1 / 51

บทที่ ๑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษา

บทที่ ๑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษา. หลักการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร.

amity
Download Presentation

บทที่ ๑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ ๑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษา

  2. หลักการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารหลักการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องสามารถสื่อสารให้บรรลุวัตถุประสงค์และสร้างความประทับใจแก่ผู้รับสาร ดังนั้นผู้สื่อสารควรศึกษาและพัฒนาทักษะการใช้ภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องประเภทของภาษาความหมายของคำ และประเภทของประโยค

  3. ภาษา ภาษาหมายถึง วิธีที่มนุษย์ใช้แสดงความรู้สึกและสื่อความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจ ภาษาจำแนกตามวิธีการแสดงออกได้ ๒ ประเภท คือ ๑.วัจนภาษา คือภาษาใช้ถ้อยคำ เสียงพูดหรือเครื่องหมายแทนเสียงพูดที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในสังคมหนึ่งๆ ๒.อวัจนภาษา คือภาษาที่ไม่ใช่การพูดเป็นถ้อยคำ หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นสิ่งที่สามารถสื่อให้เกิดความหมาย ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจตรงกัน เช่นภาษาท่าทาง ภาษาใบ้ ภาษากาย มี ๗ ประเภทคือ ๒.๑ เทศภาษา รับรู้ได้จากระยะห่างระหว่างบุคคลและสถานที่ที่ใช้ในการสื่อสารกัน เช่นการโน้มตัวเดินผ่านผู้ใหญ่ให้ห่างมากที่สุดเพื่อแสดงความมีสัมมาคารวะ ๒.๒กาลภาษา รับรู้ช่วงเวลาในการสื่อสาร เช่น นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา แสดงถึงความตั้งใจ เอาใจใส่และให้ เกียรติผู้สอน ๒.๓เนตรภาษา รับรู้ได้จากสายตา เพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก เช่นการหลบสายตาเพราะกลัว หรือเขินอาย หรือมีความผิดไม่กล้าสู้หน้า

  4. ๒.๔สัมผัสภาษา รับรู้ได้จากการสัมผัส เช่น การโอบกอด การจับมือ ๒.๕อาการภาษา รับรู้จากการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่นการไหว้ การยิ้ม การเม้มปาก การนั่งไขว่ห้าง การยืนเคารพธงชาติ ๒.๖วัตถุภาษา รับรู้จากการเลือกใช้วัตถุเพื่อสื่อความหมาย เช่นเครื่องประดับ การแต่งบ้าน การมอบดอกไม้ บัตรอวยพร ๒.๗ปริภาษา รับรู้ได้จากการใช้น้ำเสียงแสดงออกพร้อมกับถ้อยคำนั้น ทำห้าสามารถเข้าใจความหมายของถ้อยคำได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นความเร็ว การเน้นเสียง ลากเสียง ความดัง ความทุ้มแหลม

  5. การสื่อสารแต่ละครั้งย่อมใช้วัจนภาษาควบคู่กันไป ซึ่งอวัจนภาษาที่ใช้สัมพันธ์กับวัจนภาษาใน๕ ลักษณะด้วยกันคือ ๑.ตรงกัน อวัจนภาษามีความหมายตรงกับถ้อยคำ เช่น การส่ายหน้าปฏิเสธพร้อมพูดว่า “ไม่ใช่” ๒. แย้งกัน อวัจนภาษาที่ใช้ขัดแย้งกับถ้อยคำ เช่น การกล่าวชมว่า วันนี้แต่งตัวสวยแต่สายตามองที่อื่น ๓. แทนกัน อวัจนภาษาทำหน้าที่แทนวัจนภาษา เช่นการกวักมือแทนการเรียก การปรบมือแทนการกล่าวชม ๔. เน้นกัน อวัจนภาษาช่วยเน้นหรือเพิ่มน้ำหนักให้ถ้อยคำ เช่นการบังคับเสียงให้ดังหรือค่อยกว่าปกติ

