1 / 54

การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเครือข่าย และมาตรฐานอุดมศึกษา โดย นางมยุรี สิงห์ ไข่มุกข์

การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเครือข่าย และมาตรฐานอุดมศึกษา โดย นางมยุรี สิงห์ ไข่มุกข์ สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึก ษา วันที่ 25 กรกฎาคม 255 7 ณ ห้องเสาร์ทอง โรงแรมนครพนมริ เวอร์ วิว จังหวัดนครพนม. ลำดับการนำเสนอ. เกณฑ์มาตรฐานการศึกษา และหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง

amir-bryan
Download Presentation

การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเครือข่าย และมาตรฐานอุดมศึกษา โดย นางมยุรี สิงห์ ไข่มุกข์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเครือข่าย และมาตรฐานอุดมศึกษา โดย นางมยุรี สิงห์ไข่มุกข์ สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา วันที่ 25 กรกฎาคม 2557 ณ ห้องเสาร์ทอง โรงแรมนครพนมริเวอร์วิว จังหวัดนครพนม

  2. ลำดับการนำเสนอ • เกณฑ์มาตรฐานการศึกษา และหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง • การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและ การประเมินคุณภาพภายใน • การจัดการความรู้ • เครือข่ายอุดมศึกษา: 9 เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา • กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

  3. 1. เกณฑ์มาตรฐานการศึกษา และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

  4. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 1. มาตรฐานการอุดมศึกษา 2. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ. 2548 3. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 4. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 5. แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 4

  5. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 6. เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบปริญญาโท2 ปริญญาในสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2548 7. เรื่อง หลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการ หลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ. 2548 5

  6. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ • เรื่อง แนวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขอเปิดและ • ดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกลในสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2548 • 9. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. 2549 • 10. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 2) • พ.ศ. 2551 6

  7. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 11. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 12. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552 13. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553 7

  8. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ • 14. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2554 • เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี • แบบก้าวหน้าในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2549 8

  9. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 16. เรื่อง ว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พ.ศ. 2552 17. เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาประเมินคุณภาพการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของ สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2552 18. เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา ในสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2552 9

  10. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 19. เรื่อง หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับ ปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ พ.ศ. 2545 20. ข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการเทียบโอน ผลการเรียนระดับปริญญา 21. เรื่อง แนวทางความตกลงร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ พ.ศ. 2550 10

  11. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 22. เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2552 23. เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 24. เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552 11

  12. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 25. เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาล พ.ศ. 2552 26. เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาโลจิสติกส์ พ.ศ. 2552 27. เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม พ.ศ. 2553 12

  13. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 28. เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2553 29. เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี พ.ศ. 2553 30. เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี) 13

  14. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ • 31. เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี • สาขาวิชาภาษาไทย พ.ศ. 2554 • เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี • สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2554 • เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา • สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. 2554 14

  15. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ • 34. เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี • สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. 2554 • เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2555 • เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชากายภาพบำบัด พ.ศ. 2556 15

  16. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ • เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชากายภาพบำบัด พ.ศ. 2556 • เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ. ....(อยู่ระหว่างดำเนินการ) • 37. มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา • เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี • (ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2553 16

  17. บัญชีรายชื่อสาขาการประกอบโรคศิลปะและสาขาวิชาชีพอื่นๆ 1. สาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และพระราชกฤษฎีกาเพิ่มสาขาการประกอบวิชาชีพต่างๆ มีทั้งหมด 9 สาขา ดังนี้ (1) การแพทย์แผนไทย (2) การแพทย์แผนไทยประยุกต์ (3) กิจกรรมบำบัด (4) เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (5) การแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (6) รังสีเทคนิค (7) จิตวิทยาคลินิก (8) กายอุปกรณ์ (9) การแพทย์แผนจีน

  18. 2. สภาวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพต่างๆ มี 15 สภาวิชาชีพ ดังนี้ (1) แพทยสภา ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 (2) สภาการพยาบาล ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 (3) ทันตแพทยสภา ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 (4) สภาเภสัชกรรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 (5) สภากายภาพบำบัด ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547 (6) สภาเทคนิคการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 (7) คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภา ตามพระราชบัญญัติเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2507 (8) สภาทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 (9) สภาวิศวกร ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542

  19. (10) สภาสถาปนิก ตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 (11) สัตวแพทยสภา ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545 (12) คุรุสภา ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 (13) สภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติสภาวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (14) สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 (15) สภาวิชาการแพทย์ฉุกเฉิน ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551

