760 likes | 1.22k Views
การแก้ไขปัญหาสถานะของบุคคลโดยกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎร. โดย นายวีนัส สีสุข ส่วนการทะเบียนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐. มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
E N D
การแก้ไขปัญหาสถานะของบุคคลโดยกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรการแก้ไขปัญหาสถานะของบุคคลโดยกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร โดย นายวีนัส สีสุข ส่วนการทะเบียนราษฎร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ • มาตรา ๔ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง • มาตรา ๓๐บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน (วรรค 3) การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ...สถานะของบุคคล...จะกระทำมิได้
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal declaration of Human Rights) ค.ศ.๑๙๔๘ ข้อ ๖ บัญญัติว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับ นับถือว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายในทุกสถานที่ (Everyone has the right to recognition everywhere as a person before the law.)” ประเทศไทยยอมรับ Genral Assembly Resolution 217 A(IIIX) of 10 December 1948 ซึ่งยอมรับปฏิญญานี้ตั้งแต่ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๑ (ค.ศ.๑๙๔๘)
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. ๑๙๖๖ (ICCPR) ข้อ ๒๔ ๑. เด็กทุกคนย่อมมีสิทธิในมาตรการต่าง ๆ เพื่อการคุ้มครองเท่าที่จำเป็นแก่สถานะแห่งผู้เยาว์ในส่วนของครอบครัวของตน สังคมและรัฐโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติอันเนื่องจากเชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน หรือกำเนิด. ๒. เด็กทุกคนย่อมมีหลักฐานทางทะเบียนทันทีที่ถือกำเนิดและย่อมได้รับการตั้งชื่อ. ๓. เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ. ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๗ พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย 4
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.๑๙๘๙ ข้อ ๗ ๑. เด็กจะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และจะมีสิทธิที่จะมีชื่อนับแต่เกิด และสิทธิที่จะได้สัญชาติ และเท่าที่จะเป็นไปได้สิทธิที่จะรู้จัก และได้รับการดูแลเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตน ๒. รัฐภาคีจะประกันให้มีการปฏิบัติตามสิทธิเหล่านี้ตามกฎหมายภายในและพันธกรณีของรัฐภาคี ที่มีอยู่ภายใต้ตราสารระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เด็กจะตกอยู่ในสถานะไร้สัญชาติ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๗ พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย 5
ปัญหาของประเทศไทยก่อนการแก้ไขกฎหมายปัญหาของประเทศไทยก่อนการแก้ไขกฎหมาย การปฏิเสธการรับแจ้งการเกิด - เด็กไทยแต่ขาดหลักฐาน - เด็กที่เป็นบุตรของคนต่างด้าวที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร สาเหตุสำคัญ ได้แก่ กฎกระทรวงตามมาตรา 5
การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อการแก้ไขปัญหา การไร้รัฐหรือไร้สถานะทางทะเบียน
พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร ๑. การแจ้งเกิดมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๑๙/๑ มาตรา ๑๙/๒ มาตรา ๑๙/๓ มาตรา ๒๐ ๒. หนังสือรับรองการเกิดมาตรา ๒๐/๑ ๓. การเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง ๔. การจัดทำทะเบียนประวัติ มาตรา ๓๘ วรรคสอง
(๑) เพิ่มเติมประเด็นการอำนวยความสะดวก แก่ประชาชนเกี่ยวกับการแจ้งการเกิด การแจ้งการตาย และการแจ้งการย้ายที่อยู่ ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งสามารถแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่อื่นได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (เพิ่ม ม.๑๘ วรรคสาม ม.๒๑ วรรคสี่ และ ม.๓๐ วรรคสี่)
(๒) แก้ไขเรื่องการแจ้งการเกิดกรณีเด็กใน สภาพแรกเกิดหรือเด็กไร้เดียงสาซึ่งถูกทอดทิ้งโดยให้ฝ่ายปกครอง ตำรวจหรือ พม.ที่รับตัวเด็กไว้ต้องทำบันทึกการรับตัวเด็กระบุรายละเอียดที่เกี่ยวกับตัวเด็กเท่าที่จะทราบได้ และให้เจ้าหน้าที่ พม.ในเขตท้องที่เป็นผู้แจ้งการเกิดให้แก่เด็กโดยต้องมีหลักฐานบันทึกการรับตัวเด็กด้วย (แก้ไข ม.๑๙ )
(๓) เพิ่มเติมการแจ้งการเกิดกรณีเด็กเร่ร่อนหรือเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอดทิ้งซึ่งอยู่ในการอุปการะของหน่วยงานสงเคราะห์ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งการเกิดให้แก่เด็ก (เพิ่ม ม.๑๙/๑)
กรณีที่ไม่อาจพิสูจน์สถานะการเกิดและ สัญชาติของเด็กได้ ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนประวัติและออกเอกสารแสดงตนให้เด็กไว้เป็นหลักฐาน (เพิ่ม ม.๑๙/๒)
(๔) สำหรับบุคคลที่ไม่ได้แจ้งการเกิดตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สามารถขอแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนได้ตามระเบียบฯ แต่ถ้าผู้นั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองเป็นผู้แจ้งการเกิด (เพิ่ม ม.๑๙/๓)
