510 likes | 683 Views
การเปิดตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตามกรอบ JTEPA. กับความท้าทายของผู้ประกอบการไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). วัตถุประสงค์ของการศึกษา. สร้างความรู้ความเข้าใจระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่น เตรียมการเพื่อขยายความร่วมมือด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐภายใต้กรอบ JTEPA
E N D
การเปิดตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตามกรอบ JTEPA กับความท้าทายของผู้ประกอบการไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา • สร้างความรู้ความเข้าใจระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่น • เตรียมการเพื่อขยายความร่วมมือด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐภายใต้กรอบ JTEPA • ส่งเสริมภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในตลาดภาครัฐของญี่ปุ่น • เป็นแนวทางเพื่อการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของไทย
การปกครองและการคลังของญี่ปุ่นการปกครองและการคลังของญี่ปุ่น • ปกครองแบบรัฐเดี่ยว โดยแบ่งเป็นราชการส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ • หน่วยงานภาครัฐแต่ละประเภทมีกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของตนเองเช่นเดียวกับประเทศไทย • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่นมีอิสระในการบริหารสูงกว่าของประเทศไทย • มีรายได้หลักจากภาษีท้องถิ่น • มีอำนาจสูงในการบริหารการเงินการคลังของตนเอง โดยความเห็นชอบจากรัฐสภา
กฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่นกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่น • ไม่มีกฎหมายด้านการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะ แต่อาศัยอำนาจจาก • Accounts Law สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในส่วนกลาง • Local Autonomy Law สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในท้องถิ่น • มีมติคณะรัฐมนตรี และกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในระดับกระทรวงกำกับ • สำนักนายกรัฐมนตรีดูแลนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างในส่วนกลาง • Ministry of Internal Affairs and Communications (กระทรวงมหาดไทย) ดูแลนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างในส่วนท้องถิ่น
การตรวจสอบด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่นการตรวจสอบด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่น คณะกรรมการทบทวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ • สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี • รับเรื่องร้องเรียนสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างในส่วนกลาง และรัฐวิสาหกิจในกำกับของส่วนกลาง • รับร้องเรียนจากปัจเจกบุคคล และองค์กร • ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมกระบวนการทบทวนข้อร้องเรียนได้ • ประชาสัมพันธ์ผลการทบทวนผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ของรัฐ เว็บไซต์http://www5.cao.go.jp/access/english/chans_main_e.htmlและสื่ออื่นๆ
การตรวจสอบด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่นการตรวจสอบด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่น คณะกรรมการการค้าที่เป็นธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ • สอบสวนการละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาด • รับและตรวจสอบคำชี้แจงจากบริษัทเอกชน หรือสมาคมผู้ประกอบการ ที่คณะกรรมการมีคำสั่งให้รายงาน • วิจัยสภาพตลาดในอุตสาหกรรมที่มีการผูกขาด • ให้คำแนะนำแก่ส่วนราชการด้านการป้องกันการผูกขาด • ประกาศแนวทางปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายป้องกันการผูกขาด
การตรวจสอบด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่นการตรวจสอบด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่น หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างมีหน้าที่ต้องรายงานและร่วมมือกับคณะกรรมการการค้าที่เป็นธรรม เมื่อ • พบว่าผู้ประกอบการหรือสมาคมการค้ามีพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่อาจละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาด • ได้รับข้อมูลที่บ่งชี้ความเป็นไปได้ของพฤติกรรมละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน โดยให้รวมตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการ
ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่นที่แตกต่างจากไทยขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่นที่แตกต่างจากไทย • การจัดซื้อสินค้าที่มีความซับซ้อนสูง หรือมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท ต้องวิจัยตลาด หรือทดสอบสินค้าก่อนการจัดทำร่างข้อกำหนดคุณสมบัติ • ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อกำหนดคุณสมบัติของสินค้าก่อนจัดการเสนอราคา
ญี่ปุ่นกับความตกลงด้านการจัดซื้อ จัดจ้างภาครัฐ • สมาชิกความตกลง GPAลงนามเมื่อ 1994 • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ: • Japan-Singapore Economic Partnership Agreement (JSEPA) ลงนามเมื่อ มกราคม 2002 • Japan-Mexico Economic Partnership Agreement (JMexPA) ลงนามเมื่อ กันยายน 2004 • Japan-Chile Economic Partnership Agreement (JCEPA) ลงนามเมื่อ มีนาคม 2007 • Japan-Thailand Economic Partnership Agreement (JTEPA)ลงนามเมื่อ เมษายน 2007
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐใน JTEPA • การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเกี่ยวกับ • นโยบายและวิธีปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ • กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ • กำหนดให้หน่วยงานต่อไปนี้เป็นจุดแลกเปลี่ยนข้อมูล และให้ซัพพลายเออร์ของประเทศภาคีติดต่อขอข้อมูลได้ • ญี่ปุ่น: กระทรวงต่างประเทศ • ไทย: กระทรวงการคลัง
ประเทศที่ลงนามความตกลง GPA ความตกลงด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐใน Japan-SingaporeEconomicPartnership มีเนื้อหาเหมือนกับ GPA
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในความตกลงต่างๆการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในความตกลงต่างๆ
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในความตกลงต่างๆการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในความตกลงต่างๆ
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในความตกลงต่างๆการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในความตกลงต่างๆ
หัวข้อสำคัญของการเจรจา • ขอบเขตและความครอบคลุม • หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ • ประเภทสินค้า บริการ และงานก่อสร้าง • ประเภทของสัญญา • มูลค่าขั้นต่ำของการจัดซื้อจัดจ้าง • การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร • วิธีเสนอราคา • เงื่อนไขการเข้าร่วมเสนอราคาและเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการเสนอราคา • สิทธิพิเศษ
ขอบเขตของความตกลง • รายชื่อหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ญี่ปุ่นเสนอใน GPA มีความครอบคลุมมากกว่าในความตกลงระดับทวิภาคี • ครอบคลุมสินค้า บริการ และงานก่อสร้าง เกือบทุกชนิด ยกเว้นสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ • ครอบคลุมทุกประเภทสัญญา ยกเว้น JMexPA ไม่ครอบคลุมสัญญาแบบ Build-operate-transfer และสัญญาสัมปทานของรัฐ
มูลค่าขั้นต่ำในการเปิดให้มีการแข่งขันในความตกลงทุกฉบับของญี่ปุ่นมูลค่าขั้นต่ำในการเปิดให้มีการแข่งขันในความตกลงทุกฉบับของญี่ปุ่น หน่วย: บาท
บทบัญญัติด้านข้อมูลข่าวสารบทบัญญัติด้านข้อมูลข่าวสาร • ไม่มีข้อกำหนดเรื่องภาษาที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลกฎระเบียบ และข่าวการเสนอราคา • ข้อมูลข่าวสารเกือบทั้งหมดเป็นภาษาญี่ปุ่น ยกเว้นข้อมูลในเว็บไซต์ JETRO ซึ่งไม่มีรายละเอียดมากนัก
เว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของญี่ปุ่นที่เป็นภาษาญี่ปุ่นเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของญี่ปุ่นที่เป็นภาษาญี่ปุ่น • เว็บไซต์ประกาศข่าวของราชการ www.kanpou.nbp.go.jp • ประกาศข่าวจัดซื้อจัดจ้างของทุกหน่วยงาน - ปรับปรุงรายวัน • สามารถดาวน์โลดเอกสารได้ในรูปของไฟล์ pdf • เว็บไซต์www.i-ppi.jpรวมข่าวการจัดซื้อของ 3 กระทรวง • กระทรวงก่อสร้างและคมนาคม • กระทรวงเกษตร การป่าไม้ และประมง • กระทรวงป้องกันประเทศ • เว็บไซต์ของหน่วยงานราชการแต่ละแห่ง และเว็บท่าของรัฐบาล (www.e-gov.go.jp) ซึ่งรวมแหล่งเชื่อมต่อเว็บไซต์ของทุกกระทรวง
เว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ เว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นwww.mofo.go.jp/policy/economy/procurement ให้ดาวน์โลดเอกสารแนะนำการเข้าสู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่นตามกรอบความตกลง GPA ให้ข้อมูลกว้างๆ เกี่ยวกับ มูลค่าขั้นต่ำของการจัดซื้อจัดจ้าง วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง เงื่อนไขการเข้าร่วมยื่นข้อเสนอ และเกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอ รายชื่อหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างและเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
เว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ เว็บไซต์ของ JETRO: www.jetro.go.jp/en/matching/procurement/ ให้บริการค้นหาข่าวการเสนอราคา รายชื่อหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ เชื่อมต่อไปสู่เว็บไซต์หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของญี่ปุ่น
ความแตกต่างของเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษความแตกต่างของเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษ
วิธีเสนอราคา • วิธีเสนอราคาแบบเปิดกว้าง (Open tendering) • วิธีเสนอราคาแบบคัดเลือก (Selective tendering) • งานที่ใช้วิธีเสนอราคาแบบเปิดกว้างแล้วไม่ได้ผล • เป็นสินค้าหรือบริการที่มีผู้ขายน้อยราย • วิธีเสนอราคาแบบจำกัด (Single tendering) • งานที่ใช้วิธีเสนอราคาแบบเปิดกว้างแล้วไม่ได้ผล • สำหรับสินค้าหรือบริการที่มีสิทธิบัตร • งานก่อสร้างส่วนเพิ่ม ที่มีมูลค่าไม่เกิน 50% ของสัญญาหลัก • โครงการสนับสนุน SME
เงื่อนไขการเข้าร่วมเสนอราคาเงื่อนไขการเข้าร่วมเสนอราคา มีเงื่อนไขที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมเสนอราคา • สินค้าบางประเภทเช่น ยา ต้องมีใบอนุญาตจากทางราชการจึงจะเข้าร่วมเสนอราคาได้ (Pharmaceutical Law) • สินค้าบางประเภท เช่น อุปกรณ์เครื่องกล เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ มีการจัดชั้นของผู้เข้าร่วมเสนอราคา (คล้ายการจัดชั้นผู้รับเหมาก่อสร้างของไทย)
การพิจารณาผลการเสนอราคาการพิจารณาผลการเสนอราคา • ใช้เกณฑ์ราคาต่ำสุด ยกเว้นกรณีต่อไปนี้ • หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างตรวจสอบก่อนทำสัญญาแล้วพบว่าผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการเสนอราคาได้ • การตัดสินให้ผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะเสนอราคา มีแนวโน้มทำให้เกิดผลเสียต่อความเป็นธรรมในระเบียบการค้า • เป็นการใช้วิธี Overall Greatest Value(OGV) ซึ่งใช้เกณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ราคาประกอบการพิจารณา • ตัวอย่างเกณฑ์ที่ไม่ใช่ราคา เช่น การรักษาความสะอาดในพื้นที่ก่อสร้าง การควบคุมมลภาวะทางเสียง โดยพิจารณาจากประวัติงานที่ผ่านมา
สิทธิพิเศษ • รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) • ตัวอย่างมาตรการส่งเสริม SME ในงานเสนอราคาของภาครัฐ ของเทศบาลนครโตเกียว เช่น • ใช้วิธีเสนอราคาแบบจำกัด (Single tendering) • ส่งเสริมให้หน่วยงานราชการเปิดโอกาสให้กลุ่มสหกรณ์ หรือให้บริษัทขนาดเล็กรวมตัวกัน เข้าร่วมเสนอราคาได้ • สนับสนุนให้หน่วยงานราชการสั่งซื้อของเป็นงวดๆ • ให้ความรู้แก่ SME เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ผ่านทางศูนย์ SME ในแต่ละจังหวัด
การปฏิบัติตาม GPA ของญี่ปุ่น วิเคราะห์ข้อมูลจาก • Japan’s Government Procurement: Policy and Achievements Annual Report 2006 ซึ่งเป็นการรายงานผลการปฏิบัติตาม GPA ของประเทศญี่ปุ่น • 2008 Trade Policy Agenda and 2007 Annual Report โดย The Office of the United States Trade Representative(USTR)
การจัดซื้อจัดจ้างจากซัพพลายเออร์ต่างประเทศโดยหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่นการจัดซื้อจัดจ้างจากซัพพลายเออร์ต่างประเทศโดยหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น • ญี่ปุ่นมีสัดส่วนการจัดซื้อจากต่างประเทศน้อยมาก และมีแนวโน้มลดลง • ซัพพลายเออร์ต่างประเทศ อันดับ 1: สหรัฐอเมริกา อันดับ 2: กลุ่มสหภาพยุโรป
รายการสินค้าและบริการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศรายการสินค้าและบริการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศ สินค้า • เครื่องบิน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง • น้ำมัน และถ่านหิน • เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง บริการ • บริการโทรคมนาคม • บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ไม่พบว่ามีงานก่อสร้าง
วิธีจัดซื้อจัดจ้าง • ญี่ปุ่นใช้วิธีเสนอราคาแบบทั่วไปมากกว่าร้อยละ 50
ปัญหาในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ของญี่ปุ่น สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) สรุปปัญหาดังนี้ • การสมยอมกันเสนอราคาในงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยเฉพาะในงานก่อสร้าง • ปัญหาสำหรับซัพพลายเออร์ต่างประเทศ • มีความยากลำบากในขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นเพื่อขึ้นทะเบียนซัพพลายเออร์ • มีความยากลำบากในการตั้งกิจการร่วมค้า • การกำหนดอัตราค่าตอบแทนสำหรับงานออกแบบไม่เหมาะสม
สถิติการร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสถิติการร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ • สำนักงานทบทวนเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (OGPR) - มีการร้องเรียนทั้งหมด 6 กรณี ตั้งแต่ปี 2539 ถึง 2549 - ส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนของบริษัทลูกของบริษัทต่างชาติต่อหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง - เช่น Overseas Bechtel Incorporatedร้องเรียน East Japan Railway Companyเรื่อง การประกาศคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมเสนอราคาที่ไม่สอดคล้องกับความตกลง GPA • FTC - มีการฟ้องร้องเรื่องจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด 39 คดีจากทั้งหมด 48 คดี ในปี 2551 (ข้อมูลถึงวันที่ 31 ก.ค. 2551)
กรณีศึกษาการฟ้องร้องเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของ FTC • FTC ฟ้องร้องบริษัทก่อสร้าง 34 แห่งในข้อหาฮั้วประมูล โครงการก่อสร้างหลายโครงการ เช่น การวางท่อระบายน้ำทิ้ง สร้างถนน • กลุ่มบริษัทที่ถูกฟ้องเป็นผู้ชนะประมูลโครงการก่อสร้างมากกว่าร้อยละ 80 ของโครงการทั้งหมดในเขต Tama ในกรุงโตเกียว • ราคาที่ชนะประมูลต่ำกว่าราคากลางเพียง 0.09% โดยเฉลี่ย เช่น โครงการวางท่อระบายน้ำทิ้งรวม 5 โครงการที่มีราคาชนะประมูล 1,634 ล้านเยน จากราคากลาง 1,655 ล้านเยน • เริ่มพิจารณาคดีตั้งแต่ปี 2545 และสิ้นสุดในปี 2551 (มีการอุทธรณ์ต่อ) • ศาลตัดสินให้ 30 บริษัทจ่ายค่าปรับรวมทั้งสิ้นกว่า 200 ล้านบาท (600 ล้านเยน)
มูลค่าโครงการออกแบบและก่อสร้าง ในต่างประเทศโดยบริษัทก่อสร้างไทย พันล้านบาท แหล่งข้อมูล: สหพันธ์ธุรกิจออกแบบและก่อสร้างแห่งประเทศไทย (FEDCON)
ตัวอย่างงานในต่างประเทศของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ของไทยตัวอย่างงานในต่างประเทศของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ของไทย • ตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม • ระบบ Call Center • ภาคเอกชนในเวียดนาม ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย • ระบบโรงแรม และการท่องเที่ยว • ระบบการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์: สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI), สมาคมอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) และสมาคมผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเพื่อการส่งออก
การวิเคราะห์ประโยชน์จากการเปิดเสรีการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของไทยการวิเคราะห์ประโยชน์จากการเปิดเสรีการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของไทย เปรียบเทียบระหว่างการเปิดเสรีในกรอบ JTEPA และ GPA
ประโยชน์ของการเปิดเสรีตลาดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐประโยชน์ของการเปิดเสรีตลาดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ • ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น • เพิ่มความโปร่งใส ของการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ • เพิ่มโอกาส ของภาคเอกชนไทยในการเข้าสู่ตลาดภาครัฐของประเทศภาคี
แนวคิดในการวิเคราะห์ประโยชน์แนวคิดในการวิเคราะห์ประโยชน์ • ทฤษฎีการประมูล (auction theory) “เมื่อจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลเพิ่มขึ้น ราคาที่ชนะประมูลจะลดลง” • งานศึกษาเชิงประจักษ์ของต่างประเทศ กรณีงานก่อสร้าง Carr (2005) : “เมื่อจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลเพิ่มขึ้น 1 ราย ราคาที่ชนะประมูลลดลงจากราคากลางร้อยละ 4 แต่เมื่อจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลมากถึงระดับหนึ่ง ราคาชนะการประมูลที่ลดลงจากราคากลางจะลดในอัตราที่ช้าลง (diminishing return)” • “ประโยชน์”จากการเปิดเสรี= งบประมาณที่ประหยัดได้จาก ส่วนลดที่มากขึ้น เมื่อมี ผู้เข้าร่วมประมูลมากขึ้น
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้เข้าประมูลกับส่วนลดจากราคากลางการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้เข้าประมูลกับส่วนลดจากราคากลาง เมื่อมีจำนวนผู้เข้าร่วมแข่งขันเพิ่มขึ้น ส่วนลดจากราคากลางจะเพิ่มขึ้น....
วิธีการศึกษา วิเคราะห์สมการถดถอย (regression) เพื่อประมาณการความสัมพันธ์ ระหว่างส่วนลดจากราคากลางและจำนวนผู้เข้าร่วมประมูล ประมาณการจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่มี การเปิดเสรีภายใต้กรอบ JTEPA และ GPA คำนวณส่วนลดจากราคากลางและงบประมาณที่ประหยัดได้ ของการเปิดเสรีด้านการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละกรณี
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี e-auction ของกรมบัญชีกลางปี 2548-2551 • คัดเลือกเฉพาะโครงการที่มีมูลค่าขั้นต่ำตามกรอบ GPA • ตัดข้อมูลที่น่าจะผิดพลาดออก เช่น โครงการที่มีผู้เข้าร่วมประมูล 1 ราย • ตัวอย่าง 3,165 โครงการ
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ฐานข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างของธนาคารโลก เฉพาะโครงการในประเทศไทย ปี 2543-2551 • คัดเลือกเฉพาะโครงการที่มีการคัดเลือกผู้ประกอบแบบแข่งขัน เช่น International Competitive Bidding • ตัวอย่าง 131 โครงการ
ผู้ชนะการประมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างของธนาคารโลกผู้ชนะการประมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างของธนาคารโลก • ผู้ประกอบการญี่ปุ่นได้เฉพาะโครงการด้านสินค้าและบริการ ในสัดส่วนไม่สูง • ผู้ประกอบการไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก แม้จะเปิดเสรีตลาดงานก่อสร้าง ทั้งกรณี JTEPA และ GPA
ส่วนลดจาก ราคากลาง จำนวนผู้ร่วม ประมูล ปัจจัยอื่นๆ * * • ประเภทสินค้าและบริการ • -ครุภัณฑ์ • -วัสดุ • -งานจ้างเหมา • -งานเช่า • -งานก่อสร้าง • หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง • -ส่วนกลาง • -รัฐวิสาหกิจ& • หน่วยงานอื่นๆ จำนวนผู้ร่วมประมูล กรณีเปิดเสรี ในกรอบ JTEPA และ ในกรอบ GPA ส่วนลดที่ได้ เนื่องจากการเปิดเสรี แบบจำลองการวิเคราะห์ส่วนลดจากราคากลาง
ส่วนลดจากราคากลางเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลส่วนลดจากราคากลางเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้เข้าร่วมประมูล ส่วนลดจาก ราคากลาง จำนวนผู้เข้าร่วมประมูล
ราคาชนะประมูลที่ลดลงแยกตามประเภทการจัดซื้อจัดจ้างราคาชนะประมูลที่ลดลงแยกตามประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง *ผลการประมาณการกรณีของส่วนราชการกลาง
เปรียบเทียบส่วนลดจากราคากลาง กรณีเปิดเสรีกรอบ JTEPA และ GPA JTEPA: ส่วนลดเพิ่มขึ้น 0.2% - 0.6% GPA: ส่วนลดเพิ่มขึ้น 0.4% - 2.6%
งบประมาณที่คาดว่าจะประหยัดได้หากเปิดเสรีงบประมาณที่คาดว่าจะประหยัดได้หากเปิดเสรี JTEPA GPA *ประมาณการโดยคิดจากงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐปี 2550*
สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย • ประโยชน์ของประเทศไทยที่จะได้รับจากการเปิดเสรีตามกรอบ JTEPA ไม่สูงนัก • หากรัฐมีนโยบายเปิดเสรีตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ในระยะยาว ควรมุ่งไปสู่การเปิดเสรีในกรอบ GPA • ผลกระทบในด้านลบจากการเปิดเสรีต่อผู้ประกอบการไทยไม่น่าจะมากนัก • ควรเปลี่ยนนโยบายจากการคุ้มครองผู้ประกอบการไทย เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม