1 / 220

(คู่มือครู)

(คู่มือครู). โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2. คำนำ.

amir-hardin
Download Presentation

(คู่มือครู)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. (คู่มือครู)

  2. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 คำนำ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา เพื่อฝึกให้เยาวชนของชาติเป็นนักคิด นักแก้ปัญหาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้อย่างชาญฉลาด อันจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีและวิชาชีพอีกหลายสาขาเพื่อให้รากแก้วทางปัญญาฝังรากลึกให้กับเยาวชน จึงสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนที่เก่งหรือมีแววความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ โดยการผลิตสื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้นักเรียนได้ฝึกคิดฝึกแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มากกว่าเนื้อหาที่มีอยู่ในหลักสูตรปกติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอขอบคุณคณะทำงานทุกท่านที่ร่วมกันพัฒนาเอกสารเล่มนี้ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องจะสามารถนำไปจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเพื่อเป็นพลังปัญญาที่สำคัญในอนาคตต่อไป (นางพรนิภา ลิมปพยอม) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  3. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 คำ ชี้ แ จ ง 1. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ มี 14 หน่วย แต่ละหน่วย แบ่งเป็น 3 ส่วน 1.1 การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน 1.2 แนวการคิดโจทย์ สถานการณ์ต่าง ๆ 1.3 ใบกิจกรรมสำหรับนักเรียน 2. กิจกรรมที่นำเสนอในเล่มนี้เป็นสถานการณ์ เพื่อเสริมสร้างทักษะในการแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียน 3. ก่อนดำเนินการผู้สอนต้องทบทวนความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนด 4. ผู้สอนต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องชี้แนะ หรือชี้นำวิธีการคิด 5. สถานการณ์ในโปรแกรมจะใช้ความรู้เชิงบูรณาการ เพื่อการฝึกให้ผู้เรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหา สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเข้าถึงปัญหาอย่างแท้จริง 6. ผู้สอนต้องสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนอย่างใกล้ชิดขณะดำเนินกิจกรรม ถ้าสังเกตเห็นว่า ผู้เรียนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จะต้องรีบช่วยเหลือทันที เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดความท้อใจต่อการแก้ไขปัญหา 7. การจัดสถานการณ์อาจจะทำงานเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มหรือตามความเหมาะสม 8. สถานการณ์ที่กำหนดมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเสนอแนวคิดที่ได้คำตอบหรือร่องรอยของความคิด ผู้เรียนบางคนสามารถคิดคำตอบได้ แต่เขียนแสดงแนวคิดไม่ได้ ดังนั้นครูจะต้องให้คำปรึกษากระบวนการเขียนแสดงความคิดออกมา

  4. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 โปรแกรมการเรียนรู้สาระคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 หน่วย 1. จำนวน 2. เศษส่วน 3. ทศนิยม กิจกรรม 1. เลขโดดชวนคิด 2. สนุกกับตัวเลข 1 3. สนุกกับตัวเลข 2 4. สนุกกับตัวเลข 3 5. คนเก่งตอบก่อน 6. ทักษะการคิดคำนวณ 1 7. ทักษะการคิดคำนวณ 2 8. ฉันคือใคร 9. กิจกรรมหมู ๆ 10. กิจกรรมวัยสะรุ่น 1. จัตุรัสมหัศจรรย์ 2. จัตุรัสมหัศจรรย์ 3. จัตุรัสมหัศจรรย์ 4. ปัญหาท้าทาย 5. คุกกี้อยู่กับใคร 6. ปัญหาลูกแก้ว 1. จัตุรัสมหัศจรรย์ 2. จัตุรัสมหัศจรรย์ 3. ทักษะการคิดคำนวณ 4. บอกหน่อยได้ไหมใครสูงเท่าไร เวลา 20 นาที 20 นาที 15 นาที 20 นาที 20 นาที 15 นาที 15 นาที 20 นาที 20 นาที 15 นาที 10 นาที 10 นาที 10 นาที 10 นาที 10 นาที 10 นาที 15 นาที 15 นาที 15 นาที 15 นาที มีต่อ

  5. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 หน่วย 4. ร้อยละ 5. การใช้สมบัติของ จำนวนไปใช้ใน การแก้ไขปัญหา 6. การวัดความยาว 7. การวัดน้ำหนัก กิจกรรม 1. การชมสวนสนุก 2. การประชุมลูกบ้าน 3. ห้องนี้มีใครบ้าง 4. คนเก่งยอดนักพูด 5. รถไฟไทย 1. หนูทำได้ 1 2. หนูทำได้ 2 3. อายุของคุณอา 4. ครอบครัวคนรวย 5. สนุกกับจำนวนที่มีค่ามากที่สุด 6. สนุกกับการหา ห.ร.ม. และ ค.ร.น. 1. สนุกกับการขับรถ 2. วิ่งส่งของ 3. สนุกกับการขายรถยนต์ 4. รถไฟรอดอุโมงค์ 5. ลองหาวิธี 1. น้ำหนักของถัง 2. น้ำหนักของหนูนิดและหนูหน่อย 3. แม่ค้าขายลิ้นจี่ 4. ลูกคุ้มแสนกล 5. น้ำหนักมหาสนุก เวลา 15 นาที 10 นาที 10 นาที 10 นาที 15 นาที 20 นาที 20 นาที 20 นาที 20 นาที 20 นาที 20 นาที 15 นาที 15 นาที 10 นาที 10 นาที 10 นาที 10 นาที 10 นาที 10 นาที 15 นาที 15 นาที มีต่อ

