340 likes | 442 Views
เทคโนโลยีการสื่อสาร. Communication Technology updated 20 December 2554. ความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์.
E N D
เทคโนโลยีการสื่อสาร Communication Technology updated20 December2554
ความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนมักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการติดต่อสื่อสาร เช่น พนักงานขายสินค้าติดต่อทางโทรศัพท์กับลูกค้า ผู้บริหารระดับสูงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประชุม เจรจาธุรกิจทางโทรศัพท์ การโต้ตอบจดหมาย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ต้องการระบบการติดต่อสื่อสารที่ตรงจุดและทันสมัยเพื่อจะช่วยให้งานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
การพิจารณาเลือกระบบสื่อสารการพิจารณาเลือกระบบสื่อสาร 1. ผู้ใช้ระบบสื่อสาร มีจำนวนมากพอ 2. การเข้ากันได้ กับลักษณะงาน 3. ความสมเหตุสมผล ด้านราคา
องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบของการสื่อสาร 1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) 2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) 3. ข้อมูล (Data) 4. สื่อนำข้อมูล (Medium) 5. โปรโตคอล (Protocol)
ลักษณะของการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ลักษณะของการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ Mainframe Minicomputer Client/Server
บทบาทสำคัญของเครือข่ายที่มีต่อหน่วยงานบทบาทสำคัญของเครือข่ายที่มีต่อหน่วยงาน 1. ใช้ข้อมูลร่วมกัน เช่น ฐานข้อมูล 2. ใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ เครื่องพิมพ์ 3. เลือกลงทุนตามขนาดองค์กร ซึ่งแยกลงทุนในแต่ละ node ได้ 4. จัดเป็นสำนักงานอัตโนมัติ เช่น แบ่งปัน หรือ แลกเปลี่ยน หรือ อัตโนมัติ 5. ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น
บทบาทสำคัญของเครือข่ายที่มีต่อหน่วยงานบทบาทสำคัญของเครือข่ายที่มีต่อหน่วยงาน จัดให้มีฐานข้อมูลไว้บริการ เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฐานข้อมูลงานวิจัย ฐานข้อมูลของสินค้า หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อมายังศูนย์บริการข้อมูลนั้น การติดต่อจะผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้การได้ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ประเภทของเครือข่าย 1 . แบ่งตามขนาดทางภูมิศาสตร์ 1.1 เครือข่ายบุคคล (PAN=Personal Area Network) 1.2 เครือข่ายท้องถิ่น (LAN=Local Area Network) 1.3 เครือข่ายระดับเมือง (MAN=Metropolitan Area Network) 1.4 เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN=Wide Area Network) 2. แบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ 2.1 เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer-to-Peer Network) 2.2 เครือข่ายแบบผู้ใช้บริการ/ผู้ให้บริการ (Client-Server Network) 3. แบ่งตามความปลอดภัยของข้อมูล 3.1 อินเทอร์เน็ต (Internet) 3.2 อินทราเน็ต (Intranet) 3.3 เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet)
เครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์เครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์ เป็นเครือข่ายขนาดเล็กครอบคลุมพื้นที่จำกัดมีรัศมีการเชื่อมโยงในบริเวณใกล้ อยู่เขตพื้นที่เดียวกันเช่นอาคารห้องตึกเดียวหรือหลายตึกใกล้กันเป็นต้น LAN – Local Area Network เครือข่ายท้องถิ่น
เครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์เครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์ • MAN – Metropolitan Area Network เครือข่ายระดับเมือง เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อเครือข่าย LAN หลายวงเข้าด้วยกัน ครอบคลุม พื้นที่กว้างกว่า LAN แต่เล็กกว่า WAN โดยครอบคลุมระดับเมือง จังหวัด ซึ่งต้องมี Backbone หรือสายสื่อสารหลักในการเชื่อมต่อเครือข่าย มีระยะห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร
เครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์เครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์ • WAN – Wide Area Network เครือข่ายบริเวณกว้าง เป็นระบบเครือข่ายระดับไกล คือจะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศข้ามทวีปหรือทั่วโลกเช่นอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเครือข่ายWANแต่เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของทั้งหมด
เครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์เครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ Peer-to-PeerNetwork เครือข่ายแบบเท่าเทียม เป็นเครือข่ายที่ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ Server และไม่มีการแบ่งชั้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการจัดการและใช้เครือข่าย ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลหรือจัดการระบบ เพราะแต่ละคนเป็นผู้กำหนดว่าข้อมูลหรือทรัพยากรใดที่ต้องการแชร์กับผู้อื่น
เครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์เครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ Client-Server Network เครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ เกิดขึ้นเมื่อเครือข่ายมีการขยายมากขึ้น จำนวนผู้ใช้มาก การดูแลจัดการระบบ มีความซับซ้อน เครือข่ายจำเป็นต้องมี server ทำหน้าที่จัดการ และให้บริการ ซึ่งควรมีประสิทธิภาพสูง สามารถให้บริการกับผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกัน และทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการใช้บริการและทรัพยากรต่าง ๆ ของผู้ใช้
เครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์เครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ Peer-to-Peer vs. Client-Server Network ความแตกต่างของทั้ง 2 แบบมีประเด็นให้พิจารณาเลือกใช้ดังนี้ 1. จำนวนผู้ใช้ หรือจำนวนคอมพิวเตอร์ 2. การรักษาความปลอดภัย 3. การดูแลและจัดการระบบ - ปริมาณข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่าย - ความต้องการใช้ทรัพยากรจากเครือข่าย - งบประมาณ
ประเภทของ Server ที่ให้บริการ File Server :ให้บริการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บไฟล์ต่าง ๆ ซึ่ง server ประเภทนี้ จะมีฮาร์ดดิสก์ที่สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ Print Server :ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการใช้เครื่องพิมพ์ที่พ่วงต่อเข้ากับเครือข่าย Application Server :ทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับโปรแกรมและข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม Database Server :ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ให้ง่ายต่อการเรียกใช้ serverชนิดนี้จะแตกต่างจากไฟล์ server ตรงที่ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ทางด้าน serverตลอดเวลา ในขณะที่ถ้าเป็น file server แล้ว client ต้องดาวน์โหลดไฟล์ไปทำการเปลี่ยนแปลงที่ทางฝั่ง client แล้วค่อยนำกลับมาเก็บไว้ที่ฝั่ง server
ประเภทของ Server ที่ให้บริการ Web Server :ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบ html ซึ่งไฟล์สามารถเปิดอ่านโดยใช้ web browser ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่จะมีwebsite เพื่อบริการข้อมูลต่อพนักงานหรือผู้ใช้ทั่วไป Mail Server :ทำหน้าที่ให้บริการในการรับส่ง จัดเก็บ และจัดการเกี่ยวกับ e-mail Directory Server :ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรของเครือข่ายพร้อมทั้งควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากรเหล่านั้น เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
ความปลอดภัยของข้อมูลในเครือข่ายความปลอดภัยของข้อมูลในเครือข่าย 1. อินเทอร์เน็ตเครือข่ายสาธารณะที่สามารถเชื่อมต่อเข้าได้จะไม่มีความปลอดภัยของข้อมูลเลย 2. อินทราเน็ตเครือข่ายส่วนบุคคลข้อมูลจะถูกแชร์เฉพาะผู้ที่ใช้อยู่ข้างในเท่านั้นหรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลในอินทราเน็ตได้ถึงแม้ว่าทั้งสองเครือข่ายจะมีการเชื่อมต่อกันอยู่ก็ตาม 3. เอ็กทราเน็ตเครือข่ายแบบกึ่งอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตคือการเข้าใช้เอ็กส์ทราเน็ตมีการควบคุม ส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างซึ่งกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลต้องมีการควบคุม