  20. 2. การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและ การประเมินคุณภาพภายใน

  21. ประเด็นการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรประเด็นการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร • ปรับปรุงหมวดวิชาศึกษาทั่วไป • สายวิชาการ • สายวิชาชีพ (มี พรบ.วิชาชีพ) • สายปฏิบัติการ (กำหนดชั่วโมงวิชาการ/ ปฏิบัติ)

  22. ประเด็นการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร (ต่อ) • 5. ความหมายเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร • อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร • อาจารย์ประจำหลักสูตร • อาจารย์ประจำ • หลักสูตรนานาชาติ • หลักสูตรภาษาอังกฤษ • หลักสูตรควบปริญญาตรี/ ปริญญาโท • หลักสูตรผู้มีความสามารถพิเศษ • นิยาม “การปฏิบัติการ”

  23. การติดตามผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้การติดตามผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้

  24. 3. การจัดการความรู้(Knowledge Management)

  25. ความหมาย การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอน และเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ทันเวลาและเหตุการณ์ โดยให้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยให้การจัดการความรู้เกิดได้ง่ายและสะดวกขึ้นส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  26. ประเภทของความรู้ 1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม และ 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม การจัดการความรู้เป็นการนำความรู้มาใช้พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรองค์กร โดยมีกระบวน การสรรหาความรู้ เพื่อถ่ายทอดไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

  27. กระบวนการจัดการความรู้: 7 ขั้นตอน 1. การบ่งชี้ความรู้ พิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 2. การสร้างและแสวงหาความรู้ พิจารณาว่าความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อยู่ที่ใคร หรือรูปแบบใด จะเก็บรวบรวมได้อย่างไร 3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ แบ่งประเภทหัวข้อความรู้ให้เป็นหมวดหมู่ 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ แนวทางในการนำเสนอความรู้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ ทบทวน กลั่นกรอง ให้มีความทันสมัย 5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวกอาจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 7. การเรียนรู้ แนวทางการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้

  28. 4. เครือข่ายอุดมศึกษา: 9 เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา

  29. เครือข่ายอุดมศึกษา: 9 เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9 เครือข่าย ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง การจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2548 กำหนดรูปแบบการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาโดยยึดพื้นที่เกณฑ์ (area approach) ซึ่งมีข้อดีในเรื่องของความใกล้ชิดพื้นที่ ความสะดวกในการติดต่อประสานงาน

  30. 9 เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา มีการจัดกลุ่มโดยอิงตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดของรัฐบาล และผนวกกรุงเทพมหานครเข้าไว้ในภาคกลาง รวมเป็น 9 เครือข่าย ดังนี้ 1) เครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน 2) เครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง 3) เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 4) เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 5) เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน (รวมสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพฯ) 6) เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง (รวมสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพฯ) 7) เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก 8) เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน 9) เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่าง

  31. ระดับของเครือข่าย 1. เครือข่ายอำนวยการกลาง 2. เครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาค 3. เครือข่ายเชิงประเด็น

  32. 1. เครือข่ายอำนวยการกลาง (หรือเรียกว่า เครือข่าย A) - เป็นเครือข่ายอำนวยการระดับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา - ทำหน้าที่ในด้านการกำหนดและส่งผ่านนโยบายไปยังเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาค (9 เครือข่าย) ส่งเสริม สนับสนุน ประสานให้คำแนะนำ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา - มีองค์การทำหน้าที่บริหารจัดการ คือ คณะอนุกรรมการอำนวยการเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ซึ่งมีเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธาน แต่งตั้งโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา

  33. 2. เครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาค (หรือเรียกว่า เครือข่าย B) - เป็นเครือข่ายกลางในระดับภูมิภาค 9 เครือข่าย - ทำหน้าที่บริหารจัดการเครือข่ายในระดับพื้นที่ รับและส่งผ่าน นโยบายจากเครือข่ายอำนวยการกลางไปดำเนินการหรือส่งผ่านไปยังเครือข่ายเชิงประเด็นหรือเครือข่ายย่อย รวมทั้งกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่ายเชิงประเด็น - มีองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ คือ คณะกรรมการบริหารเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาค มีอธิการบดีของสถาบันแม่ข่ายเป็นประธาน แต่งตั้งโดยประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการเครือข่ายเพื่อการพัฒนา