  6. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 หน่วย 8. การตวง 9. เงิน 10. เวลา 11. การหาพื้นที่และทิศ 12. ปริมาตรและความจุ 13. ปริมาตรและความจุ 14. ขนาดของมุม กิจกรรม 1. สนุกกับน้ำ 2. ฉลาดใช้ 3. มาตวงน้ำกันเถอะ 4. น้ำในกรวย 1. คนมีเงิน 2. เพลงเพลินเงินทอง 3. ออมสินออมทรัพย์ 4. เธอซื้อฉันขาย 1. นาฬิกาพิศวง 2. ไข่ลวก 3. วันนัดพบ ท่องเที่ยวไปกับลุงชม 1/1 ท่องเที่ยวไปกับลุงชม 1/2 1. คาดคะเนถูกไหม 1/1 2. คาดคะเนถูกไหม 1/2 3. บอกลุงหน่อย 4. ลวดแปลงร่าง 1. โปร่งใสใส่สี 2. ถังน้ำสุดสวย 1. บอกหน่อยได้ไหม 2. รวมสองมุมต้องเป็นหนึ่ง 3. ประหยัดเชือกเลือกจุดใด เวลา 20 นาที 20 นาที 30 นาที 20 นาที 30 นาที 30 นาที 30 นาที 30 นาที 40 นาที 40 นาที 40 นาที 30 นาที 30 นาที 30 นาที 30 นาที 30 นาที 40 นาที 60 นาที 60 นาที 40 นาที 40 นาที 40 นาที

  7. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 บทนำ โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับช่วงชั้นที่ 2 นี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ครูใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่เก่งหรือมีแววความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ ศักยภาพทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์ในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการคิด การสื่อความหมาย การสรุปแนวคิดทางคณิตศาสตร์และใช้แนวคิดเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ (ดร.สมวงษ์ แปลงประสพโชค และคณะ : 2548) จุดเน้นของการเรียนการสอนคือการพัฒนาให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการทางคณิตศาสตร์ มีทักษะพื้นฐานที่เพียงพอในการนำความรู้ความเข้าใจในหลักการทางคณิตศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆที่ต้องเผชิญซึ่งจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ ผู้เรียนต้องได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆด้วยตัวของผู้เรียนเอง เช่นการ สืบค้น การคาดเดา และตรวจสอบข้อคาดเดา การให้เหตุผลในกิจกรรมการแก้ปัญหาที่มีการพูด แลกเปลี่ยนความคิด ได้อภิปรายและชี้แจงเหตุผลกันเพราะนอกจากจะพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาแล้วยังช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการสื่อสารแนวคิดทางคณิตศาสตร์ สามารถทำงานและแก้ปัญหาร่วมกับผู้อื่นได้ มีต่อ

  8. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 การส่งเสริมผู้เรียนที่เก่ง หรือมีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ สถานศึกษาอาจจัดโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษที่ตอบสนองความสนใจและความสามารถเป็นรายบุคคล สามารถทำเป็นงานเดี่ยวหรืองานกลุ่มได้ ให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้เกินกว่าหลักสูตร ผู้เรียนที่เก่งหรือมีความสามารถพิเศษมักจะเรียนรู้ได้เร็ว เพราะฉะนั้น ครูจึงต้องคาดคะเนระยะเวลาในการสอนให้พอเหมาะเพื่อมิให้นักเรียนเบื่อหน่าย ตลอดจนใช้วิธีสอนแบบต่างๆที่จะช่วยให้นักเรียนสนใจ การจัดการศึกษา ส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ มีศักยภาพสูง สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล มีความคิดสร้างสรรค์ องค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะ ทัศนคติของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ แก้ปัญหาอย่างมี ความรับผิดชอบ มีมนุษยธรรม การสังเกตศักยภาพเด็ก ประเมินและรายงานผลศักยภาพ การจัดกลุ่มเด็ก การประเมินทบทวนแผนการเรียนประจำปี การจัดแผนการเรียนพิเศษ การปฏิบัติการตามแผนการเรียนพิเศษ 1. 2. 3. 4. การเรียนแบบเร่งรัด ขยาย ประสบการณ์ เพิ่มพูนความรู้ ฯลฯ สื่อการเรียนหลากหลาย พัฒนาวามเป็นผู้นำ การค้าคว้า และศึกษาเนื้อหาเชิงลึก มีต่อ

