1 / 12

สินค้า อัญมณี และ เครื่องประดับ ของ ไทยในตลาดญี่ปุ่น

สินค้า อัญมณี และ เครื่องประดับ ของ ไทยในตลาดญี่ปุ่น. การค้า ในประเทศญี่ปุ่น.

ankti
Download Presentation

สินค้า อัญมณี และ เครื่องประดับ ของ ไทยในตลาดญี่ปุ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ของไทยในตลาดญี่ปุ่น

  2. การค้าในประเทศญี่ปุ่นการค้าในประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นนับเป็นตลาดอัญมณีและเครื่องประดับขนาดใหญ่ การที่ญี่ปุ่นมีประเพณีในการมอบของขวัญให้แก่กัน และนิยมซื้อหาเครื่องประดับและอัญมณีเป็นของขวัญให้ญาติมิตรและผู้ที่สนิทสนมในวาระโอกาสต่างๆ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การจำหน่ายเครื่องประดับและอัญมณีในตลาดญี่ปุ่นยังคงมีโอกาสที่ดีเมื่อประชาชนมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น เครื่องประดับเงินเป็นสินค้าที่มีโอกาส เนื่องจากมีราคาถูก มีหลากหลายรูปแบบให้เลือก ของสตรีญี่ปุ่นเปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน นิยมเลือกซื้อเครื่องประดับเงินให้เข้ากับชุดแต่งกายซึ่งมีแฟชั่นหลากหลายสำหรับในวาระต่างๆ นอกจากนี้ เครื่องประดับทองคำขาวก็เป็นเครื่องประดับยอดนิยมของชาวญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นของมีค่า สวยมาก และมีระดับ

  3. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในญี่ปุ่นอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในญี่ปุ่น ญี่ปุ่นผลิตอัญมณีได้เพียงชนิดเดียว คือ มุก แต่อุตสาหกรรมเครื่องประดับที่ผลิตโดยชาวญี่ปุ่น มีเทคโนโลยีก้าวหน้า ฝีมือประณีต และพิถีพิถัน ทั้งนี้ แหล่งนำเข้า อัญมณีเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องประดับ ที่สำคัญของญี่ปุ่น ได้แก่ จากออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และเกาะไตฮิติ เพชร จากอินเดียและ เบลเยี่ยม พลอยสีต่างๆ เช่น ทับทิม ไพลิน มรกต จากไทย มุกน้ำจืดจาก จีน และฮ่องกง เป็นต้น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับในญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีเกี่ยวกับโลหะแพลตินัมที่ก้าวหน้า ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถการผลิตเครื่องประดับที่เส้นโลหะขนาดเล็ก บาง แต่มีความเหนียว ทนทาน และสีที่ช่วยส่งให้อัญมณีโดดเด่นและสวยงามยิ่งขึ้น

  4. พฤติกรรมและรสนิยมผู้บริโภคพฤติกรรมและรสนิยมผู้บริโภค ผู้บริโภคญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ชอบเครื่องประดับ ที่แบบเรียบ (Simple) ดูดี ลักษณะไม่ต้องดูหรูหรามาก แต่เป็นสินค้าคุณภาพ และมีราคา เครื่องประดับที่นิยม ตัวเรือนเป็นแพลตินัม ทองคำขาว ทอง 18-carat และเครื่องประดับเงิน อย่างไรก็ตาม จากสภาพเศรษฐกิจในระยะ1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมเครื่องประดับแฟชั่น สำหรับในปี 2553 นี้ เครื่องประดับที่เป็นที่นิยม ในตลาดญี่ปุ่น ยังเป็นเครื่องประดับประเภท แหวน ต่างหู สร้อยคอ และจี้ ที่แบบเรียบ เก๋ ชิ้นไม่ใหญ่นัก ตัวเรือนทำจาก แพลตินัม และโลหะมีค่าอื่นสีขาว หรือสีอ่อน นอกจากนี้ยังนิยมนำเครื่องประดับเก่าที่มีอยู่มาดัดแปลง เช่นนำสร้อยมุกแบบเรียบธรรมดามาตกแต่งด้วยโลหะมีค่า เป็นอุปกรณ์เพิ่มเติม เป็นต้น

