250 likes | 495 Views
ผลิตภาพสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือ. อันติมา แสงสุพรรณ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและสถาบันเกษตรกร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ที่มาและความสำคัญ. ครัวเรือนภาคเกษตรเป็นหน่วยเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ( 30 % ของครัวเรือนทั้งประเทศ)
E N D
ผลิตภาพสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือผลิตภาพสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือ อันติมา แสงสุพรรณ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและสถาบันเกษตรกร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ที่มาและความสำคัญ • ครัวเรือนภาคเกษตรเป็นหน่วยเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ (30% ของครัวเรือนทั้งประเทศ) • เกษตรกรเผชิญกับปัญหาหลายอย่าง เช่น ปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน ราคาผลผลิตตกต่ำ สภาพอากาศที่ผันผวน ต้นทุนการผลิตและราคาปัจจัยการผลิตสูง ภาระหนี้สินสะสม และขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนสำหรับปีเพาะปลูกใหม่ • ความต้องการใช้เงินทุนของเกษตรกรเพื่อการเพาะปลูกและใช้จ่ายในครัวเรือน --> กู้ยืมสินเชื่อจากแหล่งเงินทุน
ที่มาและความสำคัญ (ต่อ) การกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรมีความสำคัญและจำเป็นต่อการผลิตภาคเกษตร เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้ครัวเรือนเกษตรปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมการผลิต เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตร เพิ่มรายได้ และปรับปรุงแก้ไขประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ที่มาและความสำคัญ(ต่อ)ที่มาและความสำคัญ(ต่อ) • เกษตรกรทุกภาคมีการเปลี่ยนแปลงรายได้เกษตรสุทธิในอัตราที่น้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงของหนี้สิน (เกษตรกรในภาคเหนือมีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรสุทธิประมาณร้อยละ 4.97 ต่อปี) • อัตราการเปลี่ยนแปลงของหนี้สินครัวเรือนภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 29.11% เมื่อเทียบกับปี 2554 กลายเป็นปัญหาหนี้สินครัวเรือนภาคเกษตรเรื้อรัง • ภาระหนี้สินของครัวเรือนภาคเกษตรสามารถส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย และอัตราการเพิ่มขึ้นของหนี้สินครัวเรือนเกษตร มากกว่า การเพิ่มขึ้นของทรัพย์สินทางการเกษตร
ที่มาและความสำคัญ(ต่อ)ที่มาและความสำคัญ(ต่อ) ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(2557)
ที่มาและความสำคัญ(ต่อ)ที่มาและความสำคัญ(ต่อ) ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(2557)
วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือ • เพื่อศึกษาผลิตภาพสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือ
ประโยชน์ที่จะได้รับ • โอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตร ช่วยให้เกษตรกรใช้เงินทุนจากสินเชื่อให้เกิดประโยชน์แก่ครัวเรือนเกษตรในการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ตลอดจนเป็นการสะสมเงินทุนในอนาคต เพื่อพัฒนาเกษตรกรเข้าสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) • เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนดนโยบาย/มาตรการการใช้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของครัวเรือนเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดภาคเกษตรให้ได้ผลในระยะยาวตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และลดภาระหนี้สินที่มีอยู่และนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด
ขอบเขตการศึกษา • พื้นที่ศึกษาทางภาคเหนือ 3 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน) • ครัวเรือนเกษตรที่มีการกู้ยืมสินเชื่อจากแหล่งเงินทุนทั้งในและนอกระบบ
วิธีการศึกษา สถิติเชิงพรรณนา อธิบายลักษณะทั่วไปของครัวเรือนเกษตร ลักษณะฟาร์ม กิจกรรมการผลิตของครัวเรือนเกษตร รายได้-รายจ่ายทางการเกษตรและนอกการเกษตร การใช้จ่ายเงินทุนครัวเรือน ลักษณะการกู้ยืม ขนาดของสินเชื่อ สถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์และสรุปข้อมูลโดยอ้างอิงจากค่าสถิติของกลุ่มตัวอย่าง จากการประมาณค่าทางสถิติโดยวิธี Probit Maximum Likelihood และ สมการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) โดยใช้วิธีการ OLS
วิธีการศึกษา (ต่อ) ข้อมูลปฐมภูมิ สัมภาษณ์ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร ปีเพาะปลูก 2555/56 ข้อมูลกิจกรรมการผลิตของครัวเรือนเกษตร และ การกู้ยืมสินเชื่อจากทั้งในและนอกระบบในปี 2556 ข้อมูลทุติยภูมิ อ้างอิงจากข้อมูลภาวะเศรษฐกิจสังคมและแรงงานเกษตรปี 54/55 ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) และ เอกสารวิชาการและบทความของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วิธีการศึกษา (ต่อ) สมการที่ 1 Pr (credit borrowing in 2013 = 1 | x) = F( household size, head household age, headhousehold age2, year of education, water sufficiency, d_rice, d_fcrop, d_veg, d_fruit, d_mixed, liquidity)