  9. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 สิ่งที่ต้องดำเนินการในการส่งเสริมผู้เรียนที่เก่งหรือมีความสามารถพิเศษอันดับแรกคือการสำรวจหาผู้เรียนที่มีแววความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ*หมายถึงผู้เรียนที่แสดงออกซึ่งความสามารถอันโดดเด่นอย่างเป็นที่ประจักษ์ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านเมื่อเปรียบเทียบกับผู้เรียนอื่นที่มีอายุ สภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์เดียวกัน ซึ่งอยู่ในสถานศึกษาตามมาตรา 4 วรรคสี่ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ อาจจัดแบ่งเป็น 3 ระดับคือ 1. อัจฉริยะ (Genius)คือผู้ที่มีความสามารถสูงโดดเด่น และมีความเป็นเลิศพร้อมกันหลายๆด้าน หรือมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งอย่างน่าพิศวง เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) 2. ผู้ที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน (Talented child )คือผู้ที่มีความสามารถสูงและโดเด่นทางด้านใดด้านหนึ่งเช่น คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา ดนตรี 3. ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าเด็กปกติ (The Very Able Child)หรือที่เราเรียกกันว่าเด็กเก่ง สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์จะมีลักษณะโดดเด่นทางการคำนวณ การคิดทางคณิตศาสตร์ได้อย่างพลิกแพลงสร้างสรรค์ มีความถนัดทางคณิตศาสตร์ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านดังตัวบ่งชี้แววนักคณิตศาสตร์ในภาคผนวก การจัดส่งเสริมผู้เรียนที่เก่งหรือมีแววความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ต้องจัดกิจกรมหลากหลายรูปแบบ ให้สามารถพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง มีองค์ประกอบด้านการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดจินตนาการ และคิดสร้างสรรค์ด้วยจึงจะสามารถส่งเสริมการพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ได้อย่างเต็มที่ * อ้างอิงจากร่างกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ พ.ศ. ……

  10. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 สารบัญ เรื่อง บทนำ หน่วยที่ 1 จำนวนนับ หน่วยที่ 2 เศษส่วน หน่วยที่ 3 ทศนิยม หน่วยที่ 4 ร้อยละ หน่วยที่ 5 การใช้สมบัติของจำนวนไปใช้ในการแก้ปัญหา หน่วยที่ 6 การวัดความยาว หน่วยที่ 7 การวัดน้ำหนัก หน่วยที่ 8 การตวง หน่วยที่ 9 เงิน หน่วยที่ 10 เวลา หน่วยที่ 11 การหาพื้นที่และทิศ หน่วยที่ 12 ปริมาตรและความจุ หน่วยที่ 13 ปริมาตรและความจุ หน่วยที่ 14 ขนาดของมุม ภาคผนวก หน้า 1 23 37 47 65 87 101 115 127 145 157 169 181 193 205

  11. 1 เวลา 180 นาที หน่วยที่ 1 จำนวนนับ =2 = 1 วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกการใช้ทักษะในการคิดคำนวณ เพื่อฝึกให้รู้จักคิดวางแผนในการแก้ปัญหา เพื่อฝึกคิดวิเคราะห์ปัญหาจากสถานการณ์ สื่อ/อุปกรณ์ ใบกิจกรรม การวัดประเมินผล 1. ตรวจผลงาน 2. ตรวจกระบวนการวางแผน/การแก้ปัญหา 3. เวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหาได้สำเร็จ

  12. กิจกรรมที่ 1 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 2 เลขโดดชวนคิด เวลา 20 นาที จุดประสงค์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหาการบวกจำนวน ความรู้พื้นฐาน การบวก การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนวางแผนแก้ปัญหา คำนวณหาคำตอบ และเขียนแสดง วิธีการคิดเพื่อหาคำตอบจากโจทย์ที่กำหนดให้ ดังนี้ การบวกข้างล่างนี้ ตัวเลขใน บางตัวหายไป ให้เติมตัวเลขใน ให้ผลบวกที่ได้ถูกต้อง 6 3 7 2 5 8 0 4 2 ตัวอักษรแต่ละตัวเป็นเลขโดดในค่าประจำหลักที่ต่างกัน จงหาค่าของ A, B และ C ที่ทำให้คำตอบเป็นจริง A B A C A A B 2. 1. - +

  13. กิจกรรมที่ 2 เวลา 20 นาที โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 3 สนุกกับตัวเลข จุดประสงค์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหาการคูณจำนวน ความรู้พื้นฐาน การคูณจำนวน การแยกตัวประกอบ การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนวางแผนแก้ปัญหา คำนวณหาคำตอบ และเขียนแสดงวิธี การคิดเพื่อหาคำตอบจากโจทย์ที่กำหนดให้ ดังนี้ 1. 2. ให้ M เป็นเลขโดดในค่าประจำหลัก จงหาค่าของ M M 5 8 M 2 9 0 5 ให้ A และ H แทนเลขโดดในค่าประจำหลัก AH คือจำนวนใด A H H A 8 8 2 7 8 4 8 7 2 2 x x

  14. กิจกรรมที่ 3 เวลา 15 นาที โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 4 คนเก่งตอบก่อน จุดประสงค์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหาการบวกจำนวน ความรู้พื้นฐาน การบวก การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนเติมตัวเลข 2, 3, 5, 6, 8 และ 9 ลงในช่อง ข้างล่างนี้ ให้ผลบวก มีค่ามากที่สุด และมีค่าน้อยที่สุด จงหาว่าผลบวกที่มีค่ามากที่สุด ต่างจากผลบวกที่มีค่าน้อยที่สุดอยู่เท่าไร + +

