1 / 25

หน่วยที่ 6 กฎหมายและนโยบาย

หน่วยที่ 6 กฎหมายและนโยบาย. เนื้อหา. สาระสำคัญเกี่ยวกับกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ความสำคัญและความเป็นมาของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทของการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

anne-cash
Download Presentation

หน่วยที่ 6 กฎหมายและนโยบาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 6 กฎหมายและนโยบาย

  2. เนื้อหา • สาระสำคัญเกี่ยวกับกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ความสำคัญและความเป็นมาของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • การคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต

  3. นโยบายรัฐบาลกับมาตรการรักษาความปลอดภัย • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงผู้คนทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน จึงเป็นการยากที่จะตรวจสอบว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นใครบ้าง ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นในระบบธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้เลย หน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการรักษาความปลอดภัยต่างๆ ได้แก่ • 1.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดเตรียมบุคลากรที่สามารถจับผู้กระทำความผิด ตรวจตราดูแลความสงบสุขในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ภาระหน้าที่นี้เป็นส่วนที่ช่วยส่งเสริมธุรกิจการค้าและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยให้ขยายตัวได้ • 2.NECTEC จัดตั้ง Computer Emergency Response Team (CERT) เพื่อเป็นหน่วยงานที่คอยประสานงานในเรื่องการละเมิดความปลอดภัยบนเครือข่าย

  4. ความเป็นมาของกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ความเป็นมาของกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 1. การริเริ่มระหว่างประเทศการพัฒนากรอบทางกฎหมายในระดับระหว่างประเทศ คณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on International Trade Law – UNCITRAL) ได้ให้ความเห็นชอบต่อ ‘Model Law on Electronic Commerce’ ในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 85 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.1996 ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสนอกรอบทางกฎหมายที่ยอมรับผลทางกฎหมายของการติดต่อสื่อสารด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Data Message) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต, อีดีไอ (EDI), โทรศัพท์, โทรสาร ฯลฯ เพื่อให้สมาชิกแต่ละประเทศนำไปปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศตามความเหมาะสม และมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์”กฎหมายต้นแบบ (Model Law) จึงเป็นข้อเสนอแนะทางกฎหมายที่มีลักษณะกว้าง เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถกำหนดรายละเอียดกฎเกณฑ์ของตนได้

  5. ความเป็นมาของกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ความเป็นมาของกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 2. การริเริ่มในประเทศคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบดำเนินการในเรื่องกฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce) และอนุมัติโครงการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศของไทยเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 และดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2541

  6. ความเป็นมาของกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ความเป็นมาของกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการจัดทำ “โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ” ที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีฯ เป็นศูนย์กลางดำเนินการและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่ • กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (เดิมเรียกว่า กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์) • กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน • กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล • กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ • กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

  7. ความเป็นมาของกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ความเป็นมาของกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ต่อมามีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2542 เพื่อพิจารณารวมร่าง พ.ร.บ. การพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2541 ที่กระทรวงยุติธรรมจัดทำขึ้น และร่าง พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2542 เพราะมีเนื้อหาสำคัญหลายส่วนที่คล้ายคลึงกัน จึงได้ข้อสรุปในการรวมร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ให้ใช้ชื่อว่า ร่าง พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ และร่าง พ.ร.บ. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2543 ในชั้นการพิจารณาร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานฯ ได้เสนอให้รวมหลักกฎหมายของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับและเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ๆ ให้ความเห็นชอบและเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป เมื่อร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา จึงประกาศเป็นกฎหมายชื่อว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2544 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2545

  8. หลักการสำคัญของ UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce (1996) • หลักการสำคัญของกฎหมายต้นแบบนี้คือ หลักเรื่อง ‘Functional-Equivalent Approach’ หมายถึง การรับรองผลทางกฎหมายของข้อความเอกสาร, การลงลายมือชื่อที่จัดทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับเอกสาร หนังสือหรือการลงลายมือชื่อที่ทำบนกระดาษ โดยพบใน มาตรา 6 (Writing), มาตรา 7 (Signature) และมาตรา 8 (Original) สาเหตุที่ทำให้หลักการข้างต้นเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับแบบพิธีหรือเงื่อนไขของกฎหมายต่างๆ คือ หลักฐานการฟ้องร้องบังคับคดี การลงลายมือชื่อ และการนำเสนอและเก็บรักษาข้อความอย่างต้นฉบับ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” ได้นำหลักการดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในหลายมาตรา คือ มาตรา 8, 9, 10 ตามลำดับ