  6. คำ การใช้ภาษาให้ได้ผลดีจึงควรเริ่มต้นด้วยการศึกษาเรื่อง คำ เพราะเป็นหน่วยสำคัญขั้นมูลฐานทางไวยกรณ์ พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาประกอบด้วยพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ โดยจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ คำ หมายถึง เสียงที่มีความหมาย ( พยางค์+ความหมาย ) ในภาษาไทย คำๆเดียวจะมีกี่พยางค์ก็ได้ การศึกษาเรื่องคำนั้นควรมีความรู้พื้นฐานเรื่องความหมายของคำ ให้ชัดเจนเพื่อให้เข้าใจและสามารถนำไปใช้อย่างถูกต้อง ดังนี้

  7. 1.ความหมายเฉพาะของคำ เช่น ๑.๑ ความหมายโดยตรง เช่น เด็กๆไม่ชอบแม่มดในนิทานเลย ๑.๒ ความหมายโดยนัย ( ความหมายเชิงอุปมา ) เช่น วันนี้ยายแม่มดไม่มาทำงานหรือ ๑.๓ ความหมายแฝง ร่วง ตก หล่น ลิ่วปลิว ฉิว เซ เก เฉ เบ้ โยเย ๑.๔ ความหมายตามปริบท คำกริยา ติด มีความหมายว่า จุดไฟ ใกล้บ้าน แปะ ๑.๕ ความหมายนัยประหวัด ปัง / สีขาว / สีดำ / กา /หงส์ / น้ำ /ไฟ

  8. 2. ความหมายของคำเมื่อเทียบเคียงกับคำอื่น ๒.๑ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ( คำไวพจน์) สุนัข – หมา เท้า – ตีน ๒.๒ คำที่มีความหมายตรงกันข้าม สะอาด – สกปรก เชื่องช้า – ว่องไว ๒.๓ คำที่มีความหมายร่วมกัน ส่งเสริม – สนับสนุน โปรด - กรุณา ๒.๔ คำที่มีความหมายแคบ กว้าง ต่างกัน เครื่องครัว กระทะ จาน ชาม เขียง เครื่องประดับ แหวน สร้อย กำไล สัตว์ ช้าง ม้า วัว ควาย

  9. ประโยค ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีเนื้อความสมบูรณ์ ประโยคโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน คือ ภาคประธาน และภาคแสดง ภาคประธาน คือส่วนที่ผู้กระทำกริยาอาการ ภาคแสดง คือ ส่วนที่แสดงกริยา หรือส่วนที่แสดงอาการของภาคประธานให้ได้ความสมบูรณ์ อาจประกอบด้วยกริยาคำเดียว หรือกริยาและกรรม ตัวอย่างนกบิน นก ( ภาคประธาน) บิน ( ภาคแสดง )การจำแนกประโยคในภาษาไทย ประโยคในภาษาไทยแบ่งได้เป็น ๓ ลักษณะ คือ ประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน • ประโยคความเดียว คือประโยคที่มีใจความเดียว ประกอบด้วย ภาคประธาน และภาคแสดง เช่น เขาร้องไห้ • ประโยคความรวม คือประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียว ๒ ประโยคขึ้นไปไว้ด้วยกัน โดยมีสันธานเชื่อมประโยค ประโยคที่รวมกันนั้นอาจมีเนื้อความคล้อยตามกัน และ แล้ว ........จึงขัดแย้งกัน แต่ ส่วน กว่า...ก็ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ มิฉะนั้น ไม่...ก็เป็นเหตุเป็นผลกัน เพราะ..... เนื่องจาก....จึงเช่น ฉันไปดูหนัง และทานอาหารที่สยามสแควร์ จากนั้นก็กลับบ้าน • ประโยคความซ้อน คือประโยคที่มีประโยคย่อยเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เช่น ฉันเห็นคนถูกรถชนกลางถนนฉันเห็น ประธาน+กริยา คนถูกรถชนกลางถนน กรรม