  15. กิจกรรมที่ 4 เวลา 20 นาที โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 5 ทักษะการคิดคำนวณ 1 จุดประสงค์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหาการหาร ความรู้พื้นฐาน การหาร การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนเติมตัวเลขแทนตัวอักษรที่กำหนดให้ (ตัวอักษรที่ เหมือนกัน หมายถึง ตัวเลขเดียวกัน) พร้อมทั้งแสดงวิธีคิดหา คำตอบ R P O MN S T O N M N . P R O R Q Q . R O N . R O N จากสถานการณ์จงหา

  16. กิจกรรมที่ 5 เวลา 20 นาที โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 6 ทักษะการคิดคำนวณ 2 จุดประสงค์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหาการหาร ความรู้พื้นฐาน การหาร การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนศึกษาสถานการณ์ แล้วคิดคำตอบ จงเติมตัวเลขใน   2 12  1   2 2  2  จากสถานการณ์นี้ 1   12 = 2

  17. กิจกรรมที่ 6 เวลา 15 นาที โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 7 สนุกกับตัวเลข จุดประสงค์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหาการบวก ความรู้พื้นฐาน การบวก การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนนำตัวเลข 1 - 6 ใส่ลงใน ตามภาพในรูป สามเหลี่ยมกล ซึ่งมีรูปวงกลมเรียงกันอยู่ดังภาพ จงนำตัวเลขตั้งแต่ 1 - 6 ใส่ลงในรูปวงกลมเหล่านี้ แล้วทำให้ผลบวกในรูปวงกลมในแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ 10 , 11 และ 12

  18. กิจกรรมที่ 7 เวลา 15 นาที โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 8 สนุกกับตัวเลข จุดประสงค์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหาการคูณ ความรู้พื้นฐาน การคูณ การดำเนินกิจกรรม กำหนดเลขโดด 5 , 6 , 7 , 8 และ 9 ใส่เลขโดดลงใน ข้างล่าง โดยเลขโดดแต่ละตัวที่นำมาเติมต้องไม่ซ้ำกัน จงหาผลคูณที่มีค่ามากที่สุด x

  19. กิจกรรมที่ 8 เวลา 20 นาที โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 9 ฉันคือใคร จุดประสงค์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่องจำนวน ความรู้พื้นฐาน ค่าประจำหลัก, การหารจำนวน การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ กำหนดจำนวน A เป็นจำนวนสี่หลักมีเงื่อนไขดังนี้ 1) 2) 3) 4) เมื่อหารด้วย 2 และ 5 แล้วเหลือเศษ 1 ผลบวกของเลขโดดในหลักสิบและหลักหน่วยหารด้วย 9 ลงตัว จำนวนในหลักพันมีค่าเป็น 50 เท่าของจำนวนในหลักสิบ จำนวนในหลักร้อยมากกว่าจำนวนในหลักสิบอยู่ 20 A คือจำนวนใด?

  20. กิจกรรมที่ 9 เวลา 20 นาที โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 10 กิจกรรมหมูๆ จุดประสงค์ ฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การบวกและการคูณ ความรู้พื้นฐาน สมการ, การบวก, การคูณ การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนศึกษาสถานการณ์ แล้วคิดหาคำตอบ ลุงใจดีเลี้ยงไก่ และหมูไว้ขาย เขานับจำนวนไก่และหมูได้ทั้งหมด 18 ตัว แต่เมื่อนับขาไก่ และขาหมูรวมกันได้ 58 ขา ลุงใจดีเลี้ยงไก่และหมูอย่างละกี่ตัว?

  21. กิจกรรมที่ 10 เวลา 15 นาที โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 11 กิจกรรมวัยสะรุ่น จุดประสงค์ ฝึกคิดวิเคราะห์ปัญหาจากสถานการณ์ การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนศึกษาสถานการณ์ แล้วคิดหาคำตอบ โสภี มีอายุเป็นสองเท่าของธาดา เมื่อนำอายุของทั้งสองคนมารวมกันจะได้ 42 ปี จากสถานการณ์ โสภีและธาดาอายุกี่ปี

  22. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 12 แนวคิดกิจกรรมหน่วยที่ 1 : จำนวนนับ

  23. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 13 แนวคิด เลขโดดชวนคิด กิจกรรมที่ 1 ดังนั้น D = 7 ดังนั้น C = 9 ดังนั้น B = 6 A = 2 ตอบ 24 A + B + C + D = 2 + 6 + 9 + 7 = 24 แนวคิดที่ 1 จำนวน 3 หลัก ลบด้วยจำนวน 2 หลัก ผลลัพธ์เป็นจำนวน 2 หลัก สังเกตหลักสิบ B - C = A แสดงว่า B ต้องขอยืมจากหลักร้อยมา 100 และคำตอบเป็นเลขสองหลัก แสดงว่า A = 1 ทำให้ C = 9 จะได้ว่า ดังนั้น A = 1 , B = 0 และ C = 9 ตอบ A = 1 , B = 0 และ C = 9 จำนวน 3 หลักลบด้วยจำนวน 2 หลัก ผลลัพธ์เป็นจำนวน 2 หลัก แสดงว่าหลักร้อยเป็น 1 แนวคิดที่ 2