อินเทอร์เน็ต เครือข่ายสาธารณะ อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก มีคอมพิวเตอร์เป็นล้านเครื่องและผู้ใช้เหล่านี้ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระโดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายสาธารณะซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่าISP (Internet Service Provider) ทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol ปีพ.ศ.2518) ใช้ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย เป็นผลงานของ ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก่อตั้ง ปีพ.ศ.2503
อินทราเน็ต เครือข่ายส่วนบุคคล อินทราเน็ต เป็นเครือข่ายที่องค์กรพัฒนาขึ้นสำหรับพนักงาน เพื่อใช้ภายในองค์กรเท่านั้นการแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์(FW : Firewall) (DMZ = Demilitarized Zone เขตปลอดทหาร)
เอ็กทราเน็ต เครือข่ายระหว่างองค์กร เอ็กทราเน็ต เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ตที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กรดังนั้นมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันการสร้างเอ็กทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยีแต่จำเป็นต้องกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ต้องตกลงกัน VPN = Virtual Private Network
บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail หรือ E-mail) เป็นบริการที่ผู้ใช้บริการสามารถรับส่งข้อความไปยังผู้รับ การถ่ายโอนแฟ้ม (File Transfer Protocol :FTP) เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมระหว่างเครื่องบริการกับเครื่องของผู้ใช้ กลุ่มข่าว (Newsgroup) เป็นบริการที่รวมกลุ่มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อส่งข่าว และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจ การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Remote Login) เป็นการติดต่อขอเข้าไปใช้ทรัพยากร หรือขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล เสมือนได้นั่งอยู่ที่หน้ามอนิเตอร์ของเครื่องนั้น ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? อีกมากมาย ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
โดเมนเนม (Domain Name) ชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่ซ้ำ เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วจะจดชื่อซ้ำไม่ได้ ตรวจสอบได้ที่ godaddy.com ชื่อโดเมนจะเป็นตัวอักษรพิมพ์เล็ก เช่น nation-u.comหรือ thaiall.comหรือใช้ตัวเลขแทนชื่อ เช่น 122.154.225.5 เพราะ DNS Server จะทำหน้าที่แปลชื่อเป็นตัวเลขอัตโนมัติ nation.ac.th ต้องจดกับ http://www.thnic.co.th 856 บาท ต่อปี
การขอจด Domain Name การจดทะเบียนโดเมนต้องจดกับหน่วยงานที่รับผิดชอบชื่อโดเมนไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่แล้ว สามารถตรวจสอบชื่อโดเมนได้จากเว็บไซต์ของผู้ให้บริการอาทิ checkdomain.com หรือ whois.com การขอจดทะเบียนโดเมนมี 2 ประเภท 1. โดเมนที่มีชื่อสากล(.com .edu .int .org .net ) ขอจดโดเมนกับ networksolutions.com หรือ internic.net หรือ godaddy.com 2. โดเมนที่ลงท้ายด้วยรหัสประเทศ ( .thคือ Thailand) ขอจดโดเมนกับthnic.net หรือดูรายชื่อได้ที่ http://www.all.in.th
โดเมนเนม (Domain Name) ตัวอักษรระบุประเทศ thประเทศไทย at ออสเตรีย au ออสเตรเลีย be แบลเยี่ยม caแคนาดา chสวิสเซอร์แลนด์ frฝรั่งเศส ukอังกฤษ us สหรัฐอเมริกา ประเภทองค์กร com หรือ co องค์กรเอกชน eduหรือ ac องค์กรการศึกษา govหรือ go องค์กรของรัฐ mil หรือ mi องค์กรทางทหาร net องค์กรเครือข่าย org หรือ or องค์กรไม่แสวงผลกำไร
การทำงานของอินเทอร์เน็ตการทำงานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) โดยคอมพิวเตอร์จะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องที่เรียกว่าIP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายโดยผู้ใช้มักใช้ browser จะส่งชื่อ domain ไปให้ DNS แปลเป็น ipเพื่อไปร้องขอข้อมูลจาก server ผ่าน HTTP (HypterText Transfer Protocol) IP คือInternet Protocol ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิตประกอบด้วยตัวเลข 4 ส่วนส่วนละ 8 บิตเวลาอ้างอิงจะใช้เลขฐานสิบแล้วขั้นด้วยจุด ตัวเลขแต่ละตัวจะมีตั้งแต่เลข 0 ถึง 255เช่น122.154.225.5 ตรวจ IP เช่น ping www.google.com ก็จะพบ 209.85.175.105