  10. บทที่ ๒ ภาษาเพื่อการสื่อสาร

  11. ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารความหมายและความสำคัญของการสื่อสาร การสื่อสาร คือการส่งข้อความต่างๆ ที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นหรือการแสดงความรู้สึกจาก ผู้ส่งสารไปสู่ผู้รับสารด้วยวิธีการใด วิธีการหนึ่ง เพื่อให้ผู้รับสารรับรู้ เข้าใจความหมายของข้อความที่สื่อสารและตอบสนองกลับมา จุดประสงค์ของการสื่อสาร ผู้ส่งสาร ๑.แจ้งให้ทราบ ๒.สอน/ให้การศึกษา ๓.สร้างความบันเทิง/จรรโลงใจ ๔.โน้มน้าวใจ ผู้รับสาร ๑.เพื่อทราบ ๒.เพื่อเรียนรู้ ๓.เพื่อความบันเทิง/ความสุข ๔.เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ

  12. องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบของการสื่อสาร • ผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารได้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้เริ่มต้นการติดต่อสื่อสาร ผู้ส่งสารที่ดีจะต้องมีจุดประสงค์ในการส่งสาร มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ต้องการสื่อสารอย่างถ่องแท้ เข้าใจความพร้อมความสามารถของผู้รับสาร และเลือกใช้กลวิธีสื่อสารอย่างเหมาะสม • ผู้รับสาร ผู้รับสาร ได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รับข้อมูลจากผู้ส่งสาร ทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ได้รับ และมีปฏิกริยาตอบสนอง ผู้รับสารที่ดีจะต้องมีจุดประสงค์ในการรับสาร พร้อมรับข่าวสารต่างๆ มีสมาธิ และมีปฏิกริยา ตอบสนอง • สาร • เรื่องราว ตัวข้อมูล สาระสำคัญที่ผู้ส่งสารส่งถึงผู้รับสาร ) มี ๓ ประเภท ๓.๑ สารประเภทข้อเท็จจริง สารที่การเป็นองค์ความรู้ หลักเกณฑ์ หรือข้อสรุปที่ผ่านการพิสูจน์ ๓.๒ สารประเภทข้อคิดเห็นสารที่เป็นความคิดเห็นอันเป็นลักษณะส่วนตัวของผู้ส่งสาร ผู้รับสารอาจเห็นด้วยหรือไม่ก็ มี ๓ ประเภท ๑.ข้อคิดเห็นเชิงประเมินค่า มีการบ่งชี้ว่าอะไรดี ไม่ดี มีประโยชน์หรือมีโทษอย่างไร ๒.ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำ เป็นการบอกกล่าวว่าสิ่งใดควรทำ ควรปฏิบัติ ปฏิบัติขั้นตอนอย่างไร และอาจบอกถึงเหตุผลของการกระทำนั้นๆด้วย ๓.ข้อคิดเห็นเชิงตั้งข้อสังเกต เป็นการชี้ให้เห็นลักษณะที่แฝงอยู่ ซึ่งอาจถูกมองข้ามไป อาจสังเกตพฤติกรรมของบุคคล สัตว์ หรือสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ตามมุมมองของผู้ส่งสาร ๓.๓ สารประเภทแสดงความรู้สึก สารที่แสดงความรู้สึกของมนุษย์ เช่น ดีใจ เสียใจ รันทด ตื่นเต้น

  13. ๔. สื่อ การสื่อสารแต่ละครั้งผู้สื่อสารจะต้องใช้ภาษาทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษา เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร นอกจากใช้ภาเป็นสื่อกลางแล้วยังมีสื่ออีก ๔ ประเภท ที่ช่วยให้การสื่อสารแต่ละครั้งประสบผลสำเร็จ ได้แก่ ๑. สื่อธรรมชาติ ๒. สื่อบุคคล หรือสื่อมนุษย์ ๓. สื่อสิ่งพิมพ์ ๔. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๕. สื่อระคน / สื่อเฉพาะกิจ ๕. ปฏิกิริยาตอบสนอง ปฏิกิริยาตอบสนองหรือผลของการสื่อสาร ได้แก่การที่ผู้รับสารมรปฏิกิริยาตอบสนองต่อผู้ส่งสารโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง การสื่อสารแต่ละครั้งจะประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว

  14. ประเภทของการสื่อสาร ผู้สื่อสารสามารถแบ่งประเภทของการสื่อสารได้ ๕ ประเภท • การสื่อสารภายในตัวบุคคล • การสื่อสารระหว่างบุคคล • การสื่อสารกลุ่มใหญ่ • การสื่อสารในองค์กร • การสื่อสารมวลชน

  15. ปัญหา / อุปสรรคของการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสารแต่ละส่วนล้วนมีความสำคัญต่อกระบวนการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ที่ทำการสื่อสารจึงต้องตระหนักถึงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างที่ทำการสื่อสาร และต้องพยายามลดอุปสรรคที่เกิดขึ้น เช่น ผู้ส่งสาร ขาดความรู้ มีทัศนคติแง่ลบ ความพร้อม วิเคราะห์ผู้รับสารผิดไป ผู้รับสาร ขาดความเข้าใจ คิดว่าตนมีความรู้แล้ว มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร-ตัวสาร สาร เลือกสารไม่เหมาะสม ซับซ้อน ยาก หรือง่ายเกินไป สื่อ ใช้สื่อไม่เหมาะสม ไม่มีประสิทธิภาพ ใช้ภาษาไม่เหมาะสม สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เกิดมลภาวะ

  16. หลักการสื่อสารในชีวิตประจำวันหลักการสื่อสารในชีวิตประจำวัน การพูด การอ่าน การเขียน และ การฟัง เป็นทักษะสำคัญสำหรับการสื่อสารให้สัมฤทธิ์ผล ผู้สื่อสารจึงควรฝึกพูดและสื่อสารให้เหมาะสมกับกาลเทศะ สามารถเลือกใช้ทั้ง วัจนภาษา และ อวัจนภาษา ในการสื่อความหมายให้ชัดเจน เหมาะสมละมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการยอมรับในสังคมยิ่งขึ้น ความสามารถขั้นพื้นฐานที่ผู้สื่อสารควรมีคือ

  17. ทักษะการพูดที่ดี • การพูดสิ่งที่ผู้ฟัง อยากฟัง ในเนื้อหาที่ผู้ฟังอยากฟัง • ควรเลือกภาษา และอารมณ์ในการพูด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และให้เกียรติผู้ฟัง • สามารถเลือกใช้สื่อที่ดีและมีประสิทธิภาพ ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษา • รู้จักกาลเทศะ • ทักษะการฟังที่ดี • ฟังอย่างเต็มใจและตั้งใจ • จับใจความโดยการแยก ประเด็น ทัศนคติ และความรู้สึก • พูดโต้ตอบด้วยสีหน้าและท่าทางที่ดี

  18. บทที่ ๕คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสาระสนเทศ ๑. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสาระสนเทศ ๑.๑ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสาระสนเทศ คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ ทำให้ทำงานไปได้โดยอัตโนมัติด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคำนวณหรือการทำงานต่างๆ ได้เกือบทุกชนิด

  19. ๑.๒ ชนิดของคอมพิวเตอร์ ๑. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ( Soper computer ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว ๒. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ( Mainframe computer ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก ๓. มินิคอมพิวเตอร์ ( Mini computer ) ร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งาน พร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้

  20. ๑.๓ การทำงานของคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยงานให้เร็วไว สะดวก และแม่นยำมากขึ้น มีขั้นตอนที่สำคัญคือ ขั้นตอนที่ ๑การรับข้อมูลและคำสั่ง ขั้นตอนที่ ๒ การประมวลผลหรือคิดคำนวณ ขั้นตอนที่ ๓ การแสดงผลลัพธ์ ขั้นตอนที่ ๔ การเก็บข้อมูล