  5. การนำเข้า สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับส่วนใหญ่นำเข้าหรือขนส่งทางเครื่องบิน และญี่ปุ่นนำเข้าจากไทย ปี 2552 มีมูลค่า 136.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 18.6 แต่ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2553 นี้ มูลค่าเพิ่มขึ้นช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.9 จากการเพิ่มขึ้นของ เพชร เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับแพลตินัม และพลอยสีต่างๆ ได้แก่ ทับทิม ไพลิน และมรกต ทั้งนี้ ไทยเป็นแหล่งนำเข้าพลอยประเภททับทิม ไพลิน และมรกต สำคัญอันดับ 1 ของญี่ปุ่น

  6. การส่งออก ช่วงก่อนปี 2551 ญี่ปุ่นส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับปีละประมาณ 600-700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของญี่ปุ่น ทั้งเครื่องประดับอัญมณีโลหะมีค่า(เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับแพลตินัม) รวมทั้งเพชร และมุก ในปี 2552 การส่งออกเครื่องประดับและอัญมณีของญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นมากกว่า ในปี 2551 เนื่องจาก เครื่องประดับทอง และเครื่องประดับแพลตินัม มีมูลค่า 580.6 และ 220.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 เกือบ 2 เท่า และ 1 เท่าตัว ตามลำดับ

  7. โอกาสของไทย จากการที่เครื่องประดับอัญมณีระดับปานกลางราคาไม่แพง และเครื่องประดับแฟชั่นในตลาดญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับไทยมีฝีมือในการเจียรนัยอัญมณีที่มีรายละเอียดและประณีตสูง สินค้าเครื่องประดับและอัญมณีของไทยมีโอกาสขยายตัวในตลาดญี่ปุ่นได้ โดยต้องมีการส่งเสริม และพัฒนา

  8. ระดับราคา - สินค้าประเภท Street Fashion ราคาประมาณชิ้นละ 3,000 เยน - สินค้าประเภท Brand Fashion ราคาประมาณชิ้นละ 5,000-10,000 เยน - อัญมณีและเครื่องประดับที่ผลิตจากวัตถุดิบจริงไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากแตกต่างกันไปตามวัตถุดิบ ชนิด และคุณภาพของสินค้า

  9. มาตรการด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี (NTBs) 1. ปัจจุบัน อัตราภาษีนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยภายใต้ JTEPA อยู่ที่ร้อยละ 0 2. การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมายังประเทศญี่ปุ่นทำได้โดยเสรี เนื่องจากทางการญี่ปุ่นไม่ได้กำหนดมาตรการที่มิใช่ภาษีในลักษณะกีดกันทางการค้า 3. สินค้าที่กำหนดข้อจำกัดและห้ามนำเข้าตามกฎหมายศุลกากร คือ เหรียญปลอม สินค้าที่ผิดกฎหมายเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ ทั้งนี้รวมถึงสินค้าลอกเลียนแบบสินค้าที่มีชื่อเสียงด้วย 4. สินค้าเครื่องประดับที่จำหน่ายในญี่ปุ่น ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยฉลาก แต่กฎหมายให้ความคุ้มครองแก่ผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ต้องการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองคุณภาพโลหะมีค่า ว่าเนื้อปริมาณ และคุณภาพเนื้อโลหะมีค่าตรงตามมาตรฐานสากล

  10. สถานะสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดญี่ปุ่น (SWOT) จุดแข็ง - สินค้ามีการออกแบบที่ดี - การเจียรนัยอัญมณีมีความละเอียดและปราณีตสูง จุดอ่อน - ความน่าเชื่อถือในคุณภาพและการให้ข้อมูลและรายละเอียดสินค้าแก่ผู้บริโภค โอกาส - การได้รับความร่วมมือที่ดีในการจัดกิจกรรมเพื่อทำตลาดประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องจากสมาคมผู้นำเข้าต่างๆ เช่น Japan Jewelry Association และ Japan Color Stone Association เป็นต้น อุปสรรค - ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยของญี่ปุ่น ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย

  11. อนาคตเครื่องประดับไทยในญี่ปุ่นอนาคตเครื่องประดับไทยในญี่ปุ่น ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง กล่าวคือ เป็นประเทศที่มีอำนาจซื้อสูงสุดติดอันดับสองของโลก และเป็นประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีค่อนข้างสูงเป็นอันดับสองของเอเชียรองจากสิงคโปร์ อีกทั้งประชากรส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 51 เป็นผู้หญิง ดังนั้นตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในญี่ปุ่นจึงค่อนข้างสดใส

  12. จบบริบูรณ์

More Related