  34. 3. เครือข่ายเชิงประเด็น (หรือเรียกว่า เครือข่าย C) - เป็นเครือข่ายที่อยู่ในกำกับดูแลของเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาค - ทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์และภารกิจเฉพาะด้าน ซึ่งอาจจะเป็น Agenda based, Issue based หรือ Function based - มีองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการในรูปคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ มีอธิการบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากสถาบันแม่ข่ายของเครือข่ายเชิงประเด็นเป็นประธาน แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหารเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาค

  35. เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา(C-IQA)เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา(C-IQA) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดตั้งเครือข่าย C-IQA โดยมีโครงสร้างการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาแบ่งเป็น 9 ภูมิภาค (Node) และกำหนดความเชื่อมโยงจากส่วนกลางถึงระดับพื้นที่ปฏิบัติการแบ่งเป็น 3 ระดับตามโครงสร้าง ดังนี้ (1) ระดับเครือข่าย A ระดับส่วนกลาง (สกอ.) คือคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา (คปภ.) เป็นศูนย์กลางกำกับนโยบายแผนงานและจัดสรรทรัพยากร (งบประมาณ) (2) ระดับเครือข่าย B ระดับพื้นที่ส่วนภูมิภาค คือ เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9 แห่ง (อธิการบดี เป็นคณะกรรมการบริหารฯ) เป็นศูนย์ประสานโครงการทำหน้าที่กลั่นกรอง ตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติงานของเครือข่าย C – เชิงประเด็น (C-IQA) (3) ระดับเครือข่าย C (ระดับเครือข่ายเชิงประเด็น) คือเครือข่ายปฏิบัติการ ซึ่งเครือข่าย B ต้องแต่งตั้งคณะทำงานเชิงประเด็น C-IQA จากผู้แทนสถาบันฯ ในพื้นที่ เพื่อบริหารโครงการ ดำเนินภารกิจตามประเด็น และขยายความร่วมมือการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถาบันฯ ที่อยู่ในพื้นที่เครือข่าย รวมทั้งพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแบบระดับผู้ปฎิบัติการด้านล่างนำเสนอผู้กำหนดนโยบายด้านบน (Bottom up) ต่อเครือข่าย B และ A ตามลำดับ

  36. วัตถุประสงค์ของเครือข่าย C-IQA 1. เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่าย C – เชิงประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา หรือเครือข่าย C – IQA เป็นคณะทำงานระดับพื้นที่เพื่อส่งเสริมด้านการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา 2. เพื่อสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานของคณาจารย์การประกันคุณภาพภายในระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความรู้ความเข้าใจ ขยายความร่วมมือการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาแก่ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 4. เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาบูรณาการความร่วมมือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมการประกันคุณภาพภายใน เพื่อสร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการเรียนการสอนและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพองค์กรโดยให้ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลไกขับเคลื่อน

  37. รูปแบบการดำเนินการของเครือข่าย C-IQA 1. ดำเนินกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมและประสานการดำเนินการการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาให้กับคณาจารย์ และสถาบันฯ สมาชิกในเขตพื้นที่ ในด้านการวางแผนกลยุทธ์ระดับเครือข่าย การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์เชิงลึกระหว่างเครือข่ายคณาจารย์ และสถาบันฯ สมาชิก ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การประชุม สัมมนา การฝึกอบรม การตรวจเยี่ยม การประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์อื่นทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ 2. การเสริมสร้างทักษะองค์ความรู้ในการดำเนินงานและตรวจประเมินการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาให้กับผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรในสถาบันฯ สมาชิกด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การฝึกอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นต้น 3. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันฯสมาชิก รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน 4. การส่งเสริมให้เกิดข้อตกลงความร่วมมือและการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างเครือข่าย หรือสถาบันฯ สมาชิก

  38. กิจกรรมหลักของเครือข่าย C-IQA 1. กิจกรรมสร้างความเข้าใจในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในครบวงจรทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในผ่านระบบ CHE QA Online ให้กับคณาจารย์และผู้รับผิดชอบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา 2. กิจกรรมการฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับนิสิตนักศึกษาให้สามารถนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในงานกิจกรรมนิสิตนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. กิจกรรมสานเสวนา เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินรวมทั้งแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาในอนาคต 4. กิจกรรมอื่นๆ ที่เครือข่ายเห็นสมควรดำเนินการ ทั้งนี้ เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา (C – IQA) 9 เครือข่าย ต้องจัดทำรายงานผลความก้าวหน้าการปฏิบัติงานทุกรอบ 6 เดือน (Progress Repost) เสนอต่อคณะกรรมการติดตามประเมินผลในการตรวจเยี่ยม (Site Visit) ปีละ 2 ครั้ง