  9. สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 • เหตุผลในการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” คือเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมหรือสัญญา ให้มีผลเช่นเดียวกับการทำสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปัจจุบัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กำหนดไว้ ได้แก่ การทำเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ การลงลายมือชื่อ กล่าวคือถ้ามีการทำสัญญาระหว่างบุคคลที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของกฎหมายแล้ว กฎหมายนี้ถือว่าการทำสัญญานั้นได้ทำตามหลักเกณฑ์ข้างต้นของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว เป็นผลทำให้สัญญานั้นมีผลสมบูรณ์หรือใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

  10. สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 • ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด มีเนื้อหาโดยย่อ ดังนี้ • หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 7 - 25) • การรับรองรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการรับ การส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้เป็นหนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือ (มาตรา 8) • การยอมรับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์) ให้ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามกฎหมาย หากใช้วิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 9) • การนำเสนอและเก็บรักษาข้อความที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างต้นฉบับเอกสาร (มาตรา 10, 12) • การรับ การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 15-24) • ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำตามวิธีการที่น่าเชื่อถือ (มาตรา 25)

  11. สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 • หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 26 - 31) • หมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 32 - มาตรา 34) • หมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35) • หมวด 5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 36 - 43) • หมวด 6 บทกำหนดโทษ (มาตรา 44 - 46)

  12. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 • คำว่า “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ตามพระราชบัญญัติ นี้หมายถึง “ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ” (มาตรา 4)

  13. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 • จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปลักษณะของ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ตามกฎหมายฉบับนี้ ได้ดังนี้ 1. เป็นอักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ มีความหมายต่างจากลายมือชื่อตามกฎหมายเดิมคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 92. วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คือ เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

  14. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 • แม้ว่าจะมีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ข้างต้นก็ตาม แต่ลายมือชื่อฯ ที่จะถือเป็นลายมือชื่อที่มีผลทางกฎหมาย จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ (มาตรา 9) คือ“ (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน และ(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี ” • ลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้มีมาตราที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา 25, มาตรา 26 และมาตรา 29 คู่กรณีที่เกี่ยวข้องยังสามารถใช้วิธีการใดๆ ที่เข้าลักษณะและเงื่อนไขของกฎหมายได้ แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้ แต่ก็ไม่ควรจำกัดการใช้เทคโนโลยีใดโดยเฉพาะตามหลักการเรื่อง ‘Technology Neutrality’ คือการไม่ถือเอาเทคโนโลยีหนึ่งเทคโนโลยีใด เป็นเกณฑ์พิจารณาความน่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งบทบัญญัติ มาตรา 26ก็ไม่ได้ระบุจำกัดวิธีการหนึ่งวิธีการใดไว้

  15. ประเภทของการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ประเภทของการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ1. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่2. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องขึ้นทะเบียน 3. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาต • อนึ่ง แม้ว่า พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลใช้บังคับแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แต่อย่างใด จึงยังไม่มีการกำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับ “ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ใดว่าเข้ากิจการประเภทใด (มาตรา 32) เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่าการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะเข้าประเภทใด กฎหมายฉบันนี้ให้พิจารณาจากความเหมาะสมในการป้องกันความเสียหายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจนั้น (มาตรา 32 วรรค 2) และยังบัญญัติเงื่อนไขการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวว่า ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และให้นำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ประกอบการพิจารณา (มาตรา 32 วรรคท้าย)

  16. พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) สำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • ผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองสำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาข้างต้น และมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ใน มาตรา 28 ดังนี้ • หน้าที่ปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติของผู้ให้บริการที่แสดงไว้ (เนื่องจากผู้ให้บริการออกใบรับรองฯ จะต้องมีการออกแนวนโยบายและแนวปฏิบัติว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น ‘Certification Practices Statement (CPS) หรือเอกสารใดๆ ทำนองเดียวกัน) • หน้าที่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเกี่ยวกับความถูกต้องและความสมบูรณ์ของใบรับรอง อายุใบรับรอง เป็นต้น • หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบเนื้อหาหรือสาระสำคัญของใบรับรอง เกี่ยวกับการระบุผู้ให้บริการออกใบรับรอง, เจ้าของลายมือชื่อที่ระบุไว้ในใบรับรอง และข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ได้ในขณะหรือก่อนที่มีการออกใบรับรอง

  17. พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจดูใบรับรองได้ เพื่อตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ, วัตถุประสงค์และคุณค่าที่มีการนำข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับรอง, ขอบเขตความรับผิดของผู้ให้บริการออกใบรับรอง, วิธีการให้เจ้าของลายมือชื่อส่งคำบอกกล่าวเมื่อมีเหตุตามบางประการ ตามมาตรา 27 (2), บริการเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับรอง เป็นต้น • หน้าที่จัดให้มีบริการที่เจ้าของลายมือชื่อสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการออกใบรับรองในกรณี ตามมาตรา 27 (2) และกรณีการขอเพิกถอนใบรับรองที่ทันการ • หน้าที่ใช้ระบบ วิธีการและบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บริการ ฯลฯ

  18. พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การยื่นคำขอ การขออนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายของประชาชน • แต่เดิมนั้นการยื่นคำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมาย ผู้ร้องขอจะต้องเดินทางมาติดต่อกับหน่วยงานของรัฐด้วยตนเอง หรือบางกรณีอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยมีเอกสารของผู้มอบอำนาจ พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้การรับรองให้หน่วยงานของรัฐสามารถรับคำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ของประชาชนทั่วไปหรือผู้ประกอบธุรกิจ โดยผู้ยื่นคำร้องหรือคำขอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือยื่นคำขอในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผลที่สำคัญคือการกระทำข้างต้นนี้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับการกระทำในรูปแบบเดิม กฎหมายยังระบุให้การออกคำสั่งทางปกครอง การประกาศ หรือการดำเนินการใดๆ โดยหน่วยงานของรัฐ สามารถกระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา จึงจะถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย

  19. การคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตการคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต • การใช้งานของอินเทอร์เน็ตไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการติดต่อสื่อสารระหว่างกันเท่านั้น แต่เริ่มมีการทำธุรกรรม ระหว่างกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เกิดการค้าขายรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “พาณิชย์ทางอินเทอร์เน็ต ” (Internet Commerce) มีการคาดการณ์กันว่าภายในปี พ.ศ. 2543 มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกสูงราว 304 ล้านคน (Nua Internet Survey, มีนาคม 2543) ส่วนจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประมาณการณ์ว่ามีอยู่ถึง 3.5 ล้านคน จากการสำรวจของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ (มกราคม 2544) จะเห็นได้ว่าช่องทางดังกล่าวเปิดกว้างแก่คนกลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้บริโภค การซื้อขายสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจะให้ความสะดวกและมีประโยชน์หลายประการ แต่ก็อาจก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้บริโภคทำนองเดียวกับการซื้อสินค้าหรือใช้บริการในรูปแบบเดิม เพราะลักษณะของอินเทอร์เน็ตคือ • ไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลา และสถานที่ • ให้ความสะดวก รวดเร็วในการโฆษณา (ผู้ประกอบธุรกิจ) การซื้อขาย (ผู้บริโภค) • เป็นการติดต่อแบบ 2 ทาง (Interactivity) ในรูปแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) • ประหยัดต้นทุนทางธุรกิจ • ไม่ทราบตัวบุคคลที่ติดต่อซื้อขาย • ต้องอาศัยความเชื่อมั่นและไว้วางใจ • อาจมีการหลอกลวงเช่นเดียวกันกับธุรกิจในรูปแบบเดิม

  20. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค • อาจกล่าวได้ว่ามีการนำหลักการคุ้มครองผู้บริโภคมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2540) เป็นครั้งแรกใน มาตรา 57     “ สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องบัญญัติให้มีองค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความ เห็นในการตรากฎหมาย กฎ และข้อบังคับ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ” กฎหมายสำคัญที่วางหลักการพื้นฐานเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องการซื้อขายสินค้าและ บริการคือ “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522“ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541 ซึ่งวางหลักการสำคัญเรื่องคุ้ม ครองสิทธิของผู้บริโภค 5 ประการ คือ สิทธิที่จะได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ถูกต้อง, สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการ, สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ, สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา และสิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหาย หลักการทั้ง 5 ประการนี้มีบัญญัติไว้ในมาตราต่างๆ ของกฎหมายฉบับนี้ แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ ในเรื่องนี้มีผู้ให้ความเห็นว่า กฎหมายได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคทุกกรณี โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่อประเภทใด แต่ยังมีปัญหาเกี่ยวเนื่องเรื่องการใช้บังคับกฎหมาย

  21. ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคและแนวทางแก้ไข • โดยหลักแล้วกฎหมายย่อมให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าและบริการด้วยวิธีการใดดังที่กล่าวมาในข้างต้น ประเด็นปัญหาจึงอาจมีหลายกรณี เช่น กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีมาตรการที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตหรือไม่ อย่างไร ควรมีการศึกษาถึงมาตรการที่เหมาะสมเฉพาะเรื่องไป และอาจอาศัยมาตรการอื่นๆ เช่น การให้ความรู้หรือคำแนะนำแก่ผู้บริโภค, การจัดทำแนวทางปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจ (Best Practice), มาตรการส่งเสริมสนับสนุนของภาครัฐ, การตรวจตราหรือเฝ้าระวัง (surveillance) ตลอดจนการออกกฎเกณฑ์หรือกฎหมายเฉพาะเมื่อมีความจำเป็น