  24. ตอบ ตอบ โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 14 แนวคิด สนุกกับตัวเลข กิจกรรมที่ 2 เริ่มคิดจาก 5 x M แล้วลงท้ายด้วย 5 แสดงว่า M มีค่าเป็น 1 หรือ 3 หรือ 7 หรือ 9 นำแทนค่า ให้ M = 1 ให้ M = 3 ให้ M = 7 ให้ M = 9 1 พบว่า M = 3 ถูกต้อง เริ่มพิจารณาจากผลคูณแถวแรก คือ 882 แสดงว่า A x H คำตอบลงท้ายด้วย 2 ดังนั้น ค่าที่เป็นไปได้ของ A และ H คือ ถ้า A = 2 แล้ว H = 6 ถ้า A = 3 แล้ว H = 4 ถ้า A = 4 แล้ว H = 8 ถ้า A = 6 แล้ว H = 7 ถ้า A = 8 แล้ว H = 9 แทนค่าในโจทย์ 26 x 62 = 1612 34 x 43 = 1462 48 x 84 = 4032 67 x 76 = 5092 89 x 98 = 8722 จะได้ว่า A = 8 และ H = 9 A = 8 และ H = 9 2

  25. แนวคิด กิจกรรมที่ 3 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 15 คนเก่งตอบก่อน ในการบวกจำนวนสองจำนวน ซึ่งแต่ละจำนวนประกอบด้วยเลขสามหลัก ผลบวกจะมีค่ามากที่สุด เมื่อตัวเลขในหลักร้อยของตัวตั้ง และตัวบวกมีค่ามากกว่าตัวเลขในหลักสิบของตัวตั้งและตัวบวก สุดท้ายตัวเลขในหลักสิบของตัวตั้ง และตัวบวกจะต้องมีค่ามากกว่าตัวเลขในหลักหน่วยของตัวตั้ง และตัวบวก เนื่องจากตัวเลขที่ให้เลือกมี 2 , 3 , 5 , 6 , 8 , 9 ดังนั้น เลือก 8 และ 9 สำหรับหลักร้อย เลือก 5 และ 6 สำหรับหลักสิบ เลือก 2 และ 3 สำหรับหลักหน่วย จะได้รูปแบบการบวกที่มีค่ามากที่สุด ดังนี้ 1 ในทำนองเดียวกัน ถ้าต้องการให้ผลบวกมีค่าน้อยที่สุด จะต้องเลือกตัวเลขในหลักร้อย มีค่าน้อยกว่าตัวเลขในหลักสิบ และตัวเลขในหลักสิบมีค่าน้อยกว่าตัวเลขในหลักหน่วย ดังนั้น เลือก 2 และ 3 สำหรับหลักร้อย เลือก 5 และ 6 สำหรับหลักสิบ เลือก 8 และ 9 สำหรับหลักหน่วย จะได้รูปแบบการบวกที่มีค่าน้อยที่สุด ดังนี้ 2 จะได้ผลต่างของผลบวกที่มีค่ามากที่สุดกับผลบวกที่มีค่าน้อยที่สุด เท่ากับ 1815 - 627 = 1188 ตอบผลบวกค่ามากที่สุด 1815 ผลบวกค่าน้อยที่สุด 627 ผลต่าง 1188

  26. แนวคิด กิจกรรมที่ 4 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 16 ทักษะการคิดคำนวณ 1 แนวคิด ตัว R ต้องมีค่าเป็น 1 เพราะ ตัวหารและผลหารในครั้งแรกมีค่าเท่ากัน คือ MN ตัว Q ในผลหารตอนที่ 2 ต้องมีค่าเป็น 0 (ศูนย์) เพราะเมื่อลบกับตัวตั้ง RO ยังคงได้ RO ตามเดิม ตัวหาร MN , N เป็น 0 (ศูนย์) ไม่ได้ เพราะว่า Q เป็น 0 (ศูนย์) ไปแล้ว และ M ต้องไม่ใช่ 1 เพราะ R เป็น 1 ไปแล้ว ดังนั้น MN ต้องเป็นจำนวนสองหลักที่คูณกับ P ซึ่งเป็นเลขโดด แล้วมีค่าเป็น 100 ซึ่งมีอยู่เพียงจำนวนเดียวเท่านั้น คือ นั่นคือ MN มีค่าเป็น 25 หรือ M เป็น 2 , N เป็น 5 , P เป็น 4 พิจารณาผลลัพธ์ที่ได้จากการลบครั้งแรก 25 ลบออกจาก 36 จึงจะได้ ผลลัพธ์เป็น 11 นั่นคือ ST ต้องเป็น 36 หรือ S เป็น 3 , T เป็น 6 เหลือ O อีก 1 ตัว และ O นี้จะต้องเป็น 7 หรือ 8 หรือ 9 ตัวใดตัวหนึ่ง และจำนวนซึ่งคูณกับ 25 แล้วได้ผลลัพธ์ลงท้ายด้วย 5 คือ 7 กับ 9 ดังนั้น “O” จึงไม่ใช่ 8 ลองนำ 7 และ 9 แทนค่าดูทีละครั้ง ปรากฏว่า “O” ต้องเป็น 7 เท่านั้น นั่นคือ ตัวตั้ง ตัวหาร และผลลัพธ์ของโจทย์ข้อนี้ เป็นดังนี้