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire) 1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) 1.1 การใช้โมเด็ม (Modem = Modulate Demodulate) เป็นการใช้คู่สายโทรศัพท์เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย ผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ISP) โดยการสมัคร แล้วรับรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่าน พร้อมหมายเลขปลายทางเพื่อเชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 1.2 เอดีเสแอล(ADSL = Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ ที่ทำให้การสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์มีความเร็วสูงกว่า 56Kbps มากปัจจุบันผู้ให้บริการทำให้มีความเร็วได้สูงถึง 9 Mbps สำหรับ download องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยADSL 1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ 2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณของ Analog กับ Digital 3. ผู้ให้บริการADSL อาทิTOT,CAT หรือ 3BB เป็นต้น 4. สายโทรศัพท์พื้นฐาน
ระบบการสื่อสาร 1.3 แบบเช่าสาย (Leased Line) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับและผู้ส่งโดยตรง โดยผ่านการเช่าสายจากผู้ให้บริการ แบบหมุนหมายเลข(Dial-up) เป็นการ ขอเชื่อมต่อเป็นครั้งไป โดยใช้สายโทรศัพท์ ธรรมดาเมื่อใดที่ต้องการเชื่อมต่อผ่าน Modem ก็จะหมุนโทรศัพท์และเสียค่าใช้จ่ายเป็นครั้งไป
ระบบการสื่อสาร ความแตกต่างของทั้งสองแบบ 1. แบบเช่าสายสามารถส่งข้อมูลได้ทุกขณะตามที่ต้องการการส่งข้อมูลสามารถทำได้รวดเร็วกว่า มีค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย 2. แบบหมุนหมายเลขจะต้องขอเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์ เข้ากับตู้ชุมสายเป็นครั้งไป อาจมีสัญญาณรบกวนทำให้การส่งข้อมูลมีความผิดพลาดมีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless) 1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านโทรศัพท์บ้านแบบ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) 2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือโดยตรง (Mobile Internet) 2.1 WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) แทนภาษา HTML (Hypertext markup Language) มีค่าบริการเป็นนาที 2.2 GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงขึ้น มีค่าบริการเป็นปริมาณข้อมูลที่รับส่ง
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless) 2.3 โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) รองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงสามารถรับส่งได้ถึง153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้าน มีผู้ให้บริการคือ CAT 2.4 เทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth Technology) ถูกพัฒนาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สายโดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุปัจจุบันมีการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูทูธเช่นเครื่องพิมพ์ หูฟัง โทรศัพท์เคลื่อนที่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คหรือไอแพด เป็นต้น
อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม 3. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) มีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download) ด้วยความเร็วสูง แต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด (upload)จะทำได้โดยผ่าน โทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการแบบนี้อาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยดาวเทียม 1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก เพื่อรับสัญญาณ (Download) 2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียม เพื่อแปลงสัญญาณเข้าสู่คอมพิวเตอร์ 3. โมเด็มธรรมดาพร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณ (Upload) 4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม อาทิ TOT
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต • 1. ด้านการศึกษา (Education) • 2. ด้านการค้า (Commercial) • 3. ด้านความบันเทิง (Entertainment) • 4. ด้านการสื่อสาร (Communication) • อื่น ๆ • - การทหาร (Military) • - อุตสาหกรรม(Industry) • - การแพทย์ และสุภาพ (Medical & Health) • - การประยุกต์ใช้ในสำนักงาน (Office)
Questions & Answers • ผลกระทบของระบบเครือข่ายเทคโนโลยี และการสื่อสาร