  39. เครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย (C-TIG) สกอ.ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักได้ดำเนินงาน “โครงการคุณธรรมนำความรู้ระดับอุดมศึกษา" โดยผ่านทางเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติไทย 6 เครือข่ายมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติไทย 6 เครือข่ายดำเนินการตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และมีการติดตามผลการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย เป็นเครือข่าย C – เครือข่าย เชิงประเด็นเพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย หรือเครือข่าย C – TIG โดยเชื่อมโยงให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างการดำเนินงานของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาซึ่งแบ่งเป็น 9 ภูมิภาค (Node) แต่เครือข่ายนี้จะแบ่งเป็น 6 ภูมิภาค โดย สกอ. จะกำหนดความเชื่อมโยงจากส่วนกลางถึงระดับพื้นที่ปฏิบัติการเป็น 3 ระดับตามโครงสร้าง

  40. ระดับของเครือข่าย C-TIG: 3 ระดับ 1. ระดับเครือข่าย A (ระดับส่วนกลาง – สกอ.) คือ คณะอนุกรรมการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย เป็นศูนย์กลางกำกับนโยบาย แผนงาน และจัดสรรทรัพยากร (งบประมาณ) 2. ระดับเครือข่าย B (ระดับพื้นที่ส่วนภูมิภาค) คือ เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9 แห่ง (อธิการบดีฯ เป็นคณะกรรมการบริหารฯ) ในกรณีที่แม่ข่ายเป็นสถาบันอุดมศึกษาเดียวกับแม่ข่ายเครือข่ายเชิงประเด็น จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานโครงการ รับทราบผลการกลั่นกรอง ตรวจสอบ ประเมิน ผลการปฏิบัติงานของเครือข่าย C – เชิงประเด็น

  41. ระดับของเครือข่าย C-TIG 3. ระดับเครือข่าย C (ระดับเครือข่ายเชิงประเด็น) คือ เครือข่ายปฏิบัติ การซึ่งเครือข่าย A หรือเครือข่าย B ทำหน้าที่แต่งตั้งคณะอนุกรรมการทำงานเชิงประเด็น C – TIG จากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ เพื่อบริหารโครงการ ดำเนินภารกิจตามประเด็น และขยายความร่วมมือการดำเนินงานด้านการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยของสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่เครือข่าย รวมทั้งการสร้างภารกิจที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันโดยผ่านกระบวนการสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม คุณค่าวิถีไทยและวิถีชุมชนสู่ความเป็นสากล เพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไปในอนาคต และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแบบ Bottom up ต่อเครือข่าย A & B

  42. วัตถุประสงค์ของเครือข่าย C-TIG 1. เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่าย C – เชิงประเด็นเพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย หรือเครือข่าย C – TIG เป็นคณะทำงานระดับพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาได้ร่วมคิดร่วมสร้างกิจกรรมในหลักสูตรและนอกหลักสูตรการศึกษาเพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย รวมทั้งการเผยแพร่กิจกรรมที่มี การดำเนินงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง เพื่อเป็นรูปแบบให้แก่สถานศึกษาอื่น ๆ 2. ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันทั้งในส่วนแม่ข่ายและเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคเพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประสบการณ์และเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างสถาบัน 3. เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย จัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้เร็วร่วมกันอย่างต่อเนื่องระหว่างบุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ เพื่อพัฒนาแนวคิดและสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้ถึงจุดหมายของบัณฑิตอุดมคติไทยอย่างยั่งยืน

  43. วัตถุประสงค์ของเครือข่าย C-TIG 4. สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายนิสิตนักศึกษา และสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของนิสิตนักศึกษาในการจัดกิจกรรมสัมมนาเพื่อแสดงความคิดเห็นในประเด็นการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการกิจกรรมพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยในรูปแบบต่างๆ 5. จัดสัมมนาและ/หรือเสนอผลงาน การพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยในระดับภูมิภาค 6. ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการเรียนรู้เร็วร่วมกันผ่านสื่อโฮมเพจ "บัณฑิตอุดมคติไทย“ และวารสาร จุลสารทางวิชาการเพื่อเผยแพร่แนวความคิด ประสบการณ์การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย ให้หน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการผลิตบัณฑิต หรือหน่วยงานที่ใช้ผลผลิตจากสถาบันอุดมศึกษาและผู้สนใจทั่วไปทราบ

