740 likes | 1.49k Views
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. หลักการและสาระสำคัญพระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔. หลักการของกฎหมาย เป็นการรับรองผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
E N D
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
หลักการและสาระสำคัญพระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ • หลักการของกฎหมาย เป็นการรับรองผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • ขอบเขตการใช้บังคับกฎหมาย พระราชบัญญัติใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ เว้นแต่ธุรกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดมิให้มีการนำพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้บังคับ และให้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในการดำเนินงานของรัฐด้วย (มาตรา 3)
หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • บทบัญญัติหมวดนี้ส่วนใหญ่นำหลักการมาจากกฎหมายแม่แบบ • ว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ • คณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ • บัญญัติตั้งแต่มาตรา 7 ถึงมาตรา 12 • คู่กรณีไม่อาจตกลงเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้
บทบัญญัติตั้งแต่มาตรา 7 ถึงมาตรา 12 • เป็นบทบัญญัติซึ่งคู่กรณีไม่อาจตกลงเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ • เพราะเป็นบทบัญญัติที่รองรับหลักการสำคัญ • รับรองผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 7) • บัญญัติเกี่ยวกับลายมือชื่ออันเป็นการใช้วิธีการใดก็ได้ในการระบุตัวบุคคล • แสดงว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ว่าเป็นของตน (มาตรา 9 )
บทบัญญัติตั้งแต่มาตรา 7 ถึงมาตรา 12 • ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดก็ตามต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง (มาตรา 8) • จะถือว่าข้อความนั้นได้มีการทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ก็ต่อเมื่อข้อความซึ่งแต่เดิมอาจปรากฏอยู่บนกระดาษนั้นได้มีการจัดทำให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
บทบัญญัติตั้งแต่มาตรา 7 ถึงมาตรา 12 • บัญญัติกฎเกณฑ์เพิ่มเติมด้วยว่าข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ • ต้องสามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้ • ความหมายไม่เปลี่ยน • กรณีการนำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความอย่างเอกสารต้นฉบับ • ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความ • สามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้แล้ว
บทบัญญัติตั้งแต่มาตรา 7 ถึงมาตรา 12 • กำหนดให้ศาลรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน • ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
บทบัญญัติตั้งแต่มาตรา 13 ถึงมาตรา 24 • ว่าด้วยเรื่องการทำคำเสนอหรือคำสนองในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เวลาและสถานที่ซึ่งถือว่าได้มีการส่งหรือรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ • เป็นบทบัญญัติซึ่งคู่กรณีสามารถตกลงเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้
หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • บทบัญญัติในหมวด 2 เป็นอีกส่วนหนึ่งที่นำหลักการมาจากกฎหมายแม่แบบว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • คณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ • กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ (มาตรา 26)
หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • หน้าที่ของเจ้าของลายมือชื่อ (มาตรา 27) • หน้าที่ของผู้ให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(มาตรา28) • ระบบวิธีการและบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บริการของผู้ให้บริการออกใบรับรอง (มาตรา 29) • รวมทั้งหน้าที่ของคู่กรณีที่เกี่ยวข้องซึ่งประสงค์จะทำการใดๆ เพราะเชื่อถือใบรับรองหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้ต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • ตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบรับรองและข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับใบรับรองเสียก่อน (มาตรา 30) • ตลอดจนกำหนดเกี่ยวกับผลทางกฎหมายของใบรับรองต่างประเทศหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 31)
หมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • "ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • การให้บริการเกี่ยวกับใบรับรอง (Certificate Service Provider) • ยังหมายความรวมถึงบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด • การให้บริการเกี่ยวกับระบบการรักษาความปลอดภัย • ให้บริการเกี่ยวกับการรับฝากข้อมูล • ให้บริการเกี่ยวกับการชำระเงิน เป็นต้น
หมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • กฎหมายฉบับนี้อนุญาตให้ประชาชนสามารถประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยอิสระ • เว้นแต่การประกอบธุรกิจนั้นอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ • หรืออาจสร้างความเสียหายต่อสาธารณะ ก็จะมีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้กิจการเหล่านั้นต้องมีการแจ้งให้ทราบ ขึ้นทะเบียน หรือได้รับใบอนุญาต ก่อนประกอบกิจการ ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการรับฟังความเห็นจากประชาชนก่อนที่จะมีการตราพระราชกฤษฎีกาออกมาติดตามดูแลการให้บริการดังกล่าว (มาตรา 32 ถึงมาตรา 34)
หมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ • เพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกในการให้บริการกับประชาชนอันเป็นการรองรับกับหลายๆ นโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ • รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) • การผ่านพิธีการศุลกากรด้วยระบบ EDI ของกรมศุลกากร • การค้นหาและจองชื่อนิติบุคคลออนไลน์ของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ • การให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร เป็นต้น (มาตรา 35)
กฎหมายและนโยบาย • กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร • หลักการสำคัญของ UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce (1996) มีอะไรบ้าง • สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีอะไรบ้าง • ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คืออะไร สามารถใช้แทนลายมือชื่อในสัญญาได้หรือไม่ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
กฎหมายและนโยบาย • การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็นกี่ประเภท • ผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) สำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่อย่างไรตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 • พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีบทบัญญัติที่ยอมรับผลทางกฎหมายเรื่องการยื่นคำขอ การขออนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายของประชาชน ที่ต้องการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือไม่
กฎหมายและนโยบาย • ถ้าซื้อสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ได้รับสินค้าหรือบริการ หรือสินค้าไม่ ถูกต้องหรือชำรุดเสียหาย ผู้ซื้อควรจะทำอย่างไร • ผู้ถือบัตรเครดิตต้องรับผิดชอบหรือไม่ ถ้ามีผู้อื่นนำบัตรไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต และมีข้อพึงปฏิบัติเพื่อป้องกันอย่างไร
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไรกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร • 1. การริเริ่มระหว่างประเทศ คณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on International Trade Law – UNCITRAL) ได้ให้ความเห็นชอบต่อ ‘Model Law on Electronic Commerce’ ใน16 ธันวาคม ค.ศ.1996 เพื่อเสนอกรอบทางกฎหมายที่ยอมรับผลทางกฎหมายของการติดต่อสื่อสารด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Data Message) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต, อีดีไอ (EDI), โทรศัพท์, โทรสาร ฯลฯ
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไรกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร • เพื่อให้สมาชิกแต่ละประเทศนำไปปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศตามความเหมาะสม และมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” • กฎหมายต้นแบบ (Model Law) ไม่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ แต่เป็นข้อเสนอแนะทางกฎหมายที่มีลักษณะกว้าง เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถกำหนดรายละเอียดของกฎเกณฑ์ของตน
การริเริ่มในประเทศ • คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบดำเนินการในเรื่องกฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce) • อนุมัติโครงการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศของไทยเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 • ดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ. การพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …
การริเริ่มในประเทศ • คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการจัดทำ • “โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ” • ดำเนินการโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ • เห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีฯ เป็นศูนย์กลางดำเนินการและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง • เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ
กฎหมาย 6 ฉบับ • ได้แก่ • 1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (เดิมเรียกว่า กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์) • 2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • 3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน • 4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล • 5. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ • 6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
รวมร่าง พ.ร.บ. • ต่อมามีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2542 เพื่อพิจารณารวมร่าง พ.ร.บ. การพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. … ที่กระทรวงยุติธรรมจัดทำขึ้น และร่าง พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. … • เพราะมีเนื้อหาสำคัญหลายส่วนที่คล้ายคลึงกัน จึงได้ข้อสรุปในการรวมร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ • ให้ใช้ชื่อว่า ร่าง พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ และร่าง พ.ร.บ. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. … เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2543 • คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานฯ ได้เสนอให้รวมหลักกฎหมายของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับและเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ๆ • กฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา • ประกาศเป็นกฎหมายชื่อว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2544 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2545
UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce (1996) • หลักเรื่อง ‘Functional-Equivalent Approach’ • การรับรองผลทางกฎหมายของข้อความเอกสาร, • การลงลายมือชื่อที่จัดทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับเอกสาร หนังสือหรือการลงลายมือชื่อที่ทำบนกระดาษ โดยพบใน มาตรา 6 (Writing), มาตรา 7 (Signature) และมาตรา 8 (Original) • สาเหตุที่ทำให้หลักการข้างต้นเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับแบบพิธีหรือเงื่อนไขของกฎหมายต่างๆ คือ • หลักฐานการฟ้องร้องบังคับคดี การลงลายมือชื่อ • และการนำเสนอและเก็บรักษาข้อความอย่างต้นฉบับ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” ได้นำหลักการดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในหลายมาตรา คือ มาตรา 8, 9, 10 ตามลำดับ
พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 • เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมหรือสัญญา ให้มีผลเช่นเดียวกับการทำสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปัจจุบัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กำหนดไว้ • ได้แก่ การทำเป็นหนังสือ • หลักฐานเป็นหนังสือ • การลงลายมือชื่อ • กล่าวคือถ้ามีการทำสัญญาระหว่างบุคคลที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของกฎหมายแล้ว กฎหมายนี้ถือว่าการทำสัญญานั้นได้ทำตามหลักเกณฑ์ข้างต้นของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด
หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 7 - 25) • การรับรองรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการรับ การส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้เป็นหนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือ (มาตรา 8) • การยอมรับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์) ให้ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามกฎหมาย หากใช้วิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 9)
หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 7 - 25) • การนำเสนอและเก็บรักษาข้อความที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างต้นฉบับเอกสาร (มาตรา 10, 12) • การรับ การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 15-24) • ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำตามวิธีการที่น่าเชื่อถือ (มาตรา 25)
หมวดอื่น • หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 26 - 31) (กรุณาดู หัวข้อ 6.4 และ 6.6) • หมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 32 - มาตรา 34) (กรุณาดู หัวข้อ 6.5) • หมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35) (กรุณาดู หัวข้อ 6.7) • หมวด 5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 36 - 43)หมวด 6 บทกำหนดโทษ (มาตรา 44 - 46)
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • คำว่า “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ตามพระราชบัญญัติ นี้หมายถึง “ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ” (มาตรา 4)
ลักษณะของ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” • จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปลักษณะของ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ตามกฎหมายฉบับนี้ ได้ดังนี้ • เป็นอักษร อักขระ • ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ • มีความหมายต่างจากลายมือชื่อตามกฎหมายเดิมคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9
หน้าที่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หน้าที่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คือ • เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น • เพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น แม้ว่าจะมีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ข้างต้นก็ตาม • ลายมือชื่อฯ ที่จะถือเป็นลายมือชื่อที่มีผลทางกฎหมาย จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ (มาตรา 9) คือ
เงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ • ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน และ • วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี ”
ข้อสังเกตุ • ลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้มีมาตราที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา 25, มาตรา 26 และมาตรา 29 คู่กรณีที่เกี่ยวข้องยังสามารถใช้วิธีการใดๆ ที่เข้าลักษณะและเงื่อนไขของกฎหมายได้ แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้ แต่ก็ไม่ควรจำกัดการใช้เทคโนโลยีใดโดยเฉพาะตามหลักการเรื่อง ‘Technology Neutrality’ คือการไม่ถือเอาเทคโนโลยีหนึ่งเทคโนโลยีใด เป็นเกณฑ์พิจารณาความน่าเชื่อถือว่าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งบทบัญญัติ มาตรา 26 ก็หาได้ระบุจำกัดวิธีการหนึ่งวิธีการใดไว้ไม่
การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ1. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่2. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องขึ้นทะเบียน 3. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาต
การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • อนึ่ง แม้ว่า พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลใช้บังคับแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แต่อย่างใด จึงยังไม่มีการกำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับ “ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ใดว่าเข้ากิจการประเภทใด (มาตรา 32)
การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่าการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะเข้าประเภทใด กฎหมายฉบันนี้ให้พิจารณาจากความเหมาะสมในการป้องกันความเสียหายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจนั้น (มาตรา 32 วรรค 2) และยังบัญญัติเงื่อนไขการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวว่า ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และให้นำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ประกอบการพิจารณา (มาตรา 32 วรรคท้าย)
ผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) สำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หน้าที่ปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติของผู้ให้บริการที่แสดงไว้ (เนื่องจากผู้ให้บริการออกใบรับรองฯ จะต้องมีการออกแนวนโยบายและแนวปฏิบัติว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น ‘Certification Practices Statement (CPS) หรือเอกสารใดๆ ทำนองเดียวกัน)
ผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) สำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • หน้าที่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเกี่ยวกับความถูกต้องและความสมบูรณ์ของใบรับรอง อายุใบรับรอง เป็นต้น • หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบเนื้อหาหรือสาระสำคัญของใบรับรอง เกี่ยวกับการระบุผู้ให้บริการออกใบรับรอง, เจ้าของลายมือชื่อที่ระบุไว้ในใบรับรอง และข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ได้ในขณะหรือก่อนที่มีการออกใบรับรอง
ผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) สำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจดูใบรับรองได้ เพื่อตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ, วัตถุประสงค์และคุณค่าที่มีการนำข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับรอง, ขอบเขตความรับผิดของผู้ให้บริการออกใบรับรอง, วิธีการให้เจ้าของลายมือชื่อส่งคำบอกกล่าวเมื่อมีเหตุตามบางประการ ตามมาตรา 27 (2), บริการเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับรอง เป็นต้น
ผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) สำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • หน้าที่จัดให้มีบริการที่เจ้าของลายมือชื่อสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการออกใบรับรองในกรณี ตามมาตรา 27 (2) และกรณีการขอเพิกถอนใบรับรองที่ทันการ • หน้าที่ใช้ระบบ วิธีการและบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บริการ ฯลฯ
ติดต่อกับหน่วยงานของรัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่ติดต่อกับหน่วยงานของรัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่ • แต่เดิมนั้นการยื่นคำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมาย ผู้ร้องขอจะต้องเดินทางมาติดต่อกับหน่วยงานของรัฐด้วยตนเอง หรือบางกรณีอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยมีเอกสารของผู้มอบอำนาจ พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้การรับรองให้หน่วยงานของรัฐสามารถรับคำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ของประชาชนทั่วไปหรือผู้ประกอบธุรกิจ โดยผู้ยื่นคำร้องหรือคำขอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ติดต่อกับหน่วยงานของรัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่ติดต่อกับหน่วยงานของรัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่ • กล่าวอีกนัยหนึ่งคือยื่นคำขอในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผลที่สำคัญคือการกระทำข้างต้นนี้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับการกระทำในรูปแบบเดิม กฎหมายยังระบุให้การออกคำสั่งทางปกครอง การประกาศ หรือการดำเนินการใดๆ โดยหน่วยงานของรัฐ สามารถกระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ กระนั้นก็ดี พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา จึงจะถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตความคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต • การใช้งานของอินเทอร์เน็ตมิได้จำกัดอยู่เพียงการติดต่อสื่อสารระหว่างกันเท่านั้น แต่เริ่มมีการทำธุรกรรม ระหว่างกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเกิดการค้าขายรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “พาณิชย์ทางอินเทอร์เน็ต ” (Internet Commerce) มีการคาดการณ์กันว่าภายในปี พ.ศ. 2543 มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกสูงราว 304 ล้านคน (Nua Internet Survey, มีนาคม 2543) ส่วนจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประมาณการณ์ว่ามีอยู่ถึง 3.5 ล้านคน
ความคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตความคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต • จากการสำรวจของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ (มกราคม 2544) จะเห็นได้ว่าช่องทางดังกล่าวเปิดกว้างแก่คนกลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้บริโภค การซื้อขายสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจะให้ความสะดวกและมีประโยชน์หลายประการ แต่ก็อาจก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้บริโภคทำนองเดียวกับการซื้อสินค้าหรือใช้บริการในรูปแบบเดิม
ความคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตความคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต • ไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลา และสถานที่ • ให้ความสะดวก รวดเร็วในการโฆษณา (ผู้ประกอบธุรกิจ) การซื้อขาย (ผู้บริโภค) • เป็นการติดต่อแบบ 2 ทาง (Interactivity) ในรูปแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) • ประหยัดต้นทุนทางธุรกิจ • ไม่ทราบตัวบุคคลที่ติดต่อซื้อขาย • ต้องอาศัยความเชื่อมั่นและไว้วางใจ • อาจมีการหลอกลวงเช่นเดียวกันธุรกิจในรูปแบบเดิม
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค