยู่แล้วในสายเดิม

  11. แผ่นภาพที่ 9 • การสังเคราะห์ RNA นั้น จะมี DNA เป็นแม่พิมพ์ โดยอาศัยเอ็นไซม์ RNA polymerase โดยเริ่มต้นจากพอลีนิวคลีโอไทด์ 2 สายของ DNA จะคลายเกลียว และแยกออกจากกันในบริเวณที่จะมีการสร้าง RNA จากนั้นจะมีการนำนิวคลีโอไทด์ของ RNA เข้าจับกับเบสของ DNA

  12. แผ่นภาพที่ 10 • กระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เริ่มจาก DNA ภายในนิวเคลียสสังเคราะห์ RNA 3 ชนิด ได้แก่ mRNA และ tRNA จากนั้น RNA ทั้ง 3 ชนิด จะถูกส่งออกมาที่ไซโทพลาสซึม โดย mRNA จะเข้าจับกับไรโบโซม ต่อจากนั้น tRNA โมเลกุลแรกที่นำกรดอะมิโน จะเข้าจับกับ mRNA

  13. อีกตำแหน่งหนึ่ง แล้วจึงมีการสร้างพันธะเพปไทด์ ระหว่างกรดอะมิโนที่ tRNA นำมา เมื่อสร้างพันธะเพปไทด์แล้ว tRNA โมเลกุลแรกจะหลุดออกจาก mRNA และไรโบโซมจะเคลื่อนที่ต่อไปบน mRNA tRNA โมเลกุลใหม่จึงเข้าจับกับ mRNA ต่อไป แล้วมีการสร้างพันธะเพปไทด์อีก เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จึงได้สายของเพปไทด์ ที่มีลำดับของกรดอะมิโน ตามรหัสบน mRNA

  14. แผ่นภาพที่ 11 • กระบวนการในการสังเคราะห์โปรตีน เริ่มจาก DNA จะถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมให้แก่ mRNA ซึ่งเรียกขั้นตอนนี้ว่า การถอดรหัสพันธุกรรม (transcription) และจากนั้น mRNA

  15. จึงนำรหัสไปควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนอีกทอดหนึ่ง ขั้นตอนนี้เรียกว่า การแปลรหัสพันธุกรรม (translation)เมื่อ DNA ภายในนิวเคลียสสังเคราะห์ mRNA แล้ว mRNA จะถูกส่งออกมายังไซโทพลาสซึม แล้วเข้าจับกับไรโบโซมและทำงานร่วมกับ tRNA ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนจนเป็นพอลีเพปไทด์สายยาว

More Related