  44. รูปแบบการดำเนินการของเครือข่าย C-TIG 1. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดทำข้อกำหนดโครงการ (TOR) และแจ้งเวียนให้เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา (B) โดยเครือข่าย C – TIG ในภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ดำเนินการจัดทำข้อเสนอโครงการ 2. เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา (B) รับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเครือข่ายเชิงประเด็นเพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย (เครือข่าย C – TIG) โดยมีจำนวนสมาชิกตามที่เห็นสมควร และมาจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ไม่น้อยกว่า 5 แห่ง และประสานให้สถาบันฯ สมาชิกเข้าร่วมจัดทำ/ ออกแบบโครงการหรือกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานที่สอดคล้องตาม TOR แล้วจัดทำเป็นข้อเสนอโครงการ

  45. รูปแบบการดำเนินการของเครือข่าย C-TIG 3. เครือข่ายเชิงประเด็นเพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย (เครือข่าย C – TIG) จัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ (Full Proposal) สรุปรายละเอียดแผนโครงการ-กิจกรรม และงบประมาณ นำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เครือข่าย A) เพื่ออนุมัติโครงการและจัดสรรงบประมาณ (กรณี ที่เครือข่าย A พิจารณาแล้วเห็นว่าเอกสาร Full Proposal ยังไม่สอดคล้องตาม TOR จะต้องดำเนินการปรับปรุง-แก้ไข ให้เรียบร้อยก่อนนำเสนอให้เครือข่าย A พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง)

  46. รูปแบบการดำเนินการของเครือข่าย C-TIG 4. เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา (B) โดยเครือข่าย เชิงประเด็นเพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย (เครือข่าย C – TIG) ดำเนินโครงการ-กิจกรรมต่างๆ ตามแผนปฏิบัติการที่ได้รับอนุมัติ และรับการสนับสนุนงบประมาณจากเครือข่าย A 5. เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา (A) ร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ต้องดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลความก้าวหน้าการปฏิบัติงานของเครือข่ายเชิงประเด็น เพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย (เครือข่าย C – TIG) และสถาบันอุดมศึกษาตามแผนที่กำหนดไว้ โดยทำการตรวจเยี่ยม (Site Visit) อย่างต่อเนื่อง

  47. กิจกรรมหลักของเครือข่าย C-TIG เครือข่ายเพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยแต่ละแห่ง (โดยเครือข่าย C – TIG) ต้องนำเสนอโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร และขยายผลความร่วมมือการดำเนินการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยของสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย จำนวนไม่น้อยกว่า 5 โครงการ โดยมีกรอบดำเนินกิจกรรม

  48. กรอบการดำเนินกิจกรรมของเครือข่าย C-TIG 1. การดำเนินกิจกรรมพัฒนาบัณฑิตและสร้างกรอบการติดตาม ผลการดำเนินงานพัฒนาบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาให้กับคณาจารย์ และสถาบันฯ สมาชิกในเขตพื้นที่ เช่น การวางแผนกลยุทธ์การขับ เคลื่อนเพื่อสร้างบัณฑิตอุดมคติไทยในระดับเครือข่าย) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและการสร้างความสัมพันธ์เชิงลึกระหว่างเครือข่ายคณาจารย์ และสถาบันฯ สมาชิก ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การประชุม สัมมนา การฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาวิจัย กระบวน การเรียนรู้และการฝึกอบรม การประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรม ในรูปแบบต่างๆ และการจัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์อื่นทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ

  49. กรอบการดำเนินกิจกรรมของเครือข่าย C-TIG 2. กิจกรรมหลักที่สกอ. กำหนดให้ดำเนินการ เช่น กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนผ่านหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์ กิจกรรมการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ในรายวิชาต่างๆ โดยมีการฝึกอบรมเทคนิคการสอนสอดแทรก กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการสร้างรายวิชา การจัดทำบทเรียนการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมใน 4 กลุ่มวิชา คือ กลุ่มวิชาพื้นฐานทางสังคมศาสตร์ทาง วิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ และกลุ่มพัฒนากิจกรรมนักศึกษา เป็นต้น 3. เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา (โดยเครือข่าย C – TIG) ต้องจัดทำรายงานผลความก้าวหน้าการปฏิบัติงานทุกรอบ 6 เดือน (Progress Repost) เสนอต่อคณะกรรมการติดตามประเมินผลในการตรวจเยี่ยม (Site Visit) ปีละ 2 ครั้ง

  50. 5. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

More Related