  27. แนวคิด กิจกรรมที่ 5 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 17 ทักษะการคิดคำนวณ 2 วิธีคิด เลขโดดที่หายไป ต้องไม่ใช่ 1 และ 2 เพราะโจทย์กำหนด 1 , 2 มาให้แล้ว ดังนั้น เลขโดดที่จะนำมาเติม จึงมี 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 , 9 และ 0 เติมเลขโดด 0 ไม่ได้ ทั้งที่ผลลัพธ์และตัวหาร เพราะถ้าเติมที่ผลลัพธ์ จะได้ 02 ซึ่งไม่เป็นจำนวนที่มีสองหลัก หรือถ้าเติมที่ตัวหาร ผลหารครั้งแรกก็จะไม่ใช่ **2 ต้องเติมเลขโดดท้ายตัวหาร 1 ตัว และหน้าผลลัพธ์ 1 ตัว และเมื่อนำจำนวนทั้งสองมาคูณกัน จะต้องลงท้ายด้วย 2 (เพราะผลหารครั้งแรกกำหนดให้เป็น **2) จำนวนที่คูณกันแล้วลงท้ายด้วย 2 มี 2 คู่ คือ 3 x 4 และ 6 x 7 ลองเติม 3 ที่ตัวหาร และ 4 ที่ผลลัพธ์ จะได้ ดังนั้น A จะต้องเป็น 5 เพราะเมื่อถูกกระจายไป 10 หน่วย จะเหลือ 4 ซึ่งลบกับผลหารได้พอดี และเมื่อเวลา 10 หน่วย รวมกัน 1 จะได้ 11 ลบออก 9 จะเหลือ 2 ตามที่โจทย์กำหนด B กับ C จึงต้องเป็น 4 กับ 6 เพราะว่า 123 หารจำนวนที่เหลือได้ 2 ครั้ง พอดี

  28. แนวคิด กิจกรรมที่ 6 3 4 5 2 1 1 5 6 2 6 6 5 3 4 3 1 2 4 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 18 สนุกกับตัวเลข เฉลย ผลรวมแต่ละแถวเป็น 10 แนวคิด นำตัวเลขจาก 1 - 6 มาจัด เป็น 3 ชุด แต่ละชุดมีผลบวก เป็น 10 ได้แก่ 1+3+6 = 10 2+3+5 = 10 1+4+5 = 10 นำตัวเลขในแต่ละชุดที่ใช้เลขโดดเพียงครั้งเดียว คือ 2 , 4 , 6 ไปใส่ในวงกลมที่อยู่ตรงกลาง นำตัวเลขที่เหลือในแต่ละชุด ใส่ในวงกลมที่เหลือ เฉลย ผลรวมแต่ละแถวเป็น 11 เฉลย ผลรวมแต่ละแถวเป็น 12 แนวคิด จัดตัวเลข 1 - 6 เป็น 3 ชุด ที่มีผลบวกเป็น 11 1 + 3 + 6 2 + 3 + 6 2 + 4 + 5 ดำเนินการเช่นเดียวกับข้างต้น แนวคิด จัดตัวเลข 1 - 6 เป็น 3 ชุด ที่มีผลบวกเป็น 12 1 + 5 + 6 2 + 4 + 6 3 + 4 + 5 ดำเนินการเช่นเดียวกับข้างต้น หมายเหตุ การใส่ตัวเลขในวงกลม มีได้หลายแบบ ในที่นี้เป็นวิธีการจัดเรียงแบบหนึ่งเท่านั้น

  29. แนวคิด กิจกรรมที่ 7 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 19 สนุกกับตัวเลข ข้อมูลพื้นฐานต้องรู้ว่า ผลคูณของเลขโดดจะมีค่ามากที่สุด เมื่อ 8 x 9 = 72 ลองคิด หรือ หรือ หรือ หรือ 975 x 86 = 83,850 976 x 85 = 82,960 965 x 87 = 83,960 876 x 95 = 83,220 875 x 96 = 84,000 ซึ่งมีค่ามากที่สุด คำตอบ คือ 875 x 96