  21. ๒. ฮาร์ดแวร์คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่สำคัญ คือ ๑. หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรืออาจเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ หรือ ชิป เป็นหัวใจหลักของคอมพิวเตอร์ ๒. หน่วยรับข้อมูลทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้เข้าใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ๓. หน่วยแสดงผล หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ๔. หน่วยเก็บข้อมูลสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ใน โอกาสต่อไป

  22. ๓. หน่วยความจำ (Memory Unit )มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ๓.๑ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) หรื ที่เรียกว่าหน่วยความจำรอม เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ๓.๒ DRAM( ดีแรม ) และ SDRAM( แอสดีแรม ) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว (RAM) ที่ใช้โดยทั่วไปสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเวิร์กสเตชัน ๓.๓ หน่วยความจำเสมือน ( Virtuar Memory ) ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณมีrandom access memory (RAM)ไม่เพียงพอที่จะเรียกใช้โปรแกรมหรือดำเนินการ Windows จะใช้ หน่วยความจำเสมือน เพื่อชดเชยแทน ๓.๔ หน่วยความจำแคช ( Memory Cache ) และ บัส (Bus ) หน่วยความจำอย่างนึง มีความเร็วในการเข้าถึงและการถ่ายโอนข้อมูลที่สูง ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลที่เราต้องการจะใช้งานบ่อยๆ เพื่อเวลาที่CPUต้องการใช้ข้อมูลนั้นๆ จะได้ค้นหาได้เร็ว โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องไปค้นหาจากข้อมูลทั้งหมด ๓.๕ หน่วยข้อมูลสำรอง( Secondary Storage Device ) มีการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อต้องการเก็บบันทึกข้อมูล หรือกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ ไว้ใช้ในอนาคตจะไม่สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักได้ เนื่องจากไม่มีพื้นที่เพียงพอ

  23. ๔.ซอร์ฟแวร์ ( Software) ลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้ เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ • ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ • ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

  24. ๕. การใช้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่างๆดังต่อไปนี้ ๕.๑ คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ๕.๒ คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม ๕.๓ คอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์ ๕.๔ คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ ๕.๕ คอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร ๕.๖ คอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก ๕.๗ คอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์ ๕.๘ คอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และ การสื่อสาร ๕.๙ คอมพิวเตอร์ในงานด้านการอุตสาหกรรม ๕.๑๐ คอมพิวเตอร์ในวงราชการ

  25. ๖. เทคโนโลยีสาระสนเทศกับสังคม กล่าวคือ เทคโนโลยีสาระสนเทศที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีกระทบต่อโลกอาจสร้างได้ทั้งผลดีและผลเสียต่อโลก

  26. บทที่ ๖เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต( Computer Networks and the Internet ) ๑.๑ อินเตอร์เน็ตหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก

  27. มุมมองด้านองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้จะมีการทำงานร่วมกัน ๑.อุปกรณ์ที่มีความสามารถในการคำนวณ หรือ คอมพิวเตอร์ (Computering Devices ) ๒.ลิงค์สื่อสาร ( Communication Link) ๓.เร้าเตอร์ ( Router ) ๔.โปรโตคอล ( Protocol ) ๕.เครือข่ายของเครือข่าย ( Network of Network ) ๑.๒ ส่วนขอบของเครือข่าย ( NetworkEdge ) ส่วนขอบของเครือข่าย เป็นส่วนของโฮสต์ หรือ ระบบปลายทาง (End System) ที่ผู้ใช้ทั่วไปทำงานกับระบบเครือข่ายนั่นเอง โดย บนโฮสต์ จะมีการทำงาน โปรแกรมแอพลิเคชั่น บนระบบเครือข่าย