วิธีการศึกษา (ต่อ) • ขนาดครัวเรือน (hh_size) • อายุของหัวหน้าครัวเรือนเกษตร (hhh_age) • อายุของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรยกกำลัง2 (hhh_age2 ) • จำนวนปีการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนเกษตร (yr_educ) • สภาพคล่องทางการเงินของครัวเรือนเกษตร (liquidity) • ประเภทฟาร์ม ได้แก่ ข้าว (d_rice) พืชไร่ (d_fcrop) พืชผัก (d_veg) ไม้ผลและไม้ยืนต้น (d_fruit) ปศุสัตว์และประมง (d_lvstk) เกษตรผสมผสาน (d_mixed) ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรตัวอย่าง • ความเป็นไปได้ของการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรตัวอย่าง
วิธีการศึกษา (ต่อ) สมการที่ 2 • Log agricultural income = F(credit predict, farm experience, obstacle, farm plot, activity, data management, savings, water sufficiency, training)
วิธีการศึกษา (ต่อ) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของรายได้ทางเกษตรของครัวเรือนเกษตรตัวอย่าง • ความเป็นไปได้ในการกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตร (credit_predict) • ประสบการณ์ในภาคเกษตร (f_exp) • เนื้อที่เพาะปลูก (farm plot) • อุปสรรค/ปัญหาในการทำเกษตร (obstacle) • พฤติกรรมการออมเงินของครัวเรือนเกษตร (d_saving) • พฤติกรรมการจัดการและเก็บข้อมูล (d_data) • จำนวนกิจกรรมการเกษตร (activity) • การฝึกอบรมด้านการเกษตร (training) • การมีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก(water sufficiency) • รายได้ทางการเกษตร • (Agricultural income)
ผลการศึกษา สมการที่ 1: ตัวแปรตาม คือการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรตัวอย่าง
ผลการศึกษา (ต่อ) สมการที่ 1: ตัวแปรตาม คือการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรตัวอย่าง
ผลการศึกษา (ต่อ) สมการที่ 2: ตัวแปรตาม คือ รายได้ทางการเกษตร [log (agricultural income)]
ผลการศึกษา (ต่อ) สมการที่ 2: ตัวแปรตาม คือ รายได้ทางการเกษตร [log (agricultural income)]
สรุปผลการศึกษา • สินเชื่อที่เกษตรกรกู้ยืมส่งผลกระทบเชิงบวกต่อรายได้ทางการเกษตร แสดงให้เห็นถึงการนำเอาสินเชื่อที่กู้ยืมมาลงทุนในภาคเกษตรเป็นสัดส่วนมากกว่าการใช้จ่ายอื่นๆ • การเปลี่ยนแปลงของรายได้ทางการเกษตรถูกกระทบในเชิงบวกโดยปัจจัยเสริมบางปัจจัย ได้แก่ ประสบการณ์ด้านการเกษตรของเกษตรกร เนื้อที่เพาะปลูก การมีเงินออม การจัดการข้อมูล จำนวนกิจกรรมการเกษตร รวมไปถึงอุปสรรค หรือปัญหาทางด้านสภาพอากาศและตลาดขายผลผลิต ในขณะที่การมีแหล่งน้ำที่เพียงพอและการอบรมด้าน การเกษตรซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อระดับรายได้ทาง การเกษตร
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) • ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ขนาดของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน การมีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะประเภทกิจกรรมการเกษตรของแต่ละครัวเรือนเกษตร หรือ ประเภทฟาร์ม • อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนเกษตรที่มีสภาพคล่องทางการเงินดี และ หัวหน้าครัวเรือนเกษตรมีระดับการศึกษาสูง ส่งผลให้ครัวเรือนนั้นๆ ตัดสินใจที่จะไม่กู้ยืมสินเชื่อมาใช้เพื่อการลงทุนการเกษตร หรือ เพื่อเป็นเงินหมุนเวียนเพิ่มเติมภายในครัวเรือน
ข้อเสนอแนะ การปรับปรุงด้านมาตรการ นโยบาย และการจัดการเรื่องการกู้ยืม รวมทั้งการติดตามการชำระหนี้ตามกำหนด สนับสนุนการกระตุ้นให้เกิดการใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ในด้านการเกษตร ตลอดจนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร เพื่อลดภาระหนี้สินสะสมของครัวเรือนเกษตร การใช้จิตวิทยาเชิงบวกกับเกษตรกรในการทำบัญชีครัวเรือนและการออมเงิน เพื่อให้เกษตรกรเกิดกำลังใจและความอยากที่จะลงมือทำ การจัดการองค์ความรู้แบบบูรณาการ ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตและการตลาดที่เหมาะสมแก่เกษตรกร อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
ข้อเสนอแนะ(ต่อ) ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่หลากหลายและแตกต่างโดย เปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (Monoculture)สู่การปลูกพืชแบบผสมผสาน (Integrated Farming) หรือ ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน (Crop Rotation) การติดตามและประเมินผลหลังมีโครงการอบรมด้านความรู้ทางการเกษตร การเข้าถึงของเกษตรกรและชุมชนในการจัดการฐานทรัพยากร ได้แก่ ที่ดิน แหล่งน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น