  30. แนวคิด กิจกรรมที่ 8 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 20 ฉันคือใคร สังเกตว่าผลบวกของจำนวนในหลักสิบ และหลักหน่วย หารด้วย 9 ลงตัว จะต้องเป็นผลคูณ ของ 9 จะได้ 09 , 18 , 27 , 36 , 45 , 54 , 63 , 72 , 81 , 90 สังเกตว่าเลขหลักสิบและหลักหน่วย ที่หารด้วย 2 และ 5 จะเหลือเศษ 1 มีจำนวนเดียวคือ 81 ดังนั้น หลักหน่วยต้องเป็นเลข 1 หลัก กับต้องเป็นเลข 8 สังเกตว่าจำนวนในหลักร้อย มากกว่าจำนวนในหลักสิบ อยู่ 20 เมื่อหลักสิบเป็น 80 หลักร้อยต้องเป็น 100 ดังนั้น หลักร้อยต้องเป็นเลข 1 สังเกตว่าจำนวนในหลักพัน มีค่าเป็น 50 เท่า ของจำนวนในหลักสิบเมื่อหลักสิบเป็น 80 ดังนั้น 50 เท่า คือ ดังนั้น 80 x 50 = 4,000 หลักพันต้องเป็น เลข 4 จะได้ A = 4181 ตอบ 4181

  31. แนวคิด กิจกรรมที่ 9 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 21 กิจกรรมหมูๆ ลุงใจดี เลี้ยงหมู 11 ตัว เลี้ยงไก่ 7 ตัว แนวคิด สร้างตารางแสดงจำนวนหมู จำนวนไก่ และจำนวน n เพื่อหาคำตอบ โจทย์กำหนดให้เลี้ยงไก่ และหมู ดังนั้น ต้องมีสัตว์ทั้ง 2 ชนิด มีหมูอย่างน้อยที่สุด 1 ตัว มีหมูได้มากที่สุด 17 ตัว และมีไก่อย่างน้อยที่สุด 1 ตัว มีไก่ได้มากที่สุด 17 ตัว สร้างตาราง เพื่อหาคำตอบได้ดังนี้ รวมจำนวน n ของสัตว์ทั้งสองชนิด 38 40 42 44 46 48 50 52 54 56 58 60 62 64 66 68 70 จำนวนหมู (ตัว) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 จำนวนหมู(n) 4 8 12 16 20 24 28 32 36 40 44 48 52 56 60 64 68 จำนวนไก่(n) 34 32 30 28 26 24 22 20 18 16 14 12 10 8 6 4 2 จำนวนไก่(ตัว) 17 16 15 14 13 12 11 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1

  32. แนวคิด กิจกรรมที่ 10 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 22 กิจกรรมวัยสะรุ่น แนวคิดสร้างตารางแสดงอายุของโสภี และธาดา ตาม เงื่อนไขและอายุรวมของทั้งสองคน อายุของธาดา (ปี) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 อายุของโสภี (ปี) 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 22 24 26 28 อายุรวมกันของทั้งสอง 3 6 9 12 15 18 21 24 27 30 33 36 39 42*

  33. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 23 เวลา 1 ชั่วโมง หน่วยที่ 2 เศษส่วน 1 2 1 วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกการใช้ทักษะในการคิดคำนวณ เพื่อฝึกให้รู้จักคิดวางแผนในการแก้ปัญหา เพื่อฝึกคิดวิเคราะห์ปัญหาจากสถานการณ์ สื่อ/อุปกรณ์ ใบกิจกรรม การวัดประเมินผล 1. ตรวจผลงาน 2. ตรวจกระบวนการวางแผน/การแก้ปัญหา 3. เวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหาได้สำเร็จ

  34. กิจกรรมที่ 1 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 24 “จัตุรัสมหัศจรรย์” เวลา 10 นาที การดำเนินกิจกรรม นำตัวเลข เติมลงในตาราง โดยให้ผลรวมของแนวนอน แนวตั้ง และแนวทแยงมุม มีผลลัพธ์ เป็น

  35. กิจกรรมที่ 2 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 25 “จัตุรัสมหัศจรรย์” เวลา 10 นาที จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการใช้ทักษะในการคิดคำนวณ เพื่อฝึกให้รู้จักวางแผนในการแก้ปัญหา สื่อ/อุปกรณ์ ตาราง 5 x 5 จำนวน 1 แผ่น บัตรเลข การดำเนินกิจกรรม นำตัวเลข เติมในตาราง โดยให้ผลรวมของแนวตั้ง แนวนอน และแนวทแยงมุมมีผลลัพธ์ เป็น 13

  36. กิจกรรมที่ 3 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 26 “จัตุรัสมหัศจรรย์” เวลา 10 นาที การดำเนินกิจกรรม นำตัวเลข เติมลงในตาราง ให้ผลบวกในแนวนอน แนวตั้ง และแนวทแยงมุมเป็น 14

  37. กิจกรรมที่ 4 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 27 ปัญหาท้าทาย เวลา 10 นาที การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนคิดหาคำตอบ จากสถานการณ์ที่กำหนดให้และแสดง วิธีการคิดในการหาคำตอบ ของ กี่ครั้ง จึงจะเท่ากับ 24

  38. กิจกรรมที่ 5 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 28 คุ๊กกี้อยู่กับใคร เวลา 10 นาที การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนศึกษาสถานการณ์ แล้วคิดคำตอบ เด็ก 3 คนคือ ทวี ญานี และสุดา แบ่งขนมคุกกี้กัน โดยทวีหยิบ ไป ของขนมคุกกี้ทั้งหมด และญานีหยิบไป ของ ขนมคุ๊กกี้ทั้งหมด ใครหยิบขนมคุ๊กกี้ไปมากที่สุด