  28. ๑.๓ การเข้าถึงเครือข่าย และ สื่อกายภาพ (Access Network and Physical Media)การเข้าถึงระบบเครือข่ายสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็น ๓ ลักษณะคือ • การเข้าถึงผ่านที่อยู่อาศัย (Residential Access) • การเข้าถึงผ่านที่ทำงานหรือหน่วยงาน (Institutional Access) • การเข้าถึงแบบไร้สาย (Wireless Access)

  29. ๑.๔ แกนเครือข่าย (Network Core) แกนเครือข่าย คือ การเชื่อมโยงของกลุ่มอุปกรณ์สวิทซ์ หรือเร้าเตอร์ และลิงค์ ที่ทำการเชื่อมโยงระหว่างระบบปลายทาง (End System) โดยจะมี ลักษณะการทำงานแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ๑. เครือข่ายเซอร์กิตสวิทซ์ เครือข่ายแบบเซอร์กิตสวิทซ์ มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ทรัพยากรของระบบเครือข่าย เช่น บัฟเฟอร์ หรือ แบนด์วิทธ์ จะมีการจอง ไว้สำหรับการติดต่อ (Call) ระหว่างระบบปลายทาง

  30. ๒. เครือข่ายแพ็คเก็ตสวิทซ์เครือข่ายแพ็คเก็ตสวิทซ์ มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ การติดต่อสื่อสารไม่มีการสร้างเส้นทางและไม่มีการจองทรัพยากรตลอดเส้นทาง หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าทรัพยากรบนเครือข่ายถูกใช้ร่วมกัน ๓. โครงสร้างของอินเตอร์เน็ต โครงสร้างของอินเตอร์เน็ต จะมีลักษณะสำคัญคือ เป็นเครือข่าย ซ้อน เครือข่าย โดยมีระดับการทำงานของเครือข่ายที่แตกต่างกัน (Hierarchical)

  31. ๑.๕ เวลาหน่วง การสูญหาย และ ทรูพุท(Throughput) บนเครือข่ายแพ็คเก็ตสวิทซ์ • เวลาหน่วง (Delay) เวลาที่แพ็คเก็ตใช้ไปในการเดินทางจากต้นทาง ไปยังปลายทาง • การสูญหาย (Loss) การสูญหายของข้อมูลบนเครือข่ายแพ็คเก็ตสวิทซ์ จะมาจากผลที่คิว (บัฟเฟอร์) เต็มทำให้แพ็คเก็ตที่เข้ามาใหม่ถูกเร้าเตอร์ทิ้ง (Drop) ไป • ทรูพุท(Throughput) การวัดประสิทธิภาพการทำงานบนระบบเครือข่ายนั้น จะใช้ตัววัดที่สำคัญคือ ทรูพุท ซึ่งจะเป็นการบอกถึงอัตราการส่งข้อมูลในขณะนั้น ระหว่าง เครื่องส่งและเครื่องรับ มีความเร็วเท่าใด

  32. ๑.๖ ชั้นโปรโตคอล (Protocol Layer) และโมเดลการบริการ (Service Model) การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่าย จะเกิดขึ้นได้มีขั้นตอนมากมาย เช่นวิธีการรับส่ง หรือการโต้ตอบระหว่างเครื่องส่งและเครื่องรับ

  33. ๑.๗ การโจมตีบนเครือข่าย หัวข้อนี้จะพูดถึงภาพรวมของการโจมตีที่เกิดขึ้นบนระบบเครือข่าย โดยแบ่งเป็น ภาพ ๒ ด้านคือ ๑. การโจมตีโดยแพร่จากมัลแวร์(Malware) เข้าไปที่โฮศต์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ๒. การโจมตีที่เซิฟเวอร์หรือโครงสร้างของระบบเครือข่าย

  34. บทที่ ๗ เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษาความหมายและวิวัฒนาการ ๑.๑ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information Systems – MIS ) เป็นระบบที่รวบรวมสารสนเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กรให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารเพื่อสนับสนุนภาระกิจที่รับผิดชอบโดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์สมัยใหม่เพื่อสร้างสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ กล่าวคือ ระบบสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การ และการจัดการเทคโนโลยี