  22. ปัญหาที่ผู้บริโภคมักประสบจากการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต • ปัญหาที่ผู้บริโภคมักประสบจากการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต อาจมีลักษณะเช่นเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นในการซื้อขายตามปกติ ได้แก่ 1. ผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า หรือให้บริการตามที่ตกลงกัน 2. สินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับรายการที่สั่งซื้อ 3. สินค้าที่สั่งซื้อชำรุดเสียหาย ไม่สามารถใช้การได้

  23. ปัญหาที่ผู้บริโภคมักประสบจากการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต • การแก้ไขหากผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ได้รับสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศ หรือสินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับรายการที่สั่งซื้อ หรือสินค้าที่สั่งซื้อชำรุดเสียหาย ไม่สามารถใช้การได้แล้วแต่กรณี แต่เดิมนั้นผู้บริโภคที่ใช้บัตรเครดิตอาจไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ต่อมาจึงมีการออก “ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542” (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจของ มาตรา 35 ทวิ แห่ง“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522” เป็นผลทำให้ผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งรวมถึงบัตรเดบิตด้วยได้รับความคุ้มครองเมื่อชำระค่าสินค้า ค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต กล่าวคือ ผู้ซื้อมีสิทธิขอยกเลิกการซื้อสินค้าหรือรับบริการนั้น ภายในระยะเวลา 45 วัน นับแต่วันสั่งซื้อ หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันถึงกำหนดส่งมอบสินค้าหรือบริการ เมื่อมีกำหนดเวลาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ผู้บริโภคต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้รับสินค้าจริง หรือได้รับไม่ตรงกำหนดเวลา หรือได้รับไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง หรือชำรุดบกพร่องแล้วแต่กรณี

  24. ข้อพึงปฏิบัติของผู้บริโภคเพื่อป้องกันและวิธีแก้ไขปัญหา สำหรับผู้ถือบัตรเครดิต • ผู้ซื้อควรเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่น่าเชื่อถือคือ มีรายละเอียดชื่อ ที่อยู่ของผู้ขายสินค้า หรือวิธีที่สามารถติดต่อได้ • หากไม่มั่นใจผู้ขาย ก็ควรหลีกเลี่ยงไปใช้บริการของร้านค้าที่เป็นที่รู้จัก • การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตทางอินเทอร์เน็ต ผู้ถือบัตรไม่ควรให้ข้อมูลบัตรเครดิต เช่น หมายเลขบัตร วัน เดือน ปีที่บัตรหมดอายุ หรือข้อมูลส่วนบุคคลแก่ผู้ขายที่ไม่น่าไว้วางใจ หรือไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยขณะชำระเงิน (สังเกตจาก https:// หรือเครื่องหมายแม่กุญแจที่ล็อกอยู่) • สอบถามหรือตรวจสอบสัญญาหรือเงื่อนไขบัตรชนิดต่างๆ กับธนาคารหรือบริษัทที่ออกบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรที่สามารถชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตได้ว่า ผู้ถือบัตรจะได้รับความคุ้มครองในกรณีใดบ้าง และมีข้อควรปฏิบัติอย่างไร • เมื่อพบรายการผิดปกติใดๆ หรือเชื่อว่าตนอาจถูกหลอกหรือมีผู้ใช้บัตรเครดิตโดยไม่ได้รับอนุญาต ควรรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือธนาคารที่ออกบัตรทราบ และทำหนังสือปฏิเสธการใช้บัตรเพื่อระงับรายการนั้นไว้ชั่วคราว

  25. ข้อพึงปฏิบัติของผู้บริโภคเพื่อป้องกันและวิธีแก้ไขปัญหา สำหรับผู้ถือบัตรเครดิต • ถ้าผลการตรวจสอบพบว่า ผู้ถือบัตรไม่ได้ใช้บัตรจริง ธนาคารผู้ออกบัตรจะไม่เรียกเก็บเงิน หรือหากได้ชำระเงินไปแล้ว ก็จะคืนเงินให้แก่ผู้ถือบัตร จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อมูลของฝ่ายผู้ออกบัตรแล้ว ทั้งนี้ ผู้บริโภคที่เป็นผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อตกลงระหว่างผู้ออกบัตรและผู้ถือบัตร • จะเห็นได้ว่า ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองจากการใช้บัตรเครดิตของบุคคลอื่นทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งตนไม่ได้ให้ความยินยอม เนื่องจากธนาคารผู้ออกบัตรจะต้องปฏิบัติตาม “ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542” ที่ประกาศให้การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ผู้ออกบัตรจะต้องใช้ข้อสัญญาที่มีเนื้อความตามประกาศ

More Related