  39. กิจกรรมที่ 6 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 29 ปัญหาลูกแก้ว เวลา 10 นาที การดำเนินกิจกรรม ให้นักเรียนศึกษาสถานการณ์ แล้วคิดคำตอบ ปัญญา มีลูกแก้วมากกว่าเรณู 12 ลูก ของจำนวน ลูกแก้วของเรณูเท่ากับ ของจำนวนลูกแก้วของปัญญา จงหาว่าแต่ละคนมีลูกแก้วคนละกี่ลูก

  40. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 30 แนวคิดกิจกรรมหน่วยที่ 2 : เ ศ ษ ส่ ว น

  41. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 31 แนวคิด จัตุรัสมหัศจรรย์ กิจกรรมที่ 1 ใส่ตัวเลขได้หลายแบบ เช่น 1 3 2 1 2 4 4 3 แนวคิด นำจำนวนที่อยู่ตรงกลาง คือ ใส่ตรงช่องกลาง จับคู่จำนวนที่มีผลบวกเป็น 5 ใส่ในช่องตรงกันข้าม

  42. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 32 แนวคิด จัตุรัสมหัศจรรย์ กิจกรรมที่ 2 3 1 4 2 5 แนวคิด ใช้หลักการเช่นเดียวกับกิจกรรมจัตุรัสมหัศจรรย์ กิจกรรมที่ 1

  43. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 33 แนวคิด จัตุรัสมหัศจรรย์ กิจกรรมที่ 3 8 1 3 6 5 4 7 2 แนวคิด เรียงจำนวนที่กำหนดให้ดังนี้ 1 2 3 4 5 6 7 8 สลับตัวเลขในตารางข้างล่าง จะได้คำตอบตามต้องการ

  44. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 34 แนวคิด ปัญหาท้าทาย กิจกรรมที่ 4 แนวคิด ของ กี่ครั้งจึงจะเท่ากับ 24 มีความหมายเดียวกับ ของ เป็นกี่เท่าของ 24 ของ = = ให้ ของ a ครั้ง เท่ากับ 24 ดังนั้น a = 24 x a = 16 ดังนั้น ของ 16 ครั้ง จึงจะเท่ากับ 24 X a = 24 X a = 24

  45. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 35 แนวคิด คุ๊กกี้อยู่กับใคร กิจกรรมที่ 5 ญานี หยิบคุ๊กกี้ไปมากที่สุด แนวคิด อาจเขียนแผนภาพแสดงวิธีคิดหาคำตอบได้ดังนี้ ทวี ญานี สุดา

  46. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 36 แนวคิด ปัญหาลูกแก้ว กิจกรรมที่ 6 แนวคิด ให้เรณูมีลูกแก้ว a ลูก ปัญญามีลูกแก้วมากกว่าเอิ๊ก 12 ลูก ปัญญามีลูกแก้ว a + 12 ลูก ของจำนวนลูกแก้วของเรณู เท่ากับ ของจำนวนลูกแก้วของปัญญา a = (a + 12) 3a = a + 12 2a = 12 a = 6 เรณูมีลูกแก้ว 6 ลูก ปัญญามีลูกแก้ว 18 ลูก

  47. โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 37 เวลา 60 นาที หน่วยที่ 3 ทศนิยม วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกการใช้ทักษะในการคิดคำนวณ เพื่อฝึกให้รู้จักคิดวางแผนในการแก้ปัญหา เพื่อฝึกคิดวิเคราะห์ปัญหาจากสถานการณ์ สื่อ/อุปกรณ์ ใบกิจกรรม การวัดประเมินผล 1. ตรวจผลงาน 2. ตรวจกระบวนการวางแผน/การแก้ปัญหา 3. เวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหาได้สำเร็จ

  48. กิจกรรมที่ 1 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 38 จัตุรัสมหัศจรรย์ เวลา 15 นาที การดำเนินกิจกรรม นำตัวเลข 0.25 , 0.5 , 0.75 , 1 , 1.25 , 1.5 , 1.75 , 2 และ 2.25 เติมลงในตาราง โดยให้ผลรวมของแนวนอน แนวตั้ง และแนวทแยงมุม เป็น 3.75

  49. กิจกรรมที่ 2 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 39 จัตุรัสมหัศจรรย์ เวลา 15 นาที การดำเนินกิจกรรม นำตัวเลข 0.2 , 0.4 , 0.6 , 0.8 , 1.0 , 1.2 , 1.4 , 1.6 , 1.8 , 2.0 , 2.2, 2.4 , 2.6 , 2.8 , 3.0 , 3.2 เติมลงในตาราง โดยให้ผลรวมของแนวตั้ง แนวนอน และแนวทแยงมุม เป็น 6.8

  50. กิจกรรมที่ 3 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 40 ทักษะการคิดคำนวณ เวลา 15 นาที การดำเนินกิจกรรม กำหนดให้ 8.021= จะต้องเติมจำนวน ใดลงใน จึงจะทำให้ประโยคเป็นจริง 5+1 = ?

More Related