  35. ระบบสารสนเทศ ( Information System หรือ IS)คือ งานประยุกต์คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทำหน้าที่รับข้อมูล (input) แล้วนำมาประมวลผล (process) ให้เป็นสารสนเทศ (information) ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การใช้งาน ข้อมูล ( Data) คือ ข้อเท็จจริงที่ถูกเก็บข้อมูลมาโดยที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สารสนเทศ ( Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

  36. ๑.๒ วิวัฒนาการของระบบ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจโดยใช้กับงานประจำเฉพาะงาน เช่นบัญชีเงินเดือน และใบเสร็จต่างๆ ในราวปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้ทีกี่วิจารณ์ถึงปัญหาของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการว่าไม่เหมาะสมสำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งต้องกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย และทิศทางขององค์การ ดังนั้นจึงมีการปรับใช้ต่อไป

  37. ๑.๓ ระบบสารสนเทศกับวิทยาการที่เกี่ยวข้อง๑. การจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์จำเป็นต้องอาศัยวิทยาการต่างๆ มาช่วย คือ • วิทยาการคอมพิวเตอร์ • วิทยาการจัดการ • การวิจัยดำเนินการ • วิทยาการด้านพฤติกรรม

  38. ๒. หน้าที่ทางการจัดการ คือ กระบวนการการทำงานและการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒.๑ ความเป็นมาของการจัดการ ๒.๒ องค์ประกอบหน้าที่ทางการจัดการ ๒.๓ ความสำคัญของการจัดการต่อองค์การ ๒.๔ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพและผลิตภาพของการจัดการ

  39. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกระบวนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ จำเป็นต้องอาศัยงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านวัสดุอุปกรณ์สูง เพื่อให้ระบบหรืองานที่สร้างจะบรรลุผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ ประได้ประสิทธิภาพ ๓.๑ กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ คือ การกำหนดระบบสารสนเทศที่ต้องการว่า ต้องการสร้างระบบสารสนเทศอะไร เพราะอะไร ลักษณะและรูปแบบของสารสนเทศที่ต้องการอะไร และระบบเหล่านี้มีโครงสร้างข้อมูล ฐานข้อมูลอะไร และมีความสัมพันธ์อย่างไร

  40. ๓.๒ กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การกำหนดเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ เพื่อพัฒนาสารสนเทศ โดยระบบสารสนเทศที่ต้องการนั้นมีกิจกรรมหรือกระบวนการทำงานใด สรุปคือ กลยุทธ์ระบบการจัดการสารสนเทศ คือ การบริหารจัดการเพื่อให้การจัดการจัดทำระบบสารสนเทศสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยพิจารณาว่า จะทำได้อย่างไรจึงจะเกิดประสิทธิภาพ

  41. บทที่ ๘ การจัดการความรู้ในสถานศึกษา การจัดการความรู้คือ กระบวนการที่มีระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรมและจัดเก็บโดยอาศัยช่องทางต่างๆ ความแตกต่างระหว่างข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ ข้อมูล ( Date) คือ ข้อมูลดิบจากการทำงานประจำวัน ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในระดับปฏิบัติการและข้อมูลดิบเหล่านั้นเป็นสารสนเทศ

  42. วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการจัดการความรู้ คือ การใช้ประโยชน์จากความรู้มาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินการขององค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กร ดังนี้ ๑. เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ๒. เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ๓. เพื่อปรับปรุงเทคนิค กระบวนการ โดยมีจุดหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ แล้วนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์

  43. ประโยชน์ของการจัดการความรู้ได้ ๘ ประการดังนี้ • ป้องกันความสูญหาย • เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ • ความสามารถในการปรับตัวและมีความยืดหยุ่น • ความได้เปรียบในการแข่งขัน • การพัฒนาทรัพย์สิน • การยกระดับผลิตภัณฑ์ • การบริการลูกค้า