(๕) กำหนดเป็นหลักการเรื่องการรับแจ้งการเกิดและออกสูติบัตรให้แก่เด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทย โดยกำหนดแบบพิมพ์สูติบัตรเป็นการเฉพาะสำหรับเด็กที่เกิดในประเทศไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดและให้ระบุสถานะการเกิดไว้ด้วย (แก้ไข ม.๒๐)
(๖) เพิ่มเติมเรื่องการร้องขอให้นายทะเบียนออกหนังสือรับรองการเกิดให้แก่บุคคลที่จำเป็นต้องใช้หลักฐานดังกล่าวในการขอมีสัญชาติไทยหรือขอแปลงสัญชาติไทยตาม มติคณะรัฐมนตรี หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอื่น (เพิ่ม ม.๒๐/๑)
(๗) การจัดทำทะเบียนบ้านและการลงรายการบุคคลพิจารณาจากการมีสิทธิอาศัย อยู่ในประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น - ทะเบียนบ้านสำหรับผู้มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย (แก้ไข ม.๓๖ วรรคหนึ่ง)
-ทะเบียนบ้านสำหรับคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราวและคนต่างด้าวที่ได้รับผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกลุ่มบุคคลที่ รมว.มท.กำหนด (แก้ไข ม.๓๘)
สำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย กลุ่มอื่นที่ไม่ได้จัดทำทะเบียนบ้าน ให้จัดทำทะเบียนประวัติให้ไว้เป็นหลักฐานตามระเบียบที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด (เพิ่ม ม.๓๘ วรรคสอง)
หนังสือรับรองการเกิด(ท.ร.1/1)หนังสือรับรองการเกิด(ท.ร.1/1) โรงพยาบาล/สถานีอนามัย 2 ใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร.1 ตอนหน้า) กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน 1 สูติบัตร สำนักทะเบียน ท.ร.1 ท.ร.2 ท.ร.3 ท.ร.031 ท.ร.14 ท.ร.13 ท.ร.38ก
แจ้งเกิดต่างท้องที่ บิดามารดาผู้ปกครองโดยชอบ ผู้แจ้ง หลักฐานเอกสาร : ท.ร.1/1 หรือผลตรวจ DNA สำนักทะเบียน บิดามารดา หรือผู้ปกครองเด็กมีทะเบียนบ้านอยู่ในเขต สูติบัตร นายทะเบียน ท.ร.1 ท.ร.2 ท.ร.3
แจ้งเกิดเกินกำหนด บิดามารดาผู้ปกครองโดยชอบ (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) ผู้แจ้ง แจ้งด้วยตัวเอง (บรรลุนิติภาวะ) 1. รับแจ้ง 2. ตรวจฐานข้อมูล 3. ออกใบรับ ท.ร.100 4. สอบสวน 5. เสนอนายอำเภอ 1. พิสูจน์ได้ไทย ออก ท.ร.2 2. ไม่ได้ไทย ออก ท.ร.3 3. พิสูจน์ไม่ได้ ทำ ท.ร.38ก นายทะเบียน นายอำเภอ พิสูจน์สถานะการเกิด/สัญชาติ
แจ้งเกิดเด็กถูกทอดทิ้งแจ้งเกิดเด็กถูกทอดทิ้ง เจ้าหน้าที่ พม. กรณี เด็กแรกเกิดและเด็กไร้เดียงสา ผู้แจ้ง หัวหน้าหน่วยงานสงเคราะห์กรณีเด็กเร่ร่อน เด็กไร้บุพการี 1. รับแจ้ง 2. ตรวจฐานข้อมูล 3. ออกใบรับ ท.ร.100 4. สอบสวน 5. เสนอนายอำเภอ 1. พิสูจน์ได้ไทย ออก ท.ร.2 2. ไม่ได้ไทย ออก ท.ร.3 3. พิสูจน์ไม่ได้ ทำ ท.ร.38ก นายทะเบียน นายอำเภอ พิสูจน์สถานะการเกิด/สัญชาติ
การขอหนังสือรับรองการเกิด ท.ร.20/1 บิดามารดา หรือผู้ปกครอง (กรณีอายุต่ำกว่า 15 ปี) ผู้แจ้ง ขอด้วยตนเอง (อายุตั้งแต่15 ปี) ท้องที่ที่เกิด หรือ มีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือ มีภูมิลำเนา สำนักทะเบียน 1. อนุมัติ ท.ร.20/1 2. ไม่อนุมัติ แจ้งผู้ขออุทธรณ์คำสั่ง 1. รับคำขอ 2. ตรวจหลักฐาน 3. สอบสวนพยาน นายทะเบียน
การจัดทำทะเบียนประวัติของบุคคลการจัดทำทะเบียนประวัติของบุคคล ก. ทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน “บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน”หมายถึงบุคคลที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งในราชอาณาจักร แต่ไม่มีรายการในทะเบียนราษฎร : บุคคลที่จะได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติได้แก่ ผู้ที่ไม่อาจพิสูจน์สถานะการเกิดหรือสัญชาติของตน รวมถึงคนไม่มีสัญชาติไทยที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๓)
๑. กลุ่มที่ไม่อาจรับแจ้งการเกิดตามมาตรา ๑๙ มาตรา ๑๙/๑ และมาตรา ๑๙/๓ เนื่องจากไม่อาจพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติ ๒. กลุ่มที่อ้างว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อ ในทะเบียนบ้านแต่ไม่อาจพิสูจน์สถานะการเกิดและ สัญชาติ ๓. กลุ่มบุคคลตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติ ครม. ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ จำนวน ๖ กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่ม ๑. ชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานแต่ตกการสำรวจ กลุ่ม ๒. เด็กนักเรียน นักศึกษาที่กำลังศึกษา เล่าเรียนอยู่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน กลุ่ม ๓. กลุ่มบุคคลที่ไร้รากเหง้า ไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอดทิ้ง
กลุ่ม ๔. บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศ กลุ่ม ๕. แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่มีปัญหาไม่สามารถส่งกลับประเทศ ต้นทาง กลุ่ม ๖. คนต่างด้าวอื่น นอกจากกลุ่ม ๑ - ๕
ข. ทะเบียนประวัติบุคคลที่ได้รับผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ๑. กลุ่มชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายคนเข้าเมือง (ก่อนที่จะมียุทธศาสตร์ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘) ๒. กลุ่มแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ๓ สัญชาติ ตามมติ ครม. ๓. กลุ่มคนที่ไม่มีสัญชาติไทยอื่นๆ ตามมาตรา ๓๘ วรรคสอง (ตามประกาศ มท.)
การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยสัญชาติการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ เพื่อการแก้ไขปัญหา สถานะและสิทธิของบุคคล
กรณีการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดกรณีการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
กฎหมายสัญชาติ หลักสายโลหิต (ม.๗ (๑) /๗ว.๒) ไทย ไทย กฎหมายคนเข้าเมือง หลักดินแดน (ม.๗ (๒) ไทย ต่างด้าว ต่างด้าว ยกเว้นบุคคลตาม มาตรา ๗ ทวิและมาตรา ๘
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด มาตรา ๗บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด (๑) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดใน หรือนอกราชอาณาจักรไทย (๒) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา ๗ทวิ วรรคหนึ่ง คำว่าบิดาตาม (๑) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้น จะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม
(1) บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย
ข้อยกเว้นการได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดนตาม ม.๗ทวิ มาตรา ๗ ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น (๑) ผู้ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย (๒) ผู้ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ (๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
วรรคสองและวรรคสาม ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้บุคคลตามวรรคหนึ่งได้สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งจะอยู่ในราชอาณาจักรไทยในฐานะใด ภายใต้เงื่อนไขใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
(1) บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย
(1) บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย (ต่อ)
(2)บุคคลที่เกิดนอกราชอาณาจักรไทย(2)บุคคลที่เกิดนอกราชอาณาจักรไทย
กรณีการได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด
โดยการสมรส ต่างด้าว ไทย (ม. 9) ไทย โดยการแปลงสัญชาติ ไทย (ม.10,11,12,12/1) ต่างด้าว ต่างด้าว
โดยคำสั่งรัฐมนตรี ต่างด้าว ต่างด้าว ไทย (ม.7 ทวิ วรรคสอง) โดยการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ไทย (ม.23) ต่างด้าว ต่างด้าว
โดยการกลับคืนสัญชาติไทยโดยการกลับคืนสัญชาติไทย กรณีเสียตามสามี/ภรรยา ไทย (ม.23) ต่างด้าว ต่างด้าว กรณีเสียตามบิดา/มารดา ไทย (ม.24) ต่างด้าว ต่างด้าว
การแก้ไขปัญหาสัญชาติของบุคคลที่ได้รับผลกระทบจาก ปว. ๓๓๗โดยมาตรา ๒๓
บุคคลที่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๒๓ บรรดาบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในประเทศไทยแต่ถูกถอนสัญชาติไทยตาม ปว.๓๓๗ ข้อ ๑ และผู้ที่เกิดในประเทศไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว.๓๓๗ ข้อ ๒รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าว ที่เกิดในประเทศไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและไม่ได้สัญชาติไทยตาม ม.๗ ทวิ วรรคหนึ่งฯ
ถ้าบุคคลนั้นอาศัยอยู่จริงในประเทศไทยติดต่อกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และ เป็นผู้มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมหรือประเทศไทยให้ได้สัญชาติไทยตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีมีคำสั่งอันมีผลให้เป็นผู้มีสัญชาติไทยแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ได้ไทยตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑)
เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งยื่นคำขอลงรายการสัญชาติในเอกสารการทะเบียนราษฎรต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา D day ยื่นเรื่องได้วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑
บุคคลตามมาตรา ๒๓ ก. กรณีบุคคลที่ถูกถอนสัญชาติไทย และไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว. ๓๓๗ ข. กรณีบุตรของบุคคลที่ถูกถอนสัญชาติไทย หรือไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว. ๓๓๗
ก. กรณีบุคคลที่ถูกถอนสัญชาติไทย และไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว.๓๓๗ เกิดก่อนวันที่ 26ก.พ.2535