220 likes | 581 Views
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ ปัญหาของลุ่มน้ำ
E N D
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล
10. ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ตั้ง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ทางตอน กลาง ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด คือ นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ ลักษณะลุ่มน้ำวางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ โดยมีทิศเหนือติดกับลุ่มน้ำปิง ยม และน่าน ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดกับลุ่มน้ำท่าจีนและสะแกกรัง ส่วนทิศตะวันออกติดกับลุ่มน้ำป่าสักและบางปะกง รูปที่ 10-1 แสดงที่ตั้ง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ลักษณะภูมิประเทศ ตามรูปที่ 10-2 แม่น้ำเจ้าพระยามีจุดกำเนิดอยู่ที่ปากน้ำโพจังหวัดนครสวรรค์ โดยจะไหลจากทิศเหนือลงสู่อ่าวไทย ผ่านที่ราบภาคกลางในเขตจังหวัดนครสวรรค์และลพบุรี ซึ่งเป็นที่ราบสูงมีเนินเขาเป็นสันกั้นน้ำระหว่างลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำป่าสัก ส่วนทางตอนล่างอยู่ในเขตจังหวัดสระบุรีและฉะเชิงเทรา เป็นที่ราบลาดเขาลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ทางฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำ ตอนบนเป็นที่ราบและตอนล่างเป็นที่ราบลุ่ม ซึ่งมีเขตติดต่อกับลุ่มน้ำท่าจีนลาดลงไปจรดชายฝั่งทะเล รูปที่ 10-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
พื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ที่ประมาณ 20,125 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ลุ่มน้ำ ตามตารางที่ 10-1 และรูปที่ 10-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย ตารางที่ 10-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย 10.02 10.03 รูปที่ 10-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ได้แสดงไว้แล้ว ซึ่งแต่ละรายการมีค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตามตารางที่ 10-2 ตารางที่ 10-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ
ปริมาณน้ำฝน ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณฝนผันแปรตั้งแต่ 800มิลลิเมตร จนถึง 1,600 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณฝนทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 1,083 มิลลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยได้แสดงไว้ ตามตารางที่ 10-3 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย ตามรูปที่ 10-4 ตารางที่ 10-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายเดือนเฉลี่ย รูปที่ 10-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 10-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำเจ้าพระยามีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 20,125 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 1,731.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 10-3 หรือคิดเป็นปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝน 2.73 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร ตามรูปที่ 10-5 แลดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย
ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า
ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาสามารถจำแนกชนิดดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืชออกได้ 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดิน ตามรูปที่ 10-6 และแต่ละกลุ่มดินจะมีจำนวนพื้นที่ ตามตารางที่ 10-4 ตารางที่ 10-4 รูปที่ 10-6 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช
1) พื้นที่ทำการเกษตร.................... 84.62 % พืชไร่....................................... 23.76% ไม้ผล - ไม้ยืนต้น......................... 5.74 % ข้าว......................................... 69.86 % พืชผัก....................................... 0.64 % รูปที่ 10-7 การทำเกษตร 2) ป่าไม้.......................................... 2.33 % เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า............... - % อุทยานแห่งชาติ......................... - % พื้นที่ป่าอนุรักษ์............................ 100 % รูปที่ 10-8 พื้นที่ป่าไม้และเพื่อการอนุรักษ์ 3) ที่อยู่อาศัย................................. 9.64 % 4) แหล่งน้ำ.................................... 1.77 % 5) อื่นๆ.......................................... 1.64 % รูปที่ 10-9 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน
ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีพื้นที่การเกษตรทั้งหมดประมาณ 17,30.18 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชต่างๆ 13,016 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 76.43 พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 9,610.97 ตารางกิโลเมตร (73.84%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก 32.57 ตารางกิโลเมตร ( 0.25%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ 2,866.88 ตารางกิโลเมตร (22.02%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 505.80 ตารางกิโลเมตร( 3.89%) รูปที่ 10-10 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร พื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่วนใหญ่จะอยู่ทางบริเวณที่ราบลุ่มน้ำทั้งตอนบนและตอนล่างเกือบทั้งหมด และบริเวณตอนล่างของลุ่มน้ำบางส่วน ซึ่งรวมกันแล้วประมาณร้อยละ 64.86 ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการทำการเกษตรพบว่า การใช้พื้นที่เพาะปลูกพืช ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกพืชไร่ และไม้ผล-ไม้ยืนต้นบนพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสม ส่วนข้าวและพืชผักได้ปลูกบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมอยู่แล้ว
พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำตอนกลางเกือบทั้งหมด และบริเวณตอนบนและตอนล่างของลุ่มน้ำบางส่วน โดยมีพื้นที่ทั้งรวมทั้งสิ้น 9,104.09 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 69.94 ของพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือร้อยละ 53.46 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 10-5 ตารางเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาระบบชลประทาน
การประเมินความต้องการน้ำการประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากรทั้งที่อยู่อาศัยในเขตเมือง และนอกเขตเมืองรวมทั้งความต้องการน้ำสำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ช่วงปี 2544-2564 สรุปได้ตามรูปที่ 10-10 ชลประทาน ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) รักษาระบบนิเวศ อุปโภค - บริโภค อุตสาหกรรม รูปที่ 10-10 สรุปแนวโน้มความต้องการใช้น้ำแต่ละประเภท
ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านอุทกภัย สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ∶ 1) อุทกภัยที่เกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลำน้ำสาขา จะเกิดจากการที่มีฝนตกหนักในบริเวณต้นน้ำ ทำให้น้ำป่าไหลหลากลงมามากจนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน เนื่องจากสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำตอนบนถูกทำลาย รวมทั้งขาดแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเพื่อช่วยชะลอน้ำหลาก พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมได้แก่ อำเภอท่าตะโก และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากความสามารถในการระบายน้ำของแม่น้ำสายหลักไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากลำน้ำตื้นเขิน หรือมีการบุกรุกปลูกสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมลักษณะนี้เป็นประจำได้แก่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
ปัญหาภัยแล้งเกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และการทำเกษตรรวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมอื่นๆด้วย ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี 2542 หมู่บ้านในลุ่มน้ำนี้มีทั้งหมด 5,855 หมู่บ้านพบว่า มีหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำทั้งหมด 2,335 หมู่บ้าน (ร้อยละ 39.88) โดยแยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร 1,504 หมู่บ้าน(ร้อยละ 25.69)และหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำทั้งเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร 831 หมู่บ้าน (ร้อยละ14.19) หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 470 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 20.13 ของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 10-10 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัย และภัยแล้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกันเมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวมโดยสรุปดังนี้ 1) เนื่องจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มีลำน้ำสาขาขนาดใหญ่ จึงควรมีการพัฒนาโครงการขนาดกลางและขนาดเล็กในพื้นที่ตอนบนของลำน้ำสาขา 2) เพิ่มประสิทธิภาพ หรือขีดความสามารถกระจายน้ำให้ทั่วถึง 3) ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4) ปรับปรุงฝาย ประตูระบายน้ำ สะพาน ท่อลอดถนน ให้มีความสามารถในการระบายน้ำที่เพียงพอ 5) ก่อสร้างถังเก็บน้ำ สระเก็บน้ำประจำไร่นา ฯลฯ ในพื้นที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ / นอกเขตชลประทานตามความเหมาะสมของพื้นที่ _________________________