  44. ๘. การลงทุนทางทรัพยากรมนุษย์ ระบบ e – Learning คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะ อินเทอร์เนตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล องค์ประกอบของ e – learning • ระบบการจัดการการศึกษา ( Management Education System ) • เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน ( Content ) • สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน หรือ ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ( Commmunication) • วัดผลการเรียน ( Evaluation )

  45. รูปแบบการพัฒนา e – learning ในประเทศไทยสามารถแบ่งได้ ๓ ลักษณะ คือ๑. รูปแบบเอกสารเว็บ ๒. รูปแบบ LMS ๓. รูปแบบอิงมาตรฐานทั้งระบบและเนื้อหา

  46. บทที่ ๙ สารสนเทศกับเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนากับการศึกษา มาจากภาษาลาตินว่า Educare หมายถึง การดึงออกการศึกษามิใช่การใส่เข้าไป Educationมีความหมายดังนี้ • เป็นกระบวนการหรือการกระทำที่ให้ความรู้หรือทักษะระบบการสอนหรือการเรียน • เป็นการได้รับความรู้หรือทักษะผ่านกระบวนการจากโรงเรียน • ความรู้หรือทักษะที่ได้รับหรือพัฒนาโดยกระบวนการเรียนรู้

  47. พระพุทธศาสนาในแง่ของเป้าหมายทางการศึกษาพระพุทธศาสนาในแง่ของเป้าหมายทางการศึกษา • เป็นเป้าหมายเรื่องการดำรงชีพ • เป้าหมายด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ • เป้าหมายพัฒนาสติปัญญา • เป้าหมายในการพัฒนาร่างกาย • เป้าหมายในการพัฒนาด้านศีลธรรม • เป้าหมายในการพัฒนาความรู้สึกซาบซึ้งในศิลปะ • เป้าหมายด้านพัฒนาวิญญาณ • เป้าหมายด้านพัฒนาด้านการเมืองการปกครอง

  48. เทคโนโลยี สารสนเทศมีองค์ประกอบ ๖ ส่วน ด้วยกัน • คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ( Hardware) • โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ ( Software) • ข้อมูล ( Date) • ระบบการสื่อสารข้อมูล ( Date Communication System ) • บุคลากร ( Peopleware) • ระเบียบปฏิบัติและข้อมูล ( Procedure)

  49. สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศหากถือตามปฏิสัมภิทา คือ รู้ความหมายขยายความได้ จับประเด็นสำคัญได้สื่อสารถ่ายทอดเป็นและใช้ความรู้ได้ถูกเรื่องทันเหตุการณ์ จากนั้นนำมา วิเคราะห์สังเคราะห์จนกลายเป็นองค์ความรู้ใหม่และนำเสนอออกไปให้สังคมได้รับรู้ หลักปฏิสัมภิทานั้นพระสารีบุตรได้อธิบายไว้ในสัญเจตนิยวรรค อังคุตรนิกาย จตุกกนิบาต

  50. โอมาเอะ ชาวญี่ปุ่น ได้กล่าวถึง ความก้าวหน้าประเภทต่างๆ ไว้อย่างน่าคิดว่า ใน ภูมิภาคที่หวังจะก้าวหน้าประชาชนต้องรู้อย่างน้อยสามภาษาคือภาษาของตนเอง ภาษาอังกฤษ และภาษาเทคโนโลยี ซึ่งในสมัยนี้คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประกอบกับระบบอินเตอร์เนต เทคโนโลยีสารสนเทศก็คือ วิชาการอย่างหนึ่งที่พระควรศึกษาและคณะสงฆ์ควรส่งเสริมให้พระได้มีโอกาสศึกษาให้มากขึ้นโดยใช้หลักปฏิสัมภิทา คือ รู้จักความหมาย รู้จักหลักการ รู้จักภาษาและสามารถติดต่อได้เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทันและนำไปอธิบาย หลักธรรมของพระพุทธศาสนากับคนร่วมสมัยเข้าจะได้ และพระสงฆ์